สาวิกาสิกขาลัย


มหาวิชชาลัยธรรมะเพื่อเยียวยาสังคม
                             
สาวิกาสิกขาลัย 
กำเนิดขึ้นตามพุทธประสงค์ที่มีอริยสัจจากพระโอษฐ์ว่า “การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย” ในโลกปัจจุบัน การสร้างบุคคลให้เป็นผู้รู้ ผู้ประเสริฐหรือ “อริยชน” ที่จะอยู่กับโลกได้อย่างไม่เป็นทุกข์ ไม่ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ พร้อมจะแบ่งปันเกื้อกูลทั้งต่อตนเองและผู้อื่นอย่างสงบเย็นและเป็นประโยชน์ เป็นเรื่องที่จำเป็นและเป็นคำตอบที่ดีให้กับสังคมโลก
สาวิกาสิกขาลัย เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อส่งเสริมการบรรลุธรรมตามอุดมคติของพุทธศาสนา นั่นคือการมีชีวิตที่ส บเย็นและเป็นประโยชน์โดยการพัฒนาตนให้พ้นทุกข์ เพื่อสร้างสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขพ้นทุกข์ร่วมกัน สาวิกาสิกขาลัยเกิดจากการสะสม
ประสบการณ์ ๒๐ ปีของเสถียรธรรมสถาน ที่มุ่งสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างศานติโดยมีพุทธธรรมเป็นพื้นฐานบนฐานขององค์ความรู้ โดยการนำธรรมะมารักษาและเยียวยาสังคมทั้งการป้องกันและแก้ไข ในทุกช่วงวัยของการสร้างชีวิตตั้งแต่ปฏิสนธิจิตจนคืนชีวิตสู่ธรรมชาติ สาวิกาสิกขาลัยมุ่งการเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมทั้งในและต่างประเทศ และมุ่งการสื่อสารกับผู้คนร่วมสมัย 
เพื่อการเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานสาวิกาสิกขาลัย มุ่งหวังที่จะส่งเสริมคนให้เป็น “อริยชน” รู้จักใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิต พัฒนาฝึกฝนตนให้เข้าใจและรู้เท่าทันการภาวนาทั้ง ๔ ด้าน คือ กายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา เพื่อเปลี่ยนจากการเป็นทุกข์ไปสู่การเห็นทุกข์ ดำเนินชีวิตอย่างรู้ ตื่น และเบิกบาน สามารถนำหลักพุทธธรรมไปช่วยเยียวยาผู้อื่นและสังคมต่อไป อันถือได้ว่าเป็นการสร้างกระแสอริยะขึ้นในชุมชนโลก
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต M.A. (Buddhism and Arts of Life)
รายวิชาในหลักสูตร
๑. วิชาบังคับ ๑๒ หน่วยกิต
๖๑๒ ๑๐๑ อริยสัจ ๔ ในฐานะกฎของสัจธรรมธรรมชาติ ๓ (๓-๐-๖) (The Four Noble Truths as the Law of Nature)
๖๑๒ ๑๐๒ อานาปานสติ วิถีสู่ปัญญาและสันติสุข ๓ (๓-๐-๖) (Anapanasati as a Pathway to Pañña and Peace)
๖๑๒ ๒๐๓ จิตปรึกษาและจิตรักษาเชิงพุทธกับการแก้ปัญหาและเกื้อกูลทางใจ ๓ (๓-๐-๖)
(Buddhist Counseling and Psychotherapy and Psychological Problem Solving and Support)
๖๑๒ ๒๐๔ ชีวิตและความตายในทัศนะของพุทธศาสนา ๓ (๓-๐-๖) (Life and Death in Buddhist Perspectives)
๖๑๒ ๒๐๕ ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับบริบทพุทธศาสนา (๓) (๓-๐-๖) 
(Appropriate Methodology for Research in Buddhist Context)
๖๐๐ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษ (๓) (๓-๐-๖) (English)
๖๐๐ ๒๐๕ กรรมฐาน (๓) (๑-๒-๖) (Buddhist Meditation)
๒. วิชาเอก ๑๒ หน่วยกิต
๖๑๒ ๑๐๖ จิตวิทยาสิริมงคล ๓ (๓-๐-๖) (Sirimangala Psychology)
๖๑๒ ๑๐๗ พ่อแม่และการดูแลวิถีพุทธเพื่อจิตประภัสสร ๓ (๓-๐-๖) (Buddhist Parenting and Care for Purifying Citta)
๖๑๒ ๒๐๘ ปฎิจจสมุปบาทกับความเป็นโรค ๓ (๓-๐-๖) (Paticcasamuppada and Diseases)
๖๑๒ ๓๐๙ การฝึกงานดูแลผู้ป่วยโดยหลักพุทธ ๓ (๐-๖-๖) (Practicum in Buddhist Hospice Care)
๓. วิชาเลือก ๖-๑๒ หน่วยกิต
๖๑๒ ๒๑๐ อายุรเวทและธรรมชาติบำบัด ๓ (๓-๐-๖) (Ayuraveda and Natural Healing)
๖๑๒ ๒๑๑ พุทธวิถีในการเผชิญกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง ๓ (๓-๐-๖) ภาวะใกล้ตาย และความตาย
(Buddhist Way of Coping with Chronic Diseases, Dying and Death)
๖๑๒ ๒๑๒ พุทธธรรมกับศิลปะแห่งธรรมชาติ ๓ (๓-๐-๖) (Buddhism and the Arts of Nature)
๖๑๒ ๒๑๓ ธรรมนิเทศผ่านสื่อ ๓ (๓-๐-๖) (Dhammic Communication through Media)
๖๑๒ ๓๑๔ พุทธจิตวิทยากับความสุข ๓ (๓-๐-๖) (Buddhist Psychology and Happiness)
๖๑๒ ๓๑๕ หลักพระพุทธศาสนากับชุมชนยั่งยืน ๓ (๓-๐-๖) (Buddhist Principles and Sustainable Community)
๖๑๒ ๓๑๖ ความรับผิดชอบทางสังคมของพุทธศาสนิกในสังคมร่วมสมัย ๓ (๓-๐-๖)
(Social Responsibility of Buddhists in Contemporary Society)
๖๑๒ ๓๑๗ การนวดแผนไทยกับสุขภาวะทางกายและใจ ๓ (๓-๐-๖) 
(Traditional Thai Massage and Physical and Psychological Well-being)
๔. วิทยานิพนธ์
๖๑๒ ๔๐๐ วิทยานิพนธ์ ๑๒ หน่วยกิต (Thesis)
๕. การศึกษาอิสระ
๖๑๒ ๕๐๐ การศึกษาอิสระ ๖ หน่วยกิต (Independent Studies)
หมายเลขบันทึก: 310266เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009 03:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พุทธธรรมกับศิลปะแห่งธรรมชาติ

ชอบรายวิชานี้มากครับ..
โดยเฉพาะพระพุทธศาสนานั้น ดูจะสอดรับกับแนวคิดปรัชญาธรรมชาตินิยมอยู่มาก

ขอบคุณครับ

  • ขอบพระคุณข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์
  • น่าเรียนทุกวิชาค่ะ...

สวัสดีค่ะหนูมาเยี่ยมแล้วค่ะน่าศึกษาค่ะมีสาระมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท