พนมรำพึง


พนมรุ้ง

 

 ปราสาทหินพนมรุ้ง เทวสถานของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตัวปราสาทสร้างอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว คำว่า “พนมรุ้ง” ในภาษาเขมรหมายถึง “ภูเขาใหญ่” แสดงถึงความอลังการของภูเขาไฟลูกนี้ ได้เป็นอย่างดี ปราสาทหินพนมรุ้งประกอบด้วยหมู่อาคารต่าง ๆ ตั้งเรียงรายจ ากลาดเขาทางขึ้น ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงองค์ปรางค์ประธานบนยอด เปรียบได้ดั่งวิมาน ที่ประทับของพระศิวะ ส่วนทางเดินขึ้นทอดไปสู่สะพานนาคราช คล้ายดั่งจุดเชื่อมโยง โลกมนุษย์กับแดนสวรรค์ นับเป็นโบราณสถานฝีมือชั้นเลิศชิ้นหนึ่งที่แสดงถึง ความเจริญรุ่งเรืองในครั้งอดีตของอาณาจักรขอมโบราณ งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนสถานในลัทธิพราหมณ์และได้รับการแปลงเป็นพุทธสถานในสมัยหลัง ช่วงที่ถูกทิ้งร้างอยู่มีผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานไว้ที่ปรางค์น้อยบนเขา กลายเป็นประเพณีของชาวบ้านรอบ ๆ บริเวณนั้นพากันขึ้นไปนมัสการปิดทองรอยพระพุทธบาทนี้รวมทั้งไหว้พระทำบุญในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี เนื่องจากปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ยี่งใหญ่สวยงามและเป็นประเพณีแต่เดิมอยู่แล้ว จังหวัดจึงได้ส่งเสริมให้มีงานประเพณีในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนเมษายน โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณ ได้แก่ ขบวนแห่ราชประเพณีขอมโบราณ การแสดงแสงเสียงย้อนรอยอดีตพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้ง สถาปัตยกรรมอันเลื่องชื่อบนเส้นทางสายปราสาทหิน ตั้งตระหง่านผ่านวันเวลามาเนิ่นนาน งดงาม อ่อนช้อย แข็งแรงทรงพลัง สัมผัสได้ถึงความรุ่งเรืองในครั้งอดีตกาล ใครจะเชื่อว่า ปราสาทหินแห่งนี้ตั้งอยู่เหนือปากปล่องภูเขาไฟ และในวันเวลา เดียวของปีคือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 แสงอาทิตย์จะทำมุมลอดทะลุประตูทั้ง 15 บานของปราสาทได้อย่างพอดี 

 

ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่นพระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) พระนารายณ์บรรทมสินธุ์อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระรามในเรื่องรามเกียรติ์ หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤาษี

ปราสาทพนมรุ้งได้รับการบูรณะด้วยกรรมวิธีอนัสติโลซิส ซึ่งเป็นการบูรณะโบราณสถานโดยทำสัญลักษณ์ของชิ้นส่วนต่างๆก่อนจะรื้อ ออกเพื่อเสริมรากฐาน และนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบขึ้นใหม่ตามเดิมซึ่งวิธีการเช่นนี้ใช้กับปราสาทหินหลายแห่ง เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมวัน

วิธีอนัสติโลซิส คือ รื้อของเดิมลง มาโดย ทำรหัสไว้จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย

ศิวลึงค์แบ่งออกเป็นหลายส่วน ส่วนหัวปลายด้านบน ประกอบไปด้วยหัวหันไปทุกทิศ ส่วนกลางที่เป็นรูปทรงกระบอกนั้น คือที่รวมหรือส่วนบรรจุดวงพระเนตรของพระศิวะ และส่วนฐานที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งหมายถึง พระบาทของพระศิวะ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วแท่งศิวลึงค์จะมีฐานรองรับที่เป็นสัญลักษณ์แทนเพศหญิง เรียกว่า โยนี  ในตำราฮินดูโบราณ กล่าวถึงแท่งศิวลึงค์และฐานโยนีไว้ว่า อวัยวะเพศทั้งคู่คือต้นเหตุของการถือกำเนิดการสืบต่อช่วงอายุ และชีวิตต่อชีวิต แต่ในคำจำกัดความของโยนี คือสิ่งที่มีความสำคัญต่อศิวลึงค์ด้วยเช่นกัน เพราะหมายถึงพลังหรือกำลังที่คอยส่งเสริมอำนาจและความยิ่งใหญ่ โยนีเป็นสัญลักษณ์แทนศักติหรือเทพธิดาผู้เสริมกำลังและความมีอำนาจให้เพศชายผู้เป็นสวามี ในที่นี้ก็คือพระอุมาเทวีนั่นเอง ดังนั้นการที่ชาวฮินดูทำศิวลึงค์และโยนีอยู่คู่กันก็หมายถึง ทั้งสองสิ่งคือต้นเหตุของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ซึ่งเป็นที่มาของชีวิต เลือดเนื้อ ความอุดมสมบูรณ์และที่สำคัญเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะกับพระอุมา

 

 

(The need hierarchy) Maslow  ข้อสุดท้าย

 

ผมเคยถามท่าน พล.ต.อ.ดร.ไกรสุข  สินศุขว่าจะให้ไปดูซากปราสาทที่โดนทุบทำลายทำไม !

(ช่วงนั้นมีการทุบทำลายปราสาทเขาพนมรุ้ง)

ท่าน  บอกว่า ผมไม่ได้ให้ไปดูซากปราสาท ผมให้ดูความงามและความเป็นสุนทรียะต่างหาก

ทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้าง เป็นระยะๆ ถนนทางเดิน นี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุด เชื่อมต่อระหว่างดินแดน แห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้าน ข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้าง ด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพาน นาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็น ชานพักเป็นระยะๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลา โล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้า ประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้า สู่ลานชั้นในของ

ปราสาท

วิวจากสวรรค์

ร้านค้าบริเวณปราสาทพนมรุ้ง

M.P.A.17มหาวิทยาลัยปทุมธานีเทวดาวิทยากร

หมายเลขบันทึก: 320944เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเที่ยวกับคุณสามารถที่พนมรุ้งด้วยคนค่ะ นาน ๆ ได้ออกไปเที่ยวสักทีรู้สึกดีจังเลย.... ทุกวันนี้เช้าขึ้นมาทำงาน เย็นกลับที่พัก (แฟลต) เดินขึ้นลงแทบหลับตาเดินยังจำระยะทางได้แล้วค่ะ (555)
  • ฝีมือการถ่ายรูปเยี่ยมยอดจริง ๆ ถ้ามีโอกาสว่าง ๆ มาถ่ายที่สถานที่ท่องเที่ยวที่จังหวัดชุมพรบ้าง....บุษราจะเป็นนางแบบให้  (5555555)
  • ขอบคุณค่ะ

คิดถึงวันเก่าๆครับคุณบุษรา เขาว่าคนคิดถึงวันเก่าๆ นั้นเริ่มแก่ สงสัยคงจริง555

ชอบที่นี่ครับ ไปกี่ครั้งก็เดินไม่ทั่วเลย สบายดีนะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • มีสุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพใจเข้มแข็ง ให้มีแต่ความสุขตลอดปี และตลอดไปนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุณสามารถ
  • ตามมาขอบคุณสำหรับคำอวยพรปีใหม่ที่ดีมาก ๆ บุษราไม่เคยได้ยินที่ไหนมาก่อน เป็นอะไรที่มีคุณค่ามากมาย ขอให้ความสุขี ความโชคดี ย้อนกลับคืนสู่คุณสามารถด้วยเช่นกันค่ะ
  • ขอบคุณนะค่ะ

ไม่อยากบอกว่าไปคัดลอกมา แต่ก็ตั้งใจน่ะครับ

เห็นรูปภาพแล้วนึกถึงคืนวันเก่าๆ อันทรหด แล้วก็อดใจหายไม่ได้วันเวลาได้ผ่านไปอย่างรวดเร็วซะเหลือเกิน

คิดย้อนกลับไปถึงวันที่เราได้เข้าชมสถานที่ปราสาทแล้ว เป็นสถานที่ที่สวยจริงๆ นะค่ะ

ครูอ้อยเคยไปสุรินทร์

Wer1

 เตรียมตัวจะไปเที่ยวสุรินทร์  เกือบได้ไปสุรินทร์แล้ว.....  ปิดภาคเรียน เปิดภาคใจ...ไปทั่วแดน  จะได้ไปไหมนี่ สุรินทร์...  ว้าว!!!! ได้ไปค่ะ สุรินทร์  สุรินทร์จ๋ามาถึงแล้วจ้า  ปราสาทหินพนมรุ้ง...ที่น่าทึ่ง   ให้รางวัลตัวเอง..กันบ้างที่สุรินทร์  เที่ยว พักผ่อน ทำบุญ ที่สุรินทร์   กราบรอยพระพุทธบาทที่เขาวัดศาลา..สุรินทร์  ไปกินกินกินที่สุรินทร์  สุรินทร์ถิ่นงามในยามเช้า  สุรินทร์กับศิลปวัฒนธรรมประเพณี  สุรินทร์จ๋า ขอลาก่อน ยังอาวรณ์อยู่เสมอ   สุรินทร์ นครราชสีมา กรุงเทพฯ ขึ้นมาเลยเพ่

ครับครูอ้อยครับ ถ่ายภาพมาสวยเชียวครับ ไปเที่ยวปราสาทพนมรุ้งมาหลายครั้งแล้วแน่ๆเลย ผมไปมาแค่ครั้งเดียวเอง นึกรักเลยครับ

 

มีสิ่งดีๆให้พบเจอเสมอๆ  นะคะ  ^-^

ขอบคุณครับคุณสายธาร ผมต้องรับอวยพรให้ครับเพราะเมื่อปีที่แล้ว ได้รับคำอวยพรจากคุณสายธารคนแรกๆเลย ขอบคุณครับ

แก้ไข

ขอบคุณครับคุณสายธาร ผมต้องรีบอวยพรให้ครับเพราะเมื่อปีที่แล้ว ได้รับคำอวยพรจากคุณสายธารคนแรกๆเลย ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท