นายอำเภอไทรงามกับการจัดการความรู้


สนับสนุนกระบวนการพัฒนาที่ใช้คนเป็นศูนย์กลาง ยอมรับความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน

     ในวันที่ 23 พฤษภาคม  2549 ผมได้เดินทางไป ณ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนดลยีการเกษตรประจำตำบลมหาชัย กับคณะศึกษาดูงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ในงานสรุป KM ครึ่งปีกรมส่งเสริมการเกษตร <p>      วันนั้นนายอำเภอไทรงาม คือท่านรณชัย  จิตรวิเศษ  ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของศูนย์บริการฯ มหาชัย  ได้มาหล่าวต้อนรับและอยู่กับคณะศึกษาดูงานจนเสร็จสิ้นกระบวนการ  ในช่วงของการดูงาน ณ ที่ทำการศูนย์ฯ ผมได้มีโอกาสพูดคุยเพื่อ ลปรร. กับท่านนายอำเภอ ทำให้ได้ทราบถึง แนวทางของการนำการจัดการความรู้มาพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของเกษรกร และชาวอำเภอไทรงาม   ที่แฝงอยู่ในนโยบายและทิศทางการทำงานที่ท่านได้กรุณาเล่าให้กระผมและคณะเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรหลายๆ คนที่ได้มีโอกาสพูดคุยกันในวันนั้น</p><p>      สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการจัดการความรู้ที่ท่านนายอำเภอไทรงาม ได้เล่าให้พวกเราฟังก็คือ</p><ul>

  •  การที่ท่านมีแนวทางการพัฒนาที่จะใช้ "คน" ที่มีความรู้ความสามารถ หรือประสบความสำเร็จในแต่ละสาขาอาชีพ มาเป็นผู้รู้ที่จะคอยถ่ายทอดความรู้ ไปสู่คนอื่นที่ต้องการในการพัฒนาในประเด็นนั้นๆ หรือที่ท่านนายอำเภอ ใช้คำว่า "จะค้นหาหรือรวบรวมคนที่มีความรู้มาทำหน้าที่เป็นวิทยากร..."
  • ท่านเล่าโดยสรุปความได้ว่า  เราได้เปลี่ยนให้เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยใช้ยา โดยใช้เวลา 30-40 ปี เกษตรกรจึงยอมรับ และในปัจจุบันการที่เราจะให้เกษตรกรเลิกใช้ฯ และกลับไปหาวิธีการดั้งเดิม ก็จะต้องค่อยๆ ปรับเปลี่ยนและใช้เวลามาก พอๆ กัน
  • เกษตรกรโดยทั่วไป ของอำเภอไทรงามที่ทำนา ไม่มีทางที่จะลืมตาอ้าปากได้ หากยังทำการผลิตในลักษณะเช่นนี้ต่อไป คือทำเพื่อขาย จะต้องทำเพื่อกินด้วย และพลิกฟื้นสิ่งดีๆ ดั้งเดิมกลับมาใช้กันใหม่ เช่น การเกี่ยวข้าว  ประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น
  • การที่จะทำให้เกษตรกรตระหนักถึงการใช้จ่ายหรือมองเห็นต้นทุนการผลิต  สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่นี้ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความตระหนักได้ คือการบันทึกบัญชีฟาร์ม เพราะจะทำให้รู้ว่าได้ใช้จ่ายอะไรที่มาก หรือไม่จำเป็นไปบ้าง
  • </ul><p>                      นายอำเภอไทรงาม ลป.กับคุณธุวนันท์</p><p>     เนื่องจากเวลาที่จำกัด ผมเลยได้มีโอกาส ลปรร.กับท่านนายอำเภอไทรงามเพียงเท่านี้ แต่ก็ทำให้มองเห็นว่า คุณเอื้อในระดับพื้นที่ ต่างก็สนับสนุนกระบวนการพัฒนาที่ใช้คนเป็นศูนย์กลาง ยอมรับความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน ให้ความสำคัญและยกย่องปราชญ์ชาวบ้านว่ามีความสำคัญ สามารถนำมาสนับสนุนงานพัฒนาในพื้นที่ได้เช่นกัน  ในโอกาสต่อๆไปคงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมทำงานกับท่านนายอำเภอไทรงามในพื้นที่ต่อไป</p><p>บันทีกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ</p><p>วีรยุทธ  สมป่าสัก  23  พ.ค. 49</p>

    หมายเลขบันทึก: 33742เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (4)

    น่าสนใจและยินดีกับวิธีคิดเพื่อการพัฒนาเช่น นายอำเภอไทรงาม

    ผมว่าการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการ อาจจะช้าหน่อยแต่ก็ยั่งยืนครับ

         ขอบพระคุณ คุณจตุพรมากนะครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็น  การนำสิ่งดีๆ ในพื้นที่มา ลปรร.กันนั้น น่าจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนให้กล้าคิดและยอมรับในความรู้ของช้าวบ้านเอง เป็นการเปลี่ยนมุมมองจากการพัฒนาที่ "คนนอก" คิดและหยิบยื่นให้ ไปเป็นการใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้วนำมาปรับใช้  หากเราเปลี่ยนมุมมองนี้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สิ่งดีๆ ที่จะตามมายังมีอีกมา เช่น

    • เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของชุมชนอย่างแท้จริง
    • องค์ความรู้/เทคโนโลยีพื้นบ้าน ย่อมใช้ได้ดีและเกิดประโยชน์ได้ง่ายและเร็วกว่า เพราะอยู่ในบริบทของท้องถิ่น/ชุมชน
    • การจัดการความรู้ที่ใช้พื้นที่เป็นฐาน น่าจะเกิดขึ้นได้จริงในท้องถิ่นนั้น
    • ฯลฯ
    • ครูอ้อยมาทักทาย และส่งกำลังใจให้ค่ะ
    • สบายดีนะคะ..ฝากส่งความคิดถึงไปยังน้องสาว และหลานๆด้วยค่ะ

    คิดถึงค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท