บริการอย่างไร...ไร้ขัดแย้ง (ว่าด้วยเรื่องคนไข้ขอนอนโรงพยาบาล)


“ความเห็นไม่สอดคล้อง การฟ้องร้องจึงเกิดขึ้น”

 

อ่าน: 143
ความเห็น: 8

บริการอย่างไร...ไร้ขัดแย้ง (ว่าด้วยเรื่องคนไข้ขอนอนโรงพยาบาล)

“ความเห็นไม่สอดคล้อง การฟ้องร้องจึงเกิดขึ้น”

ความเห็นไม่ตรงกันการพนันจึงเกิดขึ้น ประโยคนี้เคยได้ยินจาก อ๊อด เอกซเรย์  ของเราเมื่อนานแล้ว  เลยนึกขึ้นได้ว่า ตอนนี้เห็นฝ่ายการพยาบาลตื่นตัวเรื่องพฤติกรรมบริการ ว่าจะมาปัดฝุ่นกันใหม่ อันเนื่องมาจากมักเกิดปัญหาความขัดแย้งของการให้บริการ ซึ่งขอเลียนแบบว่าเป็น ความเห็นไม่สอดคล้อง การฟ้องร้องจึงเกิดขึ้น    แต่ไหนๆเราก็กำลังโปรโมทเรื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็เลยถือโอกาสใช้เวที gotoknow เป็นที่แลกเปลี่ยนเสียเลย  ก็อยากให้ทุกคนลองมาเล่าเรื่องประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับการจัดการบริการที่มีความขัดแย้ง ว่าได้ทำอย่างไรไปบ้าง เรื่องเล็กๆก็ได้  ผมจะลองเปิดหัวข้อให้ว่า  บริการอย่างไร  ไร้ขัดแย้ง ( ว่าด้วยเรื่อง.......) ลองเข้ามาเล่ากันดูครับ  วันนี้ขอเปิดประเด็นประสบการณ์  บริการอย่างไร  ไร้ขัดแย้ง(ว่าด้วยเรื่องคนไข้ขอนอนโรงพยาบาล)  

      หลายครั้งที่คนไข้หรือญาติอยากให้คนไข้นอนโรงพยาบาลโดยที่เราอาจเห็นว่าไม่สมควร (ตามความเห็นเรา)  เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อ ความเห็นไม่สอดคล้องกันเสียแล้ว แต่ก่อนอื่นขอเปิดมุมมองเพื่อทำความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายก่อน 

     มุมมองคนไข้หรือญาติ  คนไข้จะหนักหรือไม่หนักจะดูที่อาการ,ความรู้สึกหรือความกังวลเป็นหลัก  ถือมีข้อเหล่านั้นก็ถือว่าหนัก ต้องนอน รพ.  โดยไม่สนใจเรื่องพยาธิสภาพหรือสาเหตุ   

    มุมมองแพทย์ , พยาบาล   คือ คนไข้ที่ต้องนอนคือคนไข้ที่ต้องมีพยาธิสภาพที่จำเป็นต้องให้การรักษาแบบผู้ป่วยใน เช่น  ให้ยาเข้าเส้น  ให้น้ำเกลือ หรือดูอาการใกล้ชิด  โดยปกติมุมมองของแพทย์และผู้ป่วยก็มักตรงกัน คือถ้าผู้ป่วยรู้สึกอาการหนัก แพทย์ก็มักจะเห็นว่าหนักด้วย  แต่มีบางกรณีที่คนไข้ว่าอาการหนัก แต่แพทย์บอกว่าไม่หนักเช่น   ผู้ป่วยเวียนหัวจากการเปลี่ยนท่า ( benign position vertigo)  ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการหนักมาก บ้านหมุน อาเจียน ใจสั่น  แต่ในมุมมองแพทย์จะรู้ว่าพยาธิสภาพอาจไม่รุนแรง และส่วนใหญ่จะหายในเวลาไม่นานถือว่าไม่น่านอน รพ.   ถึงตอนนี้ก็เริ่มเกิดความขัดแย้ง จะทำอย่างไร    ผมขอเสนอประสบการณ์ที่อาจพอช่วยลดความขัดแย้งได้ดังนี้ 

1.    ใช้เวลามากขึ้นหน่อยที่จะต้องอธิบายถึงพยาธิสภาพและพยากรณ์โรคเพื่อให้คนไข้เข้าใจมากขึ้น  คิดว่าสำคัญมาก บางทีพอเข้าใจก็จะยอมรับได้  แต่ถ้าไม่ได้ก็ไปข้อ 2

2.    ลองต่อรองให้กลับไปดูอาการที่บ้าน (กรณีที่เรามั่นใจมากว่าไม่มีอันตราย)  และเปิดโอกาสให้ว่าถ้าไม่ดีขึ้นให้มาได้ตลอดเวลา ทันที ทางเรามีคนคอยดูแลตลอด  ถ้าจำเป็นเร่งด่วนก็มี EMS คอยรับ แต่ถ้ายังไม่สำเร็จ ก็ไปข้อ 3

3.    พบกันครึ่งทาง ก็คือนอนสังเกตอาการไว้ก่อน อาจใช้เวลาแค่ 2-4 ชม. อาจดีขึ้นแล้วก็กลับได้ เช่น คนไข้เวียนหัวอาจดีขึ้นได้เร็ว หรือปวดท้องให้ยาแล้วอาจดีขึ้น  คืออย่าเพิ่งรีบปฏิเสธว่าไม่ให้นอนตั้งแต่ตอนแรก  แค่ประกันว่าถ้าไม่ดีขึ้นก็จะให้นอนพักค้างคืน แน่ๆ   แต่ถ้าไม่สำเร็จ ก็ไปข้อ 4

4.    ต้องยอมแพ้ให้นอนไปก่อน  รุ่งเช้าส่วนใหญ่ขอกลับเพราะมักดีขึ้น

               ลองทำดูเท่านี้เราก็อาจจะช่วยลดคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องนอนลงไปบ้างแบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น    ทั้งหมดนี้ไม่ได้รังเกียจที่คนไข้จะนอน รพ.  แต่ต้องการยกตัวอย่างการทำให้สมประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย เวลาเกิดความขัดแย้งทางความคิด สุดท้ายต้อง happy ทั้งสองฝ่าย  

 

                                                                                                                                                บรรพต

 

 

หมายเลขบันทึก: 313152เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2009 06:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับคุณ หมอ

"แต่ไหนๆเราก็กำลังโปรโมทเรื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็เลยถือโอกาสใช้เวที gotoknow เป็นที่แลกเปลี่ยนเสียเลย ก็อยากให้ทุกคนลองมาเล่าเรื่องประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับการจัดการบริการที่มีความขัดแย้ง ว่าได้ทำอย่างไรไปบ้าง เรื่องเล็กๆก็ได้ ผมจะลองเปิดหัวข้อให้ว่า “ บริการอย่างไร ไร้ขัดแย้ง ( ว่าด้วยเรื่อง.......) “ ลองเข้ามาเล่ากันดูครับ วันนี้ขอเปิดประเด็นประสบการณ์ “ บริการอย่างไร ไร้ขัดแย้ง(ว่าด้วยเรื่องคนไข้ขอนอนโรงพยาบาล) “

ยอดเยี่ยมครับคุณ คนงานก็จะได้คิดดังๆตามที่สังเกตุพบเห็นออกมาให้ได้รู้ความคิดครับท่าน

แอบเอาเวลาตอนไหนไปเขียนพี่

ผมเชื่อว่าเมื่อผู้ป่วยมาที่โรงพยาบาล ด้วยความรู้สึกว่าเขาต้องมารักษาโรค ต้องการหายจากอาการป่วยเหล่านั้น ซึ่งถ้าอยู่ที่บ้านเมื่อเกิดอาการขึ้นก็จะไม่สามารถรักษา หรือเดินทางมาโรงพยาบาลได้อย่างทันที เคยไหมครับ ที่เวลาป่วยแล้วเรามาอยู่ในที่ปลอดภัยแล้วอาการที่ป่วยจะเบาลง นั้นแหละครับยาทางใจ คำพูดดีๆ บริการดีๆ ส่วนตัวของผมมองปัญหาการทำงานของนายแพทย์บางโรงพยาบาลเหมือนเห็นแก่ตัว เมื่อมีผู้ป่วยต้องการรักษาซึ่งอาจเกิดจากโรคต่างๆที่รุนแรงเขาเหล่านั้นมักจะแก้ไขปัญหาทางโทรศัพท์ หรือไม่ผู้ป่วยต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งมีค่ารักษาที่แพงและมีระยะการเดินทางที่ไกล หรือไม่ก็ต้องรอจนกว่าจะเช้ากว่าจะได้ตรวจก็ สิบโมง ลองเป็นพี่น้องของท่านบ้างล่ะครับจะทำอย่างไร ผมว่าการปรับเปลี่ยนความคิดหรือลักษณะการทำงานแบบเดิมเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ก็มีบางโรงพยาบาลครับที่นายแพทย์คอยใส่ใจไม่ว่าจะในเวลาหรือนอกเวลาราชการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท