แนวคิดของการเรียนรู้และการทำงานในยุคเทคโนโลยี


ผู้เรียนยุค 2001

       แนวคิดของการเรียนรู้และการทำงานในยุคเทคโนโลยี

             ผมได้มีโอกาสอ่านเอกสารฉบับหนึ่ง  ซึ่งเป็นบทสรุปจากงานวิจัยของ  enGauge ซึ่งคุณหญิงกษมา  วรวรรณ   ณ  อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้กรุณามอบให้เป็นแนวคิดในการจัดทำเกณฑ์การพัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล   ซึ่งเนื้อหาสาระเป็นการนำเสนอทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต  การเรียนรู้และการทำงานในยุคเทคโนโลยี  (enGauge)  21 st  Centyry  Skills  For 21 st  Century  Learners)   ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่ง  สำหรับผู้เรียนที่ต้องอาศัยทักษะด้านเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ไปสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษ ที่  21  อย่างยิ่ง  ได้แก่

   1. การรู้หนังสือในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Digital  -Age Literacy)

       - การรู้หนังสือพื้นฐาน  (Basic  Literacy)

       -การรู้หนังสือทางวิทยาศาสตร์  (Scientific  Literacy)

       -การรู้หนังสือทางเศรษฐศาสตร์ (Economic  Literacy)

       -การรู้หนังสือด้านเทคโนโลยี  (Technological  Literacy)

       -การรู้หนังสือด้านทัศนศิลป์ (Visual  Literacy)

       -การรู้หนังสือด้านข่าวสารข้อมูล  (Information Literacy)

      - การรู้หนังสือด้านพหุวัฒนธรรม  (Multi-Cultural  Literacy)

       -ความเข้าใจในสังคมโลก  (Global  Awareness)

   2. กระบวนการคิดเชิงประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์  (Inventive)

       - ความสามารถในการปรับตัวและจัดการกับสิ่งที่ซับซ้อน  (Adaptability/Managing  Complexity)

       -ความสามารถที่จะกำหนดเป้าหมายของตนเอง  (Self-Direction)

       -ความสนใจใฝ่รู้  (Curiosity)

       -ความคิดสร้างสรรค์  (Creativity)

       -ความกลัวที่จะเสี่ยง  (Risk  Taking)

       -ความคิดในระดับสูงและความมีเหตุผล  (Higher-Order  Thinking  and Sound Reasoning)

 

     3. การสื่อสารอย่างได้ผล  (Effective  Communication)

       -การทำงานเป็นทีม  (Teaming  and  Collaboration)

       -มนุษยสัมพันธ์  (Interpersonal  Skills)

       -ความรับผิดชอบส่วนตน  (Personal  Responsibility)

       -ความรับผิดชอบต่อสังคมและความเป็นพลเมืองดี (Social and  Civic Responsibility)

        -การสื่อสารระหว่างบุคคล  (Interactive  Communication)

     4. การมีผลิตภาพที่สูง  (High  Productivity)

        - การจัดลำดับ  การวางแผน และการบริหารเพื่อผลลัพธ์ (Prioritizing ,Planning and  Managing  For Results)

        -ความสามารถที่จะใช้เครื่องมือที่เป็นปัจจุบันในโลกแห่งความเป็นจริง (Effective Use  Of Real-World Tools)

        -ความสามารถที่จะผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูงและมีความหมาย  (Ability to Produce  Relevant ,High-Quality Products)

      จากสาระดังกล่าวข้างต้นผมเห็นว่า  หากครูทุกคนมีความมุ่งมั่นในการจัดการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายและให้ความสำคัญในรายละเอียดที่ผู้เรียนจะได้รับเพื่อใช้เข้าได้รับรู้สิ่งที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นคนคุณภาพในวันนี้และในอนาคต  ซึ่งสัมผัสได้อย่างแท้จริง  ….ขอขอบพระคุณท่านเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่ช่วยชี้ทางสว่างให้เกิดขึ้นในการจัดการศึกษาของพวกเราอีกเรื่องหนึ่งครับ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 306526เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณครับที่เผยแพร่สิ่งดี ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท