ความคิดทางการเมืองการปกครองไทยโบราณ


ความคิดทางการเมืองของไทยมีอิทธิพลจากปรัชญาพุทธศาสนา ในพุทธศาสนามีการกล่าวถึงสภาวะธรรมชาติและการกำเนิดของรัฐและผู้ปกครองไว้เช่นเดียวกับแนวคิดทางการเมืองของตะวันตก โดยปรากฏอยู่ในพระสูตร คือ อัคคัญญสูตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระสูตรสุตตันตปิฎก

ความคิดทางการเมืองการปกครองไทยโบราณ

                   ความคิดทางการเมืองของไทยมีอิทธิพลจากปรัชญาพุทธศาสนา ในพุทธศาสนามีการกล่าวถึงสภาวะธรรมชาติและการกำเนิดของรัฐและผู้ปกครองไว้เช่นเดียวกับแนวคิดทางการเมืองของตะวันตก โดยปรากฏอยู่ในพระสูตร คือ อัคคัญญสูตร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระสูตรสุตตันตปิฎก ตอน ฑีฆนิกาย  ปาฏิวรรค ได้มีการกล่าวถึงกำเนิดของรัฐ ซึ่งแตกต่างไปจากทฤษฎีการเมืองตะวันตกโดยทั่วไป

                   อัคคัญสูตร กล่าวว่า โลกไม่ได้เกิดจากการเนรมิตของพระพรหมตามที่ศาสนาพราหมณ์อ้างไว้ แต่เกิดจากธรรมชาติ โลกนั้นเกิดขึ้นเมื่อ “ล่วงระยะเวลากาลยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป ได้ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยวให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน”

                   ข้อความตอนนี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้ามีความเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดโลกในทางวิทยาศาสตร์มาก คือ ในโลกนั้นเกิดขึ้นทีแรกมีความร้อนอยู่ เมื่อเย็นลง “เกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำ เหมือนนมสดเค่ยวให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน” จึงเกิดชีวิตขึ้นในโลก

                   ในอัคคัญสูตร ได้อธิบายถึงสาเหตุความแตกต่างระหว่างชนชั้น ต่างจากศาสนาพราหมณ์อธิบาย ว่า พราหมณ์ ประเสริฐที่สุด เพราะเป็นบุตรของหรหมที่เกิดจากอก (อุระ) ของพรหม พรหมนั้นเป็น
พระผู้สร้าง พรหมเนรมิตพวกพราหมณ์ให้เป็นทายาท ส่วนวรรณะอื่นๆ นั้นเกิดจากอวัยวะเบื้องต่ำสุดของ พระผู้สร้าง คือ เกิดจากเท้า

                   ศาสนาพุทธ ถือว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาจากที่เดียวกัน คือ เกิดจากครรภ์มารดาทุกคน แต่มีการแบ่งชั้นวรรณะทั้งนี้เพราะ สัตว์ที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศซึ่งไม่ต้องบริโภคอาหาร เพราะ “ได้สำเร็จทางใจมีมิติเป็นอาหาร มีรัศมีว่านออกมาจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอวกาศอยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน” เกิดหอมกลิ่นง้วนดินนั้น คนหนึ่งจึงชิมง้วนดินและเกิดความซาบซ่านจึงเกิดมีความอยาก (แต่เดิมไม่อยาก เพราะแต่เดิมมีมิติเป็นอาหาร) เมื่อกินง้วนดินแล้ว รัศมีกายของสัตว์นั้นก็หายไป
เมื่อรัศมีกายหายไปแล้ว ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ”

                   เมื่อบริโภคง้วนดินอยู่นาน สัตว์ทั้งหลายก็ดีร่างกายแข็งกล้าขึ้นทุกที ทั้งผิวพรรณก็แตกต่างกันไป (เดิมทีในจักรวาลก่อนมีโลกนั้น สัตว์เหล่านี้ไม่มีร่างกาย จะมีกายก็เป็นกายทิพย์ มีรัศมี)

                   เมื่อมีร่างกายผิวพรรณที่แตกต่างกัน พวกที่มีผิวพรรณงามก็ดูหมิ่นพวกที่มีผิวพรรณไม่งาม เมื่อเกิดการดูหมิ่นกันขึ้นความเดือดร้อนก็ตามมา ง้วนดินก็หายไป สัตว์ทั้งหลายได้แต่ระลึกถึงความอร่อยความสมบูรณ์ที่เคยมีมาในอดีต

                   ต่อมาเกิดกะบิดินขึ้นแทนง้วนดิน สัตว์ทั้งหลายก็บริโภคกะบิดิน แต่แล้วก็เกิดการดูหมิ่นผิวพรรณกันขึ้นอีกกะบิดินก็หายไป ต่อมาก็เกิดเครือดิน สัตว์ทั้งหลายก็บริโภคเครือดิน และผลที่ตามมาก็คือ การดูหมิ่นกันอีก เครือดินจึงหายไป เมื่อเครือดินหายไป ก็เกิดข้าวสาลีขึ้นเอง และเริ่มมีการใช้คำว่าสตรีเพศ บุรุษเพศ สัตว์แบ่งเป็นเพศ

                   สรุปว่า เดิมสัตว์มีความอยากบริโภค มีความหยิ่งทะนงตน มีการดูถูก ต่อมามีกำหนัดในการเสพเมถุนเพิ่มขึ้นอีก กำหนัดนี้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ขั้นต่ำสุดทางสังคม คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง ซึ่งนำไปสู่การตั้งสถาบันครอบครัว

                   อัคคัญสูตร อธิบาย ชุมชนเบื้องแรกเป็นการรวมของมนุษย์ที่ไม่มีบ้านเรือน ทุกคนอยู่ตามธรรมชาติ ชุมชนในลักษณะนี้คือชุมชนบุพกาล ซึ่งมีลักษณะเด่น 3 ประการคือ

                         1. ไม่มีสถาบันทางสังคม สถาบันครอบครัวก็ยังไม่เกิดขึ้น การสมสู่ระหว่างชายหญิง มีลักษณะเป็นการสมรสหมู่ คือ สมสู่โดยไม่จำกัดคู่

                         2. ไม่มีกรรมสิทธิส่วนบุคคล ทุกคนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน หาอาหารมื้อต่อมื้อ วันต่อวัน ไม่มีการสะสม

                         3. มนุษย์มีสิทธิตามธรรมชาติ มีสิทธิรักษาชีวิตของตนและป้องกันภัยโดยใช้กำลังเข้าตัดสินข้อพิพาทเอง

                   เมื่อมนุษย์มีการแบ่งแยกผิวพรรณแล้วก็ยังแบ่งออกเป็นคู่ผัวตัวเมียและครอบครัว การมีครอบครัวก่อให้เกิดการรู้จักและต้องการสะสม เมื่อมีการสะสมก็เกิดการแย่งชิงและเกิดการปักปันเขตขึ้น บางคนก็โลภข้ามไปเก็บเอาในส่วนของผู้อื่น ดังนั้นจึงได้สมมติบุคคลขึ้นเพื่อทำหน้าที่คุ้มครอง ปกป้อง รักษาทรัพย์สินในสังคม ซึ่งเรียกว่า “มหาชนสมมติ” 

                   มหาชนสมมติ ซึ่งจะต้องปกป้องคุ้มครอง (โดยแบ่งข้าวสาลีเป็นการตอบแทน) คนจำนวนมาก มีอาณาเขตกว้างขวาง เรียกว่า “กษัตริย์” และผู้ที่เป็นหัวหน้าที่มีคุณธรรมสามารถ  “ยังชนเหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม”  เรียกว่า  “ราชา”

                   “กษัตริย์”  มาจากคำว่า เกษตร หรือ ผู้ปกครองนา เป็นคำอธิบายของพระพุทธศาสนามหายาน ในธิเบต ซึ่งต่างจากอัคคัญสูตร กษัตริย์ จะได้พืชพันธุ์และผลไม้จากผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง

                   ในตำนานมูลศาสนา อธิบายว่า พระยามหาสมมติ เป็นผู้ปกครองคนแรกของโลก มีลูกหลานสืบต่อกันมาจนถึงพระพุทธเจ้าสิริสุทโธทนะ ซึ่งเป็นพระบิดาของ สิทธัตถกุมาร ซึ่งรวมอายุจากองค์แรกมาจนถึงพุทธกาลได้ 4,000 ปี

                   ความแตกต่าง ระหว่างกษัตริย์กับคนธรรมดาอยู่ที่ “ธรรม” เพราะกษัตริย์นั้นเป็นเพียงผู้ถูกสมมติขึ้นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งต่างหาก หาได้ทำให้ผู้ถูกสมมตินั้นมีคุณค่าวิเศษไปกว่าบุคคลอื่นไม่

                   ในแง่นี้การมองอำนาจให้เป็นมหาชนสมมติ เป็นการให้อำนาจปกป้องคุ้มครอง โดยได้รับข้าวสาลีเป็นการตอบแทน แต่ไม่ปรากฏว่า ผู้ปกครองได้รับอำนาจให้กระทำการอื่นใดไปนอกจากการปกป้องคุ้มครอง

                      ถ้าพิจารณาในแง่นี้ความขัดแย้งและการเอารัดเอาเปรียบกันเป็นสาเหตุที่สำคัญที่จำเป็นจะต้องมีรัฐ  ดังนั้น สภาพธรรมชาติดั้งเดิม นั้นเป็นสภาพอุดมคติ รัฐในอุดมคติ คือ การปราศจากรัฐนั่นเอง ทั้งนี้รัฐ คือ ความชั่วร้ายที่จำเป็น Necessary evil สังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งเน้นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของประวัติศาสตร์ก็ไม่มีรัฐเพราะเมื่อไม่มีชนชั้น ไม่มีความขัดแย้ง รัฐก็สลายตัวไปเอง ในพวกประชาธิปไตยก็เชื่อว่า รัฐบาลที่ดีที่สุดคือ รัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สุด (หรือใช้อำนาจรัฐน้อยที่สุด)

 

หมายเลขบันทึก: 312987เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2015 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

สืบทอดความคิดอัคคัญสูตรในไตรภูมิพระร่วง

เชื่อกันว่าไตรภูมิพระร่วงเป็นพระนิพนธ์ของพระยาลิไท เป็นวรรณกรรมที่กล่าวถึง กำเนิดโลก มนุษย์ กำเนิดสังคมและการมีผู้ปกครองซึ่งตรงกับความในอัคคัญสูตร ไตรภูมิพระร่วงกล่าวตรงกับอัคคัญสูตร อธิบายว่าการสูญเสียความสุขสมบูรณ์ที่เคยมีดั้งเดิม เพราะมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในความชอบธรรม ประพฤติผิดไปจากธรรม ทำให้มนุษย์ต้องจัดระบบใหม่และผู้ที่ปกครองดูแล ได้แก่ ผู้ที่มีธรรมมากกว่าผู้อื่น ดังนั้นความคิดที่สืบทอดมานี้จึงสนับสนุนการปกครองแบบราชาธิปไตย การมีผู้ปกครองคนเดียว มีอำนาจเหนือกว่าคนอื่นในเชิงธรรม มิใช่การมีอำนาจหรือการอ้างโองการจากสวรรค์ ดังนั้นในไตรภูมิพระร่วง และอัคคัญสูตร จึงเน้นสังคมในอุดมคติ ที่เรารู้จักในปัจจุบันคือ พระศรีอาริย์ ซึ่งปรากฏอยู่ในเรื่องพระมาไลย รัชกาลที่ 6 เห็นว่า พระศรีอาริย์กับสังคมนิยมมีความใกล้เคียงกันมาก นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในบริเวณ สุวรรณภูมิ ซึ่งในจารึกอโศก ได้กล่าวถึง ธรรม ในการปกครอง หลักการปกครองซึ่งเป็นหลักของการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นต้น แนวคิดเรื่องธรรมราชาและทศพิธราชธรรม แนวคิดธรรมราชา เกิดขึ้นภายหลังพุทธศาสนาแพร่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ การกล่าวอ้างถึง ทศพิธราชธรรม มีมาอย่างต่อเนื่อง นับจากสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์ที่ปกครองให้ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขจะได้รับการยกย่องว่าทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ถ้าประเทศไม่สงบสุขก็อ้างว่าเพราะกษัตริย์ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม ทศพิธราชธรรมจึงเป็นหลักสำคัญของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และพระมหากษัตริย์ก็ยอมรับในทางทฤษฎี ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อมีพิธีราชาภิเษก พระสังฆราชก็จะทรงเทศนาเรื่อง ทศพิธราชธรรม พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ก็ให้คำมั่นสัญญาว่า จะปกครองแผ่นดินโดยธรรม ทศพิธราชธรรม มิใช่ธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์อย่างเดียว แต่หมายถึง ธรรมสำหรับ ผู้ปกครอง ด้วย แนวคิดเรื่องธรรมราชาในไตรภูมิพระร่วง จัดเป็นแนวคิดทางการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด และมี ผู้เสนอว่าพระยาลิไท ทรงนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือ พระยาลิไท ทรงเห็นว่าผู้นำที่เหมาะสมที่สุด คือ ผู้นำที่มิใช่ “กษัตริย์นักรบ” หากเป็นมหาธรรมราชา “อันหมายถึงผู้นำที่ใช้ธรรมะในการปกครองประชาชน”

ทศพิธราชธรรม        ทานํ                  การให้

                              สีลํ                   การตั้งสังวรรักษากายวาจาใจ

                             ปริจจาคํ             การบริจาค

                             อาชว                 ความซื่อตรง

                            มททวํ                 ความอ่อนโยน

                            ตปํ                     การกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว

                           อกกโกธํ               การไม่โกรธ

                          อวิหํสญจ              การไม่เบียดเบียนผู้อื่น

                          ขนติญจํ               การอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทน

                         อวิโรธนํ                การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากการที่ถูกที่ตรง

 

นอกจากทศพิธราชธรรมแล้วในไตรภูมิพระร่วงยังกล่าวถึงธรรมอื่นๆคือ

1.  จักรวรรดิวัตร  12 ประการ ประกอบด้วย

            1. ควรพระราชทานโอวาสและอนุเคราะห์คนภายในราชสำนักและคนภายนอกจนถึงราษฎร

            2. ควรผูกพระราชไมตรีกับกษัตริย์ ประธานาธิบดี แห่งประเทศนั้นๆ

            3. ควรสงเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ตามควรแก่พระอิสริยศ

            4. ควรทรงเกื้อกูลพราหมณ์ คฤหัสถ์ และคฤหบดีชน

            5. ควรอนุเคราะห์ประชาชนชาวนิคมชนบทโดยฐานานุรูป

            6. ควรอุปการะสมพราหมณ์ผู้มีความประพฤติชอบด้วยพระราชทานไทยธรรมบริขารเกื้อกูลแก่ธรรมปฏิบัติ

           7. ควรจัดรักษาฝูงเนื้อ และนกด้วยพระราชทานอภัยไม่ให้ใครเบียดเบียนทำอันตรายจนเสื่อมสูญพืชพันธุ์

          8. ควรห้ามชนทั้งหลายไม่ให้ทำกิจการที่ไม่ประกอบด้วยธรรม ชักนำให้อยู่ในกุศลสุจริตสวนชอบประกอบการเลี้ยงชีพโดยทางธรรม

          9. ควรพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ผู้ขัดสนให้เลี้ยงชีพได้ด้วยวิธีอันเหมาะสม

         10. ควรเสด็จเข้าไปใกล้ สมณพราหมณ์ ตรัสถามถึง บุญบาป กุศล อกุศลให้ประจักษ์ชัด

         11. ควรทรงตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิด อะธรรมราคะในอาคมนิยสถาน

        12. ควรห้ามจิตไม่ให้ปรารถนาลาภที่มิควรได้

 

2.  ธรรมที่พญามหาจักรพรรดิ ทรงสั่งสอนท้าวพระยาทั้งหลาย

        พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสั่งสอนท้าวพระยาทั้งหลาย ธรรมนี้กว้างกว่า ทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิวัตร ซึ่งประกอบด้วย

        1. ธรรมโดยทั่วไปและการปฏิบัติธรรมอันเป็นคุณสมบัติที่พึงนี้

         2. หลักการปกครองโดยธรรม

         3. การบริหารราชการโดยธรรม

         4. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน

                   ทศพิธราชธรรม การปกครองโดยธรรม ชัยอนันต์ สมุทรวณิช เสนอว่า น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุดท้ายอ่อนแอลง เพราะเมื่อไม่ฆ่าข้าศึก แต่สั่งสอนให้รู้ธรรมหรือการไม่เก็บภาษี ในระยะยาวข้าศึกย่อมคิดแข็งเมือง ในขณะที่ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เสนอว่า สุโขทัยเสื่อมเพราะขาดกำลังคน และระบบเครือญาติในระยะยาวจะไม่ทำให้สร้างอำนาจทางการเมืองได้ไม่ระยะยาว

                   ในศิลาจารึกสุโขทัยกับจารึกอโศกหลายหลักที่จารึกสุโขทัยมีใจความใกล้เคียงกับจารึกอโศก

                   ในชินกาลมาลีปกรณ์ จามเทวีวงศ์หรือตำนานเมืองหริภุญไชย และตำนานมูลศาสนา ซึ่งเป็นเอกสารทางล้านนา ล้วนกล่าวถึง ทศพิธราชธรรม การปกครองโดยธรรม พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งสะท้อนว่าอิทธิพลพุทธศาสนา ธรรมราชา อยู่ในบริเวณทางเหนือ เชียงใหม่ เชียงแสน ลำพูน ลำปาง สุโขทัย

สวัสดีค่ะน้องบุญเย็น

อ่านอย่างเพลินเพลิน มีความสึกกับความรู้ที่เป็นอาหารสมองชั้นเลิศ

ชอบตรงบทสรุปท้าย ลึกซึ้งมาก

"ถ้าพิจารณาในแง่นี้ความขัดแย้งและการเอารัดเอาเปรียบกันเป็นสาเหตุที่สำคัญที่จำเป็นจะต้องมีรัฐ  ดังนั้น สภาพธรรมชาติดั้งเดิม นั้นเป็นสภาพอุดมคติ รัฐในอุดมคติ คือ การปราศจากรัฐนั่นเอง ทั้งนี้รัฐ คือ ความชั่วร้ายที่จำเป็น Necessary evil สังคมคอมมิวนิสต์ ซึ่งเน้นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของประวัติศาสตร์ก็ไม่มีรัฐเพราะเมื่อไม่มีชนชั้น ไม่มีความขัดแย้ง รัฐก็สลายตัวไปเอง ในพวกประชาธิปไตยก็เชื่อว่า รัฐบาลที่ดีที่สุดคือ รัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สุด (หรือใช้อำนาจรัฐน้อยที่สุด)"

 - พี่ชอบอ่านหนังสือเกี่ยวกับ วาทกรรม อ่านมาหลายเล่มแล้ว ชอบอ่านหนังสือประเภทนี้ รวมทั้งหนังสือข้อคิดธรรมะ  มันทำให้เรามองอะไรอะไรได้กว้างและลึกซึกซิ้ง ไม่มอง หรือคิดแบบฉาบฉาย....

-ชื่นชมคนหนุ่มที่มีแนวคิดดีๆ ค่ะ

- มีความสุขกับการทำงานทุกอย่างนะคะ

                

 

สวัสดีค่ะน้องบุญเย็น

* มาทักทายน้อง งานยุ่งมากเลยซิ  เป็นกำลังใจให้นะ

* ระลึกถึงค่ะ

      

 

 

สวัสดีค่ะน้องบุญเย็น

* ว๊า...เจ้าของบ้านไม่อยู่... ไปไหนหนอ...

* งานยุ่งหรือ มาส่งความระลึกถึงค่ะ

* มีความสุขกับการทำงานนะคะ

 

            

                              

 สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓  ค่ะ =)

 

0862591129 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้คับ

สวัสดีค่ะ...

                                              

  • สวัสดีปีใหม่ค่ะ คุณบุญเย็น วันนี้พาน้องเมย์จากบันทึกนี้ [คลิ๊ก] มามอบของขวัญปีใหม่ ปีกระต่าย ๒๕๕๔ ให้คุณบุญเย็น และครอบครัวมีความสุขกาย สบายใจตลอดปี และตลอดไปนะค่ะ =)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท