คำอุปสรรคและคำปัจจัยในสามัคคีเภทคำฉันท์


คำอุปสรรคและคำปัจจัยในสามัคคีเภทคำฉันท์ 

คำอุปสรรค หมายถึง คำที่ใช้เติมข้างหน้าคำ เพื่อต้องการให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม  เป็นวิธีการที่ไทยได้รับมาจากบาลีสันสกฤต

คำปัจจัย หมายถึง คำที่ใช้ประกอบท้ายธาตุในบาลีสันสกฤต  โดยนำธาตุนั้นไปแจกวิภัตติ  ซึ่งจะเป็นคำโดยสมบูรณ์และสามารถนำไปสร้างประโยคได้

ในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์มีคำอุปสรรคและคำปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก  แต่จะขอประมวลคำเหล่านี้พอเป็นตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่างคำอุปสรรคในสามัคคีเภทคำฉันท์ 

สุ (  ดี งาม ง่าย) 

สุประพฤติ              =       สุ  +  ประพฤติ        ประพฤติดี

สุพร                       =       สุ  +  พร                 พรอันประเสริฐ

สุภาษิต                  =       สุ  +  ภาษิต             คำกล่าวอันดีงาม

สุวาที                     =       สุ  +  วาที                คำพูดอันดีงาม

สุธรรม์                   =       สุ  +  ธรรม              ธรรมะอันดีงาม

สํ  (ร่วม พร้อม)  

สมบูรณ์                 =      สํ  +  บูรณ                เต็มพร้อม

สัมฤทธิ์                  =      สํ  +  ฤทธิ                 ความสำเร็จพร้อม

สังเกต                   =      สํ  +  เกต                  กำหนดพร้อม

ทุ, ทุร(ชั่ว เลว)     

ทุรทิฐิ                    =     ทุร  +  ทิฐิ                  ความเห็นที่ไม่ถูกต้อง

ทุทาส                    =     ทุ  +  ทาส                  ทาสชั่วร้าย

ทุพล                      =     ทุ  +  พล                    อ่อนแอ

ทุผล                      =     ทุ  +  ผล                    ผลร้าย                   

ทุมนัส                    =     ทุ  +  มนัส                  เสียใจ

อ  (ไม่)

อมิตร                    =      อ  +  มิตร                  ไม่เป็นมิตร

อสัตย์                    =      อ  +  สัตย์                  ไม่มีสัตย์

อคติ                      =      อ  +  คติ                     ความลำเอียง

อนุ (น้อย ตาม)    

อนุกรม                  =     อนุ  +  กรม                 ตามลำดับ             

อนุศาสน์                =     อนุ  +  ศาสน์               การสอน

อนุจร                     =     อนุ  +  จร                    ผู้ประพฤติตาม

อนุมาน                  =     อนุ  +  มาน                 คาดคะเนตามเหตุผล

อนุสนธิ                  =     อนุ  +  สนธิ                 การต่อเนื่อง

 

นิร, นฤ (ไม่มี)     

นิรวิวาท                 =     นิร  +  วิวาท               ไม่ทะเลาะวิว

นิรผล                     =     นิร  +  ผล                   ไม่เป็นผล

นฤพัทธ                 =      นิร  +  พัทธ                ไม่มีความผูกพัน

นฤสาร                   =      นิร  +  สาร                 ไร้สาระ

นีรสงสัย                =       นิร  +  สงสัย               ไม่มีความสงสัย

ปริ, บริ(รอบ ทั่ว)

ปริอาทร                =      ปริ  +  อาทร                 เอื้อเฟื้อโดยทั่

บริสุทธิ์                  =      บริ  +  สุทธิ์                  ไม่มีสิ่งใดเจือปน

อภิ (ยิ่ง ใหญ่)

อภิยาจน์                =      อภิ  +  ยาจน์                 การขอร้องอย่างยิ่ง

อภิมัณฑ์                =      อภิ  +  มัณฑ์     การตกแต่งอย่างงดงามยิ่ง

นิ  (เข้า ลง ออก)

นิยม                       =      นิ  +  ยม                      กำหนดลง

อุ  (ขึ้น นอก)       

อุโฆษ                     =      อุ  +  โฆษ                    กึกก้องขึ้น

อุป (เข้าไป ใกล้ รอง

อุปเฉท                   =      อุป  +  เฉท                  เข้าไปตัดขาด       

ตัวอย่างคำปัจจัยในสามัคคีเภทคำฉันท์ 

อนีย (พึง น่า ควร)

หานีย์                     =     หา  +  อนีย                    ความเสื่อ

บัพพาชนีย            =      บัพพาช  +  อนีย        พึงขับไล่ออกจากหมู่

ปุจฉนีย์                  =      ปุจฉ  +  อนีย                 ควรถาม

อี (มี)

ราชการี                 =      ราช  +  การ  +  อี         มีราชกิจ

 

หมายเลขบันทึก: 308963เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2009 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมาก ๆ เลยน้ะค้ะ

หนูจะคว้าคะแนนเต็มมาให้ครูให้ได้เลยค้ะ ะะะ !

: )

สวัสดีค่ะ  หนูแต้ว

   ครูขอเป็นกำลังใจให้สอบได้ตามที่ปรารถนาค่ะ  แต่ถ้าจะให้ดีอยากให้อ่าน "เติมความฟิต  พิชิตข้อสอบ" บ้างนะคะ

ขอบคุณค่ะ อ. ^^ หนูเอาไปตอบในข้อสอบ อ. นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท