ตามรอยกวีศรีสยาม (นามสุนทรภู่)


ตามรอยกวีศรีสยาม (สุนทรภู่)

ตามรอยกวีศรีสยาม นามสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

                 ๒๖        มิถุนายน         

{ พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือ สุนทรภู่  เป็นกวีเอกของไทยและของโลก  เกิดเมื่อ วันจันทร์ เดือน ๘  ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน  .. ๒๓๒๙  ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑ )  บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง  ชื่อขุนศรีสังหาร (พลับ)   ส่วนมารดาชื่อช้อย  เป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง         บิดามารดาได้แยกทางกัน  สุนทรภู่อาศัยกับมารดาในพระราชวังหลังและได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก

{ สุนทรภู่เรียนหนังสือที่สำนักวัดชีปะขาว (วัดศรีสุดารามในปัจจุบัน)และได้เข้ารับราชการ   แต่เนื่องจากมีใจรักในเชิงกลอนมากกว่า  จึงลาออกจากราชการกลับไปอยู่ที่วังหลังกับมารดา  ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในกรมพระราชวังหลัง   ท่านได้แต่งนิทานคำกลอนเรื่องแรกคือ  โคบุตร    หลังจากกรมพระราชวังหลังทิวงคต  สุนทรภู่ได้เดินทางไปเยี่ยมบิดาซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ได้เขียนบันทึกการเดินทางเรียกว่า นิราศเมืองแกลง      เมื่อพบบิดาแล้ว  สุนทรภู่ได้ออกท่องเที่ยวไปตามเกาะแก่งต่างๆ  จึงได้แรงบันดาลใจสำคัญให้นำมาสร้างจินตนาการเขียนวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณีในเวลาต่อมา  เมื่ออายุ  ๒๐ ปี  สุนทรภู่ได้ได้แต่งงานกับนางจัน 

{ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) ทรงโปรดงานกวีนิพนธ์และนักปราชญ์มาก  ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้สุนทรภู่เป็น ขุนสุนทรโวหาร  ที่ปรึกษาในกรมพระอาลักษณ์    ถือได้ว่าเป็นช่วงชีวิตที่สุนทรภู่เจริญรุ่งเรืองสูงสุด   สุนทรภู่มีชีวิตที่รุ่งเรืองอยู่ไม่นานก็ตกอับเพราะชอบดื่มสุรา  ถูกจำคุกระหว่างอยู่ในคุกสุนทรภู่ได้แต่งหนังสือขึ้นหลายเรื่อง  รวมทั้งวรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี เป็นตอนๆ เพื่อเลี้ยงปากท้อง   ซึ่งต่อมากลายเป็นวรรณกรรมล้ำค่าของชาติไทย                ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต  สุนทรภู่เกรงว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะไม่โปรด  จึงลาออกจากราชการไปบวชอยู่ที่วัดราชบูรณะ  ได้ออกเดินทางไปนมัสการสถานที่ต่างๆ  ท่านจึงได้แต่งวรรณกรรมชิ้นสำคัญขึ้นอีกหลายเรื่อง

          เมื่อสึกแล้วสุนทรภู่ได้ไปอยู่กับพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ  ทำหน้าที่แต่งหนังสือบทกลอนถวาย สุนทรภู่ได้แต่งหนังสือขึ้นหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องพระอภัยมณีที่เริ่มแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ ก็ได้แต่งจบในครั้งนี้

            ต่อมา รัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอนุชาในรัชกาลที่ ๔   ทรงพระเมตตาโปรดเกล้าฯให้สุนทรภู่ไปอยู่ที่พระราชวังเดิม  มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร  เจ้ากรมอาลักษณ์  เป็นเวลา  ๕ ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ  ๗๐  ปี      สุนทรภู่มีความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ทั้งกาพย์ โคลง และกลอน  แต่แต่งกลอนได้ดีกว่าคำประพันธ์ประเภทอื่น   เป็นผู้คิดแบบแผนการแต่งกลอนแปดให้มีสัมผัสในสม่ำเสมอ  โดยมีวิวัฒนาการจากกลอนมธุรสวาทีและลีลารื่นไหล  ไพเราะ  และจับใจยิ่ง  จนได้รับการยกย่องเป็นบรมครูทางกลอนแปด  และ กวีเอกของไทย  ผลงานของสุนทรภู่ตลอดชีวิตของท่านมีจำนวนมาก  เป็นผลงานกวีอันทรงคุณค่า   ทำให้โลกยกย่องว่าเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานกวีนิพนธ์ยอดเยี่ยม  ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นกวีดีเด่นของโลก   ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของโลก  จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก(UNESCO)  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ›

คำสำคัญ (Tags): #วันสุนทรภู่
หมายเลขบันทึก: 37906เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2006 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

สวัสดีค่ะ

เข้ามาเชียร์ผลงานของครูโรงเรียนเดียวกันค่ะ

ชอบมากเลยนะคะเป็นกำลังใจให้คะ

ผมขอเอาไปส่งไทยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท