วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ : 10. KM ผู้บริหาร


• ในตอนก่อนๆ เน้นบทบาทของผู้บริหารในบทบาท “คุณเอื้อ”   แต่จริงๆ แล้ว ผู้บริหารต้องแสดงบทบาท “คุณกิจ” ด้วย
• “คุณกิจ” ที่เป็นเจ้าหน้าที่หน้างาน   เน้นการทำ KM เพื่อพัฒนางานของตน   เน้นการ “มองตรงหน้า” เน้นการใช้ “ตาหนอน”
• ผู้บริหารทำหน้าที่ “คุณกิจ” ที่ “มองไปข้างหน้า” และมองภาพใหญ่   เน้นการใช้ “ตานก”
• กลุ่มผู้บริหารคอยตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก และจับ “ภาพอนาคต” ที่อาจเป็นไปได้    และที่น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับหน่วยงาน/องค์กร   นำมา ลปรร. กันในกลุ่มผู้บริหาร   เป็นการ ลปรร. เพื่อ หมุนเกลียวความรู้ด้าน KV ขององค์กร  จะเห็นว่า KM ผู้บริหารเน้น Risk Management, Future Management, Change Management    ทำให้ KV หรือ “หัวปลา” มีชีวิต
• และนำภาพ KV ที่กำลังเคลื่อนไปข้างหน้า มาเชื่อมโยงกับ KA ที่ได้จากการ ลปรร. ในกลุ่มเจ้าหน้าที่  ระดับปฏิบัติการ   ซึ่งจะทำให้ “เกลียวความรู้” วงผู้บริหารเชื่อมโยงกับ “เกลียวความรู้” วงเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
• จริงๆ แล้ว ในองค์กรจะมี “วงความรู้” นับร้อยนับพันวง หมุน “เกลียวความรู้” ผ่านการปฏิบัติอยู่อย่างซับซ้อน   หน้าที่ของผู้บริหาร คือ “จัดการแบบไม่จัดการ” ให้เกลียวความรู้เหล่านี้สนธิพลัง (synergy) กัน   ไม่ขัดแรงกัน

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2   ตอนที่ 3  ตอนที่ 4  ตอนที่ 5

ตอนที่ 6  ตอนที่ 7  ตอนที่ 8  ตอนที่ 9

วิจารณ์ พานิช
๒๙ พค. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #หน่วย#องค์กร
หมายเลขบันทึก: 33530เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2006 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท