พุทธศาสตร์อย่างมียุทธศาสตร์


ที่ผมนำเรื่องนี้มาบันทึกก็เพราะทึ่งในยุทธศาสตร์การสอนโดยไม่สอนของครูบาอาจารย์ และเห็นว่ามีประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่กัลยาณมิตรของผมทุกท่านที่กำลังมุ่งมั่น ฝึกจิตใจในโลกไซเบอร์ : )   …   ผมมีข้อสังเกตบางอย่างที่ได้จากบทสวดมนต์ที่ผมใช้อยู่เป็นประจำตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก

จึงอยากชวนให้ทุกท่านลองอ่านอย่างใคร่ครวญ แล้วใช้ใจสัมผัสดูนะครับว่าในแต่ละบทนั้นครูบาอาจารย์ท่านได้สอดแทรกสิ่งใดเอาไว้บ้าง และในภาพรวมแล้วท่านได้เรียนรู้อะไรจากบทสวดมนต์เหล่านี้บ้างครับ

โดยส่วนตัว ผมว่าหลวงปู่ท่านวางยุทธศาสตร์การสอนไว้อย่างแนบเนียนทีเดียวครับ

บทบูชาพระ
พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ

กราบสิริ ๖ ประการ

พุทธัง วันทามิ
ธัมมัง วันทามิ
สังฆัง วันทามิ
อุปัชฌาย์ อาจาริยัง คุณัง วันทามิ (ชาย) / ครูอาจาริยัง คุณัง วันทามิ (หญิง)
มาตาปิตุ คุณัง วันทามิ
พระไตรสิกขา คุณัง วันทามิ

บทสมาทานศีล ๕

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
อทินนาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
สุราเมรยะ มัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ (๓ ครั้ง)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ
สีเลนะ โภคะสัมปทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโส ธะเย

บทขอขมาพระรัตนตรัย

โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

บทอาราธนาพระ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)

พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ

น้อมจิตระลึกถึงพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ท่านเคารพศรัทธา

บทอธิษฐานจิตแผ่เมตตา

พุทธัง อนันตัง
ธัมมัง จักรวาลัง
สังฆัง นิพพานะปัจจโยโหตุ

บทอัญเชิญพระเข้าตัว

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง
อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส
พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ (ให้อธิษฐานเอา)

หลังจากนั้นก็นั่งสมาธิโดยใช้ไตรสรณาคมณ์เป็นคำบริกรรมโดยไม่ต้องกำหนดลมหายใจแต่อย่างใด ภาวนาไปเรื่อยๆ หายใจไปตามปกติ พอจิตเผลอไปคิดก็ให้รู้ แล้วกลับมาอยู่กับคำภาวนาใหม่

ง่ายมั๊ยครับ ลองดูนะครับ ได้ผลดียังไงอย่าลืมมาเล่าให้ผมฟังบ้างนะครับ  : )


หลวงปู่ท่านเคยบอกว่า...

 “ตราบใดก็ตาม ที่แกยังไม่เห็นความดีในตัวเอง

ก็ยังไม่นับว่า แกรู้จักข้า

แต่ถ้าเมื่อใด แกเริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว

เมื่อนั้นข้าว่า แกเริ่มรู้จักข้าดีขึ้นแล้วล่ะ”

ผมอยากกราบเท้าหลวงปู่แล้วกราบเรียนหลวงปู่ว่า... "ตอนนี้ผมคิดว่าผมยังไม่เห็นความดีในตัวเอง ดังที่หลวงปู่หมายถึงหรอกครับ แต่เพียงแค่ผมได้เห็นความชั่วของตัวเองขึ้นมาได้ ผมก็รู้สึกซาบซึ้งใจในความเมตตาและวิธีการสอนโดยไม่สอนอันแยบคายของหลวงปู่แล้วครับ"

 

หมายเลขบันทึก: 308969เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะน้องกบ

สบายดีนะคะ บทอื่นยังคุ้นๆ หากแต่บทสวดพระเข้าตัว ใหม่จริงๆค่ะ

มีความสุขกับการงาน และครอบครัวนะคะ ส่งความระลึกและปรารถนาดี ขอบคุณค่ะ

  • ตามมาฝึกด้วยคน
  • พระท่านมีวิธีการสอนที่แยบยลมาก
  • มาขอบคุณที่ไปอธิบายเรื่องผักพื้นบ้านครับ

สวัสดีค่ะ คุณข้ามสีทันดร

ปัจจุบันมีการแปลปฏิจจสมุปบาทเป็น 2 สาย สายหนึ่งเรียก 3 รอบ หรือคร่อม 3 ชาติ (ชาติอดีต ชาติปัจจุบัน ชาติอนาตค) อีกสายเรียก 1 รอบ หรือชาติเดียว

การเนื่องกันของสังขาร และวิญญาณ จึงขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาโน้มเอียงไปทางปฏิจจสมุปบาทสายไหนค่ะ

สายแรก แปลแบบคร่อม 3 ชาติ จะแยก อวิชชา สังขาร เป็นเหตุในอดีตชาติ วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็นผลในปัจจุบันชาติ

เอาตัณหา อุปาทาน ภพส่วนที่เป็นกรรมภพนี้มาเป็นเหตุในปัจจุบันชาติ

เอาภพส่วนที่เป็นอุปัติภพกับชาติ ชรา มรณะ ไปเป็นผลในชาติหน้า

การแปลแบบนี้ทำให้คนเราเชื่อว่าวิถีชีวิตในปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขได้เพราะเป็นผลของการกระทำในชาติที่ผ่านมาแล้ว และการกระทำใดๆในปัจจุบัน ก็จะไปรับ หรือส่งผลในชาติหน้า

ถ้าผู้ศึกษาเชื่อในสายนี้ สังขาร ก็คือพลังกรรมตัวปรุงแต่งสร้างสรรค์วิญญาณ วิญญาณ ก็จะคือกลุ่มพลังงานจิต ตัวที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างชาติหนึ่งกับอีกชาติหนึ่ง

มีการให้ข้อคิดว่าการแปลแบบนี้อิงแบบพราหมณ์ ทำให้ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธองค์แสดงถึงการไม่มีตัวตนของทุกสิ่ง หากเกิดเพราะเหตุปัจจัยเนื่องๆกันไป กลายเป็นมีตัวตนขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

ผู้ที่ให้ความเห็นไปในแนวนี้ มีหลายรูป หลายท่านค่ะ

อีกสายคือแปลปฏิจจสมุปบาทว่ามีเพียงรอบเดียว การเกิดภพ ชาติ อยู่ในชาติปัจจุบันนี้เอง คือเมื่อไรก็ตามเกิดตัวกู ของกู ขึ้นมา ก็เกิดแล้วหนึ่งชาติ เพราะการเกิดรอบเดียวนี้ ปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดเต็มสายในชีวิตปัจจุบัน ไม่ใช่ตัดส่วนต้นไปอยู่ที่หนึ่ง ส่วนกลางไปอยู่ที่หนึ่ง และส่วนท้ายไปอยู่อีกที่

ดังนั้น การเนื่องกันของสังขาร และวิญญาณคือ เพราะความไม่รู้ (อวิชชา) คือไม่รู้ในทุกข์ ไม่รู้ในเหตุที่เกิดทุกข์ ไม่รู้ในความดับของทุกข์ และไม่รู้ในทางที่ถึงซึ่งการดับของทุกข์ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

สังขาร จะแปลว่า สิ่งที่จะปรุงให้เกิดหน้าที่ทางกาย (กายสังขาร) สิ่งที่จะปรุงแต่งให้เกิดหน้าที่ทางวาจา (วจีสังขาร) สิ่งที่จะปรุงแต่งให้เกิดหน้าที่ทางจิต (จิตตสังขาร) อันได้แก่สัญญา และเวทนา

เพราะมีสิ่งที่จะปรุงแต่งให้เกิดหน้าที่ จึงมีวิญญาณ คือการรู้แจ้งทางอายตนะ คือ จักษุวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระวชิรญาณวงศ์ และท่านพุทธทาสเชื่อมั่นในการแปลสายนี้ค่ะ

อิอิ ฟันธงเอาเองนะคะ

สวัสดีครับ

ขอบคุณที่ไปเยี่ยมบันทึกครับ ผมเข้าใจว่าจิตได้มีการรวมไปตั้งแต่ตอนสวดแล้ว พอนั่งสมาธิต่อจึงเกิดความราบรื่นกลมกลืนอย่างต่อเนื่อง พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านวางยุทธศาสตร์การสอนไว้อย่างแนบเนียนจริงๆ ด้วยครับ

สวัสดีครับพี่ปู  P

จริงๆ แล้วบทอัญเชิญพระเข้าตัวนี้ไม่ได้ใหม่หรอกครับ ช่วงท้ายๆของการเจริญพุทธมนต์มักจะได้ยินพระท่านสวดครับ เพียงแต่เราอาจไม่ทราบว่าบทนี้ดีอย่างไร หลวงปู่ท่านแนะให้ตั้งจิตว่า...

"ข้าพเจ้าขอรับพรที่ได้นี้ ขอให้ติดตามข้าพเจ้าตลอดไปในชาตินี้ชาติหน้า" แล้วก็อธิษฐานเรียกพระเข้าตัว เวลาเขามีพิธีอะไร อย่างเช่น เวลาเขาปลุกเสกพระ เราก็สามารถรับพรจากพระองค์ไหน ๆ ก็ได้ทั้งนั้น"

บทอัญเชิญพระเข้าตัว

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ

P ขอบคุณพี่ ดร.ขจิต มากครับที่แวะมาเยี่ยม

อย่างบทกราบสิริ ๖ ประการนี้ ท่านสอนเป็นนัยๆว่า สิ่งที่เราควรไม่ควรจะลืมพระคุณของท่านนอกจากพระรัตนตรัยแล้ว ก็ยังมีครูบาอาจารย์ พ่อแม่ และสิกขาทั้ง ๓ ได้แก่สีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ที่เราควรจะศึกษาเพื่อความพ้นทุกข์

กราบสิริ ๖ ประการ

พุทธัง วันทามิ
ธัมมัง วันทามิ
สังฆัง วันทามิ
อุปัชฌาย์ อาจาริยัง คุณัง วันทามิ (ชาย) / ครูอาจาริยัง คุณัง วันทามิ (หญิง)
มาตาปิตุ คุณัง วันทามิ
พระไตรสิกขา คุณัง วันทามิ

 ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณ Phornphon P 

ถ้าสังเกตบทสวดมนต์บทแรก หลวงปู่ท่านคงจะสอนว่า นักปฏิบัติที่ดี ควรจะมุ่งมั่นและตั้งใจจริง ชนิดที่เรียกว่ามอบกายถวายชีวิตกันเลยทีเดียวครับ...

บทบูชาพระ
พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ

ถ้าเราทำเหตุไว้ดี ย่อมถึงซึ่งผลนั้นแน่นอนครับ

ขออนุโมทนาด้วยครับ

ขอบพระคุณคุณณัฐรดา P มากครับสำหรับคำอธิบายที่ลึกซึ้งตามนัยแห่งปฏิจจสมุปบาท

หากจะกล่าวกันไปแล้ว จิตตสังขาร และมโนวิญญาณ เนื่องกันได้เพราะเรามีอวิชชานะครับ ...

ตอนเด็กๆ ผมนึกเอะใจว่า ทำไมบทสวดขอขมาพระรัตนตรัยจึงเน้นเฉพาะ โมหะจิตเต (จิตมีโมหะ) เลยสรุปเอาเองว่า ไม่ว่าจะโลภ หรือโกรธ ล้วนมีเหตุมาจากความหลงของจิตนั่นเอง

 

บทขอขมาพระรัตนตรัย

โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

 

สวัสดีครับคุณไทเลย-บ้านแฮ่P

"ผมเข้าใจว่าจิตได้มีการรวมไปตั้งแต่ตอนสวดแล้ว พอนั่งสมาธิต่อจึงเกิดความราบรื่นกลมกลืนอย่างต่อเนื่อง"...ผมเห็นด้วยครับ
 
นอกจากนี้ ท่านยังได้ให้แนวทางการปฏิบัติตนบนวิถีแห่งพุทธะและเน้นจุดสำคัญอย่างเช่น บทขอขมาพระรัตนตรัยที่โฟกัสที่เรื่องของจิตซึ่งเป็นจุดสำคัญรวบยอดของการปฏิบัติธรรมเพื่อเป้าหมายสูงสุดของศาสนาไว้ด้วยครับ
 
ท่านสอนว่า...
"ของดีก็อยู่ที่ตัวเรา ของไม่ดีก็อยู่ที่ตัวเรา ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต"
 
ขอบพระคุณมากครับ
 
 
 
 

สวัสดีค่ะ

เห็นหนังสือที่นำไปฝากแล้วค่ะ

น่าสนใจมาก ต้องไปหาจากร้านแล้ว

ขอบคุณมากนะคะ

  • หวัดดีค่ะ...น้องกบ
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมารับคำสอนดีๆ  ด้วยคนค่ะ

สวัสดีครับพี่อ้อยควั้นP

หลวงปู่ท่านสอนให้นั่งสมาธิโดยใช้ไตรสรณาคมณ์เป็นคำบริกรรมโดยไม่ต้องกำหนดลมหายใจแต่อย่างใด ภาวนาไปเรื่อยๆ หายใจไปตามปกติ พอจิตเผลอไปคิดก็ให้รู้ แล้วกลับมาอยู่กับคำภาวนาใหม่

ไตรสรณาคมณ์ ...

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

ท่านสอนว่าควรทำให้ได้ในทุกอิริยาบถ ทั้งหลับตาและลืมตาครับ 
ซึ่งก็คือการเจริญสติในชีวิตประจำวันเรานี่เองครับ : )

ผมทราบจากข่าวว่าภาคใต้ฝนตกหนัก ขอให้พี่ปลอดภัยทุกเส้นทางนะครับ

ขอบคุณมากครับ

      

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท