อาชีพสุดฮิตใน USA อะไรเอ่ย?


     อ่านข่าวใน U.S. News & World Report เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2552 พบเรื่องหนึ่งที่ทุกท่านทราบแล้วจะต้องตื่นเต้น เป็นเรื่องซึ่งพูดถึงอาชีพที่เป็นความต้องการมากในอเมริกา ในปี ค.ศ. 2010 นี้ เขาใช้คำว่า The 50 best careers of 2010 ท่านทายซิว่ามีอาชีพอะไรบ้าง ตัวอย่างในตารางจาก 50 อาชีพ

    รายงานข่าวบอกว่า อาชีพรังสีเทคนิค มีความต้องการสูงมาก ในช่วงเวลา 10 ปีจากปี 2008-2018 มีความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 20% อัตราค่าตอบแทนขณะนี้อยู่ในช่วง 52,210-75,000 ดอลลาร์/ปี

ลอง click เข้าไปอ่านดูนะครับ

     ประเทศไทยของเรา ก.ช. ก็กำลังดำเนินการในเรื่องตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ทั้งประเทศ ดูทั้งเรื่องจำนวนและค่าตอบแทน เหนื่อยแทน ก.ช. ครับ โดยเฉพาะ ประธาน ก.ช. รองศาสตราจารย์จิตต์ชัย สุริยะไชยากร

    

  Facebook :

Radiological Technology, Mahidol University (RTMU): รังสีเทคนิค มหิดล

 

 

คำสำคัญ (Tags): #rtmu#ประกายรังสี
หมายเลขบันทึก: 331902เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2010 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Hot สุดๆค่ะอาจารย์ อาชีพนี้

อย่างนี้ต้องรีบพัฒนาตัวเองให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดค่ะอาจารย์ ค่าตอบแทนจะได้ตามมาแบบติดๆ

รอเวลานี้มานานแล้ว ถึงจุดนี้ซะที ดีใจด้วยนะคะ

เอ่อ ! คือว่า ทำไมประเทศไทย อาชีพ เป็น เยื้องนี้คะ?? อาจารย์ ^_^

เป็นเยี่ยงนี้คือเยี่ยงใด.....
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมแบบไทยๆ.........เรามาถึงจุดนี้ดีขึ้นเยอะครับ

  • ด้วยความเห็นใจจริงๆ
  • ขอให้เราทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด รักษาคุณภาพของการบริการไว้
  • แสดงศักยภาพที่เรามี ให้สังคมเห็นและเข้าใจ อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง
  • พัฒนาการทำงาน เติมเต็ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา อย่าหยุด
  • แล้วเราจะมีที่ยืนในสังคมอย่างสง่าผ่าเผย
  • เมื่อถูกถามว่าคุณคือใคร เรายืดอกอย่างภาคภูมิใจตอบว่า เราคือนักรังสีเทคนิค

 

คือว่า ทำงานอยู่ รพ.ชุมชนค่ะ และ มองภาพรวมว่า อาชีพนี้ มีแต่ใครก็ดูถูกว่า ใครๆก็ทำได้ จึงเป็นกลุ่มเทคนิคบริการ ที่อยู่ในฐานะ เมียคนที่สอง ของกระทรวง หนูคิดอย่างนั้นจริงๆ รพ.ชุมชน ยังล้างมืออยู่เลย ทั้งที่ เทคโนโลยี ไปถึงไหนกันแล้ว แต่ก้ไม่ได้คิดให้เป็นประเด็นที่เจ็บปวด เพราะว่า หน้าที่ สำคัญกว่าสิ่งใด เราก็คิดถึงประชาชน ผู้มารับบริการ ว่าควรได้รับประโยชน์จาก อาชีพที่เราทำเช่นไร และไม่ยอมให้ใครมาดูถูกแน่นอนค่ะ แต่ว่า นโยบาย การบรรจุ แต่งตั้ง การลดซี ลดเงินเดือน ที่เราชาวรังสีเทคนิค ไปศึกษาต่อเนื่องมา มันสร้างความท้อแท้ บั่นทอน ความรู้สึกเป็นอย่างมากซึ่งหนูก็เห็นใจพวกพี่ๆ เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพเป็นอย่างมาก โดยส่วนตัวก็เป็นนักรังสีเทคนิค ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ได้ผลกระทบ เรื่อง การปรับระดับ เช่นเดียวกัน อยากฝากให้ กช.ได้เอาประเด็น ค่าเสี่ยงภัย ไปถึงระดับกระทรวงสาธารณสุข จังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท