ความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence)


สภาพปัญหาทางสังคมอันเกิดจากความรุนแรงภายในครอบครัว (Domestic Violence) หรือที่หลายๆคนเรียกว่า “ภัยใกล้ตัว” หรือ “อาชญากรรมเงียบ” ในสังคมไทยปัญหาความรุนแรงมีหลายระดับที่เห็นชัดเจน คือความรุนแรงที่มีตัวบุคคลเป็นผู้ก่อ เช่น การฆาตกรรม การทำร้าย เป็นต้น แต่ความรุนแรงที่มองเห็นยากที่ถือว่าเป็นใจกลางของปัญหา ก็คือความรุนแรงในบ้าน ที่ถือเป็นอาชญากรรมเงียบในครอบครัว โดยผู้ถูกกระทำคือ ภรรยาและลูก เช่น กรณีพ่อข่มขืนลูก สามีข่มขืนภริยา การตบ ตี เตะ ต่อยทำร้ายร่างกายลูกและภริยาของตนเอง เป็นต้น

ซึ่งจะเห็นได้ว่าความรุนแรงภายในครอบครัวที่ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามเป็นสื่อต่างๆเป็นระยะๆไม่ว่าข่าวนายแพทย์ชื่อดังคนหนึ่งตกเป็นผู้ต้องหาต่อการหายตัวไปของภรรยา หรือที่ด็อกเตอร์อีกคนหนึ่งตกเป็นผู้ต้องหาทำร้ายภรรยาจนเสียชีวิตและหลบหนีไป รวมถึงข่าวเล็กข่าวน้อยจนกลายเป็นข่าวรายวันที่เพิ่มดีกรีและความถี่ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น สถานการณ์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในครอบครัวด้วยความเชื่อที่ปลูกฝังกันมาแต่โบราณว่าหญิงเป็นสมบัติของชาย เด็กเป็นสมบัติของพ่อแม่ หรือไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า แม้แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีความเชื่อเช่นนั้นกันอยู่ การที่สามีแสดงความเป็นใหญ่ในครอบครัว โดยสามารถบงการชีวิตความเป็นอยู่และกิจกรรมต่างๆของภริยาและลูกได้

 แม้ว่ารัฐธรรมนูณแห่งราชอาญาจักรไทยจะมีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายในครอบครัวจากการใช้ความรุนแรงและการปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรมไว้อย่างชัดเจน ว่า “เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มิสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” แต่พบว่ายังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมจากทางภาครัฐที่เข้ามาปกป้อง คุ้มครองหรือให้ความช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมจากความรุนแรงในครอบครัว และเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการลงโทษ บำบัด ฟื้นฟูผู้กระทำความผิดมิให้มีการกระทำผิดซ้ำอีก         

ระบบความยุติธรรมจึงจำเป็นต้องเข้ามาจัดการกับปัญหาความรุนแรงดังกล่าว โดยจะต้องมีมาตรการทางกฎหมายและมาตรการอื่นๆออกมารองรับกฎหมายรัฐธรรมนูณเพื่อคุ้มครองป้องกันเหยื่ออันเกิดจากความรุนแรงภายในครอบครัว และที่สำคัญควรที่ภาครัฐจะต้องให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นพิเศษ 

กระบวนการยุติธรรมในสังคมควรที่จะช่วยกันป้องกันมิให้ความรุนแรงเกิดขึ้นภายในครอบครัว ซึ่งหลักการนี้เป็นการยื่นยันถึงหลักพื้นฐานทางสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะต้องตระหนักถึงความเสี่ยงของเหยื่อที่ถูกทำร้ายจากคนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือเด็ก สำหรับมาตรการทางกฎหมายในการให้ความคุ้มครองและป้องกันสิทธิของเหยื่อที่ถูกทำร้ายนั้น

ซึ่งในตอนนี้ได้มีกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้วคือ  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้  มุ่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่มีความละเอียดอ่อนซับซ้อน  การใช้มาตรการทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาจึงไม่เหมาะสม  เนื่องจากเจตนารมณ์ของกฎหมายอาญามุ่งที่ลงโทษผู้กระทำความผิด  จึงทำให้ต้องมีการออก พ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้กระทำความผิดมีโอกาสกลับตัวและยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ  รวมทั้งยังรักษาความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวได้ด้วย แต่ถามว่ามีใครกี่คนที่ทราบว่ามี พ.ร.บ. ฉบับนี้บ้างก็ต้องตอบว่ามีน้อยมาก

บทนิยามศัพท์ใน พ.ร.บ ดังกล่าว

"ความรุนแรงในครอบครัว" หมายความว่า การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบแต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท

"บุคคลในครอบครัว" หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใดๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน

จากบทความและนิยามดังกล่าว ตัวคุณ คนในครอบครัวคุณ คนรู้จักคุณหรือคนข้างบ้านคุณประสพกับชะตากรรมอย่างนี้หรือเปล่า

หมายเลขบันทึก: 307313เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะ ดร. เมธา สุพงษ์

ดิฉันก็สงสารเด็ก และเยาวชน คือ อนาคตของชาติ

เมื่อเกิดความรุนแรงในครอบครัว พวกเขาจะขาดความอบอุ่น มีปมด้อย

ปัญหาต่างๆตามมา น่าเป็นห่วง หรือจะอยู่ที่การดูแลก็สุดแล้วแต่ครอบครัวนั้นๆนะคะ

เด็กและเยาวชนที่กำเินิดมาในครอบครัวที่อบอุ่นก็โชคดีไป

ดิฉันไม่อยากเห็นภาพครอบครัวที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น อยากเห็นแต่ครอบครัวที่มีความ

อบอุ่น ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน  ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีครับ คุณจิ๋ว

ครับ ครอบครับที่มีความรุนแรง เด็กและเยาวชน ก็มักจะมีปัญหาและก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมต่อไปด้วย คนในสังคมจึงควรให้ความช่วยเหลือครับ มิใช่คิดว่าไม่ใช่เรื่องหรือธุระของตน

มาชวนไปกินเจ ฮา...

พรุ่งนี้วันสุดท้าย

ขอให้มีความสุขในวันหยุดนะคะ

สวัสดีค่ะ

.ดิฉันว่าคงต้องแก้กันที่การเลี้ยงดู และหยุดสื่อที่ชอบเสนอความรุนแรงในรูปของละครด้วยค่ะ

.คงสบายดีนะคะ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดีครับ

ผู้มาเยี่ยมเยือน

สวัสดีครับท่าน

กระผมได้ทราบเรื่องของผู้หญิงคนนึง อายุราว 17 ปี ซึ่งเขาเป็นบุตรบุญธรรมถูกพ่อบุญธรรมของเขา

อบรมโดยการทำร้ายร่างกายเช่น ตบ ต่อย และ เตะบริเวณหน้าท้อง ชักปืน ชักมีด ขึ้นมาขู่

โดยฝ่าย พ่อบุญธรรมได้อ้างว่า ลูกสาวไม่เชื่อฟังและเถียง

การกระทำดังกล่าวมีวิธีแก้ไขหรือไม่ ครับ

บทบัญญัติของกฎหมายตามพ.ร.บนี้

มาตรา ๕ ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ที่พบเห็นหรือทราบการกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว มีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ การแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้กระทำโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครอง และไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง มาตรา ๖ การแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕ อาจกระทำโดยวาจา เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือได้รับแจ้ง ตามมาตรา ๕ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ที่เกิดเหตุเพื่อสอบถาม ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือบุคคลอื่นที่อยู่ใน สถานที่นั้นเกี่ยวกับการกระทำที่ได้รับแจ้ง รวมทั้งให้มีอำนาจจัดให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัวเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอรับคำปรึกษาแนะนำจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือ นักสังคมสงเคราะห์ ในกรณีที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวประสงค์จะดำเนินคดี ให้จัดให้ผู้นั้น ร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้นั้นไม่อยู่ในวิสัยหรือมีโอกาสที่จะร้องทุกข์ ได้ด้วยตนเองให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ร้องทุกข์แทนได้ แนะนำแจ้งเจ้าหน้าที่ครับ

ผู้มาเยี่ยมเยือน

ขอบพระคุณครับ

แบ่งปันความรู้ครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยม

อาจารย์คะ การที่เป้าหมาย พรบ. มุ่งให้โอกาสผู้กระทำกลับตัวกลับใจ ดังนั้นผู้บังคับใช้กฏหมายก็คงจะประนีประนอมแทนการลงโทษแบบอาญาเดิม ในขณะที่กว่าผู้ถูกกระทำจะตัดสินใจเรียกหาความช่วยเหลือก็สุดจะทนแล้ว....มันไม่เกิดช่องว่างในการแก้ไขปัญหาหรือคะ

กฎหมายทุกฉบับมีช่องว่าง อยู่ที่การบังคับใช้ แต่วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ก็เพื่อประโยชน์ของคนที่ตกเป็นเหยื่อในการกระทำความรุนแรง

อาจารย์นี่เก่งจริงๆเลยนะคะแล้วยังให้คำตอบที่ดีอีกด้วย

  • แวะมาทักทายค่ะ
  • บทความนี้น่าสนใจค่ะ
  • ความขี้หึงอย่าร้ายกาจ เป็นความรุนแรงทางครอบครัวหรือไม่ค่ะ จะแก้ไขอย่างไร

"ความขี้หึงอย่าร้ายกาจ เป็นความรุนแรงทางครอบครัวหรือไม่ค่ะ จะแก้ไขอย่างไร" การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบแต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาทถือเป็น "ความรุนแรงในครอบครัว" ความหึงหวงหากเกินเลยความพอดีไปเช่นก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายโดยทุบตี ก็ถือว่าเป็นความรุนแรงในครอบครัว ลองพูดคุยกันก่อนถ้าหากเกินจะทนก็อาจดำเนินการตามกฎหมายครับ แต่เรื่องครอบครัวมีความละเอียดอ่อนก็ต้องเป็นไปตามลำดับ ครับ

ดิฉันเห็นด้วยกับทุกความคิดเห็น เพราะดิฉันทำงานที่รพ.จะพอเห็นภาพความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่ไม่เข้าใจกัน ทำให้ผู้ป่วยจะมารพ.ด้วยปัญหาิเดิมๆ

บันทึกนี้กลายปีแล้วแต่ยังทันเหตการ

ความรุนแรงในครอบครัว พม ตื่นตัว รุกให้ ศพค ปฎิบัติการ ไอโอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท