พุเข็ม คนหลังเขา


"เบื้องบนคือแผ่นฟ้ากว้าง เบื้อล่างคืนธารน้ำไหล ไปให้ถึงคนหลังเขา"

ท่ามกลาง ความงดงามของฉากหลังที่เป็นภูผาตั้งตะหง่าน ฉากหน้าเป็นงดงามดั้งท้องทะเลกว้างไกล

ใครจะรู้ถึงเบื้องหลังอันร้าวลึก ของการสูญเสียสิทธิบางอย่างที่ เรียกร้องทั้งชีวิตจะสามารถได้สิทธินั้นมาได้หรือไม่?

กิจกรรมการ ทำ csr ของคนรุ่นใหม่ ที่ได้กำหนดขึ้น เมื่อวันที่ 20-22 มกราคม 2553 ที่บ้านพุเข็ม ต.แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี  นั้น เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาทำงานให้องค์กรได้ตะหนักรู้ถึง การพัฒนาที่ชุมชนเป็นแกนหลักการพัฒนา  และมีความเชื่อมั่นในปรัชญาองค์กร ที่เชื่อว่าชุมชนฐานราก เป็นแกนหลักในการพัฒนา....

 หมู่บ้านพุเข็ม เป็นหมู่บ้านที่เป็นห้องเรียนสำหรับนักพัฒนารุ่นใหม่ๆที่สนใจงานพัฒนาบนฐานการจัดการตนเอง ด้วยทุนทางทรัพยากรและสังคม ที่ถูกจำกัดสิทธิการพัฒนา อย่างรอบด้าน

การศึกษาบริบทชุมชน ลึกลงไปพบว่า การก่อเกิดวัฒนธรรมชุมชน บ้านพุเข็ม ก่อเกิดมาจากวัฒนาใหม่ที่มีความหลากหลาย ทั้งชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ที่มาอยู่รวมกันด้วยเงื่อนไขบางอย่างที่ ทำให้ชุมชนอยู่กับธรรมชาติได้อย่างถ้อยที่ถ้อยอาศัย

การมาอยู่รวมกันเพื่อการหาอยู่หากินเพื่อยังชีวิต เป็นพื้นฐานการก่อเกิดชุมชนใหม่  การถูกควบคุมด้วยตัวบทกฎหมายที่ครอบชุมชน ไม่ให้มีการพัฒนาเหมือนชุมชนทั่วไป  ถนน ไฟฟ้า ปะปา การศึกษา จากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สิทธิการพัฒนาตนเอง ของชุมชนถูกลิดลอนไป  ด้วยเหตุผลของแต่ละฝ่ายแตกต่างกัน

เพลงคาราว "คนหลังเขา ในวงสุนทรียสนทนา น้องหมูแดง ได้ตั้งประเด็น"การสร้างเขื่อน ส่งผลกระทบกับชุมชนอย่างไร" น่าสนใจตรงที่ การสร้างเขื่อนให้ประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ในสังคม แต่สร้างปัญหาให้กับคนกลุ่มน้อยที่สังคมส่วนใหม่กลับมองไม่เห็น หมู่บ้านพุเข็ม เป็นหนึ่งรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนภาพการพัฒนาประเทศในยุคปัจจุบันได้ชัดเจน

"ท่ามกลางความงดงามของธรรมชาติ และความเป็นชนบทของคนหลังเขื่อน ช่างน่าพิศมัยเหลือเกิน สำหรับคนเมืองใหญ่ " หารู้ไม่ว่า คนเล็กคนน้อยกลุ่มหนึ่งที่เรียกร้องสิทธิพื้นฐานที่ควรได้ กลับกลายเป็นเพียงลมพัดแผ่วเบา ที่ในเมือง มองว่า เป็นความน่าสงสาร แต่ไม่เคยสนใจในส่วนลึกของจิตวิญญาณของเขาเลย

การร่วมทำกิจกรรม csr ในครั้งนี้ แค่ได้เรียนรู้ และเข้าใจ ชุมชนอย่างลึกซึ่งแค่นี้ก็เพียงพอสำหรับ การเรียนรู้ในทิปนี้แล้วครับ

ขอคารวะแด่ จิตวิญญาณของชุมชนที่เสียสละ จากกระแสการพัฒนาประเทศทุกผู้ทุกนาม ในประเทศไทย และทุกประเทศในโลกครับ

ฝน

 

หมายเลขบันทึก: 331905เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"ท่ามกลางความงดงามของธรรมชาติ และความเป็นชนบทของคนหลังเขื่อน ช่างน่าพิสมัยเหลือเกิน สำหรับคนเมืองใหญ่"

"คนเล็กคนน้อยกลุ่มหนึ่งที่เรียกร้องสิทธิพื้นฐานที่ควรได้ กลับกลายเป็นเพียงลมพัดแผ่วเบา"

นี่ไง!  ประชาธิปไตย เสียงส่วนใหญ่ เป็นฝ่ายชนะ!!

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

มาอ่านและชื่นชมกิจกรรมดีดีครับ

ครับ ครู ป 1

ประชาธิปไตยเสียงส่วนใหญ่

คงลืมไปนะครับว่า เพราะเสียงส่วนใหญ่ทำให้ประเทศเป็นแบบนี้ครับ

ครับคุณสันติ หมื่นไวย

มีกิจกรรมดีๆมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ

ฝนลบให้ด้วยระบบใส่ไปไม่เรียบร้อย

จะบันทึกให้ใหม่ครับ

ขอบคุณครับ

                   

คิดถึงบทเพลง "คนหลังเขา"ที่ได้ร้องร่วมกัน จากการขอของหมูแดงครับ

.........

ดินแดนสุดแสนไกลกว้างใหญ่สุดสายตามีความงามเหลือคณา คล้ายดังเป็นเมืองแมน

หมู่ปลาว่ายแหวกเสียงนกร้องระเริงรำ ขุนเขาทะมึนดำเสียดเมฆ อยู่เรียงราย

มีผู้คน อาศัยตามเชิงชายเขาทุกค่ำเช้า หากินพอเลี้ยงกาย

จับสัตว์หาปลาปลูกพืชผักพอกันตาย เลาะริมชาย ธารน้ำที่เชิงภู

มีใบบอกจากทางการให้ย้ายบ้านไปหลังเขาจะสร้างเขื่อนเพื่อบรรเทาเอาน้ำใช้ยามกันดาร

ทิ้งแหล่งน้ำอันอุดมซานซมสู่หลังเขา น้ำจากเขื่อนท่วมนาเราบอกกล่าวไร้คนเหลียวแล

เจริญแล้ว มีเขื่อนกั้นเก็บกักน้ำมีสนาม กอล์ฟสวยเป็นหลักฐาน

บังกะโลใหญ่โต ทั้งบ้านพักพนักงาน เป็นสถานพักผ่อนของคนเมือง

สุดหลังเขา คละเคล้าด้วยน้ำตาคน ที่แสนจนจนยาก ลำบากกาย

จะแล้งฝนก็ทนทุกข์ นิรันดร์ไป คือความหมายที่กล่าวถึง คนหลังเขา

คือความหมาย ที่กล่าวถึงคนหลังเขา คือความตาย ที่มาถึง คนหลังเขา

.....

บทเพลง“คนหลังเขา” นี้ ประพันธ์เพลงโดย อ.มานพ รัตนพันธากุล อดีตรอง ผอ.โรงเรียนเขาใหญ่พิทยาคม ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ.มานพ รัตนพันธากุล ท่านผู้นี้เป็นคนอยู่เบื้องหลังศิลปินดังแนวเพื่อชีวิต ผู้สร้างสรรค์ให้กับศิลปินหลายท่านและมีผลงานเพลงจนโด่งดังมากมายหลายค่ายหลายเนื้อหา ผมทราบมาว่า นอกจากท่านจะเป็นผู้ประพันธ์เพลงคนหลังเขานี้แล้ว(มีทั้งวงด่านเกวียน(ชื่อเดิมในชุดแรกเพราะมาก)และคาราบาวเคยนำไปร้อง) ท่านยังเป็นเจ้าของบทเพลง ชาวนาอาลัย(ขับร้องโดย สีเผือก อิสรา อนันตทัศน์ คนด่านเกวียน โดยชื่อแรกใช้ชื่อเพลงว่าเพลง “ชาวนายังไม่ตาย”) นอกจากนี้ยังมีเพลงเขาใหญ่” เพลงคิดถึงแม่ เพลงมรดกโลก-มรดกเราฯ และท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งวงฟูนัน ที่มีผลงานเพลงชุด เส้นชัย ในเพลงรัตติกาล, เคียวไร้คม, ก่อนตะวันจะสิ้นแสง ซึ่งคนในแวดวงเพลง เพื่อชีวิตรู้จักกันดี และที่สำคัญท่านยังเป็นคนที่ออกแบบตราโลโก้ หรือถือเป็นผู้ให้กำเนิดตราสัญลักษณ์เขาควาย แก่วงดนตรี “คาราบาว” อีกด้วย (ผมไม่แน่ใจว่าท่านเป็นคนคนเดียวกันกับ “พระไม้” หรือเปล่า) ท่านจากไปด้วยโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย เมื่อต้นปี 52ที่ผ่านมาครับ โดยได้ทิ้งบทเพลงดังชิ้นสุดท้าย มรดกโลก-มรดกเราฯเขาใหญ่ ไว้เป็นอนุสรณ์

ครับพี่สุเทพ

ยังไงจะรีบเขียนเรื่องใหม่ให้นะครับ

ขอบคุณ สำหรับความเป็นมาของบทเพลงนะครับ

เคยขับขานลำนำ ณ พุเข็ม เหมือนอิ่มเอ็มกมลต่างโหยหา

ครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้พวกเราได้นำพา ร่ำสุราเย้ยจันทร์สาดแสงเดือน

หมูแดง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท