ความรู้ฝังลึก จาก อาจารย์ ดร.กระจ่าง พันธุมนาวิน
อาจารย์ ดร.กระจ่าง อดีตที่ ๑ ของประเทศไทย ท่านจบปริญญาตรี สาขาพฤกษ์ศาสตร์การเกษตร และ ปริญญาเอก สาขา Cytogenetics จาก Reading University ประเทศอังกฤษ ท่านเคยเป็นอาจารย์ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๑ และ ย้ายไปอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประสบการณ์ที่สำคัญที่อาจารย์มีคือ ผู้ชำนาญการพัฒนาชนบท องค์การซีโต้ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สมัยท่าน พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมนันท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ชุดสนามม้า)
ประเด็นที่ท่านอาจารย์กระจ่างเล่าให้เราฟัง คือ เราต้องรู้ว่า “ ชนบท ” คือ อะไร มีเกณฑ์วัดอย่างไร เช่น วิถีชิวิต หรือ ความจำเป็นพื้นฐาน หรือ ความหนาแน่นของชุมชนที่อยู่อาศัย เช่น ชุมชนคลองเตย
คำถามที่ดำเนินการ ทำงานของชาวมหาวิทยาลัย เราจะทำอย่างไร มีสิ่งที่ต้องคิด คือ Intention ที่เราตั้งใจจะไปทำงาน แต่สิ่งที่ต้องคำนึง คือ Perception ของประชาชนที่มารับบริการ ต้องคำนึงถึงทัศนะของชาวบ้าน
สิ่งที่คณาจารย์พึงกระทำ คือ ปรับจิตวิทยาของสังคมดั้งเดิม ที่ทำงานร่วมมือกัยไม่ได้ ความหวังพึ่งพาจากภายนอก ความหวาดระแวงต่อการเปลี่ยนแปลง ความเห็นแก่เล็ก-แก่น้อย
บทบาทที่คณาจารย์ ต้องคิดให้ดีว่า “ บทบาทเรา คือ อะไร ” ประสบการณ์ของอาจารย์กระจ่าง เพราะตั้งแต่อาจารย์เรียนที่ Reading University อาจารย์ไปดูการทำงานของทุกภาควิชา เพื่อกลับมาพัฒนาชาติไทย โชคดีที่ท่านกลับมาทำงานที่ “ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ” ทำให้สามารถทำงานในพื้นที่จริงๆ เห็นการพัฒนาชนบท เห็นประชาชนทำงานในพื้นที่จริง การใช้เครื่องมือบางครั้ง สมัยก่อนไม่ค่อยมีการล้างเครื่องมือ ทำให้เกิดการเป็นสนิม ซึ่งแตกต่างกับชาวนาในประเทศจีน “ ล้างเครื่องมือทุกครั้งที่ทำนา ”
การทำงานในชนบทต้องถาม อดีตหรือความเป็นมาของการพัฒนาในพื้นที่นั้นๆก่อนที่เราจะเข้าไปดำเนินการจริง เราต้องออกจากหอคอยงาช้างไปสัมผัสชนบท เช่น กับที่ท่านเคยไปทำงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยในอดีต ซึ่งออกไปทำงานที่ห้วยทราย ในโครงการในพระราชดำริ
เราต้องเปลี่ยนความคิด เราจะเปลี่ยนอย่างไร เราจะสร้างให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่พอเพียงได้อย่างไร ในขณะที่เราเป็นสังคมแห่งการบริโภค
รายงานสดภาคแรกก่อน อาหารมื้อที่สองครับ JJ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย JJ ใน จากใจของJJ ฮาเฮ ร่วมสร้างสรรค์