มราบรีที่ข้าพเจ้ารู้จัก


เราได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับชนเผ่านี้ มีคำเรียกขานพวกเราต่าง ๆ นา ๆ โดยที่เราไม่เคยได้ยินจากปากเขาเท่าไหร่ ว่าเขาต้องการให้เรียกเขาอย่างไร

                    ก่อนหน้า ชาวน่าน ชาวไทย และชาวต่างประเทศ สนใจและรู้จักมราบรี หรือ ชนเผ่าตองเหลือง แตกต่างกันไปตามมุมมอง เงื่อนเวลา และปัจจัยสารพัดที่จะให้ได้รู้จัก  เข้าใจ บ้างได้รับรู้ตามคำบอกเล่า ตามหน้าที่ ตามสะดวก โดยอาจยังไม่ได้ลงไปเรียนรู้ลึกซึ้ง ร่วมทุกข์ - สุข เป็นเวลานาน อย่่างไรก็ดี เชื่อว่าทุกท่านล้วนมีความรักและปรารถนาดี

                    เรารู้จักก็เมื่อตอนที่คุณพ่อย้ายเข้ามารับราชการ ในพื้นที่ จ.น่าน เมื่อ ปี พ.ศ.2512  ในฐานะตำแหน่งที่พ่อย้ายมาเป็น พัฒนาการอำเภอเวีียงสา  ( ตอนมาอำเภอนี้ชื่อเป็น อำเภอสา )  ที่ตำบลยาบหัวนา  พื้นที่รับผิดชอบมีพี่น้องชนเผ่าตองเหลือง  เราได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับชนเผ่านี้  มีคำเรียกขานพวกเราต่าง ๆ นา ๆ  โดยที่เราไม่เคยได้ยินจากปากเขาเท่าไหร่ ว่าเขาต้องการให้เรียกเขาอย่างไร ( ต่อมาเมื่อรู้จักยิ่งขึ้น สนทนาแล้วเขาบอกว่า ไม่ชอบให้เรียกว่า ผีตองเหลือง เพราะเขาเป็นคน >ไม่ใช่ผี< เขาบอกว่า >คำว่า มราบรี  แปลว่า คนป่า< )  เขาอยู่แบบพอเพียงไม่รบกวนใคร ไม่เรียกร้อง

                    ราวปี 2530 คุณวี เพื่อนมาจากเมืองกรุง จ.น่าน ให้พี่ ๆ น้อง ๆ( คุณสำรวย คุณลำแพน ฯลฯ) พาไปพื้นที่ทำงานของเขา ถือโอกาสพาเดินเที่ยวดอย  เขาพาไปเดินภูสูง คุณวีบ่นบอกเหนื่อยมาก ( เดินดอย ) ที่บ้านห้วยหยวก อ.เวียงสา จ.น่าน เราจดจำเหตุการณ์คราวนั้นได้ดี  ต้องเดินทางไกลไปให้ถึงถิ่นที่อยู่พี่น้องมราบรี   ไม่มีการจัดฉากต้อนรับ เพราะเป็นคณะมาเยือน

                    ต้นปี 2542 มีปัญหาขัดแย้งจนกลายเป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  นสพ.เสียงชาวน่าน คุณศักดา ปรางค์วัฒนากุล บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฯ ประธานชมรมสื่อมวลชน จ.น่าน ได้รับประสานจาก อเมริกันมิชชั่นนารี่ บุญยืน สุขเสน่ห์ ขอแถลงข่าวชี้แจง ใช้ห้องโสตฯ วิทยาลัยสารพัดช่างน่านเป็นสถานที่ชี้แจง และนายบุญยืน ยอมถอน ยอมถอยจากพื้นที่จังหวัดน่่่่าน ( รายละเอียด นสพ.เสียงชาวน่าน ปีที่ 22 ฉบับที่ 727 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542

                     ก่อนหน้า และปัจจุบันหน่วยราชการประเทศไทยให้ความช่วยเหลือกันไปตามกำลังความสามารถ เงื่อนไข ปัจจัยจำเป็น เรียกว่าสามารถรายงานกันได้ แต่ช่องทางการเงินที่รัฐบาลกลางจัดสรร การเกลี่ยอัตรากำลัง ขวัญกำลังใจ เกณพ์ตัวชี้วัดการพัฒนา ไม่ว่าชนเผ่านี้หรือชนเผ่าอื่น ๆ อาจยังไม่ตรงตามมาตรฐานสากลนัก ข้าราชการ หัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้องก็อย่าได้ท้อถอย หรือท้อแท้ ขอให้กำลังใจ

                     20 ธันวาคม 2546  ผู้ใช้นาม อังคณา บุตรขจร  เข้ามาไถ่ถาม บรรดากัลยาณมิตรชาวน่าน เข้ามาร่วมตอบคำถาม ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่สุดเราทราบว่า  เป็นการแลกเปลี่ยนข้ามทวีป  เชิญทุกท่านคลิ๊กอ่านเพิ่มเติม ได้ที่  http://www.chownan.com/board/index.php?board=1;action=display;threadid=151   มีผู้ใหญ่ใจดี ร่วมเป็น / คณะมาดี / คณะมีใจ / ทำงานในฐานะที่เป็น คณะจิตอาสา แลกเปลี่ยนข้อมูลเดินทางเข้าพื้นที่ ต่อเนื่องจนถึงวันนี้ เป็นที่น่ายินดี

หมายเลขบันทึก: 33129เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 07:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ในวันสำคัญของชาติ  9  มิถุนายน 2549 การทำความดี เพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน เห็นว่าไม่ควรเก็บไว้ลำพัง ขอนำเสมอข้อมูล ที่เก็บมาจากบันทึกที่ ผู้ใหญ่ใจดีเล่าไว้ ในนามคณะจิตอาสา ดังนี้  " ขณะเมื่อมีตำแหน่งและหลังเกษียณ ท่านและเพื่อนพ้องคนใกล้ชิด คนรู้ใจมีใจไปมาหาสู่ มีเวลาเล่ารายละเอียด (สรุป) เกี่ยวกับการช่วยชาวมลาบรีของพี่และอดีตผู้ว่าน่านตั้งแต่ปี  2545 - ปัจจุบัน "

1.    1 ต.ค.45 ได้ไปเยี่ยมที่ชุมชนตองเหลือง    (ย้ายมาน่าน 1 ต.ค.)

2.    2546(วันเดือนจำไม่ได้ ขอเวลาค้นดูรูปก่อนนะคะ)เหล่ากาชาดจังหวัดน่านได้เข้าไปเยี่ยม 2 ครั้ง

3.    2547ได้เข้าไปหยอดวัคซีนโปลิโอ /ไปเยี่ยม/ร่วมกับคุณระเบียบรัตน์และศูนย์ชาวเขาจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็ก(คุณระเบียบรัตน์มาเยี่ยม 2 ครั้ง)

4.      2547-2548ไปเยี่ยมชาวบ้านและศูนย์เด็ก กาชาดน่านส่งไข่ให้ศูนย์เด็กนำไปให้ด็กๆ สัปดาห์ละ 9 โหล(มี 3 แผงๆละ 3 โหล) บางครั้งเมื่อทราบว่าไม่มีข้าวก็จะส่งข้าวสารเป็นกระสอบไปให้

5.    2548 จังหวัดน่านโดยความร่วมมือจากส่วนราชการ เอกชน และกาชาดน่านร่วมกันจัดสร้างศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาแตะ(เด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ)ให้บ้านปางเป๋ย(โครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ)

***เวลาที่เข้าไปดูการก่อสร้าง การจัดเตรียมสถานที่ เกือบทุกครั้งพี่และคณะกาชาดจะเข้าไปเยี่ยมชาวตองเหลืองด้วย

***ในการไปเยี่ยมในปี 47-48 ไปหลายครั้ง มักจะเป็นการ ไปตัดผมให้ นำอาหารที่ปรุงแล้วไปเลี้ยง บางครั้งจะนำเนื้อหมูดิบ หมูสามชั้นและน้ำมันหมูไปให้ด้วย นำข้าวสาร เสื้อผ้า สบู่ แชมพูหวี ฯลฯ ไปให้ ต้นปี48 ได้พาคณะกองงานสมเด็จพระเทพฯไปเยี่ยม และหลังจากนั้นได้รับของพระราชทานเป็นเสื้อผ้ากันหนาว และข้าวสาร

***วันสงกรานต์ 2546-2548  มีพิธีสูมาคารวะที่จวน ผวจ. พี่น้องตองหลืองมาร่วมด้วย พี่ได้จัดเลี้ยงข้าวด้วย หลายครั้งที่มีกิจกรรมที่จวนฯทางศูนย์ชาวเขาได้พาพี่น้องตองเหลืองมาร่วมด้วย

ปลายเดือนกันยายน 48 พี่ก็ได้ไปเยี่ยมเป็นการลาจากกัน

ปี 2549

1.ม.ค.ได้มาเฝ้ารับเสด็จฯสมเด็จพระเทพฯ

2.มี.ค. ได้รับการประสานขอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาวตองเหลืองจาก รองราชเลขานุการฯ ได้ส่งข้อมูลเบื้องต้นเข้าไปถวายรายงาน มีรับสั่งขอเพิ่ม คุณสุวัฒน์และพี่จึงได้ไปน่าน จัดตั้งคณะทำงาน(เป็นการส่วนตัว) ได้ไปบ้านชาวตองเหลือง รร.ภูเค็งพัฒนา แล้วรวบรวมข้อมูลไปถวายรายงาน

3. 3 เม.ย. คุณสุวัฒน์ได้มาประชุมคณะทำงานเพื่อดำเนินงานบางอย่าง(ข้อสรุปพี่จะเขียนมาภายหลัง) คุณสุวัฒน์ได้เข้าเฝ้าฯที่วังสวนจิตรลดาได้ถวายรายงาน ถวายหนังสือและทรง มีรับสั่งให้ทำต่อไป ( เข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ 26  เม.ย. 2549 )

4. 8 พ.ค. ได้ไปประชุมคณะ ติดตามการดำเนินงาน และสรุปงานและผู้รับผิดชอบ ได้สรุปเป็นเอกสารและส่งไปถวายรายงานฯ

     เวลา 8.30 น. ได้ไปกราบเจ้าคณะจังหวัด  และได้ให้ข้อเสนอแนะท่านในการให้การศึกษาแก่เด็กตองเหลือง  และให้พระสงฆ์ไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กพิการเด็กด้อยโอกาสที่ รร.น่านปัญญานุกูล รร.ศึกษาสงเคราะห์ และรร.ภูเค็งพัฒนาซึงมีเด็กม้งและตองเหลือง

     เวลา 9.30 น. ประชุม ณ โรงแรมเทวราช

5.  10 พ.ค. ได้ไปเยี่ยมชาวตองเหลือง นำไก่ป่า และปลาไปปล่อย รวมทั้งนำต้นกล้วยน้ำว้าไปช่วยกันปลูกให้ด้วย การไปน่านครั้งนี้ได้รู้จัก ดร.ตรีศิลป์ ผอ.สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ และ ผศ.กอบกุล อดีตรองอธิการบดี ม.ศิลปากร นักเขียนอิสระ เราได้พบแนวทางที่จะได้ผู้มีจิตอาสาฯ (ตามสำนวนภาษาธรรม) ท่านทั้งสองได้ขึ้นไปเยี่ยมชาวตองเหลืองด้วย

                     วันจันทร์ ที่ 3 กรกฏาคม 2549 จากที่ ผอ.สุเมธ สายสูง ประสานนัดหมายไว้เมื่อเสาร์ ที่ 1 กรกฏาคม 2549 ถึงเวลานัดเราและพี่ ๆ น้อง ๆ พบกัน ณ จุดนัดหมาย แล้วเดินทางด้วยรถยนต์ไปยังที่หมาย บ้านห้วยหยวก ต.แม่ขะนิง อ.เวียงสา จ.น่าน เราเดินทางไปกับรถคุณประเสริฐ ป้ำกระโทก เหตุที่ไม่ได้นั่งรถ ผอ.สุเมธ เพราะช่วงที่มีการจะเดินทาง เห็นว่าควรให้พี่น้องสื่อมวลชน ที่มีการนัดหมายให้มีที่นั่งเสียก่อน สำหรับเราหากไม่มีรถ ไม่มีที่นั่งจริง ๆ จะใช้รถยนต์ส่วนตัวเราร่วมคณะ ตกลงไม่มีอุปสวรรคพี่น้องสื่อได้ที่นั่งเมื่อคนสนิทคุณประเสริฐฯ ชวนไปนั่งรถเขาเราไม่ขัดข้อง

ร                      ออกเดินทางเวลาประมาณ 15.15 น.ระหว่างเดินทางใช้เส้นทางน่าน บ้านหลวง  แยกทางเข้าบ้างปางเป๋ยไปเป็นเส้นทางลาดยาง  เมื่อผ่านบ้านปางเป๋ยไปในระยะพอสมควร  คราวนี้แหละเป็นเส้นทางที่ค่อนข้างลำบาก หากใช้รถยนต์ธรรมดาเดินทางมา  ดูท่าว่าจะลำบากเพราะก่อนที่จะเดินทางถึงมีฝนตก ทำให้ถนนเลื่อน และมีล่องถนนลึกผู้ขับขี่รถยนต์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหา 

สัปดาห์ที่ผ่านมา คืนวันที่ 5 และคืนวันที่ 7 ก.ค.2549 ได้รับโทรศัพท์ทราบข่าวจาก ดร.สุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล อดีต ผวจ.น่าน ได้ประสานกับบุคคลสำคัญหลายฝ่าย  เพื่อการดูแลและให้การช่วยเหลือด้านคุณภาพชีวิตแก่พี่น้องชนเผ่าตองเหลือง

                   เมื่อ 10 น.เศษ วันจันทร์ ที่ 10 กรกฏาคม 2549 ตามหา บู ฅนหลังเขา หรือคุณพิศาล เชื้อชาติไชย เจอแล้ว และสามารถสืบค้นข้อมูลได้ที่ http://www.lungkao.com/th/

                    นายบูฯ เป็นคนดี คนเก่ง เคยเดินทางไปกับ ดร.ยุวดี และศ.มาร์เซล ไปที่บ้านห้วยหยวกเมื่อเดือน ก.ค.2547 ได้บันทึกภาพสำคัญ ๆ และให้ข้อคิดดี ๆ ไว้มากมาย  ได้เขียนข้อความถามหาหัวใจฝากไว้ที่เว็ป ฅนหลังเขา ตามลิ๊งค์ http://www.lungkao.com/th/component/option,com_mamboboard/Itemid,8/func,view/catid,2/id,14/#14

ฐานะข้อมูลhttp://www.chownan.com/board/index.php?board=1;action=display;threadid=151  คลิ๊กไปแล้วไม่พบข้อมูลเดิมใน server หากจะได้สืบค้น หรือกู้คืนมาแล้วนำมาเสนอในโอกาสต่อไปจะดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท