สหกรณ์นิคมคืออะไร


ที่ดิน เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการประกอบอาชีพทางการเกษตร มีเกษตรกรจำนวนมากที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินทำกินน้อยไม่เพียงพอกับการเพาะปลูก ต้องเช่าที่ดินจากนายทุนมาทำกิน ฯ

สหกรณ์นิคมคืออะไร

               สหกรณ์นิคม  คือ สหกรณ์การเกษตรในรูปแบบหนึ่งที่มีการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร  การจัดสร้างปัจจัยพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่อาศัยควบคู่ไปกับการดำเนินการจัดหาสินเชื่อปัจจัยการผลิตและสิ่งของที่จำเป็น การแปรรูปการเกษตร การส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งกิจกรรมให้บริการสาธารณูปโภคแก่สมาชิก

                สหกรณ์นิคม  มีงานหลัก ๒ งาน คือ  งานจัดที่ดินและงานจัดสหกรณ์

 งานจัดที่ดิน

                งานจัดที่ดินเป็นงานที่ดำเนินการโดยรัฐ  ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินมาปรับปรุงสภาพ  แล้วจัดสรรให้ราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินได้เข้าไปทำกินและอยู่อาศัย  จัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ที่ดินและที่อยู่อาศัย  เช่น  ถนน แหล่งน้ำ  โรงเรียน  สถานีอนามัย ตลาด ฯลฯ  เป็นต้น  ซึ่งแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานได้ดังนี้

 ๑.      การจัดหาที่ดิน

          การจัดหาที่ดินมาจัดสรรให้ราษฎรทำการเกษตร  โดยวิธีการสหกรณ์นั้นสามารถแบ่งออกได้  ๓ รูปแบบคือ

          ๑.๑  การจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์

                 กรมส่งเสริมสหกรณ์อาศัยพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นหลักในการปฏิบัติ  กล่าวคือ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะประสานงานกับคณะกรรมการจำแนกประเภทที่ดิน  เพื่อขอรับพื้นที่ที่คณะกรรมการฯ ได้จำแนกไว้เป็นที่จัดสรรเพื่อการเกษตร นำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกิน

          ๑.๒  การจัดที่ดินในรูปสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน

                  รัฐจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นทุนจัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรให้ราษฎร  โดยคำนึงถึงความเดือดร้อนหรือความต้องการของราษฎร  โดยคำนึงถึงความเดือดร้อนหรือความต้องการของราษฎร  และราษฎรดังกล่าวไม่สามารถจัดซื้อที่ดินด้วยกำลังทรัพย์หรือความสามารถของตนได้  กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงทำหน้าที่จัดหาที่ดินแปลงใหญ่หรือแปลงเล็กแปลงน้อยแต่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน  นำมาให้สหกรณ์ได้เช่าหรือเช่าซื้อตามกำลังความสามารถของสมาชิกผู้ได้รับจัดสรรการจัดที่ดินลักษณะนี้อาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในลักษณะของเช่าทรัพย์หรือเช่าซื้อเป็นหลักปฏิบัติ นอกจากกฎหมายดังกล่าวแล้วนับแต่ปี ๒๕๑๘  เป็นต้นมา  พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘ ยังครอบคลุมมาถึงสภาพที่ดินที่รัฐได้มาในลักษณะนี้  ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘  ด้วย

          ๑.๓  การจัดที่ดินในรูปสหกรณ์เช่าที่ดิน

                  สืบเนื่องมาจากที่สงวนหวงห้ามของรัฐที่เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรทั้งในสภาพที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ  หรือป่าตามมติของคณะรัฐมนตรี (ป่าเตรียมการสงวน) ถูกราษฎรเข้าไปบุกรุกทำกินจนเต็มพื้นที่ และรัฐไม่สามารถฟื้นฟูสภาพป่าให้คงเดิมได้  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้จึงเสนอนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี  เพื่อมอบพื้นที่ที่สภาพดังกล่าวให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการจัดที่ดินให้แก่ราษฎร  นำที่ดินไปจัดสรรให้แก่ราษฎร  การจัดที่ดินลักษณะนี้ยังคงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗

                   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง เพื่อจัดสรรให้แก่ราษฎรทำการเกษตร  โดยมีพระราชดำริว่าควรจัดสรรให้ราษฎรเช่าและตกทอดทางมรดกไปยังลูกหลายต่อไป  เพื่อมิให้การโดยซื้อขายกันจนทำให้ที่ดินตกไปอยู่แก่ผู้ที่มิได้ประกอบอาชีพทางการเกษตร ที่ดินจำนวนนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้นำมาจัดสรรให้ราษฎรในรูปสหกรณ์การเช่าที่ดินตามพระราชประสงค์ด้วย

 ๒.     การวางผังและปรับปรุงที่ดิน

          ทางราชการจะดำเนินการสำรวจสภาพทั่วๆ  ไปในพื้นที่โครงการที่จะตั้งนิคมสหกรณ์ เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ  แหล่งน้ำ การคมนาคม  ตลอดจนลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม  สำหรับประกอบการพิจารณาจัดตั้งนิคมสหกรณ์  และเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาสหกรณ์ต่อไป  เมื่อเห็นว่ามีลู่ทางที่จะปรับปรุงที่ดินดังกล่าวได้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมอีกครั้งหนึ่งหากเห็นสมควรจัดตั้งนิคมสหกรณ์ก็เริ่มวางแผนการใช้ที่ดินโดยกำหนดว่าบริเวณใดควรจะสร้างอะไร  จะสร้างถนนสายใหญ่สายซอยอย่างไร เท่าใด จึงจะสะดวกในการใช้ที่ดิน และการขนส่งสาธารณูปโภคควรทำอย่างไร บริเวณไหนควรจะปลูกอะไรจึงเหมาะสม  (ติดตามฉบับหน้า)

คำสำคัญ (Tags): #สหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 308961เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • สวัสดีค่ะพี่สารินี
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • สหกรณ์นิคมอยู่ในประเภทเกษตรหรือเปล่าค่ะ
  • รออ่านฉบับต่อไปนะค่ะ

(*Q*)สวัสดีจ๊ะ...น้องชล

(*Q*)ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมพี่ตลอด

(*Q*)สหกรณ์นิคมเป็นสหกรณ์การเกษตรจ๊ะ

(*Q*)พี่จะลงข้อมูลให้เร็วๆๆ จ๊ะ...อิอิอิ

 

 

ดีจังเลยครับ ทำให้ได้เข้าใจเรื่องสหกรณ์มากขึ้น เอใครหนอเป็นบิดาแห่งสหกรณ์

สวัสดีคะ คุณพี่สาริณี

ไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง นี้เลยค่ะ

ขอบคุณที่นำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

  • P อ.ขจิต
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
  • พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ

 

๓.  การคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดิน

     ๓.๑  การจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์  เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์แล้วคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งตามมาตรา ๓๔  แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.๒๕๑๑  มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกนิคม  โดยยึดหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้กำหนด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นด้วย

     ๓.๒  งานที่ดินในส่วนที่รัฐจัดซื้อ  ในทางปฏิบัติเมื่อกรมส่งเสริมสหกรณ์จัดซื้อที่ดินมาแล้ว  จะมอบให้สหกรณ์ในพื้นที่นั้นๆ  ดำเนินการตามกำลังความสามารถของสมาชิกซึ่งอาจจัดให้สหกรณ์เช่าหรือเช่าซื้อที่ดินราชการหากพื้นที่ที่ดินตั้งอยู่ยังไม่มีการจัดตั้งสหกรณ์  กรมส่งเสริมสหกรณ์จะรวบรวมบรรดาผู้ที่ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ  ซึ่งอยู่ในฐานะผู้เช่าที่ดินจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น  ฉะนั้นการคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดินในลักษณะนี้  จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หรือเงื่อนไขของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่กำหนดให้เป็นรายๆ  ไป เพราะถือว่างานจัดที่ดินลักษณะนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดที่ดินให้แก่สมาชิกสหกรณ์เท่านั้น

     ๓.๓  งานจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  การคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดินในลักษณะนี้ กระทำโดยคณะกรรมการคัดเลือกที่กรมส่งเสริมสหกรณ์แต่ตั้งไว้  โดยสภาพความเป็นจริงพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมส่วนใหญ่ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์รับมาดำเนินการปรากฏว่ามีราษฎรบุกรุกเข้าไปครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว  ในทางปฏิบัติกรมส่งเสริมสหกรณ์ จะรวบรวมรายชื่อและรายละเอียดขอบงที่ดินที่ราษฎรเข้าทำมาหากินกรมส่งเสริมสหกรณ์จะพิจารณาคัดเลือกโดยอาศัยแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดเลือกสมาชิกนิคมสหกรณ์โดยอนุโลม

     นับแต่ปี ๒๕๒๒  เป็นต้นมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหลักเกณฑ์การจัดที่ดินเพื่อผ่อนคลายปัญหาของราษฎรผู้บุกรุกรวมทั้งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการรักษาสภาพป่าให้คงไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ปัจจุบันแนวทางการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมดังกล่าว  ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติและนโยบายของรัฐ  กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงมีนโยบายที่จะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ  โดยเป็นผู้ยืมขออนุญาตแทนสมาชิกที่ถือครองอยู่เป็นการนำที่ดินทั้งแปลมจัดสรรตามนโยบาย ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ต่อไป

 

๔.  การได้สิทธิในที่ดินของสหกรณ์

     ๔.๑  งานจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์  การจัดที่ดินลักษณะนี้กฎหมายมุ่งที่จะให้สมาชิกผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน  (โฉนดที่ได้ทำดินหรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว)  หรือสิทธิครอบครอง (น.ส.๓) เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์นั้นๆ ปฏิบัติครบตามกฎหมายไว้  คือ

             ๔.๑.๑  เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ทำประโยชน์ที่ดินแล้ว

             ๔.๑.๒  เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า  ๕  ปี

             ๔.๑.๓  ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว

             ๔.๑.๔  ขำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว

      ๔.๒  งานจัดที่ดินในส่วนที่รัฐจัดซื้อ  งานจัดที่ดินลักษณะนี้ สมาชิกผู้ได้รับจัดสรรจะได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ อยู่ที่นโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์และสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ว่าจะจัดในลักษณะของสหกรณ์ผู้เช่า หรือสหกรณ์ผู้เช่าซื้อที่ดิน

คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ ดังนี้

๑. เป็นเกษตรกร บรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย

๒. เป็นผู้ซื่อสัตย์ สุจริต และมีความประพฤติดี

๓. ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ

๔. ไม่เป็นบุคคลล้มลาย หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว

๕. มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือวิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

๖. ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพ

๗. ไม่เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์อื่น และสมัครใจเป็นสมาชิก

เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกได้คัดเลือกผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์แล้ว จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกตามลำดับคะแนนจากสูงไปหาต่ำ โดยถือลำดับก่อนหลังดังต่อไปนี้

๑. บุคคลที่มีโฉนดที่ดินหรือหรือตราจองซึ่งแสดงว่าได้ทำประโยชน์แล้วหรือมีหลักฐานเกี่ยวกับสิทธิครอบครอง (ส.ค.๑) อยู่ในเขตจัดนิคมสหกรณ์และยินยอมเวนคืนที่ดินให้แก่ทางราชการโดยไม่ขอรับเงินค่าชดเชยแต่อย่างใด

๒. บุคคลที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่อาศัยทำกินอยู่ในที่ดินเขตจัดนิคมสหกรณ์ก่อนวันประกาศรับสมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์

๓. บุคคลที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่อาศัยทำกินในท้องที่จัดนิคมสหกรณ์

๔. บุคคลซึ่งส่วนราชการต่างๆ ส่งมา

๕. บุคคลซึ่งเป็นทหารผ่านศึกหรืออาสาสมัคร

๖. บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ ๑-๕

การจัดสมาชิกนิคมสหกรณ์เข้ามาทำกินในที่ดินจัดสรร กรมส่งเสริมสหกรณ์จะเรียกสมาชิกนิคม สหกรณ์ผู้ผ่านการคัดเลือกตามลำดับจากสูงไปหาต่ำตามจำนวนแปลงที่ดินที่สามารถจัดสรรให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จากที่ดินตามที่พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.๒๕๑๑ บัญญัติไว้

การจัดตั้งและการดำเนินงาน 

         เมื่อทางการได้อนุญาตให้ราษฎรที่ได้รับคัดเลือกเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินแล้ว  ก็จะมีการรวบรวมราษฎรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินในโครงการจัดตั้งเป็นสหกรณ์และจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.๒๕๔๒  เป็นประเภทสหกรณ์นิคม

         สหกรณ์นิคมเป็นสหกรณ์ประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับสหกรณ์การเกษตร คือ มีการดำเนินธุรกิจที่ให้บริการแก่สมาชิกคล้ายคลึงกัน เช่น ด้านสินเชื่อ จัดหาปัจจัยการผลิตและสิ่งของที่จำเป็น แปรรูปและส่งเสริมการเกษตร แต่มีส่วนที่แตกต่างกัน คือ เรื่องที่ดิน เพราะสหกรณ์การเกษตรมักจัดตั้งในพื้นที่ที่เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว  จะมีเกษตรกรที่เช่าที่ดินผู้อื่นทำกินบ้างส่วนน้อย  ส่วนในสหกรณ์นิคมรัฐเป็นเจ้าของที่ดินในครั้งแรก  แล้วจึงนำไปจัดสรรให้แก่เกษตรในภายหลัง

         เหตุที่รัฐสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นในนิคม  เนื่องจากรัฐมีความประสงค์จะส่งเสริมราษฎรที่เข้ามาอยู่ในนิคม ให้มีอาชีพทางการเกษตรที่มั่งคงและมีรายได้สูงขึ้น  สามารถดำรงชีวิตคอรบครัวอยู่ได้ตามอัตภาพ  และมีสถาบันของตนเองในการเป็นสื่อกลางที่จะให้บริการ ด้านความสะดวกต่างๆ 

 

สหกรณ์นิคมจะอำนวยประโยชน์ให้แก่สมาชิก  ดังนี้

        ๑.  เป็นสื่อกลางในการขอรับหรือบริการต่างๆ  จากรัฐบาล

        ๒.  เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับสมาชิกสหกรณ์ในการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กาเรียกเก็บเงินเพื่อช่วยทุนของรัฐ

        ๓.  เพื่อให้เกษตรกรในนิคมมีสถาบันของตนเอง  ที่จะจัดทำและอำนวยบริการในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาสินเชื่อ การรวมกันซื้อ-ขาย การส่งเสริมการเกษตรและการฝึกอบรมซึ่งเป็นการเสริมสร้างให้เกิดระบบที่ดีในการจัดหา  การผลิต  การตลาด โดยสมาชิกของสหกรณ์นิคมเป็นเจ้าของ เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้ได้รับประโยชน์  ซึ่งจะทำให้สหกรณ์นิคมสามารถผนึกกำลังประกอบอาชีพอย่างมั่นคง  มีรายได้และมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
แหล่งข้อมูล  :  กรมส่งเสริมสหกรณ์



อยากทราบความเเตกต่างระหว่างสหกรณ์นิคมกับสหกรณ์การเกษตรครับ 

ที่ดินนี้. สามารถ ซื้อขายได้ป่าว. 

ได้บทสรุปหรือข้อคิดจากการสืบค้นข้อมูลเรื่องนี้ว่าอย่างไร

ผมอาศัยอยู่ในพื้นที่..เขต นิคม มา 37 ปี ยังไม่มีที่ทำกิน เคยไปขอที่ดินในการทำกิน ถูกเจ้าหน้าที่ปฏิเสทรับเรืองที่จะจัดสรรหรือหาที่ดินที่ร้องขอให้ผมได้..บอกได้แค่ ยังไม่มีที่ดินที่ผมจะขอเช้าในการประกอบอาชีพการเกษตร อีกอย่างพื้นที่ที่ผมอาศัย..ที่ดินส่วนใหญเป็นของผู้ที่มีฐานะ..มีกิจการ แถมมีสิทธจับจองที่ดินในการเกษตรเพื่อเเสวงหาผลประโยชในที่ดินนั้นๆโดยการขายสิทธให้กับคนที่มีเงิน..และอีกหนึ่งปัจจัยเจ้าหน้าที่พวกพ้องญาติมิตรตางได้รับผลประโยชน์ในที่ดิน..ต่างๆ..แต่ผู้ที่จนและอยากไร..อยากนักที่จะได้รับสิทธจับจองในที่ดินทำกิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท