เคล็ดการแยกพระกรุออกจากพระโรงงาน : ตอนที่ ๓ พระเนื้อเงิน


ผิวเดิมนอกสุด มีสนิมฝุ่นสีขาว (“สนิมขาว”) เคลือบผสมกับสนิมที่มีลักษณะเป็นเม็ดๆสีดำแบบหนังตีนไก่แต่เป็นสีดำ (ที่นิยมเรียกว่า “สนิมตีนกา” )

ระกรุเนื้อเงิน เป็นพระเนื้อโลหะที่พบมากในยุคสุโขทัย และอยุธยา  และที่เป็นพระที่ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นเบญจภาคีเนื้อชินก็มี

  • พระหูยานลพบุรี ที่มีหลายเนื้อ แต่ที่ยอมรับเป็นเบญจภาคีนั้นเป็นเนื้อเงิน
  • ชินราชใบเสมาพิษณุโลก ที่มีเกือบครบทุกเนื้อ แต่เป็นที่นิยมก็เป็นเนื้อเงิน
  • พระมเหศวรสุพรรณบุรี ที่มีหลายเนื้อเช่นเดียวกัน แต่เนื้อเงิน ก็เป็นที่นิยมสูงสุดเช่นเดียวกัน

จุดสังเกตเริ่มต้นของเนื้อเงินโบราณก็มีลักษณะสำคัญที่ต้องมีหลายประเด็น ได้แก่

  • ความเป็นโลหะเงิน(สีเงิน) ที่ดูจากรอยบิ่น ดูที่ขอบ และร่องรอยการใช้ (ถ้ามี) ที่ควรต้องมีการยุบตัวจากการกระทบกระแทกบ้าง แต่เมื่อขีดบนกระดาษจะไม่มีรอยสีดำ
  • ควรมีการผุกร่อนทั้งองค์ โดยเฉพาะที่ขอบต้องไม่คม และมีขุมสนิมเงินตามขอบอยู่บ้างเป็นอย่างน้อย

Silver005

พระหูยานลพบุรี ที่มีเนื้อกร่อนสีดำมัน สนิมขาวเดิมๆ ยังคลุมอยู่ในร่อง

มีการสึกตามสภาพใช้แบบธรรมชาติ

Silver004

พระหูยาน ถ่ายใกล้ๆ จะสังเกตเห็นสนิมตีนกาอยู่ใต้สนิมขาว

Teenka007

สนิมตีนกา (สีดำ) บนพรายเงิน ในพระมเหศวร

พระพุทธชินราชใบเสมา 

จึงทำให้เห็นสนิมตีนกาเป็นเม็ดๆสีดำติดกัน อยู่ในร่องอย่างชัดเจน

Silver002

พระมเหศวร ที่สมบูรณ์และ "ดูง่าย"

ที่มีทั้งสนิมขาวประปราย สนิมตีนกา และพรายเงิน "ปรอท" ปะปนกันครบถ้วนในที่และองค์เดียวกัน

 

  • ผิวเดิมนอกสุด มีสนิมฝุ่นสีขาว (“สนิมขาว”) เคลือบผสมกับสนิมที่มีลักษณะเป็นเม็ดๆสีดำแบบหนังตีนไก่แต่เป็นสีดำ (ที่นิยมเรียกว่า “สนิมตีนกา” )
  • ผิวเดิมในสุดจะเป็นพรายเงินแวววาว ที่นิยมเรียกว่า “ปรอท”
  • ผิวเปิดที่สึกจากการใช้ ควรเรียบมนออกสีดำมัน
  • ด้านหน้าและด้านหลังควรมีการสึกกร่อนใกล้เคียงกัน
  • ผิวโดยรวมไม่ควรเป็นเม็ดๆ ยกเว้นจุดที่เป็นผิวพรายเงิน

เมื่อดูครบตามนี้แล้ว ก็จะถือว่าเนื้อเก่าถึงยุค ที่ต้องดูประกอบกับพิมพ์อีกทีหนึ่ง สำหรับพระแต่ละกรุ

ส่วนที่พระโรงงานที่พยายามทำเลียนแบบนั้น เริ่มจาก

1.  การใช้เม็ดโลหะเล็กๆมาหลอมจนใกล้จะละลาย แล้วอัดตามพิมพ์ที่เตรียมไว้ ให้มีลักษณะของ “ปรอท” หรือ “พรายเงิน”

2.  หรือรุ่นที่ไม่ฝีมือหรือเทคนิคไม่ดีพอ อาจใช้เงินใหม่ ที่จะทำให้ดูสีและผิวได้ง่ายมาก

3.  ใช้กรดกัดให้เกิดคล้ายสนิมของเงิน โดยการพ่นกรดใส่ แล้วทิ้งไว้ จนเกิดเกลือของเงิน เป็นจุดๆ ที่คล้ายๆสนิมขุม หรือมีรอยทะลุในร่องจากการใช้กรดกัด

4.  โปะด้วยฝุ่นสีดำให้ดูเหมือนสนิมตีนกา และ สนิมขาวตามลำดับ

5.  ขัดด้านหน้าและหลังให้เรียบมนให้ดูเหมือนมีการสึกกร่อน แล้วแต่งผิวที่ขัดให้เป็นสีดำ

6.  อาจทำให้มีรอยบุบคล้ายการใช้งานมาแล้ว

ทั้งหมดนี้ ทำให้ดูคล้ายกับพระกรุมาก

แต่ ก็ยังมีจุดสังเกตชัดๆ หลายจุดคือ

  • ขอบที่ไม่กร่อน ยังคม และอาจมีสภาพของเม็ดโลหะ
  • พรายเงินจะเป็นเม็ดๆ หรือคล้ายๆฟอง แทนที่จะเป็นเกล็ดแวววาวกระจัดกระจาย
  • สีและเนื้อของสนิมขุมจะออกเป็นฝุ่นขาว ไม่เป็นสนิมธรรมชาติแบบมันชุ่ม สีเหลืองอ่อน
  • ขอบของขุมสนิมจะเรียบแบบ “หลุมกรดกัด” แทนที่จะเป็นขอบสูงแบบ “หลุมระเบิด”
  • รอยทะลุที่เกิดจะสะอาดเกลี้ยงจากกรดกัด ไม่มีขอบเนื้อผุเป็นชั้นๆ
  • แม้จะมีสนิมชุ่มเหลืองอ่อนอยู่ ตัวสนิมกับขุมจะอยู่แบบไม่สอดคล้องกัน หรือเป็นขุมใหญ่ๆ แทนที่จะเป็นขุมเล็กๆกระจัดกระจายแบบธรรมชาติ
  • ฝุ่นสีดำที่ทาหรือพ่นจะกระจาย ไม่เป็นเม็ดๆติดกันแบบหนังตีนกา
  • ผิวที่สึกจะออกสีดำด้านๆ ไม่เรียบมัน
  • เนื้อเงินใหม่โดยรวมจะออกขาวกว่าเนื้อเงินเก่า (ที่จะออกดำ)

เมื่อพิจาณาประกอบกับพิมพ์ สภาพของกรุ และอายุของพระ ทั้งในกรุ และนอกกรุตั้งแต่กรุแตก ก็จะทำให้เกิดจินตนาการว่าสภาพพระกรุนั้น ปัจจุบันควรเป็นเช่นไร

ที่มีทั้งสภาพสวยสมบูรณ์ ผุน้อย ใช้น้อย ไปจนถึง ผุมาก ใช้มาก ทีจะมีความแตกต่างกันพอสมควร ที่จะทำให้รูปลักษณ์ที่ปรากฏแตกต่างกันพอสมควร ที่ทำให้ระดับราคา และความน่าใช้ต่างกันมากเช่นเดียวกัน

จึงควรเตรียมกรอบความคิด ความรู้ และความเข้าใจ เพื่อที่จะทำให้แยกพระกรุออกจากพระโรงงานได้เสียก่อน แล้วจึงมาแยกระดับความงามของพระกรุอีกทีหนึ่ง

ขอให้โชคดีครับ

หมายเลขบันทึก: 332164เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2010 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2013 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณครับอาจารย์ที่ให้ความรู้ครับ ผมเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ครับ เกษตร มข.รุ่น14 ครับ ขอพรคุณพระศรีรัตนตรัยคุ้มครองอาจารย์ของผม ให้มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขตลอดไปนะครับ

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม

หวังว่าพบกันเมื่อไหร่กทักทายกันบ้าง ผมอาจจำท่านไม่ได้ก็ต้องขอโทษด้วยครับ

ผมว่าผมเดินสวนอาจารย์ และได้ไวห้ท่านอาจารย์ที่ Complex เร็วๆนี้ครับ

ขอคารวะท่านอาจารย์กครั้งครับ

และขอบพระคุณท่านอาจารย์สำหรับความรู้ดีๆ

อาจารย์ครับ ถ้าพระกรุเนื้อชินเงินที่แก่ตะกั่ว สามาถขีดกระดาษขาวติดไหม๊ครับ 

ไม่เคยลองครับ เพราะพระเนื้อนี้ไม่มีเก๊ครับ ดูง่ายมากๆในกลุ่มพระเนื้อชิน เพราะจะมีสนิมไข สนิมผด และหรือสนิมแดง ที่ทำปลอมยาก จะง่ายหน่อยสนิมไข แต่ก็ไม่ค่อยเหมือนเท่าไหร่ครับ

มีภาพพระหูยานชินเงินมาให้อาจารย์ช่วยพิจารณาครับ  เป็นพระที่เพิ่งเช่ามาครับ

ชินเเงินดูที่สนิมตรงกับโลหะ และการปริครับ ถ้ามีเล่ได้เลย ระวังตะกั่วแต่งผิว โอกาสรอดเกินครึ่งครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

อาจารย์ได้ทำหนังสือออกมา บ้างหรือเปล่า คือผมอยากได้ไว้ศึกษาครับ

เนื้อชินยังรวมๆอยู่กับเล่มที่ 1 ครับ ไปถามซื้อได้ที่ SE-ED ครับ ผมใช้นามปากกา ส. มอดินแดง ครับ

อ่านแล้วสงสัยอะไรโทรมาคุยได้ครับ 0897119684 ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท