“สิทธิของผู้ป่วย” : เรื่องนี้...พึงระวัง!


(บันทึกนี้ มิได้มีเจตนาเป็นอื่น... นอกจากความรู้สึกรักพี่น้องชาว G2K ทุกท่านค่ะ)

ผู้เขียนเป็นพยาบาล ที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อน เรื่องของสิทธิผู้ป่วยที่พึงมี...

 

 

“... สิทธิผู้ป่วย มีขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนของโรงพยาบาลตระหนักและเคารพในสิทธิของผู้ป่วยทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา…”

แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศสิทธิผู้ป่วย เมื่อ 16 เมษายน 2541

“... สิทธิ หมายถึง ความชอบธรรมที่บุคคล ใช้ยันกับผู้อื่นเพื่อคุ้มครอง หรือ รักษาผลประโยชน์ อันเป็นส่วนพึงได้ของบุคคลนั้น

สิทธิผู้ป่วย จึงหมายถึง ความชอบธรรมที่ผู้ป่วยจะพึงได้รับเพื่อคุ้มครองหรือ รักษาผลประโยชน์ อันพึงมีพึงได้ของตนเอง โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น…”

 

  สิทธิผู้ป่วย มี 10 ข้อ

...ที่สำคัญที่อยากนำมากล่าวถึงในที่นี้ คือข้อ

“... 7. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติ หน้าที่ตามกฎหมาย

คำอธิบาย สิทธิส่วนบุคคลที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยนี้ถือเป็นสิทธิที่ได้รับ การรับรอง ตามกฎหมายอาญามาตรา 323 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ข้อบังคับแพทยสภาพ.ศ. 2526 ซึ่งถือว่าสังคมได้ให้ความสำคัญกับสิทธิผู้ป่วยในข้อนี้มาก เพราะถือว่าเป็นรากฐานที่ผู้ป่วยให้ความไว้วางใจต่อแพทย์…”

“...9. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏในเวชระเบียน เมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิด สิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น

คำอธิบาย ข้อมูลที่ปรากฎในเวชระเบียนถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเจ้าของประวัติมีสิทธิที่จะได้รับ ทราบข้อมูลนั้นได้ ทั้งนี้รวมถึงกรณีผู้ป่วยยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลของตนต่อบุคคลที่สาม เช่นในกรณี ที่มีการประกันชีวิต หรือสุขภาพ...”

 

 และ...ฝ่ายบริการ รพ.สงขลานครินทร์ได้ขยายความเพิ่มเติมในข้อ 7 นี้อีกว่า

“... 7 . ผู้ให้บริการพึงปกปิดเรื่องราวของผู้ป่วย

เรื่องราวของผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องราวความเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังอย่างสนุกสนานหรือนำมาวิจารณ์ ควรถือเสมือนความลับของผู้ป่วยเป็นความลับของญาติพี่น้องของตน การเปิดเผยออกไปอาจนำความเสื่อมเสียมาสู่ผู้ป่วยได้ ผู้ให้บริการจึงพึงระวัง แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกิจกรรมที่เป็นการเรียน การสอน โดยอาศัยผู้ป่วยเป็นกรณีศึกษา ซึ่งจะรับรู้กันแต่ในเฉพาะกลุ่มผู้ที่กำลังศึกษาอยู่เท่านั้น…”

 

 เมื่อคนที่เรารักเจ็บป่วย  การแสดงความห่วงใยจึงมิใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด...

...แต่จะอย่างไรก็ตาม... หากนำข้อมูลเรื่องราวความเจ็บป่วยสู่สาธารณชนมากจนเกินไป(โดยผู้ป่วยมิได้อนุญาตหรือยินดี) อาจเกิดความไม่เหมาะสมได้

...ด้วยความรักและห่วงใย...ทั้งในตัวผู้ป่วยและมิตรสหายของผู้ป่วยค่ะ

 

(ขอขอบคุณ :

      1. http://www.jvkk.go.th/webjvkk/patient/patient.htm

     2. http://www.thaiclinic.com/pt_right.html

     3. http://medinfo.psu.ac.th/nurse/patient.htm )

คำสำคัญ (Tags): #สิทธิผู้ป่วย
หมายเลขบันทึก: 321571เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท