เรื่องเล่า...กับความเป็นมนุษย์


เพราะเรื่องเล่านั้นเป็นเครื่องมือให้มนุษย์เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดที่ประณีตอ่อนโยนได้

เมื่อไม่นานมานี้ พอลล่าเล่าเรื่องพี่สุวรรณาให้เพื่อนสนิทคนหนึ่งได้ฟัง...ระหว่างนั่งรถกลับบ้าน เพื่อนบอกว่า เรื่องเล่านี้มีพลังมากเลย..พอลล่ารู้สึกว่า..เอ๊ะ เราก็เล่าเรื่องที่มีพลังกับเขาได้เหมือนกัน และอยากจะเขียนออกมาให้มีพลังเหมือนอย่างการเล่าตามที่เพื่อนบอก แต่พอมาเขียน เพื่อนบอกว่า พอลล่าเล่าจะมีพลังมากกว่าเขียนนะ...หากตัดเรื่องเนื้อหาของเรื่องเล่าไปแล้ว สิ่งที่เพื่อนพูดสรุปได้สองอย่างคือ พอลล่าเล่าเรื่องได้ดี และพอลล่าเขียนไม่เก่ง อิอิ  พอลล่าเลือกอย่างแรก คริคริ ...คิดบวกครับพี่น้อง

นึกไปถึงเรื่องเล่า ..นึกไปถึงท่านอาจารย์ท่านนี้ค่ะ

ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เจ้าพ่อเรื่องเล่าตัวจริงค่ะ อาจารย์เล่าได้ทุกเรื่องพูดได้ทุกเรื่อง มีประสบการณ์มากมาย เก็บรายละเอียดได้อย่างประณีตทีเดียวค่ะ ในโครงการ SHA เราได้นำเรื่องเล่ามาเป็นเครื่องมือสำคัญ ให้บุคลากรทางสาธารณสุขมีความประณีต อ่อนโยนรับรู้ความรู้สึกทั้งของตนเองและของผู้อื่น ทบทวนและใคร่ครวญเรื่องราวต่างๆของตนเองเป็นประจำ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของบางคนมาแล้วค่ะ...

พูดถึงเรื่องเล่าแล้วก็ขอนำ บทความเรื่องเล่ากับความเป็นมนุษย์ ที่ท่านเขียนไว้ในหนังสือ"สังคมปรนัย" ค่ะ ลองอ่านดูนะคะ

 

เรื่องเล่า..กับความเป็นมนุษย์

 

ในบรรดารูปแบบและวิธีการที่หลากหลายในการเรียนรู้ของมนุษย์ เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้เรียนรู้ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นความประณีตละเอียดอ่อน

         การเล่าเรื่องและการเรียนรู้จากเรื่องเล่าเป็นความสามารถที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด เด็กเล็กๆ จึงสามารถเรียนรู้โลกจากการฟังเรื่องเล่ามาเนิ่นนานก่อนหน้าที่จะรู้จักตัวเลขและการคำนวณ อาจกล่าวได้ว่า สัญชาตญาณการเรียนรู้จากเรื่องเล่านี้เองที่ทำให้มนุษย์เข้าใจความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ซับซ้อนได้แตกต่างไปจากสัตว์

        เพราะมนุษย์ทำความเข้าใจโลกผ่านเรื่องเล่าและการเล่าเรื่องเป็นสำคัญ โลกและการดำรงอยู่ของสรรพสิ่งจึงปรากฏในความรับรู้ของมนุษย์ในรูปของเรื่องราว

         ในวัฒนธรรมต่างๆ มีเรื่องเล่ามากมายที่สังคมใช้บอกกล่าวเล่าความเป็นไปของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวการกำเนิดโลกและตำนานปฐมกาลในศาสนาต่างๆ หรือแม้แต่ทฤษฎีการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) ก็เป็นความพยายามที่จะบอกเล่าและเข้าใจโลกในฐานะของเรื่องราวที่มีจุดกำเนิด มีการคลี่คลายที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนเป็นโลกที่เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

         จารีตความรู้ต่างๆ ในอารยธรรมมนุษย์แต่ครั้งประวัติศาสตร์ก็อาศัยเรื่องเล่า ไม่ว่าจะเป็นมหากาพย์ ตำนาน นิทาน หรือชาดก ในการปลูกฝังมโนทัศน์ ถ่ายทอดแง่คิด รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้แก่มนุษยชาติมาโดยตลอด
         แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่เรามักเชื่อกันว่ายึดถือความรู้ที่เน้นเฉพาะข้อเท็จจริงและการตรวจวัดในเชิงปริมาณ ก็ยังต้องเรียนรู้และถ่ายทอดความคิดผ่านเรื่องเล่า ดังเรื่องราวของกาลิเลโอผู้หย่อนวัตถุที่หนักเบาต่างกันลงจากหอเอนเมืองปิซา หรือนิวตันผู้ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงเมื่อลูกแอ๊ปเปิ้ลหล่นใส่ศีรษะ แม้ว่าเรื่องทั้งสองจะเป็นเพียงเรื่องเล่าลือที่ไม่เคยปรากฏมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็เป็นเรื่องเล่าที่ถูกบอกเล่าเสมอในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อถ่ายทอดความอัศจรรย์ของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการหาความรู้จากการทดลอง

         สำหรับในวัฒนธรรมและภาษาไทยแล้ว การไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการสื่อให้เป็นที่เข้าใจได้ เรามักเรียกว่าพูดไม่รู้เรื่อง การทำในสิ่งไม่ควรทำก็มักเรียกว่า ไม่เข้าเรื่อง หรือทำได้ไม่ดี เราก็เรียกว่า ไม่ได้เรื่อง

          ถ้าจะว่า เราเกี่ยวข้องและเข้าใจโลกรอบตัวผ่านความเป็นเรื่องราว ก็คงไม่ผิด

          เรื่องเล่าจึงเป็นทั้งเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้และวิธีการทำความเข้าใจโลก

           แต่คุณค่าและมนต์เสน่ห์ของเรื่องเล่าดูเหมือนจะจางหายไปในระบบการศึกษาสมัยใหม่ที่เน้นการเรียนเฉพาะข้อเท็จจริงเป็นข้อๆ และทำความเข้าใจโลกผ่านความจริงที่ถูกแยกเป็นแท่งๆ แบ่งเป็นท่อนๆ

          การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมการเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่ามาเป็นการเน้นความรู้เชิงนามธรรมเป็นข้อๆ นี้ ปรากฏหลักฐานที่น่าสนใจในสมัยรัชกาลที่ ๕ อันเป็นยุคของการเร่งรัดปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย มีเรื่องเล่าว่าคณะธรรมทูตที่เดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อไปตรวจติดตามการสอนศาสนาในหัวเมือง มีหนังสือรายงานกลับมายังส่วนกลางว่า พระบ้านนอกตามหัวเมืองสมัยนั้นสอนศาสนากันไม่เป็น เพราะแทนที่จะสอนหัวข้อธรรมะที่เป็นหมวดหมู่ กลับเอาแต่เทศนาชาดกและเล่านิทาน

            ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการเรียนรู้ในแบบพื้นบ้านพื้นถิ่นนั้นเป็นการเรียนรู้จากเรื่องเล่า (Narrative) ในขณะที่คณะธรรมทูตจากส่วนกลางนั้นเน้นไปที่ความรู้ในเชิงนามธรรม (Abstract)

           ในวัฒนธรรมความรู้สมัยใหม่ที่เราคุ้นเคย สิ่งที่ร่ำเรียนกันในระบบการศึกษามักเน้นไปที่ความรู้ในเชิงนามธรรม เช่น กฎเกณฑ์ สมการทางวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีสังคมเป็นข้อ ๆ แม้แต่การเรียนเรื่องศีลธรรมหรือศาสนา ก็มักเป็นการท่องจำหัวข้อหลักธรรมคำสอนที่เป็นข้อๆ เช่นกัน

            พูดง่ายๆ ระบบการศึกษาที่ว่านี้ทำให้โลกและชีวิตของเรากลายเป็นปรนัย คือแยกออกเป็นข้อๆ ที่ไม่ปะติดปะต่อและไม่มีโครงเรื่องให้ต้องทำความเข้าใจ

            ในทางการแพทย์ซึ่งเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิต ความทุกข์และต้องการความละเอียดอ่อนต่อความเป็นมนุษย์ การศึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญไปที่เทคนิคการพิเคราะห์โรคผ่านหมวดหมู่ของอาการมากกว่าการเรียนรู้เรื่องราวชีวิตหรือความทุกข์ของผู้ป่วย
             ความรู้ในเชิงนามธรรมนี้ แม้จะช่วยให้เข้าใจในระดับหลักการและเทคนิคเชิงกลไกได้ดี แต่มักเป็นการเรียนรู้ที่สอนได้แต่เหตุผลที่แห้งแล้ง
              ในทางตรงข้าม การบ่มเพาะความประณีตอ่อนโยนและความเข้าใจความเป็นมนุษย์ในจารีตดั้งเดิมต่าง ๆ นั้น มักเน้นไปที่การเรียนรู้ผ่านเรื่องราวหรือเรื่องเล่าเป็นสำคัญ

                  ยกตัวอย่างง่าย ๆ เราอาจเรียนรู้เรื่องการทำทานจนสามารถจดจำได้อย่างแม่นยำว่า การทำทาน คือการสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน นอกจากนั้นยังรู้อีกว่า ทานมีสามประเภทคือ อามิสทาน ธรรมทาน และอภัยทาน แต่การทบทวนหลักคำสอนในเรื่องการทำทานแบบนามธรรมเป็นข้อๆ นี้ คงไม่สามารถน้อมนำเราให้เห็นอกเห็นใจและให้ทานได้ดีเท่ากับการได้อ่านหรือฟังเรื่องราวการบำเพ็ญทานบารมีที่ยิ่งใหญ่ในมหาเวสสันดรชาดกแน่

             จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ในทุกศาสนา การเรียนรู้เกี่ยวกับมนุษยธรรมและความเป็นมนุษย์มักเป็นการเรียนรู้ด้วยเรื่องเล่า ไม่ว่าจะเป็นตำนานทวยเทพ ชาดก นิทานปริศนาธรรม หรือแม้แต่ตำนานเรื่องราวพื้นบ้านที่มีมากมายในวัฒนธรรมต่าง ๆ

              เพราะเรื่องเล่านั้นเป็นเครื่องมือให้มนุษย์เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดที่ประณีตอ่อนโยนได้
              เมื่อเราละเลยที่จะเรียนรู้จากเรื่องเล่า การเข้าถึงความประณีตละเอียดอ่อนของชีวิตก็เป็นไปได้อย่างจำกัด มนุษย์จึงปฏิบัติต่อกันราวกับเป็นหุ่นยนต์กลไก ความรุนแรงแพร่ขยายไปเหมือนโรคระบาด และผู้คนถูกทำร้ายและทำร้ายกันได้อย่างไร้ความยั้งคิด

             หากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม สิ่งหนึ่งที่ขาดหายไปอย่างไม่ต้องสงสัยจากการเรียนรู้ของเราก็คือหัวใจของความเป็นมนุษย์ สำนึกร่วมของความเป็นมนุษยชาติหนึ่งเดียวกันที่ทำให้เรามีความอ่อนโยนต่อชีวิตและอ่อนไหวต่อความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์

              ภาวะพร่องของความเป็นมนุษย์และการขาดสำนึกของความเป็นมนุษย์ร่วมกันนี้เอง ที่ทำให้เราไม่รู้สึกรู้สมกับปัญหาสังคมและไม่อินังขังขอบกับความทุกข์ยากของผู้คน

              หากภารกิจหนึ่งของยุคสมัยคือการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่ที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์แล้ว เราคงไม่สามารถทำภารกิจนี้ให้ลุล่วงไปได้หากปราศจากแรงบันดาลใจและการเรียนรู้จากเรื่องเล่า
             เพราะความเป็นมนุษย์ในตัวเรานั้นถูกเร้าให้แสดงออกและงอกงามได้ด้วยเรื่องเล่านั่นเอง

เรามาเล่าเรื่องกันบ่อยๆ นะคะ ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ ขอให้หลับฝันดีมีความสุขค่ะ

หมายเลขบันทึก: 321575เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

เรื่องเล่า นั้นเร้าพลังครับ

แต่เรื่องเหล้า อาจเมาและมึนได้ครับ 555

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้องซิลเวียแวะมาอ่านเรื่องเล่า..กับความเป็นมนุษย์..ได้ความรู้มากมายทีเดียวค่ะ
  • เพราะปกติจะชอบฟัง..ชอบอ่านในสิ่งที่คนอื่นเล่า แต่ว่าถ่ายทอดต่อไม่ค่อยเป็น แฮ่..
  • ขอบคุณค่ะ

คนอะไรเล่าเรื่องเก่งจัง 

สวัสดีปีใหม่ค่ะน้องพอลล่า 

พอลล่าจ๋า คิดถึงจ้า อะเเฮ่ม อย่าลืมคู่มือการเขียนเรื่องเล่า อ. โกมาตรเด้อ

สวัสดีค่ะน้อง พอลล่า

แวะมาอ่านเรื่องเล่า  ก่อนเข้านอน

เล่าได้ดีนี่ อย่างนี้ต้องเล่านิทานเก่งแน่ๆ

วันหลังอย่าลืมเล่านิทานก่อนนอนนะ พี่ชอบๆๆ

 

P
ท่านพี่ครับ เอาเรื่องไวน์ไปดีไหมคะ ไม่ค่อยเมา รึป่าวววว อิอิ
  • สวัสดีปีใหม่ครับ...♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿
  • ขอบคุณที่ไปทักทายในบทความ ภูเก็ต
P
สวัสดีคะ น้องซิลเวีย การฟังนั่นเป็นศาสตร์ที่สุดยอดแล้วจ้า
ขอบคุณมากนะคะ

สวัสดีครับ

ใครบอกเขียนไม่เก่งเรียกมาอ่านบันทึกนี้ครับ^^

ตามที่ผมได้เคยฟังเรี่องเล่ามาบ้าง..ที่เรารู้สึกว่าเรื่องเล่านั้นมีพลัง

เพราะเราได้สัมผัสความรู้สึกแววตา,น้ำเสียง ของผู้เล่าในขณะนั้นด้วย

ขอบคุณครับเป็นบันทึกที่ให้ความรู้มากครับ ทานกาแฟหรือยังครับวันนี้

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านเรื่อง

"เรื่องเล่า...กับความเป็นมนุษย์"ค่ะ

ได้ทั้งความรู้ และแง่คิดค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ ที่นำมาแบ่งปันนะคะ

^__^

P
สวัสดีคะ พี่ไก่
ตกลงว่าชมพอลล่าหรือท่านอาจารย์โกมาตรคะ อิอ
ขอบคุณค่ะ พี่สาววววว
P
สวัสดคะ พี่สาว....
เรื่องหนังสือ narrative ท่านอ.โกมาตร ไม่เห็นว่าไรเลยค่ะ ถามแล้วค่ะ แต่ว่า...
ไว้ถามอีกครั้งค่ะ อิอิ
ขอบคุณนะคะ
P
สวัสดีคะ พี่กานต์
จัดให้ค่ะ นิทานก่อนนอน อิอิ
รอสักครู่ค่ะ อิอิ
ขอบคุณมากค่ะ
P
เย้ๆๆๆ วันนี้ดีใจจัง พี่ครูพรรณนามาทักทาย อิอิ
ขอบคุณค่ะ
สวัสดีปีใหม่ เช่นกันค่ะ ขอให้พี่มีความสุข สุขภาพแข็งแรง นะคะ

เรื่องเล่า เยี่ยมยอดอยู่แล้วค่ะ

-วั-ดีปีใหม่นะคะ HAPPY HAPPY ได้ดั่งใจคิดทุกประการค่ะ

P
สวัสดีปีใหม่เจ้าค่ะ พี่หนูรี
ขอบคุณภาพสวยๆ นะคะ
P
สวัสดีคะ อาจารย์
ขอบคุณสำหรับคำอวยพร ปีใหม่นะคะ

P

สวัสดีคะ อาจารย์
ขอบคุณอาจารย์เช่นกันนะคะ
P
วิ้วววววววววว หน้าม้ามาแล้ว อิอิ
ขอบคุณค่ะ
แฟนพันธุ์แท้ มากๆ

ทำยังไงดีคะ เล่าเรื่องไม่เก่ง ไม่กล้าที่จะเล่าเลย ยิ่งถ้าคนเยอะๆยิ่งไม่กล้าค่ะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ อาจารย์พอลล่า แต่ชอบอ่านที่อาจารย์บันทึก ติดตามอ่านอยู่นะคะ

สวัสดีค่ะ...น้อง P ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

นับวันจะหลงใหลใหญ่โตแล้วบันทึกอย่างนี้น่ะ เขียนเก่งจังค่ะ

มีความสุขกับชีวิตและงานที่ทำทุกวันนะคะคนเก่ง

P
สวัสดีคะ ขอบคุณหนูต้นเฟิร์นค่ะ
เป็นเด็กที่เรียนรู้ไวนะจ๊ะ
P
สวัสดีคะ พีอัจ
ขอบคุณในความพยายามของพี่นะคะ แปนพิมพ์ไม่อำนวยยังมาให้กำลังใจพอลล่า
ขอบคุณค่ะ
P
สวัสดีคะ
เล่าไม่เก่งก็เขียนสิคะ อิอิ
ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ
เป็นกำลังใจให้ชาวรพ.สีชมพูนะคะ สู้ๆๆคะ
P
พี่ครูอี๊ดจ๋า
ชมพอลล่าเดี๋ยวนอนไม่หลับนะคะ อิอิ
ขอบคุณค่ะ เขินนนนนนน จัง
พอลล่ายังต้องฝึกฝนอยู่ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท