ลองทำข้อสอบทรัพย์- หนี้ หน่อยจ้า


เรียนอยู่ระดับ ด๊(D)ไหมคะ?

เอาหล่ะถึงแม้ว่า สอบทรัพย์ผ่านไป กิน เอฟ เอฟ ซะ อร่อยเเลย เอ้าดูหน่อยดูหน่อย(ก่อนสอบ      คุณชายจุ่นส่งมาให้ลองหน่อยนะจ้ะ....)

 

การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิ ตามมาตรา ๑๒๙๙ วรรคแรก

“ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่

 

ตัวอย่างที่ ๑  นาย ก. ทำนิติกรรมเป็นหนังสือยินยอมให้นาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของตนไปสู่ถนนใหญ่ได้โดยมีกำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี  ซึ่งในโฉนดที่ดินของนาย ก.  เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินกำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี  ให้นาย ข. ขับรถผ่านที่ดินตนได้  และในโฉนดที่ดินของนาย ข. ก็มีการจดทะเบียนได้ภาระจำยอมในที่ดินนาย ก. มีกำหนดเวลา ๑๐ ปี  และแนบหนังสือสัญญาไว้กับโฉนดที่ดิน  เมื่อผ่านไป ๖ ปี  นาย ก.  ได้ขายที่ดินของตนให้กับ  นาย ค.  ซึ่งนาย ค.  ก็ได้ตรวจสอบในโฉนดที่ดินแล้วพบว่าที่ดินดังกล่าวจดทะเบียนภาระจำยอมไว้กับที่ดินนาย ข.   แต่ก็ได้ทำสัญญาซื้อที่ดินดังกล่าวและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

คำถาม   จากข้อเท็จจริงข้างต้น  นาย ค.  จะอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนที่ซื้อมาจากนาย ก.  ไม่ยินยอมให้นาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของตนได้หรือไม่

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย

                ข้อ ๑ มาตรา 1299 (วรรคแรก) ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่

             ข้อ ๒ มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น

                วินิจฉัย

                ตามหลักกฎหมายข้อ ๑  การทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาระจำยอมระหว่างนาย ก.  กับนาย ข.  ได้ทำตามแบบของนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว  ทำให้นิติกรรมบริบูรณ์ครบถ้วนเป็นทรัพยสิทธิ   เมื่อครบถ้วนเป็นทรัพยสิทธิย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่ทุกคนที่ต้องเคารพใน ทรัพยสิทธิที่เกิดขึ้นระหว่างนาย ก. กับนาย ข.  ที่ถือเป็นทรัพยสิทธิภาระจำยอมในที่ดินระหว่างนาย ก. กับนาย ข.  ซึ่งตามหลักกฎหมายข้อ ๒  แม้นาย ค. จะเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวแต่นาย ค.  ก็ต้องเคารพซึ่งทรัพยสิทธิภาระจำยอมในที่ดินที่นาย ก. ได้ทำไว้กับนาย ข. ต้องยินยอมให้นาย ข. ขับรถผ่านที่ดินของตนต่อไปอีก  ๔  ปี

 

ตัวอย่างที่ ๒  นาย ก. ทำนิติกรรมเป็นหนังสือยินยอมให้นาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของตนไปสู่ถนนใหญ่ได้โดยมีกำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี  ระยะเวลาผ่านมา ๖ ปี  นาย ก.  เกิดไม่พอใจนาย ข.  จึงห้ามนาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของตนอีก

คำถาม   จากข้อเท็จจริงข้างต้น  นาย ก.  จะอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตน  ไม่ยินยอมให้นาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของตนได้หรือไม่  

ธงคำตอบ

 

หลักกฎหมาย

                ข้อ ๑ มาตรา 1299 (วรรคแรก) ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่

             ข้อ ๒ มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น

วินิจฉัย

                ตามหลักกฎหมายข้อ ๑  การทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาระจำยอมระหว่างนาย ก.  กับนาย ข.  ถึงแม้จะไม่ได้ทำตามแบบของนิติกรรมให้ครบถ้วน  คือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  จึงจะทำให้นิติกรรมบริบูรณ์ครบถ้วนเป็นทรัพยสิทธิ   ซึ่งก่อให้เกิดหน้าที่แก่ทุกคนที่ต้องเคารพใน ทรัพยสิทธิที่เกิดขึ้นระหว่างนาย ก. กับนาย ข.    แต่ถึงแม้จะไม่บริบูรณ์ครบถ้วนเป็นถึงทรัพยสิทธิ  นาย  ก.  กับนาย ข.  ยังต้องผูกพันกันอยู่ในฐานะคู่สัญญา  เป็นบุคคลสิทธิ  เพราะฉะนั้น  ตามหลักกฎหมายข้อ ๒  นาย ก.  ต้องยินยอมให้นาย ข. ขับรถผ่านที่ของตนจนครบกำหนดสัญญา

 

ตัวอย่างที่ ๓  นาย ก. ทำนิติกรรมเป็นหนังสือยินยอมให้นาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของตนไปสู่ถนนใหญ่ได้โดยมีกำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี  ระยะเวลาผ่านมา ๖ ปี  นาย ก.  เกิดไม่พอใจนาย ข.  จึงห้ามนาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของตนอีก  ต่อมานาย ก.  ได้ตกลงขายที่ดินให้กับ นาย ค.  ซึ่งนาย ค.  ก็ทราบดีว่านาย ก. ได้ทำหนังสือยินยอมให้นาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของนาย ก.  แต่ก็ยังซื้อที่ดินโดยทำเป็นสัญญาซื้อขายและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่  กรรมสิทธิ์ในที่ดินของนาย ก. จึงได้เคลื่อนไปเป็นกรรมสิทธิ์ของ นาย ค.  และนาย ข.  ก็ได้แย้งว่านาย ค. ใช้สิทธิ์ไม่สุจริตทั้งๆ  ที่ก่อนซื้อก็รู้ว่า ที่ดินของนาย ก.  มีหนังสือยินยอมให้นาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของนาย ก.

คำถาม   จากข้อเท็จจริงข้างต้น  นาย ค.  จะอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนที่ซื้อมาจากนาย ก.  ไม่ยินยอมให้นาย ข.  ขับรถผ่านที่ดินของตนได้หรือไม่

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย

                ข้อ ๑ มาตรา 1299 (วรรคแรก) ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่

                ข้อ ๒ มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้นกับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

วินิจฉัย

                ตามหลักกฎหมายข้อ ๑  การทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาระจำยอมระหว่างนาย ก.  กับนาย ข.  ไม่ได้ทำตามแบบของนิติกรรมให้ครบถ้วน  คือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  จึงจะทำให้นิติกรรมบริบูรณ์ครบถ้วนเป็นทรัพยสิทธิ   ดังนั้นนิติกรรมระหว่างนาย ก. กับ นาย ข. จึงผูกพันกันเพียงในฐานะคู่สัญญา  เป็นบุคคลสิทธิ  ซึ่งไม่สามารถใช้ยันกับทุกคนได้     การที่  นาย ค. ทำสัญญาซื้อขายและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่  ทำให้นิติกรรมบริบูรณ์ครบถ้วนเป็นทรัพยสิทธิ   เมื่อครบถ้วนเป็นทรัพยสิทธิย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่ทุกคนที่ต้องเคารพในกรรมสิทธิ์ในที่ดินของนาย ค.  ตามหลักกฎหมายข้อ ๒ เมื่อนาย ค.  เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน  นาย ค. จึงสามารถที่จะขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตน   นาย ข.  จะใช้สิทธิตามหนังสือยินยอมที่ตนทำขึ้นกับ นาย ก.  มาอ้างว่า นาย ค. ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต  ตาม  มาตรา  ๕  ไม่ได้

 

การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิ ตามมาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง

“ ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม  สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จะทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้  และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว

 

ตัวอย่างที่ ๑  นาย ก. เป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก  มีที่ดินแปลงหนึ่งที่นาย ก.  ดูแลไม่ทั่วถึง   นาย ข. เห็นนาย ก.ไม่ดูแลที่ดิน  นาย ข. จึงเข้าไปครอบครองที่ดินแปลงนั้นของ นาย ก.  โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาสิบปี   ต่อนาย  ค.  เห็นที่ดินที่นาย ข. ครอบครองอยู่อยากได้ไว้เป็นที่ให้สุนัขของตนวิ่งเล่น  จึงขอซื้อที่ดินจาก นาย ข. 

คำถาม   จากข้อเท็จจริงข้างต้น  ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย

                ข้อ ๑ มาตรา 1299 (วรรค

                ข้อ ๒ มาตรา 1387 

วินิจฉัย

                ตามหลักกฎหมายข้อ ๑  การทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดภาระจำยอมระหว่างนาย ก.  กับนาย ข.  ได้ทำตามแบบของนิติกรรมและจดทะเบียน

คำสำคัญ (Tags): #กฏหมายทรัพย์
หมายเลขบันทึก: 336797เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

3. แมวเก็บโฉนดที่ดินได้ฉบับหนึ่ง เป็นโฉนดที่ดินของเสือ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2540 แมวได้หลอกลวงหมูว่าตนเองคือเสือ เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าว ตนมีความประสงค์จะขายที่ดินแปลงนี้ให้หมูในราคาพิเศษถูกกว่าราคาทั่วไป เพราะตนกำลังเดือดร้อนเงิน หมูเห็นว่าที่ดินแปลงนี้น่าสนใจ อยู่ในชุมชนและราคาไม่แพงมาก จึงตกลงซื้อในราคาหนึ่งล้านบาท โดยวางมัดจำไว้สองแสนบาท ทั้งคู่นัดจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินในภายหลัง

ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2541 หมูไปงานวันปีใหม่ และได้ทราบความจริงว่าผู้ที่นำที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายให้ตน ไม่ใช่เสือแต่เป็นแมว ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน หมูจึงต้องการบอกเลิกสัญญาเพื่อเรียกเงินมัดจำคืน แต่ก็ตามหาแมวไม่พบและด้วยธุรกิจที่มีอยู่มากมายทำให้หมูลืมเรื่องนี้ไป จนกระทั่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 หมูพบตัวแมว ดังนี้ หมูจะขอเลิกสัญญาซื้อขายที่ได้ทำไว้กับแมวและจะเรียกเงินมัดจำคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ประเด็นปัญหา

1. จากโจทย์ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ แมวเก็บโฉนดที่ดินของเสือได้ แล้วนำไปหลอกลวงหมูว่าตนเองคือเสือ เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินมีความประสงค์จะขายที่ดินแปลงนี้ให้ หมูตกลงซื้อในราคาหนึ่งล้านบาท โดยวางมัดจำไว้สองแสนบาท และจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินในภายหลัง ดังนั้นสัญญาการซื้อขายนี้สมบูรณ์หรือไม่

2. ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2541 หมูได้ทราบความจริงว่าผู้ที่นำที่ดินแปลงดังกล่าวมาขายให้ตนไม่ใช่เสือแต่เป็นแมว จึงต้องการบอกเลิกสัญญาเพื่อเรียกเงินมัดจำคืน หมูจะขอเลิกสัญญาซื้อขายที่ได้ทำไว้กับแมวและจะเรียกเงินมัดจำคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

3. ตามประเด็นปัญหาที่สองหมูตามหาแมวเพื่อบอกเลิกสัญญาแต่ไม่พบและทำให้ลืมเรื่องจะขอเลิกสัญญาซื้อขายนี้ไปจนกระทั่งหมูพบตัวแมววันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 หมูจะขอเลิกสัญญาซื้อขายที่ได้ทำไว้กับแมวและจะเรียกเงินมัดจำคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักกฎหมายพอที่จะนำมาใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณากรณีตามโจทย์ ได้ดังนี้.-

1. การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ

ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่งได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมและความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมเป็นต้น

วินิจฉัย (ปรับข้อเท็จจริงกับหลักกฎหมาย)

ตามโจทย์เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2540 แมวเก็บโฉนดที่ดินของเสือได้ แล้วนำไปหลอกขายให้หมู โดยอ้างว่าตนเองคือเสือ เป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน มีความประสงค์จะขายที่ดินแปลงนี้ หมูเชื่อจึงตกลงซื้อที่ดินในราคาหนึ่งล้านบาท และวางมัดจำไว้สองแสนบาท โดยตกลงว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินในภายหลัง การที่แมวอ้างว่าตนเป็นเสือและเป็นเจ้าของโฉนดต้องการขายที่ดินให้กับหมู ทำให้หมูเข้าใจผิดว่าแมวคือเสือเจ้าของโฉนดที่ดินจึงตกลงจะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว นิติกรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นการทำนิติกรรมที่หมูสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม จึงมีสภาพเป็นโมฆะ ตั้งแต่แรกเริ่ม

ต่อมาภายหลังคือเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2541 หมูทราบความจริงว่าผู้ที่ทำนิติกรรมขายที่ดินให้ตนคือแมวไม่ใช่เสือและต้องการบอกเลิกสัญญาเพื่อเรียกเงินมัดจำคืน ย่อมเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้เพราะนิติกรรมเป็นโมฆะตั้งแต่แรกเริ่ม

แต่หมูตามหาแมวไม่พบจึงลืมเรื่องที่จะบอกเลิกสัญญาซื้อขาย จนกระทั่งวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 ได้พบกันอีกครั้ง หมูจะขอเลิกสัญญาซื้อขายที่ได้ทำไว้กับแมวและจะเรียกเงินมัดจำคืนได้ก็สามารถบอกเลิกและเรียกเงินมัดจำคืนจากแมวได้ เพราะสัญญาซื้อขายเป็นการทำนิติกรรมที่เป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้น จึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องอายุความในการบอกเลิก

สรุป

คำตอบสามารถบอกเลิกและเรียกเงินมัดจำคืนจากแมวได้ เพราะสัญญาซื้อขายเป็นการทำนิติกรรมที่เป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้น

4. อึ่งอ่างขอกู้ยืมเงินจากกบจำนวนสองหมื่นบาท จะชำระคืนภายในหกเดือน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละสองต่อเดือน กบตกลงให้ยืมเพราะรู้จักกันและคบกับเป็นเพื่อนมาก่อน การให้ก็ยืมเงินนี้ทำด้วยวาจาไม่ได้มีการเซ็นสัญญากู้ยืมเป็นหนังสือแต่อย่างได แต่ในวันดังกล่าวเขียดและลูกน้ำได้รับรู้เป็นสักขีพยาน

ก่อนถึงกำหนดชำระคืนประมาณ 2 สัปดาห์ อึ่งอ่างได้โทรศัพท์มาหากบเพื่อขอผ่อนเวลาชำระหนี้ออกไป 30 วัน แต่ไม่พบกบ อึ่งอ่างจึงเขียนโน้ตทิ้งไว้ให้กบ ดังที่ปรากฏ

ปรากฏว่ากบไม่ยอมผ่อนเวลาให้อึ่งอ่าง เพราะตนเองก็มีเรื่องจำเป็นต้องใช้เงิน

ท่านเห็นว่ากบจะฟ้องร้องเรียกเงินที่ให้อึ่งอ่างกู้ยืมไปคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ประเด็นปัญหา

จากโจทย์ ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ

1. อึ่งอ่างกู้ยืมเงินจากกบจำนวนสองหมื่นบาท จะชำระคืนภายในหกเดือน พร้อมดอกเบี้ยร้อยละสองต่อเดือน ด้วยวาจา โดยมีเขียดและลูกน้ำเป็นสักขีพยานโดยไม่มีการเซ็นสัญญากู้ยืมเป็นหนังสือ นั้น ถือเป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์หรือไม่ และสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด

2. ต่อมาอึ่งอ่างได้โทรศัพท์มาขอผ่อนเวลาชำระหนี้ออกไป 30 วัน แต่ไม่พบกบ อึ่งอ่างจึงเขียนโน้ตทิ้งไว้ ปรากฏว่ากบไม่ยอมผ่อนเวลาให้อึ่งอ่าง เพราะมีเรื่องจำเป็นต้องใช้เงินเช่นกัน กบจะฟ้องร้องเรียกเงินที่ให้อึ่งอ่างกู้ยืมไปคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้วางหลักกฎหมายที่พอจะนำมาประกอบการพิจารณาตามโจทย์ ได้ดังนี้.-

1.) การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท ขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว (มาตรา 653)

2.) ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี (มาตรา 654)

3.) พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475

“การเรียกอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น ให้ถือว่าเป็นความผิดและมีโทษจำคุกไม่เกิน 1ปี ปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” (มาตรา 3)

วินิจฉัย (ปรับข้อเท็จจริงกับหลักกฎหมาย)

จากโจทย์ อึ่งอ่างขอกู้ยืมเงินจากกบจำนวนสองหมื่นบาท โดยมีกำหนดจะชำระคืนภายในหกเดือนพร้อมดอกเบี้ยร้อยละสองต่อเดือน (2 x 12 = 24 เท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี ) ซึ่งกบก็ตกลงให้ยืม การยืมเงิน

กระทำเป็นวาจาไม่ได้มีการเซ็นสัญญากู้ยืมเป็นหนังสือแต่อย่างได โดยมีเขียดและลูกน้ำร่วมรับรู้เป็นสักขีพยาน แต่ตามหลักกฎหมายแล้วการกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งและลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้ ( ตามหลักกฎหมาย 1.) ) แม้ว่าในการกู้ยืมนั้นจะมีเขียดและลูกน้ำรับรู้เป็นสักขีพยานก็ตาม และการที่นายอึ่งอ่างเสนอให้ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมร้อยละสองต่อเดือนหรือร้อยละ 24 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้คือไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งตามหลักกฎหมายกำหนดไว้ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นการกู้ยืมเงินระหว่างอึ่งอ่างกับกบนั้นมีผลสมบูรณ์และผูกพันคู่สัญญา แม้ว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้ แต่กฎหมายก็มิได้ระบุว่าให้การกู้ยืมนั้นเป็นโมฆะแต่ประการใด ดังนั้นอึ่งอ่างจึงยังต้องชดใช้เงินกู้คืนให้แก่กบ แต่กบก็จะไม่สามารถฟ้องให้บังคับคดีได้เพราะขาดหลักฐานสำหรับฟ้องคดี

ต่อมาก่อนครบกำหนดชำระเงินกู้คืนประมาณ 2 สัปดาห์ อึ่งอ่างได้โทรศัพท์มาหากบเพื่อขอผ่อนเวลาชำระหนี้ออกไป แต่ไม่พบกบ อึ่งอ่างจึงเขียนโน้ตทิ้งไว้ให้กบบอกว่า “ ตอนนี้มีปัญหามาก หาเงินไม่ทัน ให้เวลาผมอีก 30 วัน จะคืนให้ทั้งต้นและดอก รับรองไม่เบี้ยว” ลงชื่ออึ่งอ่าง ซึ่งจากโน้ตฉบับนี้ทำให้กบแก้ปัญหาการขาดหลักฐานสำหรับฟ้องแล้ว ประเด็นต่อมาเมื่อกบไม่ยินยอมผ่อนเวลาให้อึ่งอ่างเพราะตนเองก็จำเป็นต้องใช้เงิน ดังนั้นกบจึงสามารถนำโน้ตที่อึ่งอ่างเขียนฝากไว้ให้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่ลงลายมือชื่อผู้กู้รับรองไว้ ตามหลักกฎหมายที่ว่า “ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น จะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”

สรุปว่า

กบสามารถฟ้องเรียกเงินเรียกเงินที่ให้อึ่งอ่างกู้ยืมไปคืนได้ เพราะว่าในการให้อึ่งอ่างยืมเงินครั้งแรกโดยมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อไว้นั้น แม้จะไม่สามารถฟ้องให้บังคับคดีตามหลักกฎหมายได้ แต่การกู้ยืมก็มิได้เป็นโมฆะเพียงแต่ขาดหลักฐานสำหรับฟ้องเท่านั้น เมื่อต่อมาภายหลังอึ่งอ่างได้เขียนโน้ตรับว่าจะชำระหนี้ให้แต่ขอผ่อนเวลาออกไป 30 วัน จึงกลายเป็นหลักฐานสำหรับฟ้องให้กับกบเมื่อกบไม่ยินยอมผ่อนเวลาให้ก็สามารถนำโน้ตไปยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้บังคับคดีได้ทันทีเมื่อครบกำหนดชำระหนี้

LW 203

การสอบซ่อม ภาค 1 ปีการศึกษา 2542

ข้อ 1 (ก) การทำนิติกรรมโดยกำหนดวัตถุประสงค์ในลักษณะใดเป็นเหตุให้นิติกรรมเป็นโมฆะ อธิบายโดยสังเขป โดยแยกเป็นข้อ ๆ และยกตัวอย่างประกอบ

(ข) อุดมทำสัญญาจ้างให้มนัสติดต่อและติดตามเพื่อให้กรมป่าไม้อนุญาตให้อุดมขนไม้ที่อุดมได้ตัดฟันไว้ในป่าออกมาสู่ตลาดได้ โดยอุดมตกลงให้ค่าจ้างแก่มนัสเป็นเงิน 100,000 บาท เช่นนี้ สัญญาจ้างระหว่างอุดมและมนัสดังกล่าวเป็นโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 150, 151 แยกอธิบายเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. การทำนิติกรรมโดยกำหนดวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย

"การต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย" หมายความว่า

(1) การกระทำหรือการแสดงเจตนาที่มีกฎหมายห้ามไว้ว่าไม่ให้กระทำ เช่น การผลิตหรือขายยาเสพติดประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

(2) การกระทำหรือการแสดงเจตนาที่กฎหมายบัญญัติว่าผู้กระทำมีความผิดต้องรับโทษอาญา หรือบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นโมฆะ เช่น การฆ่าผู้อื่น (ป.อาญา มาตรา 288) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การกระทำหรือการแสดงเจตนาที่กฎหมายห้ามไว้ไม่ให้กระทำหรือแตกต่างกับบท บัญญัติของกฎหมายตาม (1) นั้น ถ้ากฎหมายนั้นมิใช่กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การกระทำนั้นไม่เป็นโมฆะ

2. การทำนิติกรรมโดยกำหนดวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย

"การพ้นวินัย" หมายถึง

(1) การใดๆ ที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่สามารถทำได้ตามธรรมชาติ เช่น ทำสัญญาจ้างย้ายภูเขาทองจากรุงเทพฯ ไปตั้งที่เชียงใหม่ เป็นต้น

(2) การใดๆ ที่มุ่งถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเฉพาะ แต่ในขณะที่ทำนิติกรรมสิ่งนั้นไม่มีตัวตนอยู่เสียแล้ว เช่น ทำสัญญาขายลูกสุนัข แต่ในขณะที่ทำนิติกรรม สุนัขตัวนั้นได้ตายเสียแล้ว เป็นต้น

3. การทำนิติกรรมโดยกำหนดวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

"ความสงบเรียบร้อยของประชาชน" หมายถึง ประโยชน์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ เช่น ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยคู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งทำความผิดอาญาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งตกลงจะชดใช้ค่าเสียหายจำนวนหนึ่งให้แก่ฝ่ายผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายตกลงที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ฝ่ายที่กระทำความผิดอาญา ซึ่งเป็นการตกลงกันเพื่อระงับคดีอาญา เป็นต้น

"ศีลธรรมอันดีของประชาชน" หมายถึง แนวความคิดเกี่ยวกับความประพฤติของบุคคลในสังคมซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามกาลเวลาและสถานที่ (ยกตัวอย่างประกอบตามสมควร) (15 คะแนน)

(ข) จากหลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 150

วินิจฉัย จากอุทาหรณ์ สัญญาจ้างระหว่างอุดมและมนัสเป็นสัญญาที่มิได้มีวัตถุประสงค์ให้มนัสใช้อิทธิพลวิ่งเต้นหรือเข้าแทรกแซงในกิจการของทางราชการ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนแต่อย่างใด เพียงแต่ให้มนัสช่วยติดต่อและติดตามเรื่องให้จนสำเร็จเท่านั้น จึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาจ้างดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2516) (10 คะแนน)

ข้อ 2 นาย ก. รับซื้อฝากที่ดินแปลงหนึ่งของ นาย ข.ไว้ในราคาสูง ด้วยความประมาทเลินเล่อของ ก.ที่ไม่ทราบว่าที่ดินของ นาย ข. ถูกจำกัดสิทธิการปลูกสร้าง เพราะถูกสายไฟฟ้าแรงสูงผ่าน ตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้ายันฮีฯ ต่อมา ภายหลัง นาย ก. จึงทราบถึงข้อจำกัดดังกล่าวของที่ดินนั้น นาย ก. จึงต้องการบอกล้างสัญญาขายฝากนี้

ดังนี้ ก.มีสิทธิบอกล้างสัญญาขายฝากนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. ได้วางหลักกฎหมายไว้พอนำมาพิจารณาประกอบกรณีตามโจทย์ ได้ดังนี้.-

1.) "การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดใน…………คุณสมบัติของทรัพย์สินเป็นโมฆียะ

ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น" (มาตรา 157 (5 คะแนน) )

2.) "ความสำคัญผิดตาม มาตรา 157 ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้" (มาตรา 158 3 คะแนน))

วินิจฉัย

การที่ ก.รับซื้อฝากที่ดินไว้ในราคาสูง โดยไม่ทราบข้อจำกัดของที่ดินนั้น เป็นการแสดงเจตนาด้วยความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ สัญญาขายฝากจึงตกเป็นโมฆียะ (7 คะแนน)

แม้ความสำคัญผิดนั้นเกิดขึ้นด้วยความประมาทเลินเล่อของ ก. แต่ไม่ใช่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก. จึงมีสิทธิอ้างความสำคัญผิดตาม มาตรา 157 มาเป็นประโยชน์แก่ตนได้กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 158 (5 คะแนน)

สรุป ดังนั้น ก. จึงมีสิทธิบอกล้างสัญญาขายฝากนี้ได้ เพราะ ก. ได้แสดงเจตนาไปด้วยความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสาระสำคัญ (5 คะแนน)

ข้อ 3 นาย ก.ได้ทำสัญญากู้เงินจากนาย ข.ไป เป็นจำนวน 300,000 บาท เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2532 มีกำหนดชำระคืนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2532 เมื่อหนี้ถึงกำหนด นาย ก.ไม่นำเงินมาชำระ นาย ข.ได้ติดตามทวงถามตลอดมา จนกระทั่งวันที่ 21 ธันวาคม 2542 เหลือเวลาอีก 10 วัน คดีจะขาดอายุความ นาย ข.ได้นำคดีไปฟ้องร้องต่อศาล นาย ก.ทราบ จึงไปหานาย ข.ที่บ้านและขอร้องให้นาย ข.ถอนฟ้อง โดยสัญญาด้วยวาจาว่าจะนำเงินทั้งหมดมาชำระให้แก่นาย ข. ในวันที่ 10 มกราคม 2543 นาย ข.เห็นใจ จึงได้ถอนฟ้องนาย ก.ในวันที่ 24 ธันวาคม 2542 ต่อมาวันที่ 30 ธันวาคม 2542 นาย ก.ได้มาหานาย ข.ที่บ้าน พร้อมทั้งนำเงินมาชำระให้ 50,000 บาท หลังจากนั้น นาย ก. ก็หายเงียบไปและไม่นำเงินมาชำระให้ตามที่ตกลงกันไว้ นาย ข.จึงนำคดีมาฟ้องศาลในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 นาย ก.ต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความแล้ว นาย ข.จึงไม่มีสิทธิฟ้อง อยากทราบว่าข้อต่อสู้ของนาย ก.ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ป.พ.พ.

1.) มาตรา 193/14 บัญญัติว่า "อายุความสะดุดหยุดลงในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้

(1) ลูกหนี้……………ชำระหนี้ให้บางส่วน

(2) เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อ………ให้ชำระหนี้……………………….." (3 คะแนน)

2.) ป.พ.พ. มาตรา 193/17 บัญญัติว่า "ในกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตามมาตรา 193/14(2) หากคดีนั้น………….ได้เสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้อง……….ให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง…………." (3 คะแนน)

3.) ป.พ.พ. มาตรา 193/30 บัญญัติว่า "อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี" (1 คะแนน)

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ นาย ก. ได้ทำสัญญากู้เงินจาก นาย ข. ไปเป็นจำนวน 300,000 บาท มีกำหนดชำระคืนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ซึ่งเหลือเวลาอีก 10 วัน คดีจะขาดอายุความ นาย ข. เจ้าหนี้ได้นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลซึ่งเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ต่อมาวันที่ 24 ธันวาคม 2542 นาย ข. เจ้าหนี้ได้มาถอนฟ้องคดีจึงถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ในการกู้ยืมเงินกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ กรณีนี้จึงต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เพราะฉะนั้นคดีจะขาดอายุความในวันที่ 31 ธันวาคม 2542 แต่ปรากฏว่าก่อนคดีจะขาดอายุความ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2542 นาย ก.ได้นำเงินมาชำระให้กับ นาย ข. จำนวน 50,000 บาท จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะลูกหนี้ได้ชำระหนี้บางส่วนให้แก่เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) (15 คะแนน)

สรุป เมื่อถึงกำหนดวันนัดคือวันที่ 10 มกราคม 2543 นาย ก. ไม่นำเงินมาชำระให้แก่ นาย ข. เจ้าหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ นาย ข. จึงนำคดีมาฟ้องศาลในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ ข้อต่อสู้ของ นาย ก. จึงฟังไม่ขึ้น (3 คะแนน)

ข้อ 4 (ก) คำเสนอคืออะไร การแสดงเจตนาอันจะถือได้ว่าเป็นคำเสนอต้องมีลักษณะอย่างไร ให้อธิบายโดยสังเขป

(ข) นายแดงทำหนังสือถึงกรมป่าไม้ มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ข้าพเจ้าได้ทราบว่า กรม ป่าไม้มีไม้สักของกลาง จำนวนประมาณ 2,000 ท่อน ข้าพเจ้าใคร่ขอความกรุณารับซื้อไม้สักรายนี้ สำหรับราคานั้น ทางการจะขายเท่าใดแล้วแต่จะเห็นสมควร" ต่อมากรมป่าไม้ทำหนังสือตอบไปยังนายแดงว่า "กรมป่าไม้ตกลงขายไม้สักรายนี้ให้แก่ท่าน จำนวน 1,230 ท่อน ราคาลูกบาศก์เมตรละ 3,000 บาท แต่ต้องชำระราคาเป็นเงินสดและโดยด่วน" เช่นนี้ สัญญาซื้อขายไม้สักระหว่างนายแดงกับกรมป่าไม้เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก) คำเสนอคือ นิติกรรมฝ่ายเดียวชนิดที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา เกิดขึ้นโดยบุคคลฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งแจ้งให้ทราบว่าตนมีความประสงค์จะผูกพันตนทำสัญญาในประการใด และขอให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งนั้นร่วมทำสัญญาด้วยตามที่ตนเสนอไปนั้น (4 คะแนน)

การแสดงเจตนาอันจะถือได้ว่าเป็นคำเสนอต้องมีลักษณะ 2 ประการ ดังนี้

(1) เป็นข้อความชัดเจนและแน่นอน

(2) มีความมุ่งหมายว่า ถ้ามีคำสนอง สัญญาเกิดขึ้นทันที (6 คะแนน)

(ข) กรณีตามอุทาหรณ์ การแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือของนายแดงเป็นข้อความที่ยังไม่ชัดเจนและแน่นอน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำเสนอ แต่เป็นเพียงคำปรารภว่านายแดงมีความประสงค์จะทำสัญญาเท่านั้น

สำหรับการแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือของกรมป่าไม้กระทำขึ้นในขณะที่ยังไม่มีคำเสนอใดมายังกรมป่าไม้ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นคำสนอง อย่างไรก็ตามเนื่องจากหนังสือของกรม ป่าไม้มีข้อความที่ชัดเจนและแน่นอน และเป็นที่เห็นได้ว่ามีความมุ่งหมายว่าถ้านายแดงทำ คำสนองตกลงด้วยตามนั้น สัญญาเกิดขึ้นได้ทันที่ จึงถือได้ว่าการแสดงเจตนาโดยทำเป็นหนังสือของกรมป่าไม้ดังกล่าว เป็นคำเสนอ

กรณีตามอุทาหรณ์มีเพียงคำเสนอของกรมป่าไม้ ไม่มีคำสนองของนายแดง ดังนั้น จึงไม่มีสัญญาซื้อขายไม้สักระหว่างนายแดงกับกรมป่าไม้เกิดขึ้น (เทียบฎีกาที่ 927/2498) (15 คะแนน)

LW 203

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2542 (ส่วนภูมิภาค)

ข้อ 1. วิภาซึ่งเป็นภรรยาของชาตรีถึงแก่ความตาย ชาตรีได้รับทรัพย์มรดกของวิภาไว้แต่เพียง ผู้เดียว ต่อมาชาตรีได้ทำสัญญากับวันดีซึ่งเป็นมารดาของวิภาแบ่งมรดกบางส่วนให้แก่วันดี โดยชาตรียอมยกที่ดินมรดกแปลงหนึ่งให้แก่วันดี ในการนี้ชาตรีและวันดีได้ไปจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าว ณ สำนักงานที่ดินด้วยแล้ว หลังจากนั้นอีกสามเดือน ชาตรีฟ้องคดีเรียกที่ดินคืนโดยอ้างว่าสัญญาให้ที่ดินเป็นโมฆะเนื่องจากตนมิได้มีเจตนาอันแท้จริงที่จะให้ที่ดินแก่วันดี แต่ที่ได้กระทำไปก็เพื่อหลอกให้วันดีหายจากวิกลจริตเท่านั้น เช่นนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า

(ก) สัญญาให้ที่ดินที่ทำขึ้นระหว่างชาตรีและวันดีเป็นโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าในขณะรับการให้ที่ดินนั้นวันดีก็รู้ว่าชาตรีมิได้ต้องการให้ที่ดินแก่ตนจริงๆ ผลในกฎหมายในเรื่องนี้จะเปลี่ยนไปอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ หลักกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. ได้วางหลักกฎหมายไว้พอนำมาพิจารณาประกอบกรณีตามโจทย์ ได้ดังนี้.-

"การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่ตนได้แสดงออกมาก็ตาม หาเป็นมูลให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น" (มาตรา 254)

วินิจฉัย

(ก) สัญญาให้ที่ดินที่ทำขึ้นระหว่างชาตรีและวันดีไม่เป็นโมฆะ ถึงแม้ในใจจริงชาตรีมิได้มีเจตนาอันแท้จริงที่จะให้ที่ดินแก่วันดีก็ตาม (มาตรา 154 ตอนต้น) (ฎีกาที่ 503/2197) (9 คะแนน)

(ข) ถ้าในขณะรับการให้ที่ดิน วันดีก็รู้อยู่ว่าชาตรีมิได้มีเจตนาให้ที่ดินแก่ตนจริง ๆ สัญญาให้ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 154 ตอนท้าย ที่ว่า "…เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น" (9 คะแนน)

ข้อ 2. นาย ก. ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่นาย ข. 1 แปลง นาย ก. ได้รับเช็คและเงินค่าที่ดินไปบางส่วนแล้ว แต่ไม่สามารถจะโอนที่ดินให้แก่นาย ข. ได้ นาย ข. จึงฟ้องนาย ก. เป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกง ต่อมานาย ก. และ นาย ข. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้น นาย ข. ได้ขู่นาย ก. ว่าถ้านาย ก. ไม่คืนเงินและเช็คที่รับไปจะเอานาย ก. เข้าตะราง นาย ก. เกิดความกลัวจึงยอมใช้เงินคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนี้ อยากทราบว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีผลใช้บังคับกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่"

วินิจฉัย การที่นาย ก.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่นาย ข. 1 แปลง ซึ่ง นาย ก.ได้รับเช็คและเงินค่าที่ดินไปบางส่วนแล้ว แต่ไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่นาย ข. ได้ จึงได้ถูกนาย ข. ฟ้องเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงในขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น นาย ข.ได้ขู่นาย ก.ว่าจะเอานาย ก. เข้าตะรางเป็นการขู่จะเอาผิดกับนาย ก. ทางอาญาฐานฉ้อโกงอันเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคแรก สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับกันได้ไม่เสื่อมเสียไปแต่ประการใด (คำพิพากษาฎีกาที่ 2968/2516) (18 คะแนน)

ข้อ 3. จงตอบถามต่อไปนี้ให้ได้ใจความสมบูรณ์

ก) นายแดงทำสัญญาเช่าบ้านนายดำในวันที่ 31 ตุลาคม 2542 มีกำหนดเวลาเช่า 1 เดือน สัญญา เช่าบ้านจะครบกำหนดเมื่อใด จงอธิบาย

ข) นายเขียวทำสัญญาเช่าโกดังเก็บสินค้าของนายขาวในวันที่ 1 มกราคม 2542 มีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี สัญญาเช่าโกดังจะครบกำหนดเมื่อใด จงอธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า

"ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็น วัน สัปดาห์ เดือน หรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน…….." (2 คะแนน)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/5 บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี ให้คำนวณตามปีปฏิทิน (2 คะแนน)

ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือน หรือปี ระยะเวลาย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือน หรือปี สุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ……" (3 คะแนน)

วินิจฉัย

ก) นายแดงทำสัญญาเช่าบ้านนายดำเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2542 มีกำหนดเวลาเช่า 1 เดือน การเริ่มต้นนับระยะเวลามิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานับรวมเข้าด้วยกัน ให้เริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 (ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง) แต่เนื่องจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 เป็นวันต้นแห่งเดือนระยะเวลา 1 เดือน จึงสิ้นสุดลงในวันสิ้นเดือน คือ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 (ตามมาตรา 193/5 วรรคแรก)

สรุป เพราะฉะนั้น สัญญาเช่าบ้าน 1 เดือน จึงครบกำหนดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 (9 คะแนน)

ข) นายเขียวทำสัญญาเช่าโกดังเก็บสินค้าจากนายขาวในวันที่ 1 มกราคม 2542 มีกำหนดเวลาเช่า 3 ปี การเริ่มต้นนับระยะเวลามิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกันให้เริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 2 มกราคม 2542 (ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง) แต่เนื่องจากวันที่ 2 มกราคม 2542 มิใช่วันต้นแห่งปีระยะเวลา 3 ปี จึงสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้นคือ วันที่ 1 มกราคม 2545 (ตามมาตรา 193/5 วรรคสอง)

สรุป เพราะฉะนั้น ระยะเวลาเช่าโกดัง 3 ปี จึงสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม 2545

ข้อ 4. นายไพรัชทำสัญญาจ้างบริษัทไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ก่อสร้างบ้านหลังหนึ่ง ตกลงค่าจ้างเหมา เป็นเงินหนึ่งล้านบาทถ้วน กำหนดก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยและส่งมอบบ้านในภาย 1 ปีนับแต่วันทำสัญญา และมีข้อตกลงกันด้วยว่าถ้าบริษัทไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ก่อสร้างบ้านไม่เสร็จตามเวลากำหนด บริษัทไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ต้องเสียเบี้ยปรับให้แก่นายไพรัชวันละสองพันบาท

เมื่อถึงเวลากำหนด ปรากฏว่าบริษัทไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ก่อสร้างบ้านไม่เสร็จ หลังจากนั้นอีก 15 วันจึงก่อสร้างเสร็จและส่งมอบบ้านให้นายไพรัช นายไพรัชรับมอบบ้านนั้นไว้โดยมิได้พูดถึงเบี้ยปรับแต่อย่างใด ในการชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านงวดสุดท้าย นายไพรัชหักเงินไว้เป็นค่าเบี้ยปรับสามหมื่นบาท บริษัทไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ไม่ยอมให้นายไพรัชหักเงินไว้เป็นค่าเบี้ยปรับดังกล่าว และฟ้องคดีต่อศาลเรียกร้องให้นายไพรัชชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านที่ยังค้างอยู่อีกสามหมื่นบาท เช่นนี้ ถ้าท่านเป็นผู้พิพากษา ท่านจะพิพากษาคดีนี้อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับกรณีตามปัญหาไว้ (มาตรา 381) ว่า

"ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เช่นว่า ไม่ชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ เป็นต้น นอกจากเรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้...

ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" (7 คะแนน)

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ นายไพรัชทำสัญญาจ้าง บริษัท ไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ก่อสร้างบ้านหลังหนึ่ง และมีข้อตกลงกำหนดเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรไว้ด้วย ปรากฏว่า บริษัท ไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ชำระหนี้ล่าช้าอันเป็นการชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร แต่เนื่องจากนายไพรัชรับชำระหนี้ ดังกล่าวไว้โดยมิได้บอกสงวนสิทธิไว้ในเวลารับชำระหนี้ว่าจะริบหรือเรียกเอาเบี้ยปรับแต่อย่างใด นายไพรัชจึงไม่มีสิทธิที่จะริบหรือเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นอีกต่อไป การที่นายไพรัชหักเงินไว้เป็นค่าเบี้ยปรับสามหมื่นบาท จึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อบริษัทไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ฟ้องคดีต่อศาลเรียกร้องให้นายไพรัชชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านที่ยังค้างอยู่อีกสามหมื่นบาท ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้พิพากษา ข้าพเจ้าจะพิพากษาให้นายไพรัชชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านที่ยังค้างอยู่อีกสามหมื่นบาท (พร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันถึงกำหนดชำระจนถึงวันชำระเงิน ดังกล่าว) ให้แก่บริษัทไพโรจน์ก่อสร้าง จำกัด (18 คะแนน)

LW 203

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2542

ข้อ 1. (ก) การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม มีผลในกฎหมายประการใด ให้อธิบาย

(ข) อุดมมีส่วนในที่ดินแปลงหนึ่งอยู่ 100 ตารางวา ได้ตกลงแบ่งขายให้มงคล 30 ตารางวา ในการจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินแปลงนี้ที่สำนักงานที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินหลงผิด จดทะเบียนโอนขาย ที่ดินส่วนของอุดม ทั้งหมด 100 ตารางวาให้แก่มงคล ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุดมสำคัญผิดคิดว่าเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่มงคล 30 ตารางวา อุดมจึงลงลายมือชื่อในเอกสารการจดทะเบียนซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจัดเตรียมให้ เช่นนี้ การซื้อขายที่ดินระหว่างอุดมและมงคลมีผลในกฎหมายประการใด เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 156, 158

อธิบายหลักทั่วไป การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ

ข้อยกเว้น ถ้าความสำคัญผิดเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้แสดงเจตนา ผู้แสดงเจตนาจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ (9 คะแนน)

(ข) หลักกฎหมาย ป.พ.พ.มาตรา 156, 173

วินิจฉัย ตามอุทาหรณ์ อุดมแสดงเจตนาทำนิติกรรมขายที่ดินโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงเป็นกรณีที่อุดมแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การซื้อขายที่ดินระหว่างอุดมและมงคลจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 (8 คะแนน)

แต่ตามพฤติการณ์แห่งกรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าอุดมและมงคลมีเจตนาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน 30 ตารางวา ซึ่งแยกออกต่างหากจากที่ดินส่วนเนื้อที่ 70 ตารางวาได้ ดังนั้น การซื้อขายที่ดินระหว่างอุดมและมงคลจึงเป็นโมฆะเฉพาะส่วน 70 ตารางวา แต่การซื้อขายที่ดินส่วน 30 ตารางวามีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 (ฎีกาที่ 2243/2517) (8 คะแนน)

ข้อ 2. ก.ผู้เยาว์ขายแม่ม้าให้ ข. 1 ตัวในราคา 20,000 บาท โดย ก.ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ในระหว่างที่แม่ม้าอยู่กับ ข. นั้น ข.ได้นำพ่อม้ามาผสมพันธุ์ และหลังจากเกิดลูกม้า 1 ตัวแล้ว ข. จึงทราบว่า ก. เป็นผู้เยาว์

ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้

1. ใครเป็นผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม

2. ผลของการบอกล้างโมฆียะกรรมมีอยู่อย่างไร

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 175 "โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้

1. ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม..." (3 คะแนน)

ป.พ.พ. มาตรา 176 "โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน

ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ..." (5 คะแนน)

วินิจฉัย

1. ผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมมีดังนี้

1.1 ผู้แทนโดยชอบธรรมของ ก. (2 คะแนน)

1.2 ก. เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วหรือเมื่อ ก.ได้รับความยินยอมของผู้แทนฯ ก็มีสิทธิบอกล้างฯ

ได้ (3 คะแนน)

2. ผลของการบอกล้าง ตามมาตรา 176 มีดังนี้ (ข้อละ 3 คะแนน)

2.1 สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก

2.2 คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม คือ ก.ต้องคืนเงิน 20,000 บาทให้แก่ ข. และ ข.ต้องคืน

แม่ม้าให้ ก.ไป

3. ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน กรณีนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัยแต่อย่างไร จึงไม่ต้องวินิจฉัย

4. ปรากฏว่า ทรัพย์ที่จะต้องคืน คือแม่ม้าเกิด "ดอกผล" คือลูกม้าออกมา ซึ่งจะต้องพิจารณาต่อไปว่า ดอกผลนั้นจะตกเป็นของผู้ใด ในกรณีนี้ ข. ทราบว่า ก.เป็นผู้เยาว์ หลังแม่ม้าออกลูกแล้วถือว่า ข.ไม่รู้หรือไม่ควรจะได้รู้ว่านิติกรรมเป็นโมฆียะ ข.จึงได้แม่ม้าไว้โดยสุจริต ย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์นั้น ตามมาตรา 415

สรุป ข.ไม่ต้องคืนลูกม้าให้แก่ ก. แต่อย่างไร

ข้อ 3. นายพิทักษ์ได้ทำสัญญายืมเงินจากนางสาวกิติมาไปลงทุนทำธุรกิจการค้าเป็นเงินจำนวน 300,000 บาท เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2530 โดยไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ต่อมาวันที่ 8 เมษายน 2531 ทั้งสองได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้อยู่กินร่วมกันเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 ทั้งสองได้หย่าขาดจากกัน นางกิติมาจึงได้นำสัญญายืมเงินดังกล่าวมาฟ้องเรียกเงินจากนายพิทักษ์ในวันที่ 1 มีนาคม 2543 นายพิทักษ์ได้ต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความแล้ว อยากทราบว่าข้อต่อสู้ของนายพิทักษ์ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 193/22 บัญญัติว่า "อายุความสิทธิเรียกร้องระหว่างสามีภริยา ถ้าจะครบกำหนดก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง" (5 คะแนน)

ป.พ.พ. มาตรา 193/12 บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป…" (1 คะแนน)

ป.พ.พ. มาตรา 193/30 บัญญัติว่า "อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี" (1 คะแนน)

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ นายพิทักษ์ได้ทำสัญญายืมเงินจากนางสาวกิติมาไปเป็นจำนวน 300,000 บาท เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2530 โดยไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ในการกู้ยืมเงินกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ กรณีนี้ต้องใช้อายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อหนี้รายนี้ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้อายุความ 10 ปี จึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2530 อายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดในวันที่ 11 มกราคม 2540 แต่เนื่องจากนางสาวกิติมาได้ทำการสมรสกับนายพิทักษ์และได้อยู่กินร่วมกันเรื่อยมา ดังนี้แม้อายุความฟ้องเรียกหนี้เงินยืมคืนจะครบกำหนดไปแล้วก่อนที่การสมรสจะสิ้นสุดลง อายุความก็ยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/22 ทั้งสองได้หย่าขาดจากกัน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 อายุความ 1 ปี จะครบกำหนดในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2543 ดังนั้นเมื่อนางกิติมานำสัญญายืมเงิน ดังกล่าวมาฟ้องนายพิทักษ์ในวันที่ 1 มีนาคม 2543 อายุความจึงยังไม่ขาด

สรุปว่า ข้อต่อสู้ของนายพิทักษ์ที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วจึงฟังไม่ขึ้น

ข้อ 4. นายวิชิตซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครพนมส่งจดหมายเสนอขายม้าแข่งตัวหนึ่งของตนแก่นายวิเชียรซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ราคา 100,000 บาท

(ก) โดยกำหนดไปในจดหมายเสนอขายนั้นด้วยว่าถ้านายวิเชียรต้องการซื้อม้าตัวนั้น ให้สนองตอบมาภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 กรณีหนึ่ง

(ข) โดยมิได้กำหนดไปในจดหมายเสนอขายนั้นด้วยว่าถ้านายวิเชียรต้องการซื้อม้าตัวนั้น จะต้องสนองตอบมาภายในเวลาใด อีกกรณีหนึ่ง

ในแต่ละกรณีดังกล่าว ถ้านายวิชิตต้องการจะถอนคำเสนอขายม้าดังกล่าว นายวิชิตจะกระทำได้หรือไม่ เมื่อใด

ธงคำตอบ

(ก) ป.พ.พ. มาตรา 354 บัญญัติว่า

"คำเสนอจะทำสัญญาอันบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้น ท่านว่าไม่อาจจะถอนได้ภายในระยะเวลาที่บ่งไว้" (4 คะแนน)

ตามอุทาหรณ์ นายวิชิตซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครพนมส่งจดหมายเสนอขายม้าแข่งตัวหนึ่งของตนแก่นายวิเชียรซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยบ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองตอบมาภายในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 คำเสนอจึงมีผลผูกพันนายวิชิตในอันที่จะต้องรอรับคำสนองของนายวิเชียรจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 ดังนั้นในกรณีตามอุทาหรณ์ (ก) ถ้านายวิชิตต้องการจะถอนคำเสนอขายม้าดังกล่าว นายวิชิตจะกระทำได้ต่อเมื่อพ้นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 ไปแล้ว (8.5 คะแนน)

(ข) ป.พ.พ. มาตรา 355 บัญญัติว่า

"บุคคลทำคำเสนอไปยังผู้อื่นซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางและมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง จะถอนคำเสนอของตนเสียภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองนั้น ท่านว่าหาอาจจะถอนได้ไม่" (4 คะแนน)

ตามอุทาหรณ์ นายวิชิตซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครพนมส่งจดหมายเสนอขายม้าแข่งตัวหนึ่งของตนแก่นายวิเชียรซึ่งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนอง ในกรณีเช่นนี้ นายวิชิตจะถอนคำเสนอของตนภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองหาได้ไม่

"เวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนอง" ในกรณีนี้พิจารณาได้จากระยะเวลาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างนายวิชิตกับนายวิเชียร กล่าวคือ ตามปกติการส่งจดหมายจากจังหวัดนครพนมไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราชใช้เวลาประมาณ 3 วันให้เวลานายวิเชียรคิดตรึกตรองตัดสินใจ 1 วัน และเมื่อนายวิเชียรส่งจดหมายตอบสนองไปยังนายวิชิตที่จังหวัดนครพนม ใช้เวลาอีกประมาณ 3 วัน รวมเป็นเวลาอันควร

คาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองในกรณีนี้ คือ ประมาณ 7 วัน

ดังนั้น ในกรณีตามอุทาหรณ์ (ข) ถ้านายวิชิตต้องการจะถอนคำเสนอขายม้าดังกล่าว นายวิชิตจะกระทำได้ต่อเมื่อพ้นเวลาประมาณ 7 วันนับแต่วันที่นายวิชิตส่งจดหมายคำเสนอขายม้าให้แก่นายวิเชียรไปแล้ว (8.5 คะแนน)

LW 203

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2542 (ส่วนภูมิภาค)

ข้อ 1. (ก) การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า หมายความว่าอย่างไร มีผลสมบูรณ์เมื่อใด ให้อธิบาย

(ข) แดงผู้เยาว์ทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์คันหนึ่งจากร้านของชัยราคา 30,000 บาท โดยไม่ได้บอกให้ดำบิดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของแดงทราบ หลังจากซื้อรถจักรยานยนต์มาได้ 2 วัน ดำบิดาของแดงทราบเรื่องจึงแสดงเจตนาบอกล้างสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ โดยทำเป็นหนังสือมอบให้ขาวถือไปส่งให้ชัยที่ร้าน แต่ชัยไม่อยู่ ขาวจึงได้ส่งหนังสือบอกล้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวให้ไว้แก่แสงเจ้าของร้านค้าซึ่งอยู่ติดกับร้านของชัยรับไว้แทน เช่นนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า การแสดงเจตนาของดำที่บอกล้างสัญญาซื้อขายรถจักรยานยนต์ระหว่างแดงและชัยมีผลสมบูรณ์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 169 วรรคแรก ตอนต้น อธิบายได้ดังนี้

การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า หมายถึง การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งไม่สามารถติดต่อทำความเข้าใจกันได้ในทันที ต้องใช้ระยะเวลาในการติดต่อกัน

การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้ามีผลสมบูรณ์เมื่อการแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา

คำว่า "ไปถึง" หมายความว่าการแสดงเจตนานั้นได้ส่งไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้รับซึ่งโดยพฤติการณ์ตามป

เรื่องกฎหมาย หนี้ และ นิติกรรมสัญญา

หนี้……ม.194 – ม.353 ,

นิติกรรม ……ม.149 – ม.181 ,

สัญญา……ม.354 – ม.394

ซึ่งในกฎหมายหนี้ จะมีขอบเขตและเนื้อหา ที่เราสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้

1) ชุดวัตถุแห่งหนี้……ม.ที่สำคัญ คือ ม.194 + ม.195 + ม.196 + ม.198 + ม.202

ขยายความ.... วัตถุแห่งหนี้ คือ สิ่งที่เจ้าหนี้จะพึงเรียกให้ลูกหนี้ปฏิบัติเพื่อชำระหนี้...วัตถุแห่งหนี้ที่เกิดจากสัญญา จึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญา...ส่วนหนี้ทางละเมิดนั้นเป็นการชำระค่าสินไหมทดแทน... วัตถุแห่งหนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของหนี้ ความสัมพันธ์ที่จะเป็นหนี้ต้องมีวัตถุแห่งหนี้....ซึ่งเกิดจากมูลแห่งหนี้ทุกตัว...หรือ มูลแห่งหนี้นั้นต้องมีวัตถุแห่งหนี้นั่นเอง ( มูลแห่งหนี้หรือที่มาแห่งหนี้แบ่งออกเป็น 5 ประการ คือ

1)สัญญา

2)ละเมิด

3)จัดการงานนอกสั่ง

4)ลาภมิควรได้

5)กฎหมาย

EX ก. ทำสัญญาเป็นคนขับรถให้กับ ข. หน้าที่หรือหนี้ของ ก. ตามสัญญานั้นก็คือ จะต้องขับรถให้ ข. ด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทเลินเล่อ หาก ก. ขับรถด้วยความประมาทไปชน ค. บาดเจ็บ ก. ก็มีหน้าที่หรือหนี้ทางละเมิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ ค. ...จะเห็นได้ว่า หน้าที่ของ ก. ต่อ ข. ต่างกับหน้าที่ของ ก. ต่อ ค. แม้ว่าผลที่สุดการที่ ก. ทำผิดหน้าที่ต่อ ข. ก. จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับ ข. เหมือนกับที่ ก. ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ ค. ก็เป็นเรื่องความรับผิดเท่านั้นที่เหมือนกัน หาใช่เป็นเรื่องวัตถุแห่งหนี้หรือหน้าที่ของลูกหนี้เหมือนกันไม่

วัตถุแห่งหนี้ คือ สิ่งที่เจ้าหนี้อาจเรียกร้องเอากับลูกหนี้ได้ มี 3 ประการคือ

1) กระทำการ

2) งดเว้นกระทำการ

3) ส่งมอบทรัพย์สิน

ดังนั้น เมื่อเราพูดถึงผลแห่งหนี้หรือความผูกพัน ก็จะมองไปที่วัตถุแห่งหนี้....วัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างไร ย่อมดูได้ที่ที่มาแห่งหนี้หรือมูลแห่งหนี้ เช่น สัญญาจ้างร้องเพลงเป็นสัญญาจ้างทำของ สัญญาจ้างทำของก่อให้เกิดหนี้ มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการกระทำการคือการร้องเพลง ลูกหนี้มีความผูกพันธ์ที่จะต้องร้องเพลง...และกฎหมายก็ได้บัญญัติว่า หนี้กระทำการจะมีผลอย่างไร ซึ่งชี้กฎหมายที่จะบังคับต่อไป รวมถึงการที่จะฟ้องร้องบังคับคดีต่อไปด้วย.......ปัญหาเรื่องวัตถุแห่งหนี้ที่สำคัญที่สุดก็คือ ปัญหาตอนที่จะบังคับให้ชำระหนี้

2) ชุดผิดนัด……เราสามารถแยกออกเป็นชุดย่อยๆได้ดังนี้

2.1 ชุดลูกหนี้ผิดนัด……ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.203 + ม.204 + ม.206….โดยมี ม.205 เป็นข้อยกเว้น ……เป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของกฎหมายหนี้……จึงควรทำความเข้าใจให้ดี

2.2 ชุดเจ้าหนี้ผิดนัด……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.207 + ม.210……โดยมี ม.211 + ม.212

เป็นข้อยกเว้น

2.3 ชุดสิทธิของเจ้าหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.213 + ม.214 + ม.215 + ม.216……ในส่วนนี้เราควรทำความเข้าใจว่า เมื่อลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว เจ้าหนี้ย่อมที่จะเกิดสิทธิดังต่อไปนี้ขึ้นมา กล่าวคือ

2.3.1 สิทธิในการที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง ตาม ม.213

2.3.2 สิทธิในการที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง ตาม ม.214

2.3.3 สิทธิในการที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ตาม ม.215….ในส่วนนี้ให้ดู ม.222 + ม.223 ประกอบด้วยจะดีมาก( โดยเฉพาะ ม.223 นั้น สามารถโยงไปหา ม. 442 ของกฎหมายละเมิดได้ด้วย )

2.3.4 สิทธิในการบอกปัดไม่รับชำระหนี้ ถ้าการชำระหนี้นั้นเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ตาม ม.216

2.3.5 สิทธิในการบอกเลิกสัญญา ตาม ม.387 + ม.388

2.4 ชุดความรับผิดของลูกหนี้….มาตราที่สำคัญๆ ในส่วนนี้ ก็คือ ม.217 + ม.218 + ม.219 ในส่วนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งอันหนึ่งของกฎหมายหนี้……ดังนั้นจึงควรที่จะทำความเข้าใจให้ดี……และในส่วนนี้สามารถโยงไปหา ม.370 + ม.371 + ม.372 ได้ และมักจะนำมาออกคู่กันอยู่เสมอๆ……ดังนั้นจึงควรที่จะต้องดูเชื่อมโยงกันด้วยจะดีเอามากๆ

2.5 ชุดเครื่องมือของเจ้าหนี้ในการที่จะบังคับให้สมดังสิทธิของเจ้าหนี้……ในส่วนนี้เราควรที่จะทำความเข้าใจก่อนว่า ในระหว่างที่เป็นเจ้าหนี้เป็นลูกหนี้กันนั้น อาจจะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมา แล้วอาจทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีต่อลูกหนี้สูญ เสียหรือเสียหายได้…ดังนั้นกฎหมายจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ ( ซึ่งเราจะเรียกในที่นี้ว่า เครื่องมือของเจ้าหนี้ ) ขึ้นมา……เพื่อให้เจ้าหนี้ได้ใช้บังคับไม่ให้สิทธิที่ตนมีอยู่นั้นต้องสูญเสีย หรือเสียหายไป นั่นเอง……โดยเครื่องมือของเจ้าหนี้มีดังต่อไปนี้

2.5.1 รับช่วงสิทธิ……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.226 + ม.227 + ม.228 + ม.230

2.5.2 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้……ม.ที่สำคัญ คือ ม.233 + ม.235 + ม.236

2.5.3 เพิกถอนการฉ้อฉล……ม.ที่สำคัญ คือ ม.237 + ม.238

2.3.4 สิทธิยึดหน่วง……ม.ที่สำคัญ คือ ม.241 + ม.242 + ม.243 +ม.24

2.6 ชุดเจ้าหนี้ร่วมลูกหนี้ร่วม……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.290 + ม.291 + ม.292 + ม.294 + ม.296 + ม.300 + ม.301

2.7 ชุดโอนสิทธิเรียกร้อง……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.303 + ม.304 + ม.306 + ม.308

2.8 ชุดความระงับแห่งหนี้……ในส่วนนี้พึงควรทำความเข้าใจก่อนว่า จะมีเฉพาะแต่กรณีดังต่อไปนี้เท่านั้นที่จะทำให้หนี้ที่มีอยู่นั้นระงับลงไป…….ดังนั้นถ้านอกเหนือไปจากนี้แล้วย่อมไม่ทำให้หนี้ที่มีอยู่นั้นระงับลงไปแต่อย่างใดไม่…….ซึ่งกรณีที่ทำให้หนี้ระงับมีดังต่อไปนี้

2.8.1 การชำระหนี้….ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.314 + ม.315 + ม.320 + ม.321 + ม.330 + ม.331

2.8.2 ปลดหนี้……ม.ที่สำคัญ คือ ม.340

2.8.3 หักกลบลบหนี้……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม. 341 + ม.342 + ม.344 + ม.345 + ม.346

2.8.4 แปลงหนี้ใหม่……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.349 + ม.350 + ม.351

2.8.5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.353

ในส่วนของ สัญญา จะมีเขอบเขตและเนื้อหาดังต่อไปนี้

2.9 ชุดหลักทั่วไป……ม.ที่สำคัญ ๆ ก็คือ ( ม.354+ ม.355 + ม.356 ) + ( ม.357 + ม.358 + ม.359 ) + ม.361

2.10 ชุดสัญญาต่างตอบแทน…….ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.369 + ม.370 + ม.371 + ม.372…….ในส่วนนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จึงควรทำความเข้าใจให้จงดี……แล้วจะต้องดูคู่กับ ม.217 + ม.218 + ม.219 ด้วยเสมอ…

2.11 ชุดมัดจำและเบี้ยปรับ……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.377 ( มัดจำ ) + ม.379 + ม.380 + ม.381 + ม.382 ( เบี้ยปรับ )

2.12 ชุดการเลิกสัญญา……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.386 + ม.387 + ม.388 + ม.389 + ม.391

ในส่วนของนิติกรรม นั้น จะมีขอบเขตและเนื้อหา ดังต่อไปนี้

2.13 ชุดหลักทั่วไป……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.149

2.14 ชุดนิติกรรมที่เป็นโมฆะกรรม……จะมีมาตราที่สำคัญๆ คือ ม.150 + ม.152 + ม.154 + ม.155 + ม.156

2.15 ชุดนิติกรรมที่เป็นโมฆียะกรรม…….มีมาตราที่สำคัญๆ ก็คือ ม.153 + ม.157 + ( ม.159 + ม.160 + ม.161 + ม.163 ) + ( ม.164 + ม.165 )

2.16 ชุดนิติกรรมที่แตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย……ม.ที่สำคัญ คือ ม.151

2.17 ชุดความสำคัญผิดโดยประมาท……ม.ที่สำคัญ คือ ม.158

2.18 ชุดโมฆะกรรม และ โมฆียะกรรม……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.172 + ม.174 + ม.175 + ม.176 + ม.177 + ม.181

............จบแล้วจ้า.............

ข้อสอบนิติกรรมสัญญา เป็นไงจ๊ะ มึนตึ๊บ ?

ใครได้เขียน ให้อาจารย์บ้างไหม เรียนแล้วได้อะไร คนที่เตรียมมาตั้งแต่บ้านเขียนไม่ทันสักคนจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท