สรุปประเด็น Outcome Mapping ตอนที่ 10 (ตอนสุดท้าย)


            วันนี้เป็นบันทึกสุดท้ายในเรื่องนี้ หลังจากที่เขียนต่อเนื่องมาเป็นตอนที่ 10 แล้ว . . . ผมจะสรุปสั้นๆ ว่าสำหรับผมแล้ว OM เป็น . . .
 
     -   เทคนิคสำหรับเปลี่ยนแรงบันดาลใจให้ออกมาเป็นรูปธรรม
     -   เทคนิคสำหรับสร้างสิ่งที่ปรารถนาด้วยการพัฒนา “เหตุปัจจัย”
     -   เทคนิคที่ใช้ “ขับเคลื่อน” โครงการ ด้วยการ “วางหมาก วางหมุด” ไม่ใช่หยุดแค่ที่การ “วางแผน”
     -   เทคนิคสำหรับสร้าง “การพัฒนาที่ยั่งยืน”
 
 
            การพัฒนาจะยั่งยืนได้นั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องเกิดความรู้สึกร่วม . . จะต้องรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ (ownership) . . จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับกระบวนทัศน์ กรอบแนวความคิด และพฤติกรรม . . OM เป็นการฝึกใช้สมองทั้งสองฝั่ง เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างการมองเชิง “เหตุผล” กับการมองเชิง “เหตุปัจจัย” และเป็นการใช้ทั้งส่วนที่เป็น  “ศาสตร์” และส่วนที่เป็น “ศิลป์” ในการบริหารโครงการ

หมายเลขบันทึก: 329417เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2010 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาอ่านตอนสุดท้ายค่ะอาจารย์

ขอบพระคุณค่ะ

ขอโทษด้วยครับที่ลงบันทึกสุดท้าย (ตอนที่ 10) ไว้ก่อนตอนที่ 9 . . . ถ้าจะอ่านให้ต่อเนื่องรบกวนอ่านตอนที่ 9 ก่อนนะครับ

ขอบคุณมากค่ะ เป็นบทสรุปที่มีคุณค่ามาก อาจารย์อธิบายและโยงสาระสำคัญเข้ากันทำให้เข้าใจได้ดีจริงๆ หากอาจารย์มีเวลาอยากขอรับความรู้เพิ่มในประเด็นย่อยๆ ด้วยค่ะ

ถ้าอาจารย์อุไรวรรณอ่านซ้ำๆ (ทั้ง 10 ตอน) แล้วได้มีโอกาสลองนำไปใช้ในโครงการ (งาน) ที่อาจารย์ทำ . . ผมเชื่อว่าจะเห็นพลังของ OM ได้อย่างแจ่มแจ้งและชัดเจนครับ . . นำไปใช้ ได้มีประสบการณ์ อย่าลืมนำมาแชร์ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

อ่านครบ 10 ตอนแล้ว

ปรับเปลี่ยนมุมมอง แนวความคิดอย่างมากครับ

ขอบคุณมากครับท่านอาจารย์

ขอบคุณทุกๆ ท่านที่ติดตามอ่านจนครบทั้งสิบตอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท