เพื่อนช่วยเพื่อนห้องเรียนวิทยาศาสตร์


การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
    มีโอกาสได้ไปเยี่ยมให้กำลังใจค่ายจิตอาสา ฯ ที่โรงเรียนของพี่ครูคิม วิทยสัมพันธ์มา เพราะอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนมากนัก   ได้เห็นภาพที่งดงามหลายเรื่อง โดยเฉพาะมารยาทของนักเรียน ดีจริงๆ ชื่นชมการทำงานของทีมวิทยากรที่นำโดยพี่หนานเกียรติ ได้มิตรภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชาว G2K โดยเฉพาะพี่ครูคิม พี่มนัสนันท์ และแสดงความดีใจกับ พี่ธนิตย์ กับรางวัลสุดคะนึง  สะท้อนให้เห็นภาพของความเอื้ออาทรของคนในสังคมอีกมิติหนึ่ง ที่จะช่วยขยายเครือข่ายการเรียนรู้ และแบ่งปันความสุขให้กับสังคม  และขอให้กำลังใจคนทำดีเพื่อสังคมครับ
    และวันนี้ผมก็อยากแบ่งปันเรื่องราวผ่านการทำหน้าที่ครู เก็บตกเรื่องราวจากวันพฤหัสที่ผ่านมา มีความกังวลใจว่าจะใช้วิธีไหนจึงจะทำให้นักเรียนห้อง 3/2 ที่ค่อนข้างเรียนรู้ช้า เกิดการเรียนรู้ได้ดีกับการสอนเรื่อง การวัดกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า  สุดท้ายก็ค้นพบเอง  โดยบังเอิญ ว่าวิธีที่เราใช้ไปนั้น คือ การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (peer oriented appoach) ที่ผมสาธิตวิธีทดลองให้เด็กดู  จากนั้นให้นักเรียนซ้อมกัน (เพื่อนสอนเพื่อน)ก่อนที่จะมีการสอบปฏิบัติ  ผมก็ได้เห็นบรรยากาศที่เด็กเก่งจะช่วยเพื่อนของเขา อธิบายให้ฟัง ทำให้ดู โดยไม่เขินอายกัน  หลอกล้อกันไปบ้าง เล่นบ้าง  บรรยากาศไม่ตึงเครียด  โดยที่ผมไม่เร่งเวลา  ให้คนที่พร้อมก่อนมาสอบก่อน   คนที่ยังไม่พร้อมให้เพื่อนสอนไปก่อน  วันนั้นสอบจนวินาทีสุดท้าย เหลือนักเรียนที่ค้างสอบเพียง 2 คน ให้ไปซ้อมมาใหม่ค่อยมา สอบ โดยที่ไม่มีการหักคะแนนใด สังเกตดู  นักเรียนไม่ได้เครียดอะไร  
     กลับออกจากห้องมาก็มาทบทวนความรู้ว่าวิธีสอนที่เกิดจากการฉุกคิดให้เด็ก ซ้อมกัน ก่อนกลุ่มใหญ่ แล้วมาสอบรายบุคคล นั้นเข้ากับลักษณะการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน แต่ไม่ใช่เต็มรูปแบบ หรือเป็นทางการอะไร 
    หัวใจของการสอนวิทยาศาสตร์อีกอย่างหนึ่ง คือ ต้องให้เด็กลงมือปฏิบัติจริงตามความสามารถของเขา โดยที่ครูให้เวลาในการพัฒนาแก่ผู้เรียนแต่ละคนตามศักยภาพ ที่สำคัญอย่าเร่งเวลา  และอย่าเปรียบเทียบ ชมและให้ข้อเสนอแนะ ให้คะแนนอย่างเปิดเผย
    นักเรียนซ้อมก่อนสอบ
             
   นักเรียนสอบจริง
             
 
  
    
หมายเลขบันทึก: 319879เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2009 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

มาชื่นชมคนหัวใจครูเต็มร้อยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ชื่นชม และชื่นชอบการจัดค่ายของคุณครูคิม

เลยตามมาอ่านบันทึกด้วยคนค่ะ

เป็นการคิดของผู้ใหญ่ใจดีที่คิดได้ไร้กรอบจริง แต่ได้ผลลัพธ์สูง อย่างเรียบง่าย จากน้ำใจของกัลยาณมิตร

ขอบคุณค่ะ

* ดีใจด้วยนะค่ะที่น้องได้มีโอกาสไปร่วม "ค่ายจิตอาสา ฯ ที่โรงเรียนของพี่ครูคิม"

** ห้องเรียนวิทยาศาสตร์จะสนุกได้ก็คงเกิดจาก Learning by Doing นะค่ะ

* ดีใจด้วยนะค่ะที่น้องได้มีโอกาสไปร่วม "ค่ายจิตอาสา ฯ ที่โรงเรียนของพี่ครูคิม"

** ห้องเรียนวิทยาศาสตร์จะสนุกได้ก็คงเกิดจาก Learning by Doing นะค่ะ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ จักกฤษณ์ คลาดกันคนละนิดจึงไม่ได้พบกันในค่ายฯ

แต่ก็ดีใจมีคนชื่นชมให้ฟังครับ

กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ส่งผลให้เกิดเกินคาดครับ

เห็นวงการสาสุขคนป่วยเบาหวาน หมอพบาบาล บอกเล่าเฝ้าสอน แต่ไม่ไดผล พอเพื่อนบ้านเป็นคนแนะก็ทำตามเห็นผลมาหลายรายครับ

สวัสดีครับท่าน P วอญ่า

ขอบคุณมากครับ

โอกาสหน้า คงได้เสวนากันนะครับ

 

สวัสดีครับพี่ P noktalay

ที่โรงเรียนวิทยสัมพันธ์เด็กเขาดีจริงๆ ครับ

สวัสดีครับคุณ P namsha

สนับสนุนให้มีค่ายดี ๆ แบบนี้อีก

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณครู P krutoiting

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะครับ

*** หัวใจของการสอนวิทยาศาสตร์อีกอย่างหนึ่ง คือ ต้องให้เด็กลงมือปฏิบัติจริงตามความสามารถของเขา

*** เห็นด้วยค่ะ ...การให้เด็กลงมือปฏิบัติจริงตามความสามารถของเขา ในการฝึกทักษะทางภาษาก็มีความจำเป็นมาก การได้ลองทำ....ทำให้ภาพในจินตนาการของเขาชัดเจน ได้องค์ความรู้ที่ยั่งยืนค่ะ

*** ขอบคุณ คุณจักกฤษณ์ ค่ะ

  • เพิ่งรู้ว่าสอนวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ครูวิทย์จะรู้..ถ้าได้ทดลอง นร.จะสนใจ
  • เคยเช่นกันครับ เพื่อนสอนเพื่อนได้ผลดีจริงๆ
  • ดีใจที่ได้มีโอกาสรู้จักอ.จักรกฤษณ์ครับ
  • ขอบคุณประสบการณ์จัดการเรียนรู้ดีๆครับ

ตามมาจากบันทึกพี่คิมครับ...

เสียดายมาก ๆ ที่ตอนเจอกันในค่ายฯ มีโอกาสคุยกันไม่มาก

ดีใจที่ได้รู้จักและพูดคุยด้วย แม้ในระยะเวลาสั้น ๆ ครับ

กระบวนการที่อาจารย์สร้างการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ขอลอกเอาไปใช้ในค่ายฯ คร้ังต่อไปหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท