75. จากสุวรรณภูมิสู่บักโดกรา : เส้นทางสู่สิกขิม (1)


เปิดโลกกว้างในอินเดีย

 

 

 

 

        ช่วงสัปดาห์ที่สองของกันยายน 2552 ดิฉันได้มี

โอกาสเดินทางไปสัมมนาวิชาการที่สิกขิม 4 วัน ซึ่งจัดโดย

สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำอินเดียที่สิกขิม พอบอก

เพื่อนๆ ว่าไปสิกขิม ทุกคนบอกว่าสวยๆ ดิฉันนึกภาพไม่

ออก แม้ค้นหาข้อมูลจาก google ก่อนก็ตาม แต่มีภาพและ

ข้อมูลไม่มากพอที่จะช่วยให้จินตนาการล่วงหน้าได้ ที่

สำคัญคือตอนเตรียมเสื้อผ้าก็เดาๆ ว่าเมืองบนเขาคงหนาว

เพราะเลขาฯ เอก สถานทูตไทยกรุณาแจ้งมาล่วงหน้าว่า

อากาศเย็นให้  เตรียมแจ็กเก็ตไปด้วย ดิฉันก็เตรียมทั้งเสื้อ

กันหนาว ผ้าพันคอหลายผืน รวมถึงเสื้อผ้าที่ใส่ในหน้าร้อน

ไปด้วย เพราะดิฉันต้องไปเมืองอื่นต่อภายหลังการไปรัฐ

สิกขิมต้องกรอกแบบฟอร์มพร้อมรูปถ่ายเพื่อขออนุญาต

เป็นพิเศษจากรัฐบาลของรัฐสิกขิมซึ่งทางสถานทูตไทย

ที่เดลลีดำเนินการให้ล่วงหน้าก่อนแล้ว

         ทีมจากกรุงเทพฯ มี 4 คนประกอบด้วยวิทยากรที่นำ

เสนองาน 3 คนรวมดิฉันด้วย และเจ้าหน้าที่การทูต

จากกระทรวงการต่างประเทศอีก 1 ท่าน เราเดินทาง

โดยสารการบิน Jet Airways เพื่อไปโกลกัตตา

(Kolkata) เครื่องออกเวลาประมาณ 9 โมงเศษ ที่

สุวรรณภูมิมีการเปลี่ยนแปลงช่องตรวจคนเข้าเมือง

(ออกเมือง) โดยแยกข้าราชการและนักการทูตออกมาต่าง

หาก ดิฉันต้องถอดถุงเท้า รองเท้า เสื้อกันหนาว

คอมพิวเตอร์เล็กๆใส่ในถาดผ่านเครื่อง scan ก็นับว่าตรวจ

ละเอียดดี เมื่อตรวจ passport เสร็จออกไปตามทางเดินที่

เคยเป็นพลับพลาก็กั้นเป็นพื้นที่ประทับตราของผู้โดยสาร

เพิ่มขึ้น

             ทีมเราทยอยมา นั่งคุยกัน รอกันจนแน่ใจว่าทุก

คนเช็คอินเข้ามาหมดแล้วได้เวลาเราขึ้นเครื่อง เที่ยวนี้มีผู้

โดยสารชาวอินเดียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งหอบถุงกระเป๋ามาก

มาย วันนี้อากาศดีพอเครื่องออกสักพัก พนักงานเสิร์ฟ

อาหาร เครื่องบิน Jet จัดที่นั่งไม่ชิดกัน มากเกินไป มีทีวี

ทุกที่นั่ง ใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมงก็ถึงโกลกัตตา[1] ตลอด

ทางผู้โดยสารชาวอินเดียกดปุ่มเรียกแอร์โฮสเตสเพื่อขอ

โน่นขอนี่ตลอดเวลา มีคนบอกว่าแอร์ที่บินเส้นอินเดียจะ

เหนื่อยมาก 

           เมื่อมาถึงสนามบินนานาชาติเนตาจี สุภาศ จันดรา

โบส ฝนตก ผู้โดยสารต้องเข้าแถวยาวเพื่อรอตรวจไข้หวัด

ช้ามากเพราะตรวจทีละคน เมื่อตรวจเสร็จเจ้าหน้าที่ลงตรา

ในเอกสารที่กรอกมาจากบนเครื่องแล้ว ตรวจวีซ่าซึ่ง

เจ้าหน้าที่การทูตที่ไปกับเรามีหนังสือรับรองที่มีชื่อเรา 4

คนในนั้นก็ผ่านสบาย  เสร็จแล้วมารอกระเป๋า แล้วไปแลก

เงินรูปีที่เคาน์เตอร์ในสนามบินแล้วเช็คด่านสุดท้าย

ลากกระเป๋าออกมา ฝนยังตกอยู่ เราต้องลากกระเป๋าเดิน

ไปสนามบินในประเทศที่อยู่ห่างออกไป 350 เมตร

     ใครมีหมวกก็เอาขึ้นมาคลุมศีรษะลากกระเป๋า ผ่านถนน

ที่เปียกแฉะ เป็นหลุมบ้าง เดินหลบๆ กันไป ไปที่เคาน์เตอร์

เพื่อเช็คอินต่อ เราบินด้วยสายการบิน ต้นทุนต่ำ แต่มี

คูปองรับอาหารบนเครื่องด้วย เสร็จแล้วรีบไปตรวจกระเป๋า

ที่พวกเราไม่ได้ load ขึ้นเครื่อง เขาไม่บอกว่าไปที่

gate ไหน ต้องถามเจ้าหน้าที่ๆ ชี้ทางให้ไปเรากึ่งเดินกึ่งวิ่ง

กันเพราะเวลากระชั้นมาก กว่าจะตรวจกันเสร็จใช้เวลา

เพราะหลายคนมีโลหะในกระเป๋า ดิฉันมีของที่ระลึกที่เป็น

พวงกุญแจต้องเอาออกมาให้ดู อีกท่านหนึ่งมีซีดีเพื่อเอาไป

เผยแพร่ต้องเปิดให้ดู อย่าลืมติดป้ายหรือ tag ที่กระเป๋า

ทุกใบที่ถือขึ้นเครื่องเพราะนอกจากตรวจตัวและกระเป่า

แล้วต้องอย่าลืมตรวจดูว่าป้ายทุกอันได้รับการประทับตรา

จากเจ้าหน้าที่ด้วย เพราะพวกเรารีบๆ กันปรากฎว่าดิฉัน

กับอีกท่านหนึ่ง ต้องวิ่งกลับมาให้เจ้าหน้าที่ stamp

ป้ายติดกระเป๋าอีกครั้ง ก่อนขึ้นเครื่องเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้

ขึ้นเครื่องเด็ดขาดหากป้ายที่กระเป๋าทุกใบไม่ได้รับการ

stamp ปรากฎว่าเครื่องช้าไป 15 นาที

 

        เครื่องไม่เต็มดีนัก เราบินจากโกลกัตตาไปบักโดกรา

(Bagdogra) เป็นเมืองหนึ่งของอำเภอดาจีริง ใช้เวลาบิน

1 ชั่วโมง อาหารของเราบนเครื่องคือ แซนวิช คุกกี้

น้ำผลไม้ 1 กล่อง

       พอลงจากเครื่อง ผู้โดยสารต้องเดินจากเครื่องเข้า

อาคารสนามบิน แดดร้อนมาก เราพบเจ้าหน้าที่ของรัฐ

สิกขิม 2 ท่านมารอ หน้าตาออกจีนๆ เหมือนพวกเรา เขา

ขอ tags ของกระเป๋าเพื่อให้เจ้าหน้าที่เขารอรับกระเป๋าให้

เขาพาเราไปนั่งรอในห้องรับรองไม่ไกลนัก พวกเราก็คุย

กับเจ้าหน้าที่สิกขิมสองท่าน ไปล้างหน้าล้างตา เข้าห้องน้ำ

เตรียมตัวไปต่ออีกนั่งรอนานพอควร กว่าจะได้กระเป๋าครบ

ในสนามบินเห็นตู้กระจกที่มีพระพุทธรูปแบบหินยาน

(ทิเบต) ตั้งอยู่ เสร็จแล้วเราไปขึ้นรถที่มารอรับ 2-3 คัน

เรา 4 คนแยกกันไปขึ้นรถ 2 คัน 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 


 [1] โกลกัตตา (Kolkatta) เป็นภาษาเบงกาลี แต่ชาวอังกฤษออกเสียงเป็น กัลกัตตา (Calcutta)  คือเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮุกลี่ (Hooghly River)  ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำคงคา มีประชากรมากกว่า 15 ล้านคนเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอินเดีย โกลกัตตาเคยเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911 เคยเป็นศูนย์กลางการศึกษาสมัยใหม่ อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมืองของอินเดีย โกลกัตตาเป็นแหล่งกำเนิดของนักปฏิรูปศาสนา และสังคม ในปีค.ศ. 2001 เปลี่ยนกลับมาใช้และเรียกว่ชื่อเมืองว่า โกลกัตตาเพื่อสลัดคราบความเป็นอาณานิคมทิ้งไป  โกลกัตตามีสนามบินชื่อ Netaji Subhash Chandra Bose International Airport ซึ่งเป็นชุมทางสำหรับสายการบินในประเทศ

______________

 

บอกกล่าว ข่าวแจ้ง

 1) ท่านที่สนใจหลักสูตรปริญญาโท อินเดียศึกษา โปรดเตรียมตัวเพื่อสมัครเรียนในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553 สนใจโปรดเข้าชมรายละเอียดที่ www.lc.mahidol.ac.th โทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3309

2) เชิญท่านที่สนใจเรื่องราวของอินเดีย ฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง "Art  of  Living and Positive Thinking"  โดย Dr. Samani Mangal Prajnaji,

Vice-chancellor of Jain Vishwa Bharati University,

 INDIA

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2552 เวลา 9.30-11.30 น.  

ห้อง 314 อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี   สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

  


     

หมายเลขบันทึก: 319015เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2009 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะทานอาจารย์โสภนา

ท่านอาจารย์สบายดีนะคะ มาติดตามอ่านเรื่องราวอินเดียค่ะ

เห็นพระพุทธรูปทางโน้น รูปพักตร์ องค์ เครื่องทรง โอษฐ์ยังยิ้มได้นิดๆ ต่างจากบ้านเรานะคะ

ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลการบรรยายวันที่ ๑๒ น่าสนใจจัง Art  of  Living and Positive Thinking

เรียนคุณปู

ขอบพระคุณ สบายดีค่ะ

พระพุทธรูปสไตล์สิกขิม ทิเบตค่ะ

เชิญมาฟังการบรรยายนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท