ความหมายของอานาปานสติ


อานาปานสติ ถือเป็นกรรมฐานสำคัญมากค่ะ มีอานิสงส์ถึงขั้นบรรลุ มรรค ผล นิพพาน นั้นเลยทีเดียว เหตุก็เพราะเป็นทั้งการเจริญสมถะ และวิปัสสนาไปในตัว

ท่านพุทธทาสกล่าวยกย่องการเจริญสติปัฏฐานตามที่ปรากฏในอานาปนสติสูตรว่าสมบูรณ์ที่สุดค่ะ ท่านว่าสมบูรณ์กว่าในมหาสติปัฏฐานที่คนทั่วไปยกย่องกัน เหตุก็เพราะ การปฏิบัติตามที่กล่าวไว้ในอานาปนสติสูตรนี้ เป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่ต้นจนปลาย (1) แถมยังไม่ต้องเตรียมการมากมายเหมือนกรรมฐานอื่น (เช่น การเพ่งกสิณที่ต้องทำดวงกสิณสำหรับเพ่ง)

ท่านยังแสดงความแปลกใจที่ไม่ค่อยจะมีใครสนใจการปฏิบัติสติปัฏฐานตามอานาปนสติสูตรนี้ แต่กลับไปสนใจอานาปานสติที่ไม่สมบูรณ์ตามปรากฏในพระสูตรอื่น เช่น ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น (2)

อานาปานสติ มีคำแปลแพร่หลายได้ 2 แบบค่ะ คือ

1 สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

2 สติกำหนดที่ ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก

อย่างที่ 2 นี้ คือหลักที่ท่านพุทธทาสยึดถือ และเห็นว่าถูกต้อง (3)

ตามความหมายที่ท่านพุทธทาสเห็นว่าถูกต้องนี้ ก็แสดงว่า เมื่อเรานึกถึงอะไรอยู่ พิจารณาอะไรอยู่ รู้สึกอะไรอยู่ ทุกครั้งที่ลมหายใจเข้าออกแล้ว ก็เรียกว่าอานาปานสติทั้งหมด เพียงแต่ต้องควบคุมการนึกคิดนั้นด้วย ให้การนึก หรือการระลึก หรือการรู้สึกนั้นเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งที่หายใจเข้าออก (4)

อันที่จริง แปลอย่างที่สอง ก็ครอบคลุมคำแปลที่หนึ่งอยู่แล้วค่ะ เพราะ ธรรม มี 4 ความหมาย หนึ่งคือธรรมชาติ หรือคือ ทุกสิ่ง สองคือกฎธรรมชาติ สามคือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ และสี่ คือผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ (5)

ดังนั้น ลมหายใจ อันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ก็จัดรวมอยู่ในความหมายของธรรมอยู่แล้ว ถ้าจะยึดแปลแค่คำแปลที่ 2 ก็ไม่ถือว่าตกหล่นคำแปลที่ 1ไปแต่อย่างใด แถมยังให้ความหมายที่กว้างขวางกว่า เพราะสติไม่ได้กำหนดที่ลมหายใจเพียงอย่างเดียว แต่กำหนดถึงเรื่องอื่นๆ คือ ร่างกาย เวทนา จิต และ ธรรม ด้วย

สำหรับการเตรียมตัวเพื่อฝึกปฏิบัตินั้น มีการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆดังนี้

เตรียมสิ่งแวดล้อม คือหาโอกาส เวลา และสถานที่ที่เหมาะเท่าที่จะหาได้ ไม่จำเป็นว่าจะเป็นที่ไหน เมื่อไหร่ ขอเพียงมีใจคิดอยากฝึก และพอมีเวลาอยู่บ้าง ก็ฝึกได้เลย บ้าน หรือสถานที่อึกทึกก็สามารถฝึกได้

เตรียมร่างกาย ร่างกายต้องไม่ร้อน ไม่หนาว ไม่เหนื่อยเกินไป และอาจมีการเตรียมจมูกด้วย โดยใช้น้ำล้างจมูกเพื่อให้จมูกโล่ง (6)

เตรียมอารมณ์ เรื่องใดที่รบกวนจิตใจหรือ ปลิโพธ (7) ต้องสลัดมันทิ้งไปเสียก่อน

เตรียมท่าปฏิบัติ ท่าปฏิบัติที่เหมาะที่สุดคือท่านั่งขัดสมาธิ เพราะมั่นคง ไม่ล้มง่าย จึงควรฝึกนั่งขัดสมาธิไว้ แต่ถ้าไม่สะดวก จะเป็นท่าใดก็ได้ ไม่ว่านั่ง ยืน นอน เดิน เพียงแต่ไม่สะดวก และไม่สามารถทำได้ละเอียดเท่าท่านั่ง (8)

และเมื่อเริ่มปฏิบัติ ควรเริ่มด้วย การลืมตาเพ่งปลายจมูก เพื่อตาจะได้ไม่ร้อน และบังคับจิตได้ดีกว่า แต่พอจิตเริ่มเป็นสมาธิ ตาก็จะหลับไปเอง (9)

มาฝึกอานาปานสติในท่านั่งสมาธิกันเถอะค่ะ เพราะการตั้งสติกำกับกาย เวทนา จิต ธรรม ในขณะปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวันเพียงอย่างเดียวนั้น อาจไม่เพียงพอเนื่องจากมาความละเอียดน้อยกว่าขณะนั่งเพื่อฝึกโดยเฉพาะ

ทั้งนี้ก็เพื่อจิตที่ค่อยๆสงบมากขึ้นเรื่อยๆของเรานั้นเอง และเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกอานาปานสติในทุกอิริยาบทด้วยค่ะ (ยังมีต่อ)

.......................................

ส่วนอ้างอิง

(1) นี่จึงให้เข้าใจไว้ ถ้าจะดับทุกข์ หรือออกจากกองทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะสมาทานสัมมาทิฏฐิแล้ว ก็จงประพฤติอานาปนสติทั้งสี่หมวดนี้ให้สมบูรณ์ อานาปนสติจึงเป็นพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ทั้งในแง่ของปริยัติ ทั้งในแง่ของปฏิบัติ และทั้งในแง่ของปฏิเวธ คือในการศึกษาเล่าเรียน ก็เรียน ให้รู้เรื่องอานาปานสติ ในการปฏิบัติก็ปฏิบัติอานาสติ ได้รับผลของการปฏิบัติก็คือรับผลการปฏิบัติอานาปานสติ จึงจะเป็นการรับผลที่สมบูรณ์ เพราะเอาพระพุทธศาสนาทั้งหมดทั้งสิ้น คือทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ นี้มารวมอยู่ในเรื่องของอานาปานสติทั้ง 16 ขั้น

พุทธทาสภิกขุ อานาปนสติ การหายใจที่ดับทุกข์ได้ ธรรมสภา 1 /4-5 ถนนบรมราชชนนี 119 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทะมหานคร 10170 (หน้า 20-21)

(2)...ที่กล่าวไว้ในที่อื่นซึ่งไม่สมบูรณ์แบบ แม้ที่กล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ยังกล่าวเพียงตอนเดียว คือตอนต้นๆระยะที่กำหนดลมหายใจเท่านั้น ส่วนที่กล่าวไว้ในอานาปานสติสูตรนี้ เป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่ต้นจนปลาย แม้จะมีกล่าวไว้ที่อื่นอีกบ้าง ก็ไม่มากไปกว่านี้ เพราะฉะนั้นจึงถือเอาแนวสังเขปของอานาปานสตินี้ จากพระสูตรชื่อนี้โดยตรง ซึ่งน่าประหลาดที่ว่าไม่ค่อยจะมีใครสนใจ กลับไปสนใจอานาปานสติที่กระท่อนกระแท่นในที่อื่น เช่น ในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้โดยละเอียดไม่จำเป็นจะต้องทำสำหรับผู้ปฏิบัติ คงถือเอาได้เป็นแนวที่มีอยู่ในอานาปานสติสูตรนั้น โดยไม่มีปัญหาอะไร

พุทธทาสภิกขุ อานาปานสติสมบูรณ์แบบ ธรรมสภา 1 /4-5 ถนนบรมราชชนนี 119 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทะมหานคร 10170 (หน้า 6)

(3) อย่างหนึ่งแปลว่า สติกำหนดลมหายใจเข้าออก นี้แปลกันทั่วไปกระทั่งในต่างประเทศ อีกอย่างหนึ่ง อานาปนสติ แปลว่า สติกำหนดที่ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก นี้คือหลักที่ผมยึดถือ และเห็นว่าถูกต้อง

พุทธทาสภิกขุ อานาปานสติสมบูรณ์แบบ (หน้า 6)

คำว่า อานาปานสติ แยกออกได้เป็น 3 ศัพท์ ได้แก่ อานะ ศัพท์หนึ่ง อปานะ ศัพท์หนึ่ง สติ ศัพท์หนึ่ง

อรรถกถาพระวินัยแปล อานะ ว่าหายใจออก แปลอปานะ ว่าหายใจเข้า ส่วนอรรถกถาพระสุตร แปล อานะ ว่าหายใจเข้า แปล อปานะ ว่า หายใจออก ฉะนั้น ใครจะชอบแปลแบบไหนก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นความผิด ท่านอาจารย์พุทธทาสแปลตามอรรถกถาพระวินัย ข้าพเจ้าเองถนัดตามอรรถกถาพระสูตรมากกว่า

คำว่า อานะ เรียกว่า อัสสาสะ อปานะ เรียกว่า ปัสสาสะ ก็ได้

สติ แปลว่า ความระลึกได้ หรือความไม่เผลอ.....

พระคัมภีรญาณ อภิปุญฺโญ อานาปานสติ คือทางสู่พระนิพพาน ธรรมสภา 1 /4-5 ถนนบรมราชชนนี 119 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทะมหานคร 10170 (หน้า 8)

(4) เมื่อนึกถึงอะไรอยู่ คิดถึงอะไรอยู่ พิจารณาอะไรอยู่ รู้สึกอะไรอยู่ ทุกครั้งที่ลมหายใจเข้าออกแล้ว มันเรียกว่าอานาปานสติทั้งนั้น แต่หมายความว่าต้องควบคุมมันด้วย ให้การนึกหรือการระลึก หรือการรับรู้สึกนั้นเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งที่หายใจเข้าออก

พุทธทาสภิกขุ อานาปานสติสมบูรณ์แบบ (หน้า 7)

(5) "ธรรมในพุทธศาสนา เมื่อกล่าวตามหลักแห่งพุทธศาสนา คำว่า ธมฺม ในภาษาบาลี ย่อมเล็งถึงของทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่ยกเว้นอะไร และแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1ตัวธรรมชาติ หรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติทั้งหมด เรียกว่า สภาวธัมม์

2 กฎของธรรมชาติทั้งหมด เรียกว่า สัจจธัมม์

3หน้าที่ของมนุษย์ตามกฎธรรมชาติ เรียกว่า ปฏิปัตติธัมม์

4ผลที่ได้รับจากการทำหน้าที่ เรียกว่า วิปากธัมม์

พุทธทาสภิกขุ การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ธรรมสภา 1 /4-5 ถนนบรมราชชนนี 119 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 (หน้า 14)

(6) สูดน้ำเข้าไป เอาน้ำใส่ใจกลางมือ สูดเข้าไปแล้วสั่งออกมา ก็สูดเข้าไปแล้วสั่งออกมา ก็ทำให้จมูกดี ดีกว่าธรรมดาสำหรับที่จะทำอานาปานสติ

พุทธทาสภิกขุ อานาปนสติ การหายใจที่ดับทุกข์ได้ หน้า ๒๓

(7) ปลิโพธ แปลว่า เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวซึ่งเป็นเหตุให้ใจพะวักพะวน ห่วงกังวล ไม่ปลอดโปร่ง แปลง่ายๆว่า ความกังวล เมื่อมีปลิโพธก็จะทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าไปได้ยาก ไม่อำนวยแก่การเกิดสมาธิ จึงต้องกำจัดเสีย ปลิโพธมี 10 อย่างคือ

3.1.1 ที่อยู่ หรือ วัด ตนมีของใช้เก้บสะสมไว้มาก หรือมีงานอะไรค้างอยู่ เป็นกังวล แต่ถ้าไม่ผูกพันก็ไม่เป็นไร

3.1.2 ตระกูล คือตระกูลญาติ หรือตระกูลอุปัฏฐาก ซึ่งสนิทสนม ห่างไปใจคอห่วง ควรทำใจให้ได้

3.1.3 ลาภ เช่น มีคนเลื่อมใสมาก มาหา มาถวายของ มัววุ่นอยุ่ ไม่เป็นอันปฏิบัติ ควรปลีกตัวไปหาที่สงัด

3.1.4 คณะ เช่น มีคณะศิษย์ที่ต้องสอน ยุ่งอยู่กับงานสอนและแก้ความสงสัย ควรทำให้เสร็จในเรื่องที่ค้าง หรือหาคนแทน เป็นต้น และขอโอกาสลาไป

3.1.5 กรรม คือ การงาน โดยเฉพาะนวกรรม (การก่อสร้าง) ควรทำให้เสร็จ หรือมอบหมายแก่ใครให้เรียบร้อย

3.1.6 อัทธานะ คือ การเดินทางไกลด้วยิจธุระ เช่น ไปบวชพระเณร พึงทำเสียให้เสร็จหมดกังวล

3.1.7 ญาติ ทั้งญาติทางบ้านและทางวัด (อุปัชฌาย์ อาจารย์ ศิษย์ เพื่อนศิษย์) เจ็บป่วย ต้องขวนขวายรักษาให้หายจนหมดห่วง

3.1.8 อาพาธ คือตนเองป่วยไข้ รีบรักษาให้หาย ถ้าดูท่าจะไม่ยอมหาย ให้ทำใจสู้ว่า ฉันจะไม่ยอมเป็นทาสแกนะ จะปฏิบัติละ

3.1.9 คันถะ คือริยัติ หรือสิ่งที่เล่าเรียน เป็นปลิโพธสำหรับผู้วุ่นกับการรักษาความรู้ เช่น สาธยาย เป็นต้น ถ้าไม่วุ่นก็ไม่เป็นไร

3.1.10 อิทธิ คือฤทธิ์ของปุถุชน เป็นภาระในการรักษา แต่เป็นปลิโพธสำหรับผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเท่านั้น ไม่เป็นปลิโพธแก่การเจริญสมาธิโดยเฉพาะ เพราะผู้ที่เจริญสมาธิยังไม่มีฤทธิ์ที่จะห่วง

รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม การฝึกสมาธิ สำนักพิมพ์ดับเบิ้ลนายน์ 21/10 หมู่ 8 ซอยวัดตะโน ถนนพานิชยการธนบุรี (จรัลสนิทวงศ์ 13) บางแวก ภาษีเจริญ กรุงเทพ 10160 พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2547 (หน้า 23)

(8) ข้อนี้บางคนไม่เข้าใจว่า ในอิริยาบถเดินเป็นต้น จะทำสมาธิได้อย่างไร ก็ลองไปทำดู ทำสมาธิอย่างอานาปนสติภาวนา แล้วก็เดินช้าๆพอสมควร ก็สามารถจะทำได้ แต่ก็นั่นแหละ จะให้สะดวก ให้ได้ผลดี เท่ากับท่านั่งนั้นไม่ได้ แต่ว่าเมื่อทำได้แล้วอาจจะรักษาไว้ได้ รักษาความรู้สึกอันนั้นไว้ได้ในทุกอิริยาบถ คือความเป็นสมาธิแม้ในชั้นที่เรียกว่า จตุถฌาน ก็ยังทำได้ในทุกอิริยาบถ

พุทธทาสภิกขุ อานาปนสติ การหายใจที่ดับทุกข์ได้ (หน้า 9)

(9) เพื่อตาไม่ร้อน และบังคับจิตได้ดีกว่า แล้วก็รู้เถอะว่า พอมันเป็นสมาธิ พอมันเริ่มเป็นสมาธิ เข้าถึงขั้นที่เป็นสมาธิแล้ว มันหลับของมันเอง ตามันหลับของมันเอง แม้ว่าเราจะตั้งต้นด้วยการลืมตา ในที่สุดมันก็หลับของมันเอง (หน้า 30)

.......ลองดูซิ ลืมตาแต่มองอยู่ที่ปลายจมูก มันก็ไม่เห็นอะไร มันมีผลเท่ากับหลับตาครึ่งหนึ่งแล้ว แล้วมันบังคับจิตแรงกว่าที่จะหลับตา แล้วโดยมากหลับเลย ง่วงเลยหลับไปเลย ถ้าตั้งต้นด้วยหลับตามักจะง่วงและหลับไปเลย มันก็ล้มละลาย ถ้าตั้งต้นด้วยการหลับตา (หน้า ๓๑)

พุทธทาสภิกขุ อานาปนสติ การหายใจที่ดับทุกข์ได้ (หน้า 31)

หมายเลขบันทึก: 306011เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2009 06:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

ขอบพระคุณความรู้ "อานาปนสติ" ในยามเช้าที่สดใสของวันค่ะ...ภาพกล้วยไม้สีสวยงามมากค่ะ...กลืนกับธรรมชาติยามเช้าค่ะ

สวัสดีค่ะ

      ขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่เป็นประโยชน์ 

ธรรม” มี 4 ความหมาย หนึ่งคือธรรมชาติ หรือคือ “ทุกสิ่ง” สองคือกฎธรรมชาติ สามคือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ และสี่ คือผลที่เกิดจากการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ"

                           

มาทักทายสวัสดีและขออนุโมทนาครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายน้องณัฐตอนเช้าค่ะ

ตอนนั่งสมาธิก็กังวลเรื่องงานนี่แหละค่ะ

แต่ก็กำหนดได้

ยากตรง "เตรียมอารมณ์" หรือ " ปลิโพธ " นี่แหละครับ

  • มารับธรรมค่ะ ขออนุโมทนาบุญในการเผยแพร่ธรรมด้วยค่ะ

มาชม

มองแล้วเห็นเป็นธรรมะ แห่งกาย เวทนา จิต ธรรม...ดีจังนะนี่...

  • แวะมาทักทายก่อนไปทานข้าวเที่ยงค่ะ คุณณัฐรดา
  • เอ่อ ไม่ทราบว่า ๒-๓ วันก่อนได้ใช้เบอร์ ๐๓๘- โทรฯ เข้ามารึเปล่าค่ะ? มี sms เข้ามาบอกค่ะ พอดีว่าใช้มือถือต่อเนทค่ะ บางทีจะติดต่อไม่ค่อยได้ค่ะ
  • ต้องขอโทษด้วยนะค่ะ ^^"

ขอบพระคุณสำหรับภาพสวยๆ กับวิธีการฝึกอานาปนสตินะคะ

คืนนี้ก่อนนอนจะลองปฎิบัติตามแนวทางที่คุณณัฐรดาแนะนำไว้ค่ะ

  • ตามมาเรียนรู้ธรรมดีๆ
  • ขอบคุณมากค่ะ

ปลิโพธ ทำไม่ค่อยได้ ยังตัดไม่ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับธรรมะ ข้อคิดดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะ...นำดอกไม้มาฝาก จะได้สดชื่นในตอนเช้าค่ะ

สวัสดีค่ะ...แวะมารายงานผลการนั่งสมาธิให้อาจารย์รับทราบค่ะ

เมื่อคืนลองนั่งสมาธิดูแล้ว ก็สงบได้เป็นพักๆ ซักพักหนึ่งใจก็จะแว้บไปคิดเรื่องอื่น...ต้องมีสติรู้ว่าคิด

แล้วก็ดึงกับมาอยู่กับลมหายใจค่ะ...คงต้องฝึกไปเรื่อยๆ

นั่งสมาธิก่อนนอนแล้วหลับสนิทค่ะ...แต่ว่าพอดีเมื่อคืนอยู่เวร โดนปลุกตอนตีสาม...ตอนนี้ยังง่วงนอนอยู่เลย

แต่ว่าใจไม่หงุดหงิดนะคะ ^-^

สวัสดีค่ะ คุณณัฐรดา ขอบคุณที่นำธรรมมาให้เรียนรู้พร้อมอ้างอิง

"การหายใจที่ดับทุกข์ได้" ยากเหมือนกัน อยากทำได้ค่ะ

ขอบคุณนะคะสำหรับข้อแนะนำ

เมื่อคืนดาวกะพี่นก (giant bird) มีโอกาสไปงานกฐินวัดป่าหนองไคร้ค่ะ...ตอนพระอาจารย์ท่านเทศนาก็พยายามนั่งสมาธิฟังเทศน์ไปด้วย รู้สึกจิตใจสงบดี อยู่กับลมหายได้นาน อาจจะเป็นเพราะเราต้องจดจ่อกับการฟังเทศน์ด้วยก็ได้มั้งคะ

ไว้ก้าวหน้าอย่างไรจะมารายงานผลให้ทราบเป็นระยะๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • สาธุค่ะ...มาทักทายและอนุโมทนาค่ะ
  • มาเติมสติปัญญาและ
  • ขออนุโมทนาด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

มารับความรู้และอนุโมทนาด้วยค่ะ

ภาพงดงามมาก ๆ ค่ะ

(^___^)

http://gotoknow.org/blog/yatsamer/306811

 มาทักทายถวายบุญด้วยครับ มาชวนไปชมการ์ตูนเพื่อเกลอเก่าครับ

paint

...ดอกใบกิ่งก้านหรู                 ม่วงพธูหวานหวำหวาม

เพริดพริ้งเฉิดฉายงาม               ฟ้าเขียวครามขับแสงนวล

 

ธรรม-บุปผาชาติ                      แต่งแต้มวาดระลึกหวน

สัจจะชีวิตล้วน                        ผลิบานดับ..ลับ"สวนใจ"

สวัสดีค่ะคุณน้า

หนูได้ฝึกสมาธิก่อนนอนค่ะ  และทุกเวลาหากรู้ตัวคุณครูบอกว่า

ให้พยายามฝึกลมหายใจเข้าออกบ้ง  และให้ฝึกทำบ่อย ๆ หนูจะพยายามค่ะ

คุณครูบอกว่าเมื่อเติบโตขึ้นจะได้เข้าใจดี

ขอขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณทุกท่านเลยค่ะที่แวะมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องนัท ยินดีด้วยนะคะที่นำธรรมาใช้ในชีวิตตั้งแต่ยังเด็กค่ะ

มาแก้ไขตัวอักษรเล็กน้อยค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาตามคำเชิญค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้มากมายค่ะ

ครูใจดี ยังต้องศึกษาอีกเยอะ... ค่อยๆ ศึกษา ค่อยปฏิบัติค่ะ ปฏิบัติแล้วจิตใจชุ่มเย็น เกิดปิติ

สิ่งที่นำพาครูใจดีมามาใน Gotoknow  ก็เพราะเกิดความประทับใจจากการได้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน นี่แหละ.... เป็นจุดเริ่มต้นของการเขียนบันทึกค่ะ   หากมีเวลา เชิญไปที่บันทึก

"เมื่อฉันไปปฏิบัติธรรมวิปัสนากรรมฐาน"   http://gotoknow.org/blog/pink-diary1/262090

และเมื่อเดือนก่อน บันทึกเรื่อง  "สร้างคุณภาพชีวิตด้วยการเจริญภาวนา"  http://gotoknow.org/blog/pink-diary1/333350

เผื่อว่าคุณณัฐรดา จะมีข้อคิดดีๆ ที่จะให้คำแนะนำครูใจดี เพราะประสบการณ์น้อย ค่อยๆ ศึกษาอยู่ค่ะ

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ ค่ะ

    

 

กำลังศึกษา คู่มืออานาปานสติภาวนา อย่างสมบูรณ์แบบของท่านพุทธทาส ตั้งแต่เริ่มอ่านก็ฝึกกำหนดลมหายใจตามที่ได้อ่านตามไปด้วย ได้ผลดีมากครับ มีสติ และสมาธิ ระหว่างวันดีมาก ๆ และตอนก่อนนอน ก็นั่งสมาธินิ่งได้เร็วดีมาก (คาดว่าเนื่องมาจากมีฐานดีมาจาก อานาฯ ระหว่างวันอยู่แล้ว) ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่มาแชร์กันครับ

ตามมาอ่านวิธีปฏิบัติแบบอานาปานสติครับ

ว๊าว เพิ่งรู้ว่าคุณมาเขียนในนี้ด้วยนะครับ

ผมไม่ได้เข้ามานานแล้ว ระยะหลังไม่ได้เข้าเลยเกือบปีแล้วครับ

ผมมีอานาปนสติที่บวกกับเคล็ดวิชาเรียบร้อยแล้ว และได้ผลด้วย แบบเข้าฌานในลมหายใจได้เดี๋ยวนั้นเลยครับ

เดี๋ยวว่าง ๆ จะเอาเคล็ดวิชามาบอกเล่าให้ฟังครับ

อานาปนสติ มีรับรองในพระไตรปิฏก ไว้อย่างชัดเจน

ว๊าว เพิ่งรู้ว่าคุณมาเขียนในนี้ด้วยนะครับ

ผมไม่ได้เข้ามานานแล้ว ระยะหลังไม่ได้เข้าเลยเกือบปีแล้วครับ

ผมมีอานาปนสติที่บวกกับเคล็ดวิชาเรียบร้อยแล้ว และได้ผลด้วย แบบเข้าฌานในลมหายใจได้เดี๋ยวนั้นเล

เดี๋ยวว่าง ๆ จะเอาเคล็ดวิชามาบอกเล่าให้ฟังครับ

ถ้าก้าวล่วงนิวรณ์ไม่ได้

ก็ยากนักที่จิตจะเป็นสมาธิ

ไม่ว่าจะใช้วิธีฝึกอย่างไร

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท