“ โรงเรียนชาวนา มูลนิธิข้าวขวัญ ค้นพบเทคนิคการควบคุมวัชพืชในนาข้าวแบบหว่าน นำตรม โดยการไม่ใช้สารเคมี”
เก็บปัญหามาแก้ไข
โรงเรียนชาวนาของมูลนิธิข้าวขวัญ
ซึ่งเปิดทำการสอนกับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกร ลด ละ เลิก
การใช้สารเคมีในการเกษตร
ลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม
ลดหนี้สิน และสามารถพึ่งพาตนเองได้
หลักสูตรที่ใช้มี 3 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรแรกเรียนเรื่องการจัดการศัตรูพืชโดยระบบชีววีธี
หลักสูตรนี้นักเรียนชาวนาเขาได้เรียนรู้ถึง
พิษภัยและอันตรายของสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
เทคนิคและความรู้ที่นักเรียนชาวนาจะต้องเรียนรู้ได้แก่พืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น
เพื่อนำมาใช้ทดแทนสารเคมีที่เคยใช้
ร่วมทั้งการเรียนรู้ถึงระบบนิเวศน์
ประเภทและชนิดของแมลงที่อยู่ในแปลงนา
ปล่อยให้แมลงในแปลงนาควบคุมกันเอง
หลักสูตรที่สองการปรับปรุงบำรุงดิน
นักเรียนชาวนาได้เรียนรู้ถึง ประโยนช์ของอินทรียวัตถุ
ที่มีในท้องถิ่น
เริ่มที่การไม่ทำลายอินทรียวัตถุไม่เผาฟาง
ใช้จุลินทรีย์ น้ำหมักฮอร์โมนสูตรต่าง ๆ
ใช้ลาดและฉีดพ่นแปลงนา
ส่วนหลักสูตรที่สามนั้น
เรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
ในหลักสูตรนี้นักเรียนชาวนาได้เรียนรู้ถึงการคัดเลือกและการเพาะปลูกข้าวจากข้าวกล้อง
เพื่อนำไปปลูกเป็นข้าวพันธุ์ต่อไป
ในหลักสูตรนี้นักเรียนชาวนาได้เรียนรู้ถึงวิธีการผสมพันธุ์ข้าว
เพื่อการพัฒนาข้าวให้ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ตามที่ต้องการ
การพัฒนาพันธุ์ข้าวนั้นเป้าหมายเพื่อว่าเมื่อมีข้าวสายพันธุ์ที่ดีที่ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี
มีความต้านทานโรคแมลง และเป็นพันธุ์ที่คุณภาพดี
จากหลักสูตรโรงเรียนชาวนาของมูลนิธิข้าวขวัญ
ดูเหมือนว่าไม่มีสารเคมีในเส้นทางการทำนา
แต่รูปแบบและวิธีการทำนาที่ต้องทำนาแบบหว่านน้ำตรมนั้น
ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาสารกำจัดวัชพืชอยู่
การทำนาที่ไม่ใช้สารกำกัดวัชพืชนั้นมีอยู่วิธีเดียวคือการทำนาดำ
ซึ่งเป็นวิธีกรทำนาที่เคยทำมาในสมัยก่อน ที่อาศัยน้ำฝน
ใช้แรงงานการเตรียมดินจากควาย
ใช้แรงงานการปักดำจากสมาชิกในครอบครัวเพราะคนในสมัยนั้นอยู่กันแบบครอบครัวใหญ่และมีลูกมาก
ต่างกับสมัยทุกวันนี้
การทำนาต้องรีบทำให้ทันกับการส่งน้ำมาของระบบชลประทาน
พันธุ์ข้าวก็เปลี่ยนจากข้าวนาปีมาเป็นข้าวนาปรัง
แรงงานการเตรียมดินใช้รถไถสามารถเตรียมได้วันละหลายไร่
แรงงานในครอบครัวที่จะทำนามีน้อย
รูปแบบการทำนาจึงเปลี่ยนมาเป็นการทำนาแบบหว่านน้ำตรม
ซึ่งจะต้องใช้สารกำจัดวัชพืช
สารเคมีกำจัดหญ้า
สารเคมีกำจัดวัชพืชที่เกษตรกรใช้มี อยู่ 2 แบบ
คือแบบคุมการงอกของเมล็ดหญ้า
เกษตรกรจะฉีดพ่นหลังจากหว่านข้าว 2-3
วันต้นข้าวงอกแล้ว
สารเคมีชนิดทำหน้าที่คลุมที่ผิวหน้าของดิน
ทำให้เมล็ดวัชพืชไม่สามารถงอกได้
แต่ฤทธิ์ของสารคุมหญ้าจะอยู่ได้ไม่นาน ประมาณ 4-5 วัน
ก็จะหมดฤทธิ์ หรือถ้าหากแปลงนาแห้งมากดินในแปลงนาแตกระแหง
มีร่องดินแตกเมล็ดหญ้าจะงอกขึ้นมาได้
และถ้าหากมีฝนตกหลังฉีดพ่นสารเคมี
หญ้าจะขึ้นมาได้
ส่วนการกำจัดหญ้าแบบที่สองนั้นเกษตรกรจะใช้แบบคุมและฆ่าหญ้า
สูตรนี้จะทำหน้าที่คุมเมล็ดหญ้าไม่ให้งอกและทำหน้าที่ฆ่าต้นหญ้าที่งอกแล้วให้ตาย
เกษตรกรจะทำการฉีดพ่นเมื่อข้าวอายุประมาณ 5-7
วัน
สารเคมีคุมและฆ่านี้จะมีผลหลังจากฉีดพ่นต้นหญ้าที่งอกแล้วใบจะไหม้และตาย
และมีผลกับต้นข้าวเช่นกันเพราะจะทำให้ปลายใบของข้าวไหม้
ต้นข้าวจะเหลือง
ต้นทุนการใช้สารเคมีกำจัดหญ้า
เกษตรกรจะใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช มากน้อยแตกต่างกัน
ตามปริมาณของวัชพืชที่ขึ้นในแปลงนา
ซึ่งปกติจะใช้อย่างน้อยที่สุด 2 ครั้ง
ได้แก่ครั้งที่สารเคมีคุมการงอกของวัชพืช
ซึ่งใช้หลังหว่านข้าวได้ 2-3
วันก่อนที่วัชพืชในแปลงนาจะงอกขึ้นมา
ซึ่งราคาของสารเคมีจะมีราคาที่แตกต่างกัน อยู่ระหว่าง
400- 600 บาท ฉีดพ่นได้ประมาณ 5 ไร่
คิดเฉลี่ยไร่ละ 100 บาท ค่าแรงฉีด 40
บาท/ไร่ ฉีดครั้งที่ 2
สารเคมีคุมและฆ่าวัชพืช ฉีดหลังหว่านข้าว 6-7
วัน วัชพืชในแปลงนางอกแล้ว
สารเคมีจะไปทำลายวัชพืชทำให้ใบไหม้ ราคาขวดละ
400-500 บาท ฉีดพ่นได้ประมาณ 5 ไร่เช่นกัน
ค่าแรงฉีดไร่ละ 40 บาท
รวมต้นทุนค่าสารเคมีกำจัดวัชพืชขั้นต่ำจะอยู่ระหว่าง
275 บาท/ ไร่
และถ้าหากว่ายังมีวัชพืชในแปลงนา
เกษตรกรก็จะทำการกำจัดอีดรอบ ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นอีก
ปริมาณการนำเข้าสารกำจัดหญ้า
ตารางที่ 1
ปริมาณสารออกฤทธิ์
และมูลค่าการนำเข้าสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.
2520-2543 ช่วงทุก 5 ปี(Sirisingh,1998)
ปี |
สารฆ่าแมลง |
สารฆ่ารา |
สารฆ่าวัชพืช |
สารกลุ่มอื่นๆ |
รวม |
|||||
|
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า(ล้านบาท) |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านบาท) |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านบาท) |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านบาท) |
ปริมาณ (ตัน) |
มูลค่า (ล้านบาท) |
2520 |
2,806 |
345 |
1,131 |
59 |
2,874 |
170 |
44 |
7 |
8,832 |
581 |
2525 |
2,890 |
673 |
1,683 |
132 |
2,983 |
461 |
94 |
23 |
7,650 |
1289 |
2530 |
5,881 |
806 |
4,530 |
288 |
3,967 |
570 |
247 |
88 |
14,625 |
1,752 |
2535 |
6,098 |
1,425 |
3,513 |
441 |
8,450 |
1,707 |
418 |
208 |
18,479 |
3,781 |
2540 |
7,526 |
2,095 |
4,588 |
817 |
14,403 |
3,285 |
610 |
201 |
27,127 |
6,398 |
2543 |
6,875 |
2,000 |
4,931 |
1119 |
17,506 |
3,841 |
2,140 |
323 |
31,452 |
7,283 |
จากข้อมูลในตารางพบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวปริมาณ
และมูลค่าการนำเข้าสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์เพิ่มตามลำดับ
ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2535
พบว่าสัดส่วนการนำเข้าสารฆ่าแมลงมีมากที่สุด
รองลงมาคือสารฆ่าวัชพืชและสารฆ่าเชื้อราตามลำดับ แต่หลังจากปี พ.ศ. 2535
เป็นต้นมามีการนำเข้าสารฆ่าวัชพืชมากที่สุดรองลงมาได้แก่
สารฆ่าแมลงและสารฆ่าเชื้อราตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2543
มีปริมาณการนำเข้าสารฆ่าวัชพืชคิดเป็นร้อยละ 55.7 ของปริมาณนำเข้าสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ทั้งหมด
รองลงมาได้แก่สารฆ่าแมลง สารฆ่าเชื้อรา และสารอื่นๆ
โดยมีปริมาณคิดเป็นร้อยละ 21.9 15.7 และ
6.8 ตามลำดับ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการนำเข้าสารฆ่าวัชพืชมากขึ้นคือ
ส่วนหนึ่งการขาดแรงงานในภาคเกษตรเนื่องจากมีการย้ายแรงงานเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
ทำให้ค่าจ้างในการกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคนสูงกว่าการใช้สารเคมี
ดังนั้นเกษตรกรจึงหันมาใช้สารเคมีมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนในการผลิต
ส่วนเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการใช้สารกำจัดวัชพืชมากขึ้น
น่าจะมาจากการเปลี่ยนวิธีทำนาเปลี่ยนไป
เมื่อมีระบบน้ำชลประทานทำให้การทำนาของเกษตรกร
เปลี่ยนจากนาปีมาเป็นนาปรัง
สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดใดที่การใช้มาก
ตารางที่ 2 ชนิด ปริมาณสารออกฤทธิ์
และมูลค่าของสารฆ่าวัชพืช 10 อันดับแรกที่นำเข้าในปี พ.ศ.
2542
สารฆ่าวัชพืช |
ปริมาณ(ตัน) |
มูลค่า (ล้านบาท) |
Glyphosate |
6,772 |
1,185 |
2,4-D |
3,248 |
311 |
Atrazine |
979 |
153 |
Paraquat |
875 |
383 |
Butachlor |
804 |
94 |
Diuron |
481 |
125 |
Alachlor |
434 |
45 |
Propanil |
434 |
86 |
Butachlor + propanil |
358 |
87 |
Thiobencarb |
333 |
62 |
โปรดติดตามต่อ ในตอนหน้า ว่านักเรียนชาวนา เขามีเทคนิค และเรียนรู้อย่างไรจึงจะแก้ไขการควบคุมวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
บันทึกโดย เหรียญ ใกล้กลาง (คุณอำนวยข้าวขวัญ)
ไม่มีความเห็น