กระบวนการสำคัญกว่าเป้าหมาย : ท่องเที่ยวชุมชนภูชี้ฟ้า


บางทีจุดหมายอาจไม่สำคัญเท่ากับ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างการเดินทาง ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าหากกระบวนการดี การวางแผนการเดินทางดี ชัดเจน จุดหมายก็อยู่ไม่ไกล

  <p style="text-justify: inter-ideograph; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">          เช้ามืด ตี ๔ ตื่นพร้อมโทรศัพท์ปลุกของ รองผู้พันปิยวุฒิ พวกเรามีนัดกันเพื่อจะไปชมพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณที่บนภูชี้ฟ้า</p><p><div style="text-align: center"></div></p>          <p></p><p>เราเดินขึ้นภูชี้ฟ้าในครั้งนี้ มีเด็กชายตัวน้อย ไกด์ชุมชน เผ่าม้ง ชื่อเด็กชายสมคิด แซ่หย่าง เป็นผู้นำทางในครั้งนี้</p><p>ถือว่าเป็นนวัตกรรม ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนอีกอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน มัคคุเทศก์ท้องถิ่น  บางชุมชนก็มีคนในชุมชนทำหน้าที่นี้ ที่พบเห็นได้บ่อยๆและน่าสนใจก็คือ มัคคุเทศก์น้อย ส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนในพื้นที่ท่องเที่ยว ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เสริมหลักสูตรที่เด็กมีส่วนร่วมโดยตรง          </p><p>เดินขึ้นภูชี้ฟ้า ตอนตี ๔ ครึ่ง ได้เรียนรู้ถึงความตั้งใจของนักท่องเที่ยวเพื่อที่จะพิชิตยอดภูสูง และเป้าหมายหนึ่งคือการได้เห็นทะเลหมอกพร้อมแสงอาทิตย์รุ่งอรุณ เท่านี้ก็อิ่มเอมกับบรรยากาศธรรมชาติที่สรรสร้าง          </p><p>ทางเดินสายธรรมชาติ เช้านี้ไม่เป็นใจเอาเสียเลย สายฝนหยาดเม็ดแต่เช้าตรู่ เรายังปลอบตัวเองว่า ไม่ใช่ฝนหรอก มันเป็นหมอกมากกว่า แต่ในที่สุดพวกเราก็วิ่งหลบฝนลงภูชี้ฟ้าแทบไม่ทัน น่าเสียดายเหมือนกันที่ไฮไลท์ ในวันนี้กลับไม่เป็นอย่างที่หวัง อดชมความสวยงามของแสงอรุณยามเช้า แต่การเดินทางในครั้งนี้ได้พบเห็นสิ่งดีๆของชุมชนอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นไกด์ตัวน้อย ที่คอยอธิบายรายละเอียดทุกแง่มุมของภูชี้ฟ้าอย่างน่ารักน่าเอ็นดู ชื่นใจกับการบริหารจัดการเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดสะอ้าน          </p><p></p><p>บางทีจุดหมายอาจไม่สำคัญเท่ากับ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างการเดินทาง ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าหากกระบวนการดี การวางแผนการเดินทางดี ชัดเจน จุดหมายก็อยู่ไม่ไกล</p><p></p><p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 33265เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
หลักของเซนเชื่อว่า "วิถีคือเป้าหมาย" การมองเช่นนี้ทำให้ผู้มองเห็นอยู่กับปัจจุบัน คิดดูสิครับว่า ถ้าจะขึ้นดอย ตาคอยดูแต่ยอดเขา เท้าจะเดินถูกทางได้อย่างไร คงตกดอยตายไปก่อน แต่ก็ใช่ว่าจะละเลย ไม่มีทิศทางเอาเสียเลยนะครับ เพียงแต่ให้เห็นว่าปัจจุบันขณะนี้ สำคัญกว่า โดยสรุปการมองว่ากระบวนการสำคัญกว่าเป้าหมายนั้น ก็เป็นสิ่งเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนเอาไว้สองพันกว่าปีก่อนหน้านี้ นั่นก็คือ ดำรงตนอย่างมีสติอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง ผมยังเรียนรู้ว่าในศิลปะการต่อสู้ก็เช่นกัน ถ้าคู่ต่อสู้จู่โจมมาแล้วเรามัวแต่คิดว่าจะจัดการเขาในเทคนิคใดแล้ว ก็ไม่ทันการณ์ ถูกแทงตายเสียก่อน กระบวนการจัดการ หรือวิถีจึงต้องดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ ทันต่อความจำเป็น อย่างเป็นธรรมชาติ พอเหมาะกับคนผู้นั้นและแผ่รังสีความรักแก่สรรพสิ่งโดยรอบด้วย คือไม่ไปเบียดเบียนใครแม้กระทั่งสิ่งแวดล้อม เรียกอีกอย่างว่า เป็นกระบวนการหรือวิถีที่มีความรักและความสมดุล (love & harmony) มาถึงตอนนี้ คงเห็นชัดขึ้นว่าในแง่นี้กระบวนการหรือวิถีสำคัญกว่าเป้าหมาย แต่ผมอยากเพิ่มเติมว่า ใสนภาพรวม อย่างน้อยต้องเป็นกระบวนการหรือวิถีที่มีความรักและความสมดุล (love & harmony)ด้วย อันนี้ ฝากไว้แลกเปลี่ยนกับนักจัดกระบวนการทั้งหลายด้วยนะครับ

"ภูชี้ฟ้า" สวยงามมากครับ แต่ความเห็นของคนที่ให้ข้อคิดเห็นประเด็นนี้ สวยงามยิ่งกว่าครับ

ขอบคุณครับพี่วิสุทธิ์

ไปภูชี้ฟ้าคราวนี้ไม่ประสบความสำเร็จในการขึ้นไปยืนชี้ฟ้าแสดงว่าต้องไปอีกรอบนะ เผื่อว่าคราวหน้าจะมีโอกาสขึ้นไปยืนชี้ฟ้าได้สำเร็จ 5555555

สิ่งที่ได้รับจากการท่องเที่ยวไม่ใช่แค่เพียงความประทับใจจากธรรมชาติอย่างเดียว เรายังได้เรียนรู้และประสบการณ์อีกมากมาย...

ปล.ภูชีฟ้าสวยมากครับ เคยไปเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว...

 

มีเทศกาลดอกเสี้ยวบาน เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ภูชี้ฟ้าครับ

ผมรู้จักท่านนายก อบต.ที่อยู่ตรงนั้น และพื้นที่ภูชี้ฟ้า กำลังเข้าสู่กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น อีกไม่ช้าครับ คุณ

P
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท