หลักสูตรนี้น่าสนใจ...


ความยุติธรรมที่เนิ่นนานยังไม่ใช่ความยุติธรรมเลย

"คิดว่าความยุติธรรมมีจริงไหม๊?..." ประโยคคำถามที่ถามผมเมื่อวานจากเพื่อนอาจารย์ท่านนึงซึ่งเป็นทั้งเพื่อนทั้งพี่ชายและพี่ชายของเพื่อน อิอิ ผมเลยตอบกลับว่า "หากถามหาความยุติธรรมจากมนุษย์อย่างเราๆหละก็คงยากมากที่จะได้ความยุติธรรมร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ ณที่ของพระผู้เป็นเจ้าแล้วมันมากกว่าคำว่ายุติธรรม ผมให้เหตุผลว่าขนาดที่มนุษย์อย่างเราคิดว่าการให้ความยุติธรรมที่ผ่านกระบวนการต่างๆจนเนิ่นนานมันหมายถึงความไม่ยุติธรรมเลย เพราะมันคือเหตุผลของการยื้อเวลามากกว่า..." (ประโยคเริ่มของการพูดคุยของที่มาของบันทึกนี้ครับ)


     การเิ่ริ่มต้นพูดคุยเมื่อวานก็นำไปสู่การให้ข้อชวนคิดสำหรับผมนับเป็นความท้าทายเอามากๆโดยท่านแซวเล่นๆครับว่าไปสอนภาษาไทยสมานฉันท์ดีกว่าไหม๊ ผมขำแล้วตอบกลับไปว่า ผมคิดหักสูตรไว้เรียบร้อยครับ หลักสูตรที่ว่าก็คือ “ศศ.บ.(ภาษาไทยเพื่อความสมานฉันท์) และ กศ.บ.(การสอนภาษาไทยเพื่อความสมานฉันท์) ถามว่าแล้วทุกวันนี้วิชานี้ไม่สมานฉันท์หรือ มันก็สมานฉันท์ครับแต่มันจะสมานฉันท์ยิ่งกว่าหากเราเอาศาสนานำหลักสูตร เช่น แทนที่จะพูดว่า “หายไวๆนะ” ก็เปลี่ยนเป็น “ดีขึ้นเรื่อยๆนะ” หรือ “คนไทยพุทธ คริสต์ อิสลาม” ก็เปลี่ยนเป็น “พี่น้องไทยพุทธ คริสต์ อิสลาม” เหล่านี้เป็นต้น  เหตุผลเพราะว่าทุกคนก็เป็นพี่น้องกันมีพระเจ้าร่วมกันมีพี่ชายร่วมกันในมิติต่างความเข้าใจ <p style="text-align: justify;">     คิดเสร็จก็ขำกับตัวเองครับว่าเพ้อฝันอะไรไปไหม๊ ผมตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้ว่าถ้าเปิดคนสอน และ คนเรียนก็คงจะเป็นผมในคนเดียวกัน อิอิ แต่ผมอยากจะนำเสนออย่างหนึ่งครับว่า การสอนภาษาไทยในลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้นมีจริงครับในมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และผมก็เชื่อว่าการสอนภาษาไทยในสถาบันแห่งนี้แตกต่างจากการสอนภาษาไทยจากที่อื่นค่อนข้างมาก การทำลายกำแพงของความเข้าใจของภาษาในพื้นที่คือการเข้าใจคำว่า “ศาสนา” อย่างหนึ่ง เพราะเราเชื่อในวจนะของพระเจ้าที่ทรงสั่งสอนคือความสัจจริง ที่ว่า “ผู้รู้ที่แท้จริงคือผู้ที่ยอมรับในความแตกต่างของภาษา สีผิว และเชื้อชาติ…” (ซูเราะฮฺอัรรูม อายะฮฺที่ ๒๒)</p> <p style="text-align: justify;">      สิ่งที่อยากชวนคิดคือ…เป็นไปได้ไหม๊ครับถ้าสังคมบ้านเราเอาศาสนา(ความถูกต้อง ยุติธรรม และสัจจริง) นำการเมือง  และพร้อมที่จะใช้หลักสูตร ศาสนานำวิชาความรู้(ทุกเนื้อหาสาระ) อย่างถ่องแท้ (วัลลอฮฺอะลัม)</p> <p style="text-align: justify;">      แค่อยากยืนหยัดและหยัดยืน…ให้กำลังใจสำหรับทุกคนที่พร้อมจะสรรค์สร้างบ้านเมืองครับ</p> <p style="text-align: justify;"> </p> <p style="text-align: center;"></p>

หมายเลขบันทึก: 307312เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 08:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ถูกต้องที่สุดครับอาจารย์

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำตอบของอาจารย์

"การทำลายกำแพงของความเข้าใจของภาษาในพื้นที่คือการเข้าใจคำว่า "ศาสนา" อย่างหนึ่ง เพราะเราเชื่อในวจนะของพระเจ้าที่ทรงสั่งสอนคือความสัจจริง ที่ว่า "ผู้รู้ที่แท้จริงคือผู้ที่ยอมรับในความแตกต่างของภาษา สีผิว และเชื้อชาติ..." (ซูเราะฮฺอัรรูม อายะฮฺที่ ๒๒)"

 

ขอบคุณมากครับ

30

ไม่แสดงตน

       คำตอบของทุกเรื่องราวมันจะชัดครับถ้าเราเอา "ศาสนานำสู่คำตอบ" วัลลอฮฺอะลัมครับ ขอเป็นกำลังใจในการทำงานครับ

สวัสดีค่ะ

  • ขอเป้นกำลังใจค่ะ
  • สมัยนี้...เด็กขั้นพื้นฐานก็อ่อนแอภาษาไทยค่ะ

ขอบคุณมากครับ

P

ครูคิม

          เด็กแทบทุกระดับครับอ่อนแอเรื่องนี้...สงสัยคงต้องรื้อระบบการจัดการสอนใหม่ผลิตและพัฒนาครูภาษาไทยอย่างเป็นรูปธรรมซะที

 ขอเป็นกำลังใจให้เช่นกันครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ชอบแนวคิดการสอนภาษาไทยเพื่อความสมานฉันท์มากค่ะ เข้าใจเขาเข้าใจเราน่าจะทำให้สังคมดีขึ้นด้วยค่ะ ใช้ได้ทั้งระดับภูมิภาคและนานาชาติ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับ

P

อาจารย์ อ้อม ฐิติรัตน์ สุวรรณสม

      หากสนใจหลักสูตรนี้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ครับ เผื่ออาจมีอะไรได้ร่วมนำร่องร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร กับ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ด้วยความยินดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท