ช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณ โครงการ งานต่าง ๆ ที่ดูแลรับผิดชอบ ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ทำก็เริ่มปัดฝุ่นวางแผนการทำงานใหม่ ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดในปีงบประมาณนี้ ซึ่งก่อนวางแผนก็มีการสรุปผลงานในปีที่ผ่านมาเพื่อวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสในการพัฒนา ปัญหาอุปสรรคที่ต้องแก้ไข และผลักดัน โครงการ แผนงานในปีต่อไป โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่กำลังผลักดันให้เกิด
งานสุขภาพจิตในปีที่ผ่านมา (2552) ในพื้นที่มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 3 ราย ซึ่งตามตัวชี้วัดของงานคือไม่ให้มีคนฆ่าตัวตายซักกะรายเดียว กล่าวคือ อัตราฆ่าตัวตายให้เท่ากับศูนย์ ก็คงจะยากอยู่เพราะเวลาจะฆ่าตัวตายไม่มีใครมาหาหมออนามัยก่อนซักราย..หุ หุ ดังนั้น การให้ความรู้ สร้างความตระหนักให้ครอบครัว ชุมชนเห็นความสำคัญจึงเป็นเรื่องที่ควรทำก่อนว่ามั๊ย??แต่ก็มีอยู่1 ราย ที่ช่วยเหลือได้ทันเวลา.... เป็นวัยรุ่นหญิง มาด้วยอาการ ไม่พูดไม่คุย ไม่กินข้าว แยกตัวเอง อยู่ 4 วัน โชคดีที่พ่อแม่สังเกตเห็นอาการก่อนจึงพามาพบหมออนามัย เนื่องจากประเมินสุขภาพและค้นหาปัญหาที่สอ. ไม่สำเร็จ จึงนัดเยี่ยมบ้านในตอนเย็น ประเมินสภาพครอบครัว เป็นครอบครัวเดี่ยว มีลูก 2 คน หญิง-ชาย ผู้ป่วยเป็นบุตรคนโต จบ ม. 6 แล้วไม่เรียนต่อ อาสาออกมาช่วยพ่อแม่ทำงาน หาเงินช่วยเหลือครอบครัวบ้าง วันแรกที่ไปเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยไม่พูด ไม่คุย จึงได้แต่นั่งเป็นเพื่อน เล่าเรื่องราว ปัญหาของคนทั่วไปให้ฟัง ตั้งคำถามให้ได้คิด เปิดโอกาสให้ระบาย(ร้องไห้) ให้คำปรึกษาครอบครัว ร่วมวางแผนการดูแล และติดตามผล ให้การเยี่ยมบ้าน 3-4 ครั้ง ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถวิเคราะห์ปัญหาตัวเอง และแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้อย่างเหมาะสม รายนี้จึงรอดตายหวุดหวิด สารภาพให้ทราบภายหลังว่า เคยมีความคิดฆ่าตัวตายเช่นกัน ปัจจุบันดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ได้รับการเยี่ยมบ้าน ถามไถ่ทุกข์สุข กันอยู่เสมอ ๆเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้ไปร่วมงานศพหลานประธานอสม. ม. 8 กินยาฆ่าตัวตาย ศพถูกส่งมาจากต่างจังหวัด รายนี้ เป็นหนุ่มโสดไปทำงานรับจ้างที่ประเทศเขมรเมื่อหลายปีก่อน เป็นลูกคนสุดท้อง ในจำนวนทั้งหมด 3 คน สอบถามแม่ผู้ตายว่า ลูกเล่าให้แม่ฟังหรือไม่ว่ามีเรื่องทุกข์ใจอะไรรึเปล่า แม่บอกไม่เลย 2 วันก่อนจะเสียชีวิตโทรศัพท์มาบอกว่าคิดถึงแม่ อยากกลับบ้าน แม่ก็เข้าใจว่าลูกสบายดี จะกลับมาวันเสาร์ แล้ววันเสาร์ลูกก็ได้กลับมาจริง ๆ โดยทางโรงพยาบาลโทรมาบอกให้ไปรับศพ ......อือ....ม
เมื่อวาน อสม. ม. 5 และน้องที่ทำงานแจ้งว่า มีคนผูกคอตายที่ข้างเถียงนา ม. 5 ....อือ....ม..........เป็นหญิงสาวอีกหมู่บ้านหนึ่ง ในอีกตำบลหนึ่งที่อยู่ติดกันกับหมู่ 5 ตำบลเชียงพิณ ก่อนหน้านั้นในวันเดียวกันได้ผูกคอตายที่หมู่บ้านของตนเองแล้ว แต่มีคนช่วยไว้ทัน เธอรับปากว่าจะไม่ทำอีก แล้วก็เดินจากไป ชาวบ้านและญาติก็ไม่ได้สนใจอะไรอีก เธอจึงเดินมาเรื่อย ๆ ข้ามหมู่บ้าน จนถึงที่ลับตาคน แล้วเธอก็ได้ตายสมใจ ด้วยผ้าขาวม้าที่ถือมากับกิ่งไม้ที่แข็งแรงกิ่งหนึ่ง...................*****...#.....******...#...*****....................เป็นเหตุการณ์ที่เราทุกคนไม่อยากให้เกิดเลยนะคะ แต่ก็เป็นไปแล้ว...*** เรามารู้จักโรคซึมเศร้า และช่วยกันเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย กันดีกว่าค่ะ *_*โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder)เป็น ลักษณะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว (episode)เป็นโรคจิตเวชที่สอดคล้องกับความผิดปกติที่เกิดจากภาวะความกดดัน (Depressive Disorder) |
เกณฑ์การวินิจฉัยต้องมีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 5 อาการ เกิดขึ้น |
แทบทั้งวันเป็นเกือบทุกวัน ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ และทำให้ |
เสียหน้าที่การงาน การสังคม อาการหลักอย่างน้อย 2 ใน 3 คือ |
1. มีอาการเศร้าทั้งที่ตัวเองรู้สึกและผู้อื่นสังเกตเห็น |
2. ความสนุกสนาน เพลิดเพลินความสนใจในกิจกรรมปกติลดลง |
3. อ่อนเปลี้ยเพลียแรง มีกิจกรรมน้อยลง |
อาการร่วม อย่างน้อย 2 อาการ |
1. สมาธิลดลง |
2. ความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตนเองลดลง |
3. รู้สึกผิดและไร้ค่า |
4. มองอนาคตในทางลบ |
5. คิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเองหรือฆ่าตนเอง |
6. มีความผิดปกติในการนอนหลับ |
7. เบื่ออาหาร |
อาการทางกาย อย่างน้อย 4 อาการ |
1. เบื่อหน่ายไม่สนุกสนานในกิจกรรมที่เคยเป็น |
2. ไร้อารมณ์ต่อสิ่งรอบข้างที่ทำให้เพลิดเพลินใจ |
3. ตื่นเช้ากว่าปกติมากกว่า 2 ชั่วโมง |
4. อาการซึมเศร้าเป็นมากช่วงเช้า |
5. ทำอะไรช้า เคลื่อนไหวช้าลงหรือกระสับกระส่าย |
6. เบื่ออาหารอย่างมาก |
7. น้ำหนักลดลง 5 % ต่อเดือน |
8. ความต้องการทางเพศลดลง |
การดำเนินโรค * โรคซึมเศร้ามักเป็นเรื้อรังและเป็นซ้ำ ๆ อาการเกิดเป็นช่วง อาจหายหรือทุเลาได้ |
ซึ่งระยะเวลาของการเกิดอาการที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่ประมาณ 3-6 เดือน |
สาเหตุการเกิด * เกิดจาก ความสัมพันธ์ (Interaction) ของหลาย ๆ ปัจจัย ทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม (bio psycho social) ส่วนปัจจัยทางพันธุกรรมจะเอื้ออำนวยให้บุคคลเกิดโรคซึมเศร้าได้บ้าง แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่ทราบยีนเฉพาะที่ก่อโรคนี้ |
|
อุบัติการ * เกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย |
* ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรไทย มักเกิดในช่วงอายุ 15 - 59 ปีในวัยกลางคน การกระจายของโรคในประเทศไทยจะพบมากที่ภาคอีสาน |
การรักษา
|
ข้อแนะนำ *** การออกกำลังกายแบบแอโรคบิค 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันนาน |
16 สัปดาห์ พบว่า ลดอาการซึมเศร้า ลดการกลับซ้ำของโรคได้พอ ๆ กับ |
การรักษาด้วยยา ( Babyak, 2000) |
@ ระบบการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าความจริงที่ซ่อนเร้น พบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (100%)มีทั้งได้รับการรักษา (4.4%) และไม่ได้รับการรักษา (95.6%)เพียงเพราะ การคัดกรอง วินิจฉัยได้ช้าและไม่มารับการรักษาต่อเนื่อง |
@ การคัดกรองและการประเมินโรคซึมเศร้า *ใช้แบบประเมินในงานสุขภาพจิต 2 Q 15 ข้อ แบบประเมิน 9Q และ 8 Qโดยทั่วไปอาจใช้วิธี การสังเกต การให้ความรัก ความสนใจ ใส่ใจต่อกันและกันในครอบครัว ก็ได้ค่ะหากพบอาการผิดปกติ มีภาวะเศร้าเกินกว่าปกติ กรุณาแจ้งแพทย์ พยาบาล หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านนะคะกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า คือ1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โรคหัวใจ ไตวาย อัมพฤกษ์-อัมพาต2. ผู้สูงอายุ3. ผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือหลังคลอด4. ผู้ที่มีปัญหาติดสุรา สารเสพติด5. ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าชัดเจน6. ผู้ที่สูญเสียบุคคลที่รัก หรือทรัพย์สินจำนวนมาก |
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้หากไม่ได้รับการดูแลรักษา และเฝ้าระวัง ซึ่งเราควรหมั่นสังเกตบุคคลรอบข้างบ้าง นะคะ |
|
|
อุ่ย...มาไงเนี่ย...
เป็นพระคุณอย่างมากเลยครับ กำลังเริ่มระยะแรกพอดี จะได้ปฏิบัติตัวให้ถูก
ค่ะคุณ soraya ทุกปัญหาล้วนมีทางออก
ขอเป็นกำลังใจให้ดูแลตนเองได้ดีอย่างมีความสุขนะคะ
หากมีอะไรให้ช่วย ก็ยินดีค่ะ
ขอบคุณค่ะ...^_^
สวัสดีค่ะคุณสีตะวัน
อ่านอย่างรวดเร็วด้วยเวลาอันจำกัด
คนไม่มีรากมีประสบการณ์ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ กรณีศึกษาสมาคมสะมาริตันส์ค่ะ...
เห็นได้ชัดถึงความสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ คนใกล้ชิดต้องใส่ใจและให้ความสำคัญค่ะ ในขณะที่ความเชื่อบางอย่าง เช่น คนมักเชื่อกันว่า คนบ่นว่าอยากตาย เป็นการเรียกร้องความสนใจและไม่ได้อยากตายจริง ... แต่ตามหลักการทางจิตวิทยา การบ่นหรือบอกว่า เบื่อ เครียด อยากตาย ... นั้น มีนัยยะสำคัญที่ควรระวังค่ะ
หากมีเวลาจะมาแชร์ความรู้ด้วยอีกค่ะ
(^___^)
สวัสดีค่ะ
- เข้าไปทำแบบประเมินแล้วค่ะ
- ตอนนี้ต้องทำกิจกรรมอย่างอื่นเพิ่มเสียแล้วค่ะ
อ้าวมาไง..ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันคนรักกันก็เงี๊ยะแหละอิอิ...ช่วงนี้พี่นุสงานเข้า..แต่ไม่ซึมเศร้านะคะขอบอก...
สวัสดีค่ะคุณ คนไม่มีราก
สวัสดีค่ะคุณ เพชรน้อย
สวัสดีค่ะ พี่นุส nussa-udon
พี่ก็เริ่มซึมเศร้า แต่น้ำหนักยังขึ้นอยู่เสมอ..อิอิ
สวัสดีค่ะ
ขอบคุณค่ะสำหรับข้อสังเกตุ
จะได้ไว้ดูแลคนรอบข้าง และตัวเองค่ะ
มาทักทายค่ะ ไม่รู้ว่าNina(น้องหนุ่ย)จะเป็นโรคซึมเศร้ารึเปล่า ฮ่าๆๆๆ (คงไม่เป็นเพราะไม่ค่อยมีเวลาอยู่คนเดียวยิ่งทำงานเกี่ยวกับเด็กๆแล้วลืมคำว่าเหงาไปเลย)ขอบคุณข้อมูลดีๆจ้า...รักมากมายเกินบรรยาย ช่วงที่หายไปงานมากมายจนสมองerrorเลยค่ะ(ล้อเล่น) งานเสร็จแล้วเลยมาหาคนน่ารักค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
May you be blessed with the best
ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงอำนวยพร
ให้ท่านประสบความสุขความเจริญ
ในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ
สวัสดีค่ะ คุณพี่ ครู ป.1
ซึม ๆ เศร้า ๆ เหงา ๆ ในบางครั้ง พองาม ๆ นะคะ
แต่น้ำหนักเพิ่มเรื่อย ๆ ต้องควบคุมแล้วล่ะค่ะ..
กำลังควบคุมเหมือนกัน..อิ อิ
สู้ ๆ ..เนาะ
ขอบคุณค่ะ...^_^
สวัสดีค่ะคุณพี่ ณัฐรดา
สวัสดีค่ะคุณน้องหนุ่ย Nina
สวัสดีค่ะ พี่สีตะวัน
ตามมาอ่านพี่หมวยมีข้อมูลมากเลยนะครับ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายเช่นโรงเรียนและผู้ปกครอง
มีคำถามครับ มีอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นโรคซึมเศร้า ทำอย่างไรดีครับ!!!!!!!
สวัสดีค่ะคุณครูแป๋ม
ค่ะท่านอ. ดร. ขจิต ฝอยทอง คะ
ก็เป็นไปได้ค่ะ ...เพราะงานมากมายก่ายกองอาจมีภาวะเครียดและซึมเศร้าได้เนาะ
ต้องถามก่อนว่าอาจารย์ท่านนั้นรู้ตัวหรือไม่ว่าตนเองกำลังซึมเศร้าอ่ะค่ะ
ต้องร่วมด้วยช่วยกันผ่อนคลายนะคะ
พาแม่ไปช๊อปปิ้งก่อนค่ะ เดี๋ยวมาค่ะ
แล้วคุยกันต่อนะคะ
ขอบคุณค่ะ...
สวัสดีค่ะน้องหมวย
มีความสุขกับการทำงานนะค่ะ
ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขออนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ ท่านและครอบครัว พบแต่ความสุข ความเจริญตลอดไปเทอญ
สวัสดีค่ะอ.ศิลา Sila Phu-Chaya
ขอบคุณคุณน้อง @..สายธาร..@ มากค่ะ
ชอบมากค่ะภาพนี้ โดยเฉพาะ ขัอความในภาพกินใจหลายเด้อ !
ไม่ว่าปีใหม่ หรือว่า ปีไหน ๆ ขอใจเปี่ยมล้นด้วยพลังแห่งความสุข
ขอให้มีความสุขทุกคืนวันนะคะ
ขอบคุณหลาย ๆ ค่า า..า...^_^
สวัสดีครับคุณ สีตะวัน
เคยลงไปช่วย สอ.ทำประชมสุขภาพ ไปพบหมู่บ้านหนึ่ง ฆ่าตัวตายในรอบ 6 เดือน 3 ราย จึงได้ทำโครงการคัดกรองเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าครับ
ขอบคุณที่ให้ข้อมูลความรู้ครับ
ขอบคุณครับที่แวะไปทักทายกัน ดีใจจริงๆ
สวัสดีค่ะคุณลุง วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
สมัครเป็นเครือข่ายด้วยคนนะคะ
สวัสดีค่ะคุณบุษรา
สวัสดีค่ะคุณ ธารน้ำ