โมเดล (เริ่มต้น) สร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้


 

จากโจทย์ที่ได้มาจากพี่เอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูรนะครับ กลุ่มผู้เข้าร่วม ๕๐ คน มีเวลาวันครึ่ง โดยประมาณ 
กระบวนการทั้งหลายต้องนำไปสู่เป้าหมาย คือ สร้างสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้
ผมสรุปกระบวนการได้ ดังนี้ครับหมายเหตุ : โมเดลนี้เป็นการเริ่มต้นนะครับ ส่วนต่อไปต้องหาผลสรุปจากโครงการนี้
...
 
กระบวนการที่ ๑  ละลายพฤติกรรม และ สร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
๑. แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๗ หรือ ๘ คน (พยายามไม่ให้กลุ่มๆ หนึ่งมีคนมาจากกลุ่มงานเดียวกันมากเกินไป) 
  (แนะนำให้ผู้เข้าร่วมห้อยป้ายชื่อ เพื่อสะดวกในการสื่อสาร)
๒. จัดคุณอำนวย (Facillator) ที่ฝึกฝนมาแล้ว (คุณอำนวยในกรณีนี้ต้องคัดมาจาก พอช. เพื่อสร้างทักษะให้กับคนในองค์กร 
        ส่วนการฝึกนั้นจะอธิบายท้ายรายการ)
๓. วิทยากรแนะนำตัว แจ้งให้ผู้เข้าร่วมทราบว่า ในช่วงเช้าเราจะชมวีดีทัศน์และระดมสมองเพื่อถอดบทเรียนจากวีดีทัศน์นั้น 
        แต่ก่อนอื่น อยากให้ทุกท่าน แนะนำตัวซึ่งกันและกัน (เริ่มที่คุณอำนวย)
๔. เปิดวีดีทัศน์ (วิทยากรควรชมมาก่อน และเตรียมคำถามซักสองสามคำถามที่พิจารณาแล้วคิดว่า 
        สามารถก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้)
๕. เมื่อชมเสร็จ ก็ปล่อยชุดคำถามให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิด (คุณอำนวยทำหน้าที่) แล้วให้แต่ละกลุ่มสรุปคำตอบของแต่กลุ่มออกมานำเสนอ (วิทยากรหลักสอบถามให้เข้าใจหน้าเวที)
๖. พักทานอาหาร (นั่งกินกับสมาชิกของกลุ่ม) ระหว่างนั้นคุณอำนวยและวิทยากร ควรพูดคุยกันถึงกิจกรรมที่ผ่านมาและสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงบ่าย
คือ กระบวนการนี้จะสร้างความคุ้นเคยกันในกลุ่ม รวมถึงคุ้นเคยกันในกระบวนการ เพราะผมเคยอยู่ดีดีจับคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เลย พบว่าเกร็งกัน (คล้ายไปวิ่งแบบไม่ได้วอร์ม) 
แถมบางกลุ่มงงกับ กระบวนการ เคยไปใช้กระบวนการคล้ายๆ นี้กับเยาวชนพม่าที่ราชบุรีพบว่าใช้ได้ดี (ครั้งนั้นไปผลิตหนังสั้นสื่อคุณธรรม)

จากโจทย์ที่ได้มาจากพี่เอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร นะครับ กลุ่มผู้เข้าร่วม ๕๐ คน มีเวลาวันครึ่ง โดยประมาณ กระบวนการทั้งหลายต้องนำไปสู่เป้าหมาย คือ สร้างสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผมสรุปกระบวนการได้
ดังนี้ครับ

หมายเหตุ : โมเดลนี้เป็นการเริ่มต้นนะครับ ส่วนต่อไปต้องหาผลสรุปจากโครงการนี้

...
 
กระบวนการที่ ๑  ละลายพฤติกรรม และ สร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า


๑. แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๗ หรือ ๘ คน (พยายามไม่ให้กลุ่มๆ หนึ่งมีคนมาจากกลุ่มงานเดียวกันมากเกินไป)   
    (แนะนำให้ผู้เข้าร่วมห้อยป้ายชื่อ เพื่อสะดวกในการสื่อสาร)


๒. จัดคุณอำนวย (Facillator) ที่ฝึกฝนมาแล้ว (คุณอำนวยในกรณีนี้ต้องคัดมาจาก พอช. เพื่อสร้างทักษะให้กับคนในองค์กร         
    ส่วนการฝึกนั้นจะอธิบายท้ายรายการ)


๓. วิทยากรแนะนำตัว แจ้งให้ผู้เข้าร่วมทราบว่า ในช่วงเช้าเราจะชมวีดีทัศน์และระดมสมองเพื่อถอดบทเรียนจากวีดีทัศน์นั้น         
    แต่ก่อนอื่น อยากให้ทุกท่าน แนะนำตัวซึ่งกันและกัน (เริ่มที่คุณอำนวย)


๔. เปิดวีดีทัศน์ (วิทยากรควรชมมาก่อน และเตรียมคำถามซักสองสามคำถามที่พิจารณาแล้วคิดว่า         
    สามารถก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้)


๕. เมื่อชมเสร็จ ก็ปล่อยชุดคำถามให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิด (คุณอำนวยทำหน้าที่) แล้วให้แต่ละกลุ่มสรุปคำตอบของแต่กลุ่มออกมา
    นำเสนอ (วิทยากรหลักสอบถามให้เข้าใจหน้าเวที)


๖. พักทานอาหาร (นั่งกินกับสมาชิกของกลุ่ม) ระหว่างนั้นคุณอำนวยและวิทยากร ควรพูดคุยกันถึงกิจกรรมที่ผ่านมาและสถานการณ์
    ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงบ่าย


คือ กระบวนการนี้จะสร้างความคุ้นเคยกันในกลุ่ม รวมถึงคุ้นเคยกันในกระบวนการ เพราะผมเคยอยู่ดีดีจับคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เลย พบว่าเกร็งกัน (คล้ายไปวิ่งแบบไม่ได้วอร์ม) แถมบางกลุ่มงงกับ กระบวนการ เคยไปใช้กระบวนการคล้ายๆ นี้กับเยาวชนพม่าที่ราชบุรีพบว่าใช้ได้ดี (ครั้งนั้นไปผลิตหนังสั้นสื่อคุณธรรม)

 

P1010077

 

...

 

กระบวนการที่ ๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

๑. จัดเข้ากลุ่มเหมือนเดิม วิทยากรคุยกับผู้เข้าร่วมเล็กน้อย 

 

๒. ให้ผู้เข้าร่วมจับคู่ภายในกลุ่มเดียวกัน หากกลุ่มไหนมีจำนวนสมาชิกเป็นคี่ อนุญาตให้จับกับคุณอำนวย
    (ให้จับไปก่อน อย่าพึ่งบอกจุดประสงค์)

 

๓. แจ้งให้ทุกคนเตรียมคิดเรื่องที่ตนเองประทับ หรือ เรื่องที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน อะไรก็ได้มาคนละหนึ่งเรื่อง
    แล้วให้เรียบเรียงเป็นคำพูดที่สามารถเล่าได้หมดในสิบนาที เมื่อแจ้งแล้ว ให้ผู้เข้าร่วมนั่งสมาธิเพื่อจัดเรียงข้อมูลซัก ๕ นาที

 

๔. เมื่อนั่งสมาธิเสร็จ แจ้งกติกาว่าที่ให้จับคู่กันนั้น มีจุดประสงค์เพื่อเมื่อคนหนึ่งกำลังเล่าเรื่อง อีกคนหนึ่งต้องเป็นคนจดและตั้งคำถามเพื่อ
    ขยายความ (คนอื่นก็ถามได้ แต่กลัวไม่มีใครถาม) ซึ่งคุณอำนวยก็ควรพิจารณาถามด้วย

 

๕. แจ้งกติกาให้เล่าเรื่องคนละสิบนาที เริ่มจากคนไหนก็ได้ ตามความสมัครใจ (คุณอำนวยในกลุ่มบริหารจัดการเอง) เมื่อเล่าเรื่องครบแล้ว
    ให้โหวตเลือกมาคนละ ๑ เรื่องพร้อมถอด ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ (key success factor) ออกมา
    (คุณอำนวยอธิบาย key success factor ในกลุ่ม)

 

๖. เริ่มกระบวนการ

 

๗. จบกระบวนการแล้วให้แต่ละกลุ่มนำเรื่องที่คัดเลือกออกมานำเสนอให้ทุกคนได้ฟัง (นำเสนอ key success factor ด้วย) 
    ขณะที่กำลังมีการนำเสนอ คุณอำนวยแต่ละกลุ่มนำ key success factor ของแต่ละกลุ่ม มารวมกัน เพื่อดูว่าอันไหนมีเยอะ 
    จะได้ยกอันนั้นไปนำเสนอเป็น key success factor ขององค์กร

 

๘. โหวตเรื่องในใจของทุกคน มอบรางวัล (จะมอบทุกคนที่มานำเสนอก็ได้ แต่คนที่ได้รับการโหวต สมควรได้รางวัลที่เหนือกว่า)

 

๙. เมื่อครบแล้วก็พัก นัดหมายช่วงกิจกรรมสุดท้ายของกระบวนการ

 

...

P1010048
...

กระบวนการที่ ๓  สรุปกระบวนการ จัดการความยั่งยืน

๑. จัดกลุ่มใหม่ตามฝ่ายของงานในองค์กร

๒. แจ้งให้ทราบถึงคอนเซปการจัดการความรู้ (งานได้ผล คนเป็นสุข) ชี้แจงประโยชน์โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ได้จากกิจกรรมที่ผ่านมา     
    พร้อมทั้งแสดงข้อมูล key success factor ที่สรุปมาได้จากกระบวนการที่แล้ว (สำคัญ)

๓. ให้โจทย์การประเมินผลกิจกรรม (หลักการ AAR) และให้ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร ให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นในฝ่ายของตนเองอย่าง
    ยั่งยืน (เขียนมา) เสร็จแล้วส่ง


๔. จบกระบวนการ วิทยากรส่งเอกสารแนวทางความยั่งยืนของแต่ละฝ่าย ให้ผู้บริหารไปดำเนินงาน

๕. เผยแพร่ ประชาสัมพันธุ์บทสรุปโครงการ, best practice, key success factor, AAR
 
.....

การฝึกคุณอำนวย (Facillator)

นำคุณอำนวยทั้งหมดมาจับกลุ่มเดียวกัน ใช้กระบวนการที่ ๒ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วให้ทุกคนสังเกตบทบาทของวิทยากร
(ในฐานะคุณอำนวย ณ เวลานั้น) เมื่อเข้าใจบทบาทคราวๆ แล้ว วิทยากรแจ้งข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น ถามความเข้าใจ
ประเมินคำว่าน่าจะใช้ได้แล้ว จากสัมผัสของวิทยากร ผมคิดว่าน่าจะเพียงพอ
....

โปรดปรับปรุงตามบริบทที่เหมาะสม

หมายเลขบันทึก: 314698เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2009 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ขอบคุณปืนมากครับ ผมได้รับโมเดลแล้ว  ผมจะเพิ่มเติมในบางส่วนและจะนำเสนอต่อที่ประชุมฯ อีกไม่กี่วันนี้...

เยี่ยมมากครับ

 

ขอบคุรครับพี่เอก

(บีเวอร์)

การพัฒนา อาจจะมีหรือไม่มี

ในการละเลยวัฒนธรรม

เพียงแต่ว่า มีการปรับให้เข้ากัน

ระหว่าง การพัฒนา และ วัฒนธรรม

ให้ไปในทางเดียวกัน จะดีไหมเอ่ย

เป็นกิจกรรมที่ดีนะครับ

ดีครับ ผมเชื่อว่าหลายๆ ที่มี และจะมีมากขึ้นเรื่อย (วัดจากที่ผมเจอข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ)

ขอบคุณครับ

เรียน คุณ บีเวอร์

การสร้างวัฒนธรรมองค์การ ต้องมีวีรชนต้นแบบ เห็นกิจกรรมน่าสนใจครับ จะนำขั้นตอนไปใช้ครับ

มีวีรชนต้นแบบ เห็นด้วยมากเลยครับ อือ ผมลืมคิดประเด็นนี้ไปได้ไง ขอบคุณมากเลยนะครับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับคุณ บีเวอร์

วันที่ 27 พย.นี้ ผมมีนัดปรึกษาหารือกับคุณเอกครับ

ความคืบหน้าจะเล่าในโอกาสต่อไปครับ

ขอบคุณครับ มีคำชี้แนะอย่างไร เชิญเลยนะครับ

มาชม

มีสาระน่าสนใจดีจังนะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • มาทำความรู้จักค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่แวะไปเยี่ยมกัน

ขอบคุณทุกท่านครับ ยินดีที่รู้จัก

ขอบคุณค่ะ ที่แวะไปเยี่ยม

ตอนนี้น่าจะดูภาพ ได้แล้วนะคะ

มาชมโมเดลLO , best practices play important role. thanks.

ชมแล้วคิดว่าอย่างไรครับ

คราวต่อๆไป หากลูกเขียนอักษรย่อ เช่น พอช. ฯลฯ อยากให้วงเล็บคำเต็มกำกับไว้เสมอ

ทำเป็นหลักการทุกครั้งต่อหนึ่งบทความ เพื่อเยาวชนหรือคนแก่อย่างแม่จะได้ทราบชื่อเต็มๆขององค์กรนั้นๆนะลูก

สวัสดีค่ะ คุณบีเวอร์

  • เด็กยุคนี้สมัยนี้มีเวลาน้อยในการใส่ใจกับเรื่องที่ดูยุ่งยากในสายตาเขา
  • หากจะให้คิดทำและปฏิบัติเอง ต้องทำใจไว้ล่วงหน้า เพราะพบด้วยตนเองค่ะ
  • ตัวแบบที่ดี การได้พบสภาพหรืออยู่ในสถานการณ์จริงๆ เห็นประโยชน์ที่แท้จริง
  • จะเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนค่ะ

ตามมาศึกษาเรียนรู้ด้วยครับ ผมเองเคยพยายามทำองค์กรแห่งการเรียนรู้มาบ้างเหมือนกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จครับ ตอนนี้ก็ได้แต่ศึกษารูปแบบต่างๆไปเรื่อยๆก่อน

ขอบคุณครับ

ยินดีมากครับ ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท