ระบบการทำงานภายในหม้อไอน้ำ ( Fire Tube Boiler )


ระบบการทำงานภายในหม้อไอน้ำ ( Fire Tube Boiler )

ระบบการทำงานภายในหม้อไอน้ำ       (  Fire  Tube  Boiler )

                                ภายในหม้อไอน้ำจะมีระบบต่าง ๆ  ที่ต้องทำงานสำพันธ์กันอยู่หลายระบบด้วยกันดังต่อนี้

          1.       ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง            (    Fuel   Oil  System    )

          2.       ระบบน้ำเลี้ยงหม้อไอน้ำ       (    Feed  Water   System    )

          3.       ระบบการเผาไหม้                  (    Combustion  System    )

          4.       ระบบการนำไอน้ำไปใช้งาน (    Main    Steam     )

                    ซึ่งระบบต่าง ๆ  เหล่านี้     ถ้าได้รับการบำรุงรักษาที่ดีอยู่เสมอ   จะทำให้อายุการทำงานขอหม้อไอน้ำภายในเรือยาวนาน  และเกิดประโยชน์มากที่สุด    

 

                 1.       ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง (    Fuel   Oil   System    )            

                น้ำมันที่ส่วนใหญ่ใช้กันมากนั้นต้องได้มาจาก  การนำน้ำมันดิบมากลั่นเพื่อแยกชนิดของน้ำมันทีจุดเดือด ( Boiling  Point  ) ต่าง ๆ  กันได้เป็น   ก๊าซปิโตเลียมเหลว   น้ำมันเบนซิน   น้ำมันก๊าด   น้ำมันดีเซล   น้ำมันหล่อลื่น    น้ำมันเตา   และสุดท้ายที่กลั่นได้เป็นยางมะตอย   สำหรับน้ำมันที่นำมาใช้กับหม้อไอน้ำ  คือ  น้ำมันดีเซล  และน้ำมันเตา  

สำหรับเรือ  Thor  Dynamic  น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับ   Boiler   มีด้วยกันอยู่   2   ชนิด  คือ    Heavy  Fuel  Oil   and   Diesel  Oil   ในการใช้งานสภาวะปกติจะใช้น้ำมันเตา  (  Heavy  Fuel  Oil   )   แต่ในช่วงทีจุดใหม่นั่นเราจะใช้น้ำมันดีเซล  (   Diesel   Oil       )   ประมาณ   2   ชั่วโมง   และก่อนเลิกจุด  1   ชั่วโมง   จะใช้น้ำมันดีเซลอีกครั้งหนึ่ง  โดยมี่ปั้มน้ำมัน  F.O  Circulating  Pump   น้ำมันจากถัง  F.O.  Sevice   Tank  ด้นกำลังดันประมาณ   5  kg / cm2  ไปยัง   F.O  Heater  และผ่านไป   Burner  Pump  ซึ่งหลงจากที่ออกจากทางส่งของ   Burner  Pump   น้ำมันเชื้อเพลิงจะมีกำลังประมาณ  20  kg / cm2   เพื่อไปเข้าในชุดของ   Burner  ต่อไป   หลังจากนั้นขั้วไฟ   (  Igniton  )  จะทำการจุดระเบิด  เมื่อน้ำมันที่ถูกฉีดจาก  Burner  จะมีลักษณะที่เป็นฝอยละออง  เมื่อเกิดประกายไฟขึ้นก็จะเกิดการสันปาด  โดยมีอากาศจากพัดลมเป่าอากาศเข้ามาเพื่อให้การเผาไหม้สมบูรณ์

 

                2.         ระบบน้ำเลี้ยงหม้อไอน้ำ  (    Feed   Water   System    )

                ระบบส่งน้ำเข้าหม้อไอน้ำ   ในที่นี้จะอธิบายหลักการของระบบส่งน้ำคร่าว ๆ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้

                *   Cascade  Tank  หรือ  ถังพักน้ำ  ใช้สำหรับเก็บน้ำสำรองที่จ่ายให้กับหม้อไอน้ำ  ถังพักน้ำควรมีอุปกรณ์บอกระดับน้ำ  และ  วาล์วถ่ายน้ำ  ความจุของถังพักน้ำควรมีมากพอที่หม้อไอน้ำจะใช้ได้ในวันหนึ่ง ๆ   กรณีที่ใช้น้ำร้อนป้อนเข้าหม้อไอน้ำ  ถังพักน้ำต้องวางสูงจากพื้นมาก  หรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ  ภายในถังน้ำนี้เราจะต้องรักษาอุณหภูมิของน้ำให้คงที่ประมาณ   60  องศาเซนเซียนและจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำที่ใช้  การปรับปรุงคุณภาพของน้ำจะแบ่งออกเป็น  2  แบบด้วนกันคือ

                   1  การปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเติมเข้าหม้อไอน้ำ (  External     Treament )

                   2  การปรับปรุงคุณภาพน้ำภายในหม้อไอน้ำ    (   Internal     Treament   )

                การปรับปรุงคุณภาพของน้ำก่อนเติมเข้าหม้อไอน้ำ

                                น้ำตามธรรมชาติถ้านำทาเติมในหม้อไอน้ำโดยไม่มีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำก่อนจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นภายในหม้อไอน้ำ  คือ  การเกิดตะกรัน และการกัดกร่อน  ดังนั้น  จึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำก่อนทำการเติมเข้าหม้อไอน้ำ  การวิเคราะห์  หาชนิดและจำนวนสิ่งเจือปนในน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็น  เพื่อหาวิธีในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำที่เหมาะสมต่อไป  ความกระด้างชั่วคราว  ความกระด้างถาวร  และซิลิก้า  เป็นต้น  สาเหตุองการเกิดตะกรัน  ส่วนออกซิเจน  และ  คาร์บอนไดออกไซค์   จะเป็นตัวเร่งการกัดกร่อนของโลหะที่เป็นโครงสร้างของหม้อไอน้ำ  ซึ่งเราสามารถขจัดปัญหาเหล่านี้ได้

  • วิธีการใส่ปูนขาว  และโซดาแอช
  • วิธีการแลกเปลี่ยนประจุ
  • วิธีการกำจัดกาซละลายน้ำ   (  Deaeration  )              

 

                การปรับปรุงคุณภาพของน้ำภายในหม้อไอน้ำ

                   การปรับปรุงคุณภาพของน้ำก่อนเข้าหม้อไอน้ำครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม  น้ำภายในหม้อไอน้ำจะต้มและละเหยกลายเป็นไอเรื่อย ๆ ทำให้ค่าความเข้มข้นของสารเจือปนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น   จึงจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำภายในหม้อไอน้ำโดยการนำเอาน้ำที่โบล์ดาวน์ไปวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณสิ่งเจือปนต่าง ๆ ว่าเพิ่มขึ้นเกินปริมาณที่ยอมให้มี  ถ้าเกินก็สามารถปรับปรุงคุณภาพภายในหม้อไอน้ำ  ได้   2    วิธี 

  • โดยการเติมสารเคมี
  • โดยการโบล์ดาวน์                      

 

*   Boiler  Feed  Water  Pump  จะทำหน้าที่ส่งน้ำจากถังพัก   Cascade  Tank  ด้วยกำลังดันที่ประมาณ  10   kg / cm2   เข้าไปในหม้อไอน้ำ   ซึ่งการเติม    Catalyst   Sulphite    ก็จะเติมทาง   Suction  ของ  Boiler  Feed  Water  Pump  นี้   

          *   Condenser    เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนของ   (  Exhaust   Steam  )   โดยใช้น้ำทะเลมาใช้ในการแลกเปลี่ยนความร้อนหลังจากที่ผ่าน  Condenser   แล้วก็จะนำไปเก็บที่    Cascade  Tank  เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

          *   Feed   Water  Tank   เป็นถังน้ำจืดที่ไว้ใช้งานบนเรือทั่วไปซึ่งได้จากการรับน้ำ หรือ  กรณีเรือเดินก็ได้จากการกลั่นน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืดเพื่อป้อนน้ำเข้า   Cascade  Tank   ในกรณีที่ปริมาณน้ำที่ในถังพักไม่พอ   สำหรับเรือ Thor  Dynamic  นี้จะใช้การเติมแบบอัตโนมัติ  ซึ่งเมื่อเซ็นเซอร์หรือตัววัดระดับของน้ำโดยใช้แบบลูกลอย  เมื่อลูกลอยตกอยู่ในระดับที่ทำการตั้งค่าเอาไว้วาล์วน้ำก็จะทำการเปิดระบบการเติมน้ำเข้าไปในถังพัก   จนถึงระดับที่ทำการตั้งไว้ที่ตำแหน่งสูงพอแล้วระบบก็จะทำการปิดระบบเติมน้ำเข้าถังพัก

                *     หม้อพักไอ   (  Steam    Drum   )  จะทำหน้าที่เก็บไอน้ำที่หม้อไอน้ำผลิตได้  แล้วจ่ายไปยังเครื่องจักร  หรือ อุปกรณ์ที่ต้องการใช้ไอน้ำ    หม้อพักไอจะต้องสร้างจากวัสดุที่ทนความดัน  และอุณหภูมิของไอน้ำได้  หม้อพักไอควรจะมีการติดตั้งลิ้นนิรภัย  (  Safety  Valve   )  เกจวัดความดัน   วาล์วถ่ายน้ำ   วาล์วจ่ายไอ้น้ำ  และอื่น ๆ

                *      หม้อพักน้ำ    (  Water    Drum   )           จะทำหน้าที่เป็นที่อยู่ของน้ำ  และเป็นที่รวบรวมและรองรับสิ่งสกปรกต่างที่ปนมากับน้ำ หรือที่เกิดขึ้นภายในหม้อไอน้ำเอง

                *     ท่อโบว์ลหน้าน้ำ    (  Surface   Blow  Pipe   )  เป็นท่อที่ซึ่งเจาะรูไว้ตอนส่วนบนของท่อตลอดความยาวของท่อ  วางตามลักษณะการติดตั้งของหม้อไอน้ำ  และอยู่ภายในหม้อพักไอแต่อยู่ใต้ระดับของน้ำใช้งานประมาณครึ่งนิ้ว  ปลายด้านหนึ่งติดกับอยู่กับฝาติดหน้าหม้อไอน้ำและประกอบติดกับวาล์วโบว์ลหน้าหม้อไอน้ำ   (  Surface   Blow  Valve   )  เพื่อใช้ในการระบายสิ่งสกปรกที่ลอยอยู่หน้าผิวน้ำทิ้งออกไปนอกตัวหม้อไอน้ำนี้  จะใช้การเปิดลิ้นตัวนี้เพื่อเป็นการระบาย

            *    ท่อน้ำเลี้ยงภายใน    (  Internal   Feed    Pipe   )   เป็นท่อที่วางตรงไปตามความยาวของตัวหม้อพักทำหน้าที่  เป็นท่อทางให้น้ำเลี้ยงซึ่งถูกส่งจากปั้มน้ำ  เพื่อใช้ในการชดเชยกับจำนวนน้ำที่ระเหยกลายเป็นไอน้ำ และถูกน้ำไปใช้งาน

            *    เครื่องอุ่นน้ำด้วยก๊าซร้อน    (  Economizer  )  จะประกอบไปด้วยหมู่หลอดจำนวนหนึ่งวางอยู่เหนือหมู่หลอดทำไอมีท่อทางติดอยู่กับระบบน้ำเลี้ยง  น้ำเลี้ยงจะไหลผ่านหมู่หลอดนี้ก่อนที่จะไหลเข้าสู่หม้อพักไอ   ก๊าซร้อนจะพัดผ่านด้านรอบนอกของหมู่หลอดนี้ก่อนที่จะออกปล่อง   ทำให้อุณหภูมิของเลี้ยงน้ำสูงขึ้น   ความร้อนที่สูญเสียไปจะลดน้อยลง  ถ้าหม้อไอน้ำไม่มีเครื่องอุ่นน้ำด้วยก๊าซร้อนแล้ว   จะต้องให้ความร้อนแก่น้ำเท่ากับจำนวนความร้อนที่เครื่องอุ่นน้ำได้รับ   ฉะนั้นการอุ่นน้ำด้วยก๊าซร้อนจึงมีผลก็คือทำให้เราประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง   ซึ่งการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงนี้อยู่ในเกณฑ์ประมาณ   1%  ต่ออุณหภูมิน้ำเลี้ยงที่สูงขึ้น  10  องศาฟาเรนไฮร์

 

3.      ระบบการเผาไหม้    (  Combustion    System    )  หมายถึง   การเกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างเชื้อเพลิง  กับออกซิเจน   ปฏิกริยาจะเกิดอย่างรวดเร็ว  ก่อให้เกิดพลังงานออกมาในรูปของความร้อน   ทำให้อุณหภูมิของสารผสมน้ำมันเชื้อเพลิง  และออกซิเจนสูงขึ้นเรื่อย ๆ  มีผลทำให้สารผสมที่ใกล้เคียงเกิดปฏิกริยาตาม  ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างต่อเนื่อง

                การเผาไหม้ที่ดีหรือการเผาไหม้ที่สมบูรณ์   คือ  การเผาไหม้ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว   สามารถให้ปริมาณความร้อนเท่ากับค่าความร้อนของเชื้อเพลิง   และผลที่ได้จากการเผาไหม้จะอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   น้ำ   และ  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์   ปริมาณของเชื้อเพลิงและออกซิเจนที่ใช้จะต้องได้อัตราส่วนที่เหมาะสม   การที่จะทราบว่าการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นนั้นสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด   จำเป็นจะต้องใช้สารเคมีเพื่อศึกษาถึงลักษณะของปฏิกริยาที่เกิดขึ้น 

                ระบบการเผาไหม้  จะมี   Oil  Burner   เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำให้เกิดการเผาไหม้ซึ่งจะประกอบไปด้วย

                *        Oil   Solinoid    Valve   ทำหน้าที่   ควบคุมการเปิด , ปิด  ของน้ำมันเชื้อเพลิงที่เข้าสูหัวฉีด

                *             F.O. Circulating  Valve   เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมกำลังดันของน้ำมันเชื้อเพลิงก่อนที่จะเข้า  Automizer คือจะยอมให้น้ำมันไหลผ่านเข้าไปได้ก็ต่อเมื่อกำลังดันของน้ำมันเชื้อเพลิงสูงพอตามที่เราตั้งค่าเอาไว้   ถ้าความดันของน้ำมันเชื้อเพลิงไม่สูงพอก็จะ   Circulat  น้ำมันกลับไปยังปั้มอีกทีหนึ่ง  ข้อดีของการมี   F.O. Circulating  Valve    ก็คือ  ทำให้การเผาไหม้สม่ำเสอมและทำให้น้ำมันมีความร้อนที่สูงเหมาะสม

                *             Automizer     เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นฝอยละอองโดยการพ่นด้วนกำลังดันแรงสูง  ส่งผลทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์

                *             Automatic   Electric   Igniter       เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่    Sparking   ให้เกิดประกายไฟ  โดยจะได้รับกระแสไฟจาก    Transfomer       จะทำการแปลงกระแสไฟจาก    24   V. ให้เป็นไฟกระแส  AC.  10,000  V

            *        Flame   Eye    เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณจากการ    Sparking   ของ  Igniter  เมื่อมีการ Sparking   นี้     Photocell   จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้ระบบวงจรของน้ำมันเชื้อเพลิง    Oil   Burner  Pump  Close  Circuit   ทำให้มีการส่งน้ำมันเชื้อเพลิง     20   Kg/ cm2   เข้ามาที่หัวฉีด   ถ้ามีการจุดติดไฟหลังจากการ   Spark  ซึ่ง Photocell  ก็จะทำการควบคุมให้  Oil   Burner  Pump    ทำงานต่อไป  แต่ถ้าหลังจากการ   Spark  ไปแล้ว   3   วินาที  ยังไม่มีการเกิดของประกายไฟ    Photocell  ก็จะตัดวงจรของ    Oil   Burner  Pump   ทันทีทั้งนี้เพื่อป้องกันน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปในเตาโดยไม่มีการเผาไหม้

                *             Low   Oil  Temperature  Switch    เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมไม่ให้น้ำมันที่มีอุณหภูมิที่ต่ำเข้าไปในระบบ  ถ้าอุณหภูมิของน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ     ( Drop  )  Switch  ตัวนี้จะทำงาน  จะทำการตัดการจ่ายน้ำมันเชื่อเพลิงทันที

                *             เตา    (  Furnace )   เตาเป็นที่ที่ อากาศ และ น้ำมันเชื้อเพลิง  เข้ามาผสมรวมตัวกันทำให้เกิดการเผาไหม้  ให้ความร้อนกับหม้อไอน้ำ   ปกติหม้อไอน้ำจะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ  1  ปอนด์  ต่อ  อากาศประมาณ  225  ลูกบาศก์ฟุต

                 *       เครื่องอุ่นอากาศ  (  Air  Heater  or  Preheat  )   เป็นเครื่องช่วยอุ่นอากาศที่จะถูกส่งเข้าไปในห้องเผาไหม้   เพื่อช่วยให้การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงได้ผลดี

               *             ก๊อกอากาศ     (  Air  Cock   )   จะประกอบติดตั้งอยู่บนสุดภายนอกของหม้อไอน้ำ   เพื่อให้อากาศจากหม้อพักไอน้ำไหลออกโดยการเปิดวาล์วระบายออก

                *             ลิ้นป้องกันอันตราย     (  Safety  Valve   )  ที่ติดตั้งประจำกับตัวของหม้อไอน้ำ  เพื่อป้องกันกำลังดันไอน้ำภายในหม้อไอน้ำสูงเกินกว่ากำลังดันปลอดภัยที่กำหนดไว้  มิฉะนั้นแล้วเมื่อเกิดแรงดันเกินกว่าที่กำหนดอาจจะทำให้หม้อไอน้ำระเบิดได้

 

                คุณสมบัติของลิ้นนิรภัย    (  Safety  Valve   )  คือ

  • จะต้องยกตัวเปิดทันทีและเต็มที่  เมื่อกำลังดันภายในหม้อไอน้ำถึงรับแรงดันที่ทำการตั้งค่าเอาไว้
  • จะต้องเปิดค้างอยู่จนกว่ากำลังดันภายในหม้อไอน้ำลดต่ำลงในระดับปกติ  และปิดเมื่อถึงระดับที่กำหนดไว้
  • จะต้องปิดสนิทไม่มีการสั่น   (  Chattering  )
  • เมื่อปิดแล้วจะต้องปิดสนิทไม่มีการรั่ว
  • จะต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร และมีจำนวนเพียงพอที่จะทำให้กำลังดันของหม้อไอน้ำลดลงจนถึงระดับปกติจนอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย  แม้ว่าในขณะนั้นยังมีอัตราการเผาไหม้เต็มที่   หรือยังไม่เปิดเอาไอน้ำไปใช้งานก็ตาม

 

ลิ้นนิรภัยที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้จะมีด้วยกันอยู่   3   ประเภทด้วยกัน   คือ

                1             ลิ้นนิรภัยประเภทน้ำหนักถ่วงโดยตรง     ลิ้นแบบนี้ปัจจุบันไม่นิยมใช้งาน   การทำงานจะมีวาล์ววางกดทับบนบ่าวาล์ว   แล้วมีแผ่นเหล็กวางทับอีกที   การปรับความดันให้มีการระบายออกของไอน้ำ   ทำได้โดยเพิ่ม หรือลดจำนวนแผ่นเหล็ก  ลิ้นนิรภัยแบบนี้มีลักษณะพิเศษ   คือ  ระบายไอน้ำออกที่ความดันกำหนดไว้ได้อย่างเที่ยงตรง  และเพื่อป้องกันแผ่นเหล็กกระเด็นออกจึงต้องมีฝาครอบแผ่นเหล็ก  ปัจจุบันยังพบว่ามีการใช้งานกับหม้อไอน้ำแบบลูกหมูรุ่นเก่าๆ  แต่หม้อไอน้ำรุ่นใหม่ไม่นิยมใช้ 

                2        ลิ้นนิรภัยประเภทคานน้ำหนัก     ลิ้นแบบนี้ ปัจจุบันมีการนำมาใช้มากโดยเฉพาะกับหม้อไอน้ำแบบลูกหมู   การทำงานของตัววาล์วจะว่างอยู่บนบ่าวาล์วแล้ว  มีกระเดื่องพร้อมคานและตุ้มน้ำหนักกดบนวาล์วอีกทีหนึ่ง  การปรับความดันให้ไอน้ำระบายออกทำได้โดยการเลื่อนตุ้มน้ำหนักที่คานเข้า และ ออก  ลิ้นนิรภัยแบบนี้เหมาะสำหรับหม้อไอน้ำที่ใช้ความดันไม่เกิน   200  ปอนด์  /  ตารางนิ้ว

                3             ลิ้นนิรภัยประเภทสปริง     ลิ้นนิรภัยแบบนี้ปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากกับหม้อไอน้ำที่สุดเพราะสะดวกและหาซื้อง่าย   การทำงานแรงสปริงจะทำหน้าที่ทำให้วาล์วกดแน่นกับบ่าวาล์วการปรับแรงดันให้มีการระบายไอน้ำออก  กระทำได้โดยการขันสกรูเข้าและออก  ทำให้สปริงแข็งขึ้นหรืออ่อนลง  ลิ้นนิรภัยแบบสปริงนี้ต้องมีคานงัดทดสอบสภาพการใช้งานได้  หม้อไอน้ำที่ติดตั้งกับรถไฟและเรือ  ซึ่งมีการเคลื่อนที่อยู่เสมอควรใช้ลิ้นนิรภัยแบบนี้

*             เปลือกหม้อไอน้ำ  (  Casing  )  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแก๊สร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงและความร้อนหนีออก   จึงได้สร้างเปลือกหม้อไอน้ำหุ้มหม้อไอน้ำไว้  เปลือกดังกล่าวนี้จะหุ้มตัวหม้อไอน้ำจากมห้อพักน้ำทางด้านข้าง  จากผนังเตาด้านหน้าและด้านหลัง  จนกระทั่งทั่วจนถึงปล่อง   (  Up  Take  )  ผนังเตาด้านหน้า และด้านหลังซึ่งมีอิฐทมไฟบุ  อยู่จึงทำหน้าที่หุ้มเปลือกหม้อน้ำชั้นในไปในตัว

*             ฐานหม้อไอน้ำและเหล็กค้ำยัน     (   Seddles  and  Supports  )   การติดตั้งหม้อไอน้ำในเรือนั้นใช้วิธียึดตัวหม้อไอน้ำ หรือหัวต่อหลอดให้ติดกับฐานหม้อไอน้ำยึดติดกับพื้นเรืออีกทีหนึ่ง  ฐานจะยึดติดกับเหล็กค้ำยัน  (   Supports  )

 

                4.       ระบบการนำไอน้ำไปใช้งาน      (    Main    Steam     )

                   ซึ่งระบบนี้จะเป็นการนำไอไปใช้งาน  โดยจะผ่านตัวควบคุมแรงดันคือ    Excess   Steam  Control     และก็จะแยกไปตามท่อจ่ายไอต่าง ๆ ที่มีการใช้งาน  

                                ท่อจ่ายไอน้ำ     (   Steam   pipe  )  ทำหน้าที่ส่งไอน้ำไปใช้งาน  ควรใช้ฉนวนหุ้มท่อจ่ายไอจะช่วยลดการสูญเสียความร้อนของไอน้ำได้  การเลือกท่อจ่ายไอน้ำจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

                     1.       ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำ  เช่น  เหล็กหล่อ  เหล็กเหนียว  หรือเหล็กกล้าผสม  เป็นต้น  การเลือกใช้วัสดุชนิดใดต้องพิจารณา  อุณหภูมิ  ความดัน  และการกัดกร่อนที่จะเกิดขึ้น

                     2.       ความหนาของท่อ   ควรจะมีขนาดเท่าใด  จึงเหมาะสมต้องพิจารณาความดัน  และ อุณหภูมิไอน้ำในท่อด้วย

                     3.     เส้นผ่าศูนย์กลางของท่อจ่ายไอ   จะมีขนาดเท่าใดต้องพิจารณาร่วมกันกับอัตราการไหล  ความดัน และ อุณหภูมิของไอน้ำ         อีกทั้งความเร็วของไอน้ำ  และการสูญเสียความดัน    (   Pressure  Drop )   ในท่อ  โดยทั่วไปความเร็วของไอน้ำในท่อจะมีค่าประมาณ    4,000 – 6,000  ฟุต / นาที

                    4.       การขยายตัวของท่อ  อุณหภูมิของท่อตามปกติขณะยังไม่ใช้งานประมาณ   86 – 100 F  แต่ขณะใช้ งานอุณหภูมิของท่อจะมีค่าเท่ากับอุณหภูมิของไอน้ำ   เช่น  ไอน้ำมีความดัน   100   ปอนด์ / ตารางนิ้ว  จะมีอุณหภูมิ    338 F  ท่อจ่ายไอก็จะมีอุณหภูมิ    338 F  ด้วย  การที่อุณหภูมิท่อเปลี่ยนแปลงมากจะทำให้เกิดการขยายตัว  การขยายตัวของท่อจะมีเฉพาะช่วงความยาวเท่านั้น  ส่วนการขยายตัวตามแนวรัศมีน้อยมากจนไม่ต้องคำนึงถึง

หมายเลขบันทึก: 320939เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้องการรู้เรื่องระบบกลับจักรครับแต่ยังหาขัอมูลไม่ได้รบกานอธิบายให้หน่อยครับ(ขอแบละเอียดจะนำไปใช้งานจริง)คือมีพื้นอยู่บ้างแล้วแต่ต้องการให้ตัวเองแน่นขึ้นและเจาะลึกขึ้นครับขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท