เกณฑ์การแข่งขันเพลงกล่อมลูก


การแข่งขันเพลงกล่อมลูก งานศิลปะหัตถกรรมนักเรียน

 

 

การแข่งขันร้องเพลงกล่อมเด็ก

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

นักเรียนระดับชั้น ม.1- 3 นักเรียนระดับชั้น ม.4- 6 ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน

แข่งขันประเภทเดี่ยว จำนวน 1 คน เป็นตัวแทนระดับเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้คะแนนสูงสุด จากการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี 2552 จำนวนผู้เข้าแข่งขันแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา

ระดับชั้น ม.1- 3 จำนวน 1 คน  

ระดับชั้น ม.4- 6 จำนวน 1 คน

วิธีดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน

คณะกรรมการจัดเตรียมเปลสำหรับการแข่งขัน ส่วนอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียน ฯลฯ ให้จัดเตรียมมาเอง

เพลงกล่อมเด็กต้องเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงความความเชื่อและค่านิยมของคนในท้องถิ่น ลักษณะของเพลงกล่อมเด็กจะเป็นกลอนชาวบ้านไม่มีแบบแผนแน่นอน เพียงแต่มีสัมผัสคล้องจองกันบ้าง ถ้อยคำที่ใช้บางครั้งอาจไม่มีความหมาย

เนื้อหาของเพลงชัดเจนและตรงไปตรงมามุ่งชักชวนให้เด็กหลับมักกล่าวถึงธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความรักความห่วงใยของแม่ที่มีต่อลูก รวมทั้งการอบรมสั่งสอนลูก ตลอดจนเพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน หลับง่าย และเกิดความอบอุ่นใจ

ผู้เข้าแข่งขันส่งบทเพลงกล่อมเด็กให้คณะกรรมการ จำนวน 5 ชุด

เวลาในการขับร้องให้คณะกรรมการกำหนดตามความเหมาะสม

เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน

ฉันทลักษณ์ 10 คะแนน

ความยาวของบทเพลงขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่พรรณา การแบ่งวรรค การส่งสัมผัส

ไม่มีการกำหนดฉันทลักษณ์ที่แน่นอน ใช้คำง่าย ๆ สั้นหรือยาวก็ได้ ) ท่วงทำนองการขับขาน 25 คะแนน

จดจำง่าย

จังหวะในการร้องและทำนองที่เรียบง่าย ฟังสบาย สนุกสนาน ) น้ำเสียงในการขับร้อง

ความหนักเบาของเสียงชัดเจน แจ่มใส) 20 คะแนน

ของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก

การใส่อารมณ์ ความรู้สึกขณะขับร้อง และแสดงความรักความห่วงใย 25 คะแนน

การนำเพลงกล่อมเด็กไปใช้ประโยชน์ 10 คะแนน

 ก

ารสอนภาษา เพื่อให้เด็กหัดเลียนเสียง ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมหรือการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ) บุคลิกภาพ ความสง่างาม ความมั่นใจ 10 คะแนน

คณะกรรมการตัดสิน คัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนตามเกณฑ์ ดังนี้

เกณฑ์การตัดสิน 80 – 100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง 70 – 79 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน 60 – 69 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการมีความเห็นเป็นอย่างอื่น

 

คณะกรรมการการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3 – 5 คน  

เป็นศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เป็นครูที่ทำการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านภูมิปัญญาด้านเพลงกล่อมเด็ก

ข้อควรคำนึง

กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทำการสอน

กรรมการควรมีที่มาจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นอย่างหลากหลาย

กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

สถานที่ทำการแข่งขัน

ควรใช้สถานที่ที่เป็นเวทียกพื้น

การเข้าแข่งขันระดับชาติ

ให้คะแนน เช่นมีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 

ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1-3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ ในกรณีที่มีทีมในลำดับสูงสุดเกินกว่า 3 ทีม ให้พิจารณาลำดับที่ตามลำดับข้อของการ 1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 2 ทีมใดได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็นผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในลำดับถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก งา

ในกรณีที่มีทีมในลำดับสูงสุดเกินกว่า 3 ทีม ให้พิจารณาลำดับที่ตามลำดับข้อของการ 1 เท่ากันให้ดูคะแนนข้อที่ 2 ทีมใดได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็นผู้ชนะแต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูคะแนนในลำดับถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ใช้วิธีจับฉลาก งา

คุณสมบัติของคณะกรรมการ

 

                                                                                                                                          

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนการสอน
หมายเลขบันทึก: 312985เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ฮาเฮ้อ โลกสาวเหอโลกสาวเรินตีน

เทียมได้ผัวจีนนอนสาดเจ็ดชั้น

ถ้าได้ผัวไทยชั้นไหนชั้นนั้น

นอนสาดเจ็ดชั้นแล้วแล้เหอโลกสาวเรินตีน

ขอบคุณ พี่บังน่ะค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยม  แหม. กลอนเพราะจังหู้!! ค่า..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท