เพลงขอทาน


เพลงขอทานหรือวณิพก เป็นเพลงพื้นบ้านชนิดหนึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ คงเนื่องมาจากการเล่านิทาน ให้คนฟังสมัยก่อนมีการรับจ้างเล่านิทาน วันใดไม่มีคนมาจ้างก็ต้องตระเวนไปเล่าในที่ต่างๆ เพื่อขอแลกเปลี่ยนเป็นเงิน หรือสิ่งของ

...แม่เฒ่าเล่าขาน ตำนานเพลง
ขับกล่อมบรรเลง เพลงขอทาน
เศษเงินอาหาร ให้เจือจาน
ผ่านพ้นคืนวัน อันหนาวเหน็บ
ตาแกบอด (ตาแกบอด)
มองไม่เห็น (มองไม่เห็น)
ร้องเพลงขอทาน ด้วยความจำเป็น
ชีวิตลำเค็ญ หนอยายสำอาง

ยายสำอาง ...เพลงขอทาน...บทเพลงเพื่อชีวิตของคาราบาว...หลายคนที่ได้ฟังคงเกิดสุนทรียะ...เกิดความจรรโลงใจ..ฟังแล้วทำให้คิดถึงความเป็นจริงของวิถีประชาที่อยู่ร่วมกันในสังคมซึ่งมีผู้คนอยู่ร่วมกันทุกชนชั้น

ศิลปะเกือบทุกแขนงมักได้รับถ่ายทอดออกมาจากศิลปินพื้นบ้านผู้นำเอาเรื่องราว และตำนานในท้องถิ่นออกมานำเสนอเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดสู่ลูกหลาน  ทำให้เยาวชนมองเห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและรากเหง้าของตนเอง

 

         เป็นความโชคดีของคณะครูและนักเรียนโรงเรียนจ่านกร้องที่มีโอกาสได้ใกล้ชิด ศิลปินพื้นบ้านสุโขทัย  ครูประทีป  สุขโสภา  ซึ่งท่านเสียสละเวลามาบรรยายด้านวิชาการและถ่ายทอดศิลปะการละเล่นเพลงพื้นบ้าน โดยเฉพาะเพลงขอทานได้อย่างไพเราะงดงาม   ประทับใจ

เพลงขอทาน

      จะกล่าวสุนทรกลอนสาธก          เป็นวณิพก    .......พระยาช้าง  ( ลูกคู่รับ)  
พระยาฉัตทันต์ชื่อนั้นหรือ               มันก็คือ           .......พระยาช้าง    
   มีหูมีหัว   มีตัวใหญ่โต                 รูปร่างอักโข    .......พระยาช้าง    
        มันมีสี่ขา มีตาอีกสอง                   มีอะไรอยู่ใต้ท้อง    ......พระยาช้าง    
    มีตัวมีตา  มีขาอีกด้วย                      ไอ้ตัวผู้มี..(......)     ......พระยาช้าง    
  มีงวงมีงา มีขาอีกสี่                     ไอ้ตัวเมียมี...(...)    .....พระยาช้าง 
 พระยาฉัตทันต์ว่ากันหลายอย่าง              มันก็คือช้าง  ทั้งนั้นแหละเอย
                                                                                      (ประทีป สุขโสภา)

 

สาระความรู้ที่ได้รับจากครูประทีป  สุขโสภา  ศิลปินพื้นบ้านสุโขทัย  คือ

               เพลงขอทานหรือวณิพก เป็นเพลงพื้นบ้านชนิดหนึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ คงเนื่องมาจากการเล่านิทาน ให้คนฟังสมัยก่อนมีการรับจ้างเล่านิทาน วันใดไม่มีคนมาจ้างก็ต้องตระเวนไปเล่าในที่ต่างๆ เพื่อขอแลกเปลี่ยนเป็นเงิน หรือสิ่งของ
           เพลงขอทาน มีทำนองเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะ   สมัยก่อนเวลามีงานวัด จะต้องมีการหาของไว้เข้าโรงครัว บรรดาทายกหรือกรรมการวัดจะต้องออกไปเรี่ยไรข้าวสารอาหารแห้งเป็นประจำ จึงต้องมีการร้องขอ ครั้นจะร้องธรรมดา ก็รู้สึกว่าไม่จูงใจคนทำบุญ จึงแต่งเนื้อเพลง โดยยึดเอานิทานชาดกเป็นหลัก ใส่ทำนอง มีลูกคู่ และเพิ่มเครื่องกำกับจังหวะตามถนัด เมื่อได้สิ่งของมาก็เอาเข้าวัด ต่อมามีผู้เลียนแบบและยึดเป็นอาชีพไปเลยก็มี

   การขอแบบมีเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีแลกเปลี่ยน เรียกว่า "วณิพก " แต่ถ้าไม่มีเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีแลกเปลี่ยน เรียกว่า "ยาจก"หรือ "กระยาจก "

รูปแบบของเพลงขอทาน

        เนื้อร้อง    เป็นกลอนประเภทกลอนหัวเดียวเหมือนกับเพลงฉ่อย เพลงเรือ คือเป็นกลอนสัมผัสท้ายไปเรื่อยๆ แล้วไปลงสัมผัสกันระหว่างสามวรรคหลัง ก่อนจะร้องต้องมีบทเกริ่นเหมือนกับเป็นการโหมโรงก่อนจะเล่น เนื้อร้องจะลงเป็นตอนๆ ความยาวแล้วแต่เรื่องที่จะร้อง ถ้าเล่นหลายๆคนจะมีลูกคู่ร้องรับในสองวรรคสุดท้ายทุกตอน

        เครื่องดนตรี   จะใช้ตามที่แต่ละคนถนัด บางคนอาจเล่นคนเดียวได้มากกว่า ๑ ชิ้น ส่วนมากจะเป็นเครื่องกำกับ จังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และโทน เป็นต้น แต่ถ้าเล่นเป็นคณะอาจมีหลายชิ้น ตามแต่จะหาได้

วิธีเล่น   แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

   ๑. ทำนองโทน   ผู้ร้องอาจตีโทนหรือตีฉิ่งไปด้วยเป็นจังหวะชั้นเดียว ดำเนินเรื่องช้าๆ สามารถยืดเสียงไป ตามที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นเทคนิคของคนร้อง ถ้ามีหลายคน ลูกคู่จะคอยร้องรับในสองวรรคท้ายของแต่ละท่อนเสมอไป

   ๒. ทำนองโหม่ง   ผู้ร้องอาจตีโหม่งเองหรือให้คนอื่นตีก็ได้ ในจังหวะชั้นเดียวค่อนข้างเร็วปานกลาง เนื้อร้อง จะเป็นแนวตลกเสียมากกว่า มีการร้องแก้กันระหว่างพ่อเพลงกับแม่เพลง เมื่อร้องจบแต่ละบทจะต้องตีโหม่งรับ ซึ่งส่วนมากจะเป็นโหม่ง ๓ ใบ

   ๓. ทำนองกรับ   ผู้ร้องต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ ขณะร้องต้องตีกรับไปด้วย ลักษณะกรับเป็นกรับชนิดกลมสองคู่ มีเสียงทุ้มกับเสียงแหลม ในมือทั้งซ้ายและขวาตีสลับพลิกแพลงเป็นจังหวะเหมือนฉิ่ง ฉาบ เร็วบ้างช้าบ้าง ดูสนุกสนาน มีการรัวกรับและออกลีลาท่าทางต่างๆ ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะตัว ปัจจุบันหาคนเล่นได้ยากมาก  การรัวกรับของครูประทีป  สะกดคนฟังได้พอๆกับการเป่าขลุ่ยด้วยลมหายใจทางจมูก  ( กว่าจะเชี่ยวชาญได้ครูคงใช้ความพยายาม  ความอดทน เวลาฝึกฝน นานพอดู )

         แม้จะเป็นเวลาสั้นๆ ในการได้มีโอกาสใกล้ชิดครูประทีป  แต่ความประทับใจยาวนานมิรู้ลืม  แต่จะเป็นจุดฝันสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับการถ่ายทอดศิลปะการร้องเพลงขอทานและสืบสานต่อจากครูประทีปได้หรือไม่นั้น  คงเป็นเรื่องที่ครูและศิษย์ผู้ได้ชมการแสดงจะร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อสืบทอด   และหากได้รับการส่งเสริมจากองค์กรต่างๆอีกแรงหนึ่ง คงจะช่วยให้ศิลปะเพลงขอทานเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทยต่อไป

 

              ขอขอบคุณครอบครัวสุขโสภา...สายตระกูลสุโขทัย ... ซึ่งทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสเป็นศิษย์ที่ได้เรียนรู้ทั้งศิลปะการวาดภาพและการเขียน  ( จากอาจารย์เทพศิริ  สุขโสภา แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของวรรณกรรมเลื่องชื่อ “บึงหญ้าป่าใหญ่”) และครูประทีป  สุขโสภา  ศิลปินพื้นบ้านสุโขทัย (เจ้าของตำนานเพลงขอทาน ผู้เผยแพร่ผลงานทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศมามากมายหลายประเทศ ) ....ขอให้คุณความดีในการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานเพื่อเยาวชน จงส่งผลให้ทั้งสองท่านก้าวสู่ทำเนียบ ศิลปินแห่งชาติ ต่อไป

ภาพเมื่อครั้งได้มีโอกาสไปชื่นชมผลงานอาจารย์เทพศิริ  สุขโสภา (ซ้ายสุด)

ในงานส่งเสริมศิลปะและการอ่าน ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2548

     

 

คำสำคัญ (Tags): #เพลงขอทาน
หมายเลขบันทึก: 344002เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2010 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (85)

สวัสดีค่ะ

  • นับว่าเป็นการสืบทอดภูมิปัญญานะคะ
  • เป็นวิถีชีวิตและความเป็นจริงของวิถีประชาที่อยู่ร่วมกันในสังคมซึ่งมีผู้คนอยู่ร่วมกันทุกชนชั้นจริง ๆค่ะ
  • ขอขอบคุณค่ะ

*** ขอบคุณ ครูราชิต สุพร ที่แวะมาค่ะ

*** ชอบครูประทีปมากๆเลยค่ะพี่คิม....เขาเป็นยอดศิลปินที่น่าจดจำ ...ทั้งเก่ง สุภาพและใจดี

*** เคยเลยเรียนกับอาจารย์เทพศิริ สุขโสภา เขาสอนเรื่องศิลปะการขโมยควาย ( แปลกไหม ) มีการวาดผังภูมิสาธิตการต้อนควายหลบหนีเพื่อให้เจ้าของตามไม่ทัน ตอนนั้นรู้สึกฮามาก ....แซวกันว่า....เรียนจบกะจะลองไปใช้ดู

สวัสดีค่ะอาจารย์กิติยา

เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาได้ดีทางหนึ่งเลยนะคะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ^__^

*** น้องต้นเฟิร์น ...วันที่ 26 มี.ค.53 - 6 เม.ย.53 มีสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ...

*** ถ้าเข้ากทม.ช่วงนี้อย่าลืมแวะหาหนังสือดีๆมาอ่านน๊ะจ๊ะ

สวัสดีครับคุณครูฟางข้าว

  • แถวท้องถิ่นบ้านครูจ่อย ส่วนมากจะเป็น "คณะหมอลำขอข้าว"
  • มาเป็นคณะ 5-10 คน(จะแสดงหมอลำตอนกลางคืนให้ดูฟรี...พอถึงตอนเช้าก็จะเดินไปขอข้าว เปลือก หรือข้าวสาร  ตามชายคาบ้านต่างๆ แทนค่าตั๋วดูการแสดง
  • จะให้ข้าวมากหรือน้อยก็ได้ ตามศรัทธา
  • แถวอีสานมีเยอะเขาเรียกว่า " หมอลำขอข้าว"
  • ถ้าท่านมาอีสาน อย่าลืม  หาโอกาสสัมผัสบรรยากาศ ดูนะครับ
  • โชคดีมีสุขตลอดไป

มาชม

เคยชมทางทีวี...ดูลีลาการร้องเป็นทำนองแล้ว...สนุก ๆ ได้อรรถรสดีครับ...

แวะมาเยี่ยมครับ ขอบคุณครับที่นำเพลงดีๆมาบอกกล่าว

*** ขอบคุณครูจ่อยที่ทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

*** ทางภาคกลางจะมีลิเกร้องขอข้าวสาร...แต่ปัจจุบันไม่ค่อยพบ เคยพบตอนเด็ก เมื่อ 30 กว่าปีมาแล้วค่ะ

*** อยากเห้น "คณะหมอลำขอข้าว" ค่ะ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์

  • แวะมาอ่านเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับเพลงขอทานนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ umi

*** อาจารย์ประทีป สุขโสภา ไปแสดงต่างประเทศหลายครั้ง เช่น อังกฤษ อเมริกา กะลาใบที่ถือใส่เงินชาวต่างประเทศมาหลายแสนแล้วค่ะ อาจารย์ทำท่าทางเลียนแบบคนตาบอดได้เหมือนมากค่ะ

                       

       ชุดที่สวมใส่วันนี้ไม่ค่อยเหมือนวณิพก...แต่หมวกและกะลานั่นของจริงค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเดชา

*** ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบันทึกเพลงขอทาน

สวัสดีค่ะคุณ ณัฐวรรธน์

*** ขอบคุณ ที่แวะมาเยี่ยมชมบันทึกเพลงขอทาน เป็นกำลังใจให้ศิลปิน

*** อีกหน่อยถ้าไม่มีการสืบสานงานศิลปะพื้นบ้านนี้ก็อาจสูญหายได้ค่ะ

สวัสดีครับครู ชื่นชม เพลงขอทาน ที่ได้อ่านเนื้อเต็ม

ชื่นชม สุขโสภา คนคอวรรณกรรม ขึ้นเชียงใหม่มักไปนอนคาที่บ้านท่านเทพ กันทุกครั้ง

สวัสดีค่ะพี่วอญ่า

*** อากาสร้อนขึ้นแล้ว...รักษาสุขภาพนะคะ

*** ใครได้ใกล้ชิดครอบครัวสุขโสภา ก็จะได้รับความสุขทุกคน

*** ตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยเรียนกับอาจารย์เทพศิริ ท่านสอนวาดภาพ ดิฉันมีความสุขมากไม่เคยขาดเรียนเลยค่ะ นับเป็นความโชคดีที่ได้เป้นศิษย์ ศิลปินล้านนา ถึง 2 ท่าน คือ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา และอาจารย์สงัด ปุยอ๊อก ด้วยค่ะ พี่วอญ่าคงรู้จักด้วยนะคะ

*** ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ เพลงขอทานตอนที่ยกมาเป็นของอาจารย์ประทีป ที่ทำให้นักเรียนสนุกสนานกับการหาคำมาเติมมากเลยค่ะ

สวัสดีครับ ครู อาจารย์ สงัด ไม่รู้จักครับ แต่อาจารย์เทพ ได้รู้จัก เพราะไปร่วมกับนักคิดนักเขียน ชาวเชียงใหม่ กลุ่มของแสงดาว และไพทูรญ์ ครับ ครู

*** มีสมาชิกชื่อพิบูลศักดิ์ ละครพลด้วยหรือเปล่าคะ

อยากฟังเพลงขอทานจังเลยค่ะ

เพิ่งรู้นะคะว่ามีเพลงขอทานด้วย

ขอบคุณมากค่ะ..พี่กิติยาที่แบ่งปันข้อมูลดีๆ ค่ะ :-0)

ชอบฟังเหมือนกันค่ะ

แต่รู้สึกจะหาฟังได้ยากในปัจจุบัน

*** ขอบคุณน้องเบบี้....ถ้าอยากฟังเพลงขอทานประยุกต์ น้องเบบี้ ลองฟังเพลงยายสำอาง เจ้าของตำนานเพลงขอทานอีกคนหนึ่งฟังดุนะคะแอ๊ด คาราบาว เขาถ่ายทอดได้อย่างไพเราะลึกซึ้ง ทั้งคำและความที่เนียนไปกับดนตรี แค่ได้อ่านเนื้องเพลง ก็พอจะคาดเดาความเป็นมาของเพลงขอทานได้นะคะ

***

เนื้อเพลง : ยายสำอาง

** เออ....อิงเอย....เออ....เออ....เอิงเอย....

วณิพกพเนจร (วณิพกพเนจร)

ตาบอดแรมรอนมาขอทานท่านกิน

(สร้อย) ตาบอดแรมรอนมาขอทานท่านกิน

ตาบอดแรมรอนมาขอทานท่านกิน

แม่เฒ่าเล่ารวยอารมณ์ขัน

แม่เพลงวณิพกเมืองสุพรรณ

ลูกเต้าไม่มีไว้ใช้งาน

ถือมีดปาดตาลหลาวไม้ปิ้งไก่

(สร้อย) แม่เฒ่าเล่ารวยอารมณ์ขัน

แม่เพลงวณิพกเมืองสุพรรณ

ลูกเต้าไม่มีไว้ใช้งาน

ถือมีดปาดตาลหลาวไม้ปิ้งไก่

* ตาแกบอด (ตาแกบอด)

มองไม่เห็น (มองไม่เห็น)

ร้องเพลงขอทานด้วยความจำเป็น

ชีวิตลำเค็ญหนอยายสำอาง

(สร้อย) ร้องเพลงขอทานด้วยความจำเป็น

ชีวิตลำเค็ญหนอยายสำอาง

แม่เฒ่าเล่าขานตำนานเพลง

ขับกล่อมบรรเลงเพลงขอทาน

เศษ...อาหารให้เจือจาน

ผ่านพ้นคืนวันอันหนาวเย็น

(สร้อย) แม่เฒ่าเล่าขานตำนานเพลง

แม่เพลงวณิพกเมืองสุพรรณ

ลูกเต้าไม่มีไว้ใช้งาน

ถือมีดปาดตาลหลาวไม้ปิ้งไก่

(ซ้ำ *)

เออ...ที่ขอทานเขากินนั้นฉันไม่อายหรอก

อายอดท้องกิ่วหิวไม่ไหว

ก็เกิดมาจากบ้านนอกใกล้คอกนา

พอสี่ขวบโตมาล่ะตาก็มืดไป

เคยมีผัวใหม่เก่าล่ะเขาก็ตายจาก

ต้องตกระกำลำบากไปกันยกใหญ่

เลยขอทานเขากินร้องเป็นศิลปะ

อันพ่อแม่ให้มาเป็นมรดกไทย

เป็นมรดกตกทอดมาจนแก่เฒ่า

จนเดินเหินแข้งเข่าชักจะไม่ไหว

แล้วกรมประชาสงเคราะห์เขาก็จับตัว

ว่าขอทานนี้ชั่วขอไม่ได้

ไปติดอยู่สองทีก็หลายปีอยู่

เลยมานั่งนึกดูค่อยชักจะเปลี่ยนใจ

ถ้าขอทานเขากินช่างน่ารำคาญ

เลยคว้ามีดปาดตาลไปหลาวไม้ปิ่งไก่

(สร้อย) เอ้าขอทานเขากินล่ะมันน่ารำคาญ

เลยคว้ามีดปาดตาลไปหลาวไม้ปิ่งไก่

เออ....เอิงเอย....แม่เฒ่าเล่ามาสู่ลูกหลาน

บทเรียนชีวิทยาทาน

ตำนานวณิพกเมืองสุพรรณ

จบชีวิตขอทานหลาวไม้ปิ่งไก่

(สร้อย) แม่เฒ่าเล่ามาสู่ลูกหลาน

บทเรียนชีวิทยาทาน

ตำนานวณิพกเมืองสุพรรณ

จบชีวิตขอทานหลาวไม้ปิ่งไก่

(ซ้ำ *, **)

วณิพกพเนจร (วณิพกพเนจร)

(สร้อย) ตาบอดแรมรอนมาขอทานท่านกิน

ตาบอดแรมรอนมาขอทานท่านกิน

สวัสดีค่ะน้องมนัญญา

*** ต้องมีการสืบสานด้วยปลุกเร้าให้เยาวชนสนใจในคุณค่า

*** ขอบคุณน้องมนัญญาค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • อากาศร้อนจังค่ะ  ทางฝั่งโน้นมีลมพัดเย็นดีไหมคะ
  • ทราบข่าวคุณบิ๊คบุคหรือยังคะ

สวัสดีค่ะพี่คิม

*** ขอบคุณที่ส่งข่าว

*** ขอร่วมไว้อาลัยให้กับคุณครูศิรประภาด้วยค่ะ

*** เคยเยี่ยมบันทึกของท่านหลายครั้ง ...ไม่น่าเลย...เร็วเกินไปนะคะ

*** ทราบข่าวแล้วใจหายค่ะพี่คิม คิดว่าถ้างานเสร็จทันจะไปร่วมงาน ... ช่วงนี้เป็นช่วงรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนต่อค่ะ

กิติยา เตชะวรรณวุฒิ เมื่อ อ. 09 มิ.ย. 2552 @ 22:43 #1340609 [ ลบ ]

 สวัสดีค่ะ บิ๊กบุ๊ค

 *** เคยเป็นแบบนี้..ที่เหนืออกด้านขวา ตั้งแต่ตอนอายุ 22 หมอสงสัยว่าจะเป็นเนื้อร้ายผ่าตัดใหญ่ 2 ครั้ง ผ่าตัดเล็กๆ 1 ครั้ง ก็หาย จนเดี๋ยวนี้ อายุ 48 แล้ว

*** อย่ากลัวเลยนะคะ เดี๋ยวนี้หมอเก่ง เครื่องมือก็ทันสมัย

*** ส่งดอกไม้มาให้กำลังใจค่ะ

บันทึกเล่มเก่า เมื่อ พ. 10 มิ.ย. 2552 @ 22:02 #1342182 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะคุณกิติยา ขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้ และแวะมาเยี่ยมบิ๊กบุ๊ค

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

*** อาลัยบิ๊กบุ๊ค...ขอดวงวิญญาณท่านไปสู่สัมปรายภพ

          

http://gotoknow.org/blog/bigbook/266992

*** แทนพวงหรีดและคำอาลัยในวันอำลา...หลับให้สบายนะคะ...บิ๊กบุ๊ค

สวัสดีค่ะ

มาร่วมชื่นชมและคารวะท่านอาจารย์ประทีป สุขโสภา ค่ะ

เคยได้ยินแต่ชื่อท่านอ.เทพศิริ สุขโสภา จากเรื่องบึงหญ้าป่าใหญ่ วันนี้โชคดีได้รู้จักอีกท่านหนึ่ง

ขอบคุณความรู้ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

(^___^)

  • สวัสดีครับ
  • เอากล้วยมาฝากครับผม
  • ขอบคุณทีเข้าไปทักทาย

สวัสดีค่ะ คนไม่มีราก

*** ขอบคุณที่มาร่วมชื่นชมและคารวะท่านอาจารย์ประทีป สุขโสภา อ.เทพศิริ สุขโสภา ผู้เขียนเรื่องบึงหญ้าป่าใหญ่ เป็นพี่ชายอาจารย์ประทีป แม้จะถนัดกันคนละแนวแต่ทั้ง 2 ท่าน เป็นศิลปินที่มีความสุขกับศิลปะที่เป็นผลสะท้อนของวิถีประชา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคติชนวิทยาด้วยค่ะ

*** ขอบคุณค่ะ

เป็นเรื่องบังเอิญว่าครูเทพศิริ เคยอยู่หมู่บ้านเด็กมาก่อน ฮ่าๆๆ เลยรู้จัก เป็นศิลปินทั้งพี่แล้น้องเลยนะครับ กลัวน้อยหน้าพี่เลยเอาเพลงกล่อมเด็กภาคใต้มาฝากครับ ต่างจากพิษณุโลกมากไหมครับ

ฟังเพลงกล่อมเด็กไก่เถื่อน

จากบันทึกนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/yahoo/259882

สวัสดีค่ะ

*** ขอบคุณก้ามกุ้งที่เอากล้วยมาฝากคนเมืองกล้วย ค่ะ

*** พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา

*** ไปพิษณุโลกเมื่อไหร่ได้ชิมกล้วยตากแน่ค่ะ

                               

 

 

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

 

เป็นการสืบสืนภูมิปัญญาที่เยี่ยมมากค่ะ  เยาวชนรุ่นหลังจะได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ ให้คงอยู้สืบต่อไป

นับเป็นโชคดีของชาวจ่านกร้องจริงๆ  และของชื่นชมที่โรงเรียนจ่านกร้อง ได้สืบสานและอนุรักษ์สิ่งที่ทรงคุณค่านี้ไว้

อีกทั้งอาจารย์ ได้มีน้ำใจแบ่งปันความรู้น้ำให้ชาว G2K ได้รับรับรู้เรื่องราวด้วย

ขอบคุณมากๆ ค่ะ

 

อ้อยควั้น_ชายแดนใต้
  • หวัดดีค่ะ
  • สบายดีนะค่ะ
  • หอบความคิดถึงมาฝากค่ะ

*** ขอบคุณอาจารย์ขจิต ที่มอบสื่อการสอนอันล้ำค่ามาให้ กำลังสะสมเพลงกล่อมเด็กทุกภาคอยู่ค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูใจดี

*** โรงเรียนของครูก็เชิญอาจารย์ประทีปได้ค่ะ แม้คิวท่านจะยาวมาก แต่ท่านเต็มใจถ่ายทอดอย่างเต็มที่ แต่ควรเลือกเด็กที่สนใจศิลปะจริงๆ และควรเป็นเด็กม.ปลายค่ะ

*** ขอบคุณครูใจดีที่แวะมาให้กำลังใจ

*** ขอบคุณ อ้อยควั้น_ชายแดนใต้ ที่หอบความคิดถึงมาฝาก

*** ระลึกถึงเช่นกัน ...สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ..วันนี้ครูบันเทิงได้รับความรู้เรื่องเพลงพื้นบ้านเพิ่มอีกแล้วขอบคุณน่ะค่ะ..

พี่กิติยา สบายดีน่ะค่ะ..ส่วนน้องสบายดีค่ะ..

ปิดเทอมไปเที่ยวไหนปล่าวค่ะ..

งั้นเชิญไปบล๊อก..ครูบันเทิงซิค่ะ มีอะไรให้ดูค่ะ..ตามมาน่ะ..รอ รอ รอ..

สวัสดีค่ะ New.ครูบันเทิง

*** ขอบคุณที่แวะมา ปิดเทอมคงไปอยู่กับลูกที่กทม.ค่ะ

*** ตามไปที่บล็อกเลยนะคะ

ชอบมากๆบันทึกนี้ ไม่อยากเล่าผมเคยลองขอทานร้องเพลงเเลกเงินมาเเล้ว...เล่นดนตรีเปิดหมวกกะเพื่อนที่เพาะช่าง...มันส์มาก

สวัสดีค่ะอาจารย์

แวะมาเก็บเกี่ยวสิ่งดีๆที่งดงามจากบันทึก และได้เติมเต็มความรู้เรื่องเพลงพื้นบ้านค่ะ

มีความสุขระหว่างปิดเทอมนะคะ

ราตรีสวัสค่ะ

ครูกระเเต

สวัสดีค่ะอาจารย์ k-kukiat

*** อาจารย์จะเปิดหมวกอีกเมื่อไหร่ จะตามไปเฝ้าตังค์ในหมวกเพราะต้องได้เยอะแน่เลยค่ะ

*** พรสวรรค์บางคนก็มีมากจนล้น ขระที่บางคนค้นหาก้แล้ว พยายามก้แล้วก็ยังไม่ค่อยพบเลย

*** ขอบคุณเรื่องเล่าของอาจารย์ค่ะ

*** ขอบคุณ มาตายี ที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

*** มีค่อยความสุขระหว่างปิดเทอมเหมือนเมื่อก่อนแล้วค่ะ งานเยอะมากทำจนเปิดภาคเรียน คงยังไม่หมด

  • รู้สึกมีความรู้และเต็มอิ่มกับเพลงขอทานมากเลยครับ ซึ่งแต่ก่อนก็รู้จักแค่ที่คาราบาวร้องเท่านั้น..
  • วารสารประชาสัมพันธ์ "สารจ่านกร้อง" ได้รับแล้วครับ มีหลายเรื่องเลยที่น่าชื่นชม..ขอบคุณพี่กิติยามากๆ
  • ขอบคุณความรู้ที่มีให้อย่างสม่ำเสมอครับ

กิจกรรม ที่ดี การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะพื้นบ้าน

แวะมาเยี่ยมครับ

รักประเทศไทย ตำรวจเป็นมิตรใกล้ชิดประชาชน

  • มาชื่นชมบทเพลงเก่าที่หาฟังได้ยาก
  • เพลงพื้นบ้านมรดกทางวัฒนธรรมควรค่าแก่การอนุรักษ์
  • ขอบพระคุณบันทึกดี ๆ ค่ะ

*** ขอบคุณอ.ธนิตย์... กำลังคิดว่าอ.ธนิตย์หายไป...สงสัยงานยุ่ง

*** หรือไม่ก็คงไปรับบัณฑิตใหม่กลับบ้าน

*** สารจ่านกร้อง เป็นฉบับเร่งรีบเกือบทุกฉบับ มีเรื่องที่ต้องอ่านจากภาพมากกว่าคอลัมน์เพราะจำนวนหน้าจำกัด ยังทำได้ไม่ดีนัก เป็นงานที่พี่ได้รับมอบหมายใหม่ จึงส่งมาเพื่อรบกวนให้ติชมและขอคำแนะนำ

สวัสดีค่ะ MSU-KM :panatung~natadee

*** หายไปนานเลย สบายดีนะคะ

*** ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

*** ระลึกถึงเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ พ.ต.อ.ชาญเดช

*** ดิฉันรู้สึกเป็นห่วงตำรวจทางใต้ทุกคนมากขึ้นหลังจากการจากไปของพล.ต.อ.สมเพียร และมีตำรวจอีกนายที่อยู่ที่อยู่บันนังสตา ชื่อ พ.ต.ท.มงคล เกลี้ยงเค้า เป็นผู้ที่ดิฉันคุ้นเคยแต่ไม่พบนานแล้วค่ะ เคยพักอยู่แฟลต สนามเป้าด้วยกัน

*** ขอบคุณที่แวะมาค่ะ ขอให้กำลังใจตำรวจทุกคน

*** ขอบคุณ ธรรมทิพย์ ที่มาชื่นชมเป็นกำลังใจค่ะ

*** ดีใจที่ทำให้ เพลงขอทานเป็นที่รู้จักมากขึ้นค่ะ

สวัสดีค่ะ ธรรศ ธนบรมัตถ์

*** ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้กำลังใจค่ะ

แวะมาทักทายในวันหยุดค่ะ

พักผ่อนและมีความสุขกับวันหยุดนะคะ

ระลึกถึงค่ะ

(^___^)

ยายสำอาง ของคาราบาว...

ขอบคุณนะครับพี่กิติยา

สวัสดีค่ะคนไม่มีราก

*** ขอบคุณแวะมาทักทายในวันหยุดค่ะ

*** ยังไม่ได้พักผ่อนเลยค่ะวันเสาร์ อาทิตย์ยังต้องไปทำงานเกี่ยวกับการสอบเข้าศึกษาต่อ

*** ขอบคุณค่ะ ระลึกถึงคนไม่มีรากเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ น้องราชิต สุพร

*** ขอให้สนุกกับงานที่ตั้งใจและทุ่มเทอยู่ในขณะนี้นะคะ

ขอทานคือ...คนที่ไม่ว่างงาน...เกิดจากอะไร...ทำใมต้องขอทาน....

*** ขอบคุณ คุณเดชาค่ะ

*** อาจมีเหตุผลมากมาย แต่ที่วณิพกบางคนพอตอบได้คือความพึงพอใจที่ได้เป้นวณิพกเพราะเป้นงานที่ทำแล้วมีความสุขและไม่รู้สึกต่ำต้อย

*** แต่ขอทานรูปแบบอื่นๆ คงมีคำตอบมากมายนะคะ

เพลงขอทานเป็นสิ่งที่ไม่เคยทราบมาก่อน

ดีนะคะที่มีการถ่ายทอดศิลปะพื้นบ้านให้คงอยู่ตลอดไป

*** ขอบคุณมณีวรรณค่ะ

*** ลองหาฟังยายสำอาง เพลงขอทาน ของคาราบาวฟังดูนะคะ

*** กำลังจะให้เด็กๆ รวบรวมจากคนเฒ่าคนแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ค่ะ เผื่อจะหลงเหลืออยู่บ้าง

ดีใจจังที่เจอ น้องฟางใกล้จบแล้วสิ แล้วจะกลับมาทำงานที่พิดโลกหรือเปล่า ชอบมากเลยเพลงขอทาน ถ้าบันทึกเสียงไว้จะขอฟัง

*** ขอบคุณพี่ต้อย ดีใจมากที่พี่แวะมา

*** ตั้งแต่เรียนม.ต้น จนโตมากแล้ว...พี่ต้อยก็ยังหุ่นเหมือนเดิม (น้องๆแซงหลายโค้งแล้วนะ)

*** ตอนนี้น้องปุ๋ยอยู่ที่ไหน คิดถึงอยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีโอกาสได้ไปกำแพงเลย พี่ต้อยสบายดีนะ อ่านบันทึกแล้วมีความสุข

*** น้องฟางฝึกงานอยู่กทม. จะกลับมาเรียน ปี 4 ที่พิดโลกต่อ จากนั้นก็ยังไม่มีแผนที่แน่นอนอะไรเลย เห็นบอกว่าจะมาทำการ์ตูนขาย .... งงกับคนรุ่นใหม่เหมือนกัน...

*** เอ...คิดถึงพี่ต้อยนะ..น่าจะลองแต่งชุดขอทานไปร้องเพลงขอทานให้ฟัง... พี่ต้อยต้องให้ตังค์เยอะแน่เลย ( อิอิ) พี่ต้อยยังจำพวกลิเกขอทาน ขอข้าวสารตอนอยู่พรานกระต่ายได้ไหม

*** ฝากความเคารพรักและคิดถีงให้อ.สุพล - อ.จุไรลักษณ์ ด้วยค่ะ

แวะมาติดตาม ผลงานบันทึกดีๆครับ

สวัสดีค่ะ คุณเดชา

*** ขอบคุณที่ติดตามเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณมากค่ะ ที่อาจารย์แนะนำ.... ถ้ามีโอกาส จะคุญกับทางผู้บริหารค่ะ ท่านน่าจะสนใจ เพราะเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีค่าควรแก่การอนุรักษ์

ตอนนี้ทางหมวดศิลปะและนาฎศิลป์ ก็เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากวิทยาลัยนาฎศิลป์สุโขทัย มาถ่ายทอดเรื่องดนตรีไทยค่ะ.... คงมีโอกาสได้เชิญอาจารย์ประทีป ไปให้ความรู้เด็กที่ลับแลค่ะ

งานที่จ่านกร้อง เบาลงบ้างหรือยังคะ... ที่ลับแลกำลังทำหลักสูตรกันค่ะ

ใกล้สำเร็จแล้ว  วันที่ 25 มีค. จะมีพิธีปัจฉิมนิเทศ ม.3 ม.6 และ ปวช. ค่ะ 

รบกวนอาจารย์แค่นี้ก่อนนะคะ

ระลึกถึงค่ะ

 

***งานที่โรงเรียนคงต้องทำไปจนถึงวันที่ 5 เมษาค่ะ

*** วิทยาลัยนาฎศิลป์สุโขทัย ถือว่าสุดยอดค่ะ

*** ขอบคุณครูใจดีที่แวะมา

ผมไม่ได้เข้ามานานยังคิดถึงครับ

สวัสดีค่ะเบดูอิน

*** เมื่อ 10 โมงเช้าวันนี้ ไปส่งแม่เพื่อนกลับนราธิวาส ยังคิดถึงทั้ง วอญ่าและ เบดูอิน ค่ะ

*** อากาศร้อนจัด รักาสุขภาพนะคะ

*** ขอบคุณที่ระลึกถึงกันเสมอมาค่ะ

พาเด็กน้อยมาขอบพระคุณ คุณครูที่ช่วยรักษาศิลปะการละเล่นเพลงพื้นบ้านครับ

แวะมาทักทายค่ะ

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

(^___^)

*** ขอบคุณ น้องสามารถและขอบใจหนุ่มน้อยหน้าสวยมากๆเลยจ้ะ

*** คุณพ่อคงจัด HOME SCHOOL  ด้านการเกษตรให้ใช่ไหมครับ

มาชม

ทางใต้ช่วงนี้แสงแดดยังคงแรงร้อน ๆ ...อิ อิ อิ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยือน มาพร้อมกับนำภาพน่ารัก ๆ มาฝากด้วยค่ะ

            

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับว่าศิลปะหลายอย่างนั้น ล้วนขับเคลื่อนและสร้างจากคนพื้นถิ่นทั้งนั้น เพราะมันตอบความเชื่อ ความศรัทธา มันมาจากวิถีชีวิต...มาจากมุมมองที่มีต่อโลกและชีวิต  หลายเรื่อง คนในยุคนี้เป็นเพียงผู้สืบสานและบูรณาการเท่านั้น ขณะที่บางเรื่องสร้างขึ้นใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า...ทุนอันแม้จริงมาจากศิลปินพื้นบ้าน หรือพื้นถิ่นด้วยกันทั้งนั้น...

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะ คุณครูกิตติยา
  • มาเรียนรู้เพลงพื้นบ้านทางภาคกลาง (เหนือ-ล่าง)
  • ปรบมือ และเป็นกำลังใจให้ผู้ที่มีส่วนอนุรักษ์ศิลปพื้นบ้านทุกท่านค่ะ
  • "ขอให้คุณความดีในการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานเพื่อเยาวชน
  • จงส่งผลให้ทั้งสองท่านก้าวสู่ทำเนียบ ศิลปินแห่งชาติ ต่อไป"

สวัสดีค่ะอาจารย์ umi

*** เมื่อ 3 วันก่อนอยู่กรุงเทพฯ อากาศสบายๆ ค่ะ

*** ไม่เหมือนอุณหภูมิทางการเมืองเลยค่ะ

*** ขอบคุณน้อง สามารถ เศรษฐวิทยา ที่ส่งภาพชวนให้ฝันดีมาให้

*** ขอบคุณน้องบุษรา ที่ส่งภาพอันก่อให้เกิดจินตนาการแห่งความรักและความสุขค่ะ

*** อยากเห็นภาพน้องบุษรา ขี่จักรยานค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์แผ่นดิน

*** ศิลปะเป็นสิ่งจรรโลงใจมนุษย์ทุกชนชั้นและทุกเชื้อชาติจริงๆนะคะ

*** ตอนเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ใช้เวลาว่างส่วนหนึ่งศึกษาวิชาคติชนวิทยา ด้วยตนเอง มีความสุขมากค่ะ

*** ขอบคุณพี่เอื้องแซะที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ

*** วันนี้มีเพื่อนไปเที่ยวปาย - แม่ฮ่องสอน ส่ง โปสการ์ดมาให้สวยมาก

*** อากาศหน้าร้อน ที่แม่ฮ่องสอนเป็นอย่างไรหนอ

ติดตามผลงานของจ่านกร้องอยู่ค่ะ

*** ขอบคุณฺBy Jan ที่ติดตามชมและเชียร์โรงเรียนจ่านกร้องนะคะ

สวัดดีครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับผม แวะมาบ้างนะครับ

สวัสดีค่ะ แมงบ้งเมืองฉอด สังคม

*** ขอบคุณที่แวะมาทักทาย...สบายดีนะคะ

*** ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณครู  บังดีใจที่คุณครูช่วยรักษาเพลงขอทาน  หากเป็นไปได้  ขอคุณครูช่วยเผยแพร่ให้กว้างขวางอีกได้ บ่  ......  ดีใจที่มีคุณครูนักอนุรักษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท