ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ-จากบทความของท่านผู้ปฏิบัติมาก่อน


ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ

ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ

อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกปรือ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพ และ สมรรถภาพของจิต ดังนั้น

สมาธิ ซึ่งเป็นเป้าหมาย ของอธิจิตตสิกขานั้น จึงหมายถึง

ภาวะจิตที่มีคุณภาพ และ มีสมรรถภาพดีที่สุด

จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดี มีสมรรถภาพนั้น มีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่า เหมือนกระแสน้ำ ที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไป

ในทิศทางเดียว

ย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำ ที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป

2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระ หรือ บึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง

ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว

3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละออง

ที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด

4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว

ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย

ไวพจน์ที่แสดงความหมายของสมาธิคำหนึ่ง คือ เอกัคคตา แปลกันว่า

ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว

แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์ จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับข้อแรก คือ เอกัคคตา = เอก+อัคค+ตา

(ภาวะ) คำว่า อัคคะ ในที่นี้ ท่านให้แปลว่าอารมณ์

แต่ความหมายเดิมแท้ก็คือ จุดยอด หรือจุดปลาย

โดยนัยนี้ จิตเป็นสมาธิก็ คือ จิตที่มียอด หรือ มีจุดปลายจุดเดียว

ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลม พุ่ง แทงทะลุสิ่งต่างๆไปได้ง่าย


จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่ง สมาธิถึงขั้นฌาน

พระอรรถกถาจารย์ เรียกว่าจิตประประกอบด้วยองค์ 8

องค์ 8 นั้น ท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ

1. ตั้งมั่น
2. บริสุทธิ์
3. ผ่องใส
4 โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา
5. ปราศจากสิ่งมัวหมอง
6. นุ่มนวล
7. ควรแก่งาน
8. อยู่ตัว ไม่วอกแวกหวั่นไหว

(องค์ 8 ตามบาลี คือ 1.สมาหิตะ 2. ปริสุทธะ 3 ปริโยทาตะ 4. อนังคณะ

5. วิคตูปกิเลส 6.มุทุภูตะ 7. กัมมนิยะ 8. ฐิตะ อาเนญชัปปัตตะ


ท่านว่าจิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด

ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญา พิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือ

ใช้ในทางสร้างพลังจิต ให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้

-ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือ

ความควรแก่งาน หรือความเหมาะแก่งาน

และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่การใช้จิตพร้อมดีเช่นนั้น

เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง

และ

โดยนัยนี้ จึงควรย้ำเพิ่มไว้อีกด้วยว่า สมาธิที่ถูกต้อง

ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ

แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ

เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา

*************************************************
หลักปฏิบัติกรรมฐานอานาปานสติ
 สติกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นวิธีฝึกสติ คือ อาศัยลมหายใจเป็นเพียงอุปกรณ์

สำหรับฝึกสติ

สติ ความระลึกได้,ไม่เผลอ หมายถึง การคุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ

ความหมายก็คือ สติ เป็นตัวคุมจิตให้อยู่กับหลัก

สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว, หมายถึง รู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือ รู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำในขณะนั้นๆ

สัญญา ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการอันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ นั้นๆ ได้


 

   
หมายเลขบันทึก: 303648เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2009 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

พี่นก...

อ่านบันทึกแล้วอยากฝึกสมาธิจังค่ะ

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทำสมาธิเลย เหนื่อยกาย...สมองอ่อนล้า.....รู้สึกเหนื่อยจัง

สงสัยจะเริ่มเป็นเหมือนคนไข้ เหนื่อยเพลีย เบื่ออาหาร กินข้าวไม่อร่อย...เฮ้อ

การปฏิบัติให้เกิดสมาธิ  เราสามารถทำได้ตลอดทุกเวลา

พยายามเรียนรู้ในการฝึกเพื่อเกื้อกูลต่อการลงมือกระทำตามความถนัดของเรา

คนโดยมากนึกว่าการปฏิบัติธรรมต้องนั่งสมาธิ  นั่นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้นในการปฏิบัติธรรม  เวลาทำงาน  เวลาทำกับข้าว  เวลาเล่นคอมพ์  และทุกอิริยาบท

เราสามารถสืบต่อเพื่อปฏิบัติธรรมได้ทุกจังหวะ

ความหมายของทุกอย่างเราเรียนรู้ไว้แล้วก็ลงมือทำเพื่อจะได้เชยชมกับรสของความหมายอันนั้น 

คนนั่งดูเกลือ  กับคนนั่งอมเกลือ  จะอธิบายรสของความเค็มต่างกัน..

สาธุๆๆขอรับพี่นก...

ตอนนี้ผมฝึกดูจิตในชีวิตประจำวัน ให้เกิดสติ เิกิดปัญญา

เป็นแบบปัญญานำสมาธิ เพราะถูกกับจริต

ไม่สามารถทำสมาธิขั้นสูงถึงขั้นฌานได้ครับ

ทำสมาธิสั้นๆเพื่อพักผ่อนครับ

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมอยู่ขั้นการฝึกค่ะ
  • ฝึกสมาธิให้จิตใจสงบบ้างและพักผ่อนค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

สติเหมือนเชือกล่ามจิต ไม่ให้หลุดไปจากหลักปฏิบัติครับ

พี่นกคะ มีคำถามค่ะ....

ถ้าจิตมีสมาธิ แต่สมองเหนื่อยล้า ปัญญาจะเกิดมั้ยคะ?

ยกตัวอย่างเช่น พี่นกมีสมาธิกับการตรวจคนไข้ แต่วันหนึ่งต้องตรวจเป็นร้อย....พอถึงคนที่ร้อยเนี่ย สมองก็เริ่มจะล้าแล้ว ทำยังไงปัญญาจึงจะเกิดคะ? จะให้มีสติพิจารณาให้รู้ว่า ฉันเหนื่อยแล้วนะ ก็เห็นจะไม่เกิดประโยชน์อะไร

สวัสดีค่ะ

ตามมาจากบ้านคุณ blue star ค่ะ

อานาปนสติเป็นการฝึกสติให้ระลึกอยู่กับ "ธรรม" ใดธรรมหนึ่งทุกลมหายใจเข้าออก เช่น ลมหายใจ เวทนา เป็นต้น ท่านพุทธทาสกล่าวว่า สติปัฏฐาน 4 ตามที่ปรากฏในอานาปนสติสูตรนั้น สมบูรณ์กว่าในมหาสติปัฏฐานสูตร แต่กลับได้รับความสนใจน้อยกว่า น่าแปลกใจเหมือนกันนะคะ

ฝึกอานาปนสติได้ 2 ลักษณะ คือ ในทุกอิริยาบท และในอิริยาบทนั่งสมาธิ แม้จะฝึกระลึกรู้ในทุกอิริยาบท ก็จำเป็นต้องฝึกในท่านั่งสมาธิด้วย เนื่องจากมีความละเอียดมากกว่ากันและต้องฝึกตามลำดับขั้น ไม่สามารถนึกอยากฝึกจุดไหนก็ได้ เหมือนในทุกอิริยาบท การฝึกในอิริยาบทนั่งสมาธิ เมื่อฝึกตามลำดับจนถึงขั้นสูงสุด สามารถบรรลุอรหันต์นั้นเลยทีเดียว ท่านพุทธทาสจึงยกย่องว่าเป็นกรรมฐานหลัก อย่างอื่นๆเป็นกรรมฐานรอง

ตอนฝึกอานาปนสติในขณะนั่งสมาธิใหม่ๆก็นึกท้อค่ะ ก็มีตั้ง 16 ขั้น เพิ่งจะไต่ขั้น 1 ก็แหงนมองขั้นสุดเสียแล้ว ต่อมาคิดได้ ก็ค่อยๆทำไป ชีวิตนี้จบแค่ไหน ก็พอใจแค่นั้น พอไม่กังวล รักษาศีล ก็ทำได้ดีขึ้น

ตอนนี้พอมองย้อนกลับไป ดีใจค่ะที่ไม่เลิกเสียตั้งแต่แรกก่อน

http://gotoknow.org/profile/blue_star

สวัสดีค่ะ น้องดาว

น่าเห็นใจคนเหนื่อยจังเลย สักวันหนึ่งเมื่อกำลังสมาธิเรากล้าแข็งพอ

เราจะมีพลังเหลือเฟือ ไม่เหน็ดเหนื่อย...พี่นกเชื่อเช่นนั้น

เหมือนกับที่เวลาจิตเรามีสมาธิแม้นอนน้อยเราก็ไม่เหนื่อย......

ดังนั้น......เราต่างต้องมีกำลังใจในการฝึกปฏิบัติ...ตอนนี้ทำเท่าที่เราทำได้ไปก่อน

.....สักวันเราจะจัดสรร การงานแห่งชีวิตได้ลงตัว...

และเราจะสามารถปลดปล่อยตนเองจากพันธนาการทั้งปวงแห่งดวงจิต

พี่นกเอง รู้ตัวว่าตอนนี้ ตัวเองยังปฏิบัติน้อยไป .....ยังจัดการภาระทางโลกของได้ไม่ดีพอ

พยายามต่อไปนะจ๊ะ....น้องดาวสาวน้อยผู้ตั้งมั่นในธรรม.......

http://gotoknow.org/profile/thammatit

นมัสการค่ะท่านธรรมฐิต

พี่นกกำลังใช้นิ้วจิ้มเกลือชิมๆอยู่ค่ะ ยังไม่ได้อมเกลือ

ท่านอุปมาซะเห็นภาพแจ่มแจ้งเลยนะเจ้าคะ

......................สาธุเจ้าค่ะ.......หวังว่าจะได้รับคำชี้แนะอีกนะคะ

สวัสดีค่ะคุณPhonphon

ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์นะคะ

ที่ยากที่สุดของตัวผู้เขียนเองคือการตามดูจิตในชีวิตประจำวัน นี่แหละค่ะ

ถือเป็นการปฏิบัติขั้นสูงสำหรับผู้เขียนเลยล่ะค่ะ หากทำได้เช่นที่คุณปฏิบัติอยู่.....คงจะเป็นการดี

ตอนนี้ คอยแกะรอยธรรม ตามท่านที่ปฏิบัติมาก่อนและมีคุณเป็นหนึ่งในท่านเหล่านั้น

..................ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่คิม

นกเดินตามหลังพี่คิมอยู่นะคะ

ยินดีที่มีพี่สาวใจดีเดินนำหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.พรชัย

ขอบพระคุณที่ชี้แนะค่ะ สติในการหายใจมักจะหนีไปบ่อยๆค่ะท่าน ลืมหายใจอยู่เรื่อย

ตอบคำถามน้องดาวรอบสองนะคะ

พี่ว่าถ้าจิตเรามีสมาธิ สมองเราจะขจัดความเหนื่อยล้าได้ค่ะ

เพราะฉนั้น เรายังไม่ถึงสมาธิในการปฏิบัติงานค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ

พี่กำลังฝึกจิตและสมาธิอยู่ค่ะ

เป้นกำลังใจให้ด้วยนะค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา รู้สึกเป็นเกียรติยิ่งแล้วที่คุณณัฐรดาแวะมาเยี่ยม

อ่านความเห็นคุณแล้วรู้สึกมีความสุขมาก

 " ชีวิตนี้จบแค่ไหน ก็พอใจแค่นั้น " เป้าหมายเดียวกันค่ะ

ท่านที่ทุ่มเทปฏิบัติท่านก็บอกว่า เดี๋ยวไม่ทันน้า  เดี๋ยวตายก่อนน้า

ก็แก้ตัวไปว่า  หากตายในวัยนี้คงยังพอมีกำลังสติปล่อยวางอย่างเบาๆได้อยู่มังค่ะ

เพราะตระหนักรู้ว่าตวามตายคือมิตรแท้ที่ไม่มีทางละวางเราเป็นแน่  เร็ว-ช้าก็ต้องมาแน่ๆ

จะพยายามต่อไป มากน้อยตามกำลังแห่งตน

ขอสมัครเป็นเพื่อนบ้านด้วยคนนะคะ..................

สวัสดีค่ะคุณตุ๊กตา

ผู้มาใหม่อย่างเราๆ ก็ต่างต้องให้กำลังใจกันไปแหละนะคะ

ยินดีด้วยค่ะที่พบวิถีที่แท้..... และยินดีต้อนรับกัลยาณมิตรที่น่ารักค่ะ

สวัสดีอีกครั้งค่ะ

"ยากแท้ ก็แต่ คนในนี่แหละ ไม่ทำเวรต่อ แต่ระงับความไม่พึงพอใจที่กรุ่นให้รู้สึกยากยิ่งค่ะ ทำได้เพียงตามดูและปล่อยให้เขาค่อยๆสลายไป ทำได้เพียงเท่านี้ค่ะ...."

การระงับความไม่พึงพอใจได้แต่ยังกรุ่นอยู่ในใจแสดงว่ามี "ศีล" ค่ะ จึงควบคุมไว้ได้ แต่ความไม่พอใจยังอยู่ในจิต เพราะความโกรธยังอยู่

หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ บรรยายไว้ว่า (จำไม่ได้ว่าในหนังสือเล่มไหนค่ะ อมรินทร์พริ้นติ้งเป็นผู้พิมพ์) ขณะที่ความโกรธยังไม่คลาย ยังไม่ควรหาเหตุผลค่ะ เฝ้าดูความโกรธไปก่อน (ที่จริงการเฝ้าดูเฉยๆ ก็เหมือนกับการควบคุมค่ะ ข้อนี้อ่านมาจากหนังสือ หิมะกลางฤดูร้อน ของท่านโชติกะค่ะ เพราะเราเฝ้าดู ไม่ไปปรุงแต่งต่อ เมื่อไม่มีเชื้อเลี้ยงต่อ ความโกรธก็ค่อยๆสงบ ) จนความโกรธหายไปแล้ว จึงค่อยหาเหตุผล และชี้โทษให้จิตเห็น และแผ่เมตตา

คือเมื่อความโกรธจางไปแล้ว ให้ใช้ปัญญาอบรมจิต เมื่อจิตเห็นโทษของความโกรธ และเมื่อเพิ่มความเมตตาไปให้ ก็จะยิ่งคลายความโกรธ จิตก็จะค่อยๆปล่อย

ต่อไป เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นมาอีก จะพบว่า ดีกรีความโกรธของเราจะน้อยลง จนถึงไม่โกรธเลยในที่สุด อนุสัยในด้านนี้ก็จะค่อยๆลดลงค่ะ

ความโกรธนำไปสู่หลายๆอย่างค่ะแม้กระทั่งความปิติ (ปิติเป็นคำกลางๆ มีเหตุมาได้ทั้งทางดีและไม่ดี) เช่น สมมุติเราโกรธใครอยู่ แม้จะไม่หวังให้เค้าประสบเหตุร้าย แต่พอเค้าประสบเหตุร้ายเข้า เราก็อาจจะอดปิติไม่ได้ ก็เพิ่มพูนอนุสัยขึ้นแก่จิต

ในขั้นที่ 7 ของการฝึกอานาปนสติ มีการพิจารณาว่าปิติ และสุข ว่าตกแต่งจิตอย่างไร แล้วปล่อยเวทนานั้นไปในขั้นที่ 8 เมื่อฝึกบ่อยๆ จะค่อยๆปล่อยวางได้ค่ะ

สำคัญคืออย่าท้อเสียก่อน จะกี่เดือน กี่ปี ก็ค่อยๆทำไป ดีกว่าปล่อยชีวิตให้ผ่านเลยไปเปล่าๆน่ะค่ะ

เขียนเสียยาวเลย ดิฉันเองก็ยังต้องอบรมจิตบ่อยๆค่ะ แหม ก็คนยังมีกิเลสนี่นา อิอิ

ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจการนั่งสมาธิ เเต่นั่งไม่ได้นาน

เพราะจิตมักจะว่อกเเว่กคิดนู้นคิดนี่ไปเรื่อยเลย...น่าจะเป็นสมาธิสั้นด้วย....

  • มาเรียนรู้ไว้
  • จะพยายามปฏิบัติครับ..
  • ผมไม่ฟุ้งซ่าน
  • ยังไม่เคยนั่งสมาธิ เลยไม่ค่อยแน่ใจตัวเองนัก

P 

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

(พี่ใหญ่น้องดาวBlue_starดีใจใหญ่บอกว่าและแล้วพี่สาวของหนูทั้งสองคนก็พบกัน)

  • ขอบพระคุณที่สุดค่ะสำหรับความกรุณา 
  • เป็นประโยชน์ยิ่งแล้วสำหรับสิ่งที่แบ่งปัน  จะนำไปปฏิบัติต่อค่ะ
  • นกใช้หนังสืออาณาปาณสติของพระอาจารย์มิตซูโอะ เควสโกเป็นคู่มือในการปฏิบัติค่ะ 
  • ยังอยู่ในขั้นต้น  และถ้าเมื่อเรามีสมาธิเบื้องต้นที่เริ่มมั่นคง ปัจจัตตังปฏิภาคนิมิต แต่ยังไม่เข้าใจว่าจะไปต่ออย่างไร รบกวนขอความกรุณาให้ช่วยชี้แนะต่อด้วยนะคะ
  • ขอบพระคุณในจิตเมตตาค่ะ 

สวัสดีครับ รู้สึกเป็นเกียรติยิ่งที่ได้แวะมาเยี่ยม blog

อ่านความเห็นคุณแล้วรู้สึกมีความสุขมาก

" ชีวิตนี้จบแค่ไหน ก็พอใจแค่นั้น " เป้าหมายเดียวกันครับ

ท่านที่ทุ่มเทปฏิบัติท่านก็บอกว่า เดี๋ยวไม่ทันน้า เดี๋ยวตายก่อนน้า

ก็แก้ตัวไปว่า หากตายในวันนี้คงยังพอมีกำลังสติปล่อยวางอย่างเบาๆได้อยู่ครับ

เพราะตระหนักรู้ว่าตวามตายคือมิตรแท้ที่ไม่มีทางละวางเราเป็นแน่ เร็ว-ช้าก็ต้องมาแน่ๆ

จะพยายามต่อไป มากน้อยตามกำลังแห่งตน

ขอสมัครเป็นเพื่อนบ้านด้วยคนนะครับ..................

Pสวัสดีค่ะอาจารย์กู้เกียรติ

แค่มีความตั้งใจและลงมือปฏิบัติก็ประเสริฐยิ่งแล้วค่ะ 

สำคัญอยู่ที่ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องค่ะ  รู้ว่าตนวอกแวกก็แสดงว่าเริ่มพิจารณาจิตตนแล้วต่อไปจะนำสู่การควบคุมไม่ให้จิตวอกแวกค่ะ  เอาสติ  ผูกจิตไว้กับลมหายใจนะคะ

สิ่งที่ต้องตามดู มีแค่ลมหายใจเข้า - ลมหายใจออก เพียงเท่านั้นเอง  อาจารย์ท่านว่าไว้ค่ะ

อย่าท้อนะคะเมื่อเราฝึกควบคุมจิตอยู่สม่ำเสมอจะนำสู่สภาวะที่เป็นสมาธิได้ค่ะ

......จาด้ายหายสมาธิสั้นไงคะ  อิ..อิ  คนเก่งๆชอบเป็นกันเยอะ

Pสวัสดีค่ะคุณสามสัก 

  • มิตรที่ถูกจัดเข้าเป็นมิตรแท้อีกหนึ่งท่าน(ท่านรับไม่รับเราไม่รู้แต่ได้ให้ไปแล้ว)    ชื่นชมในวิธีคิดที่  ฉลาด คม สมนามปราชญ์  และอุดมการณ์ในการธำรงความดีงามแห่งชาติเรา  เรื่องเล่าของคุณงดงามและเรียบเรียงให้เข้าใจง่าย
  • ดิฉันเองก็ไม่ใช่คนฟุ้งซ่านค่ะ  แต่นั่งสมาธิเพื่อพัฒนาจิตตนให้เรียนรู้สู่เส้นทางแห่งการลด ละ วาง โดยปฏิบัติหน้าที่ทางโลกไปด้วย ในนามแห่งมิตรแท้ขออนุญาติชักชวนให้ร่วมปฏิบัตินะคะ  ผู้ชี้แนะได้ดีและเดินนำหน้าเราอยู่คือคุณณัฐรดาค่ะ
  • ตนเองเพียงผู้เริ่มปฏิบัติแต่เห็นประโยชน์และมีศรัทธาเฉพาะตนว่า นี่คือทางที่ควรตั้งมั่นโดยแท้จริง  ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราทั้งหมด  ปรับให้เข้ากับความเป็นปรกติของเราได้เท่าไหน  เราสบายใจเพียงใด ปฏิบัติเท่านั้นค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณอนุพงษ์ แซ่ตั้ง

ยินดีต้อนรับเป็นเพื่อนบ้านนะคะ  ดีใจที่มีเพื่อนร่วมทางค่ะ

เราเดินในถนนที่ถูกต้อง  เพียงเราเดินไม่หยุด

ช้า -เร็ว ถึง-ไม่ถึง หาได้สำคัญไม่ขอเพียงอย่าหยุดเดินนะคะ 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีอีกครั้งค่ะ

เห็นพูดถึงปฏิภาคนิมิต ซึ่งอยู่ในขั้น 4 ของอานาปนสติ ขอเล่าสักนิดค่ะ

การฝึกอานาปนสติในฐานแรก คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบ่งการฝึกเป็น 4 ขั้น (ที่จริงทุกฐานคือกาย เวทนา จิต ธรรม แบ่งเป็นฐานละ 4 เท่าๆกันหมดค่ะ)

ขั้น1 ทำความรู้จักลมหายใจยาว

หลังจากที่เตรียมตัวเสร็จแล้ว (ดูจากบันทึกนักเลงอานาปาก็ได้ค่ะ) ให้ทดลองหายใจยาวหลายๆแบบดูค่ะ แล้วเลือกลมหายใจยาวที่สบาย ไม่ตัดขัด แล้วกำหนดสติติดตามลมหายใจยาวนั้น

จะพบว่าลมหายใจสัมพันธ์กับร่างกาย จิต คือเมื่อจิตยังมีความคิดฟุ้งอยู่ ลมหายใจยาวจะหยาบ หรือถ้าร่างกายไม่พร้อม เช่นเหนื่อย ลมหายใจยาวก็จะหบาบเช่นกัน ยาวหยาบ คือลมหายใจที่ยาว แรง ซู่ซ่า

เมื่อจิตค่อยสงบลง ลมหายใจก็จะค่อยๆละเอียดขึ้น ยาวหยาบ จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นยาวละเอียด คือ ยาว เบา นิ่มนวล ในขั้นนี้ ถ้าไม่มีนิวรณ์ ก็สามารถบังคับจิตผ่านลมหายใจได้ เช่นถ้ามีความคิดฟุ้ง ดับความคิดไม่ได้ ให้สูดลมหายใจยาวๆ แรงๆ สัก 3 - 4 ครั้ง ก็จะควบคุมความคิดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี อาจารย์บางท่านก็บอกว่าไม่ต้องบังคับลมหายใจ ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ (แต่อยากให้ทราบค่ะว่าทั้งจิต กาย ลม สามารถบังคับผ่านซึ่งกันและกันได้)

เทคนิคการปฏิบัติในขั้นนี้ท่านพุทธทาสเรียกว่าขั้น "วิ่งตาม" ลมหายใจ คือ กำหนดจุดที่ลมหายใจผ่าน 2 ถึง 3 จุด แล้วแต่สะดวก (หลวงพ่อชาบอก 3 จุด ท่านพุทธทาสบอก 2 จุด) ถ้า 3 จุด คือจมูก หทัย สะดือ ลากเส้นเป็นทางวิ่งของลมหายใจ (ถ้า 2 จุด ก็ไม่ต้องมีจุดหทัย) เวลาหายใจเข้า ต้นลมอยู่จมูก กลางลม(หรือที่พักลม) อยู่หทัย ปลายลมอยู่สะดือ เวลาหายใจออก ต้นลมอยู่สะดือ กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่จมูก ที่ว่าเห็น "กายในกาย" ก็คือเห็นกายลม (ลมหายใจ) ในกายเนื้อ (เนื้อหนังของเรานี้) นี่เอง

พยายามใช้สติกำหนดที่ทางวิ่งของลมโดยไม่ต้องสนใจเรื่องอื่น อย่างไรก็ดี จิตคุ้นเคยกับการคิด จะไม่ยอมถูกฝึกง่ายๆ (ในแต่ละขั้นอาจใช้เวลา 7 วัน ,หรือ7 เดือน , หรือ7 ปี แล้วแต่สหชาติปัญญาของแต่ละคน) จิตจึงมักหนีหายไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ได้ในช่วงหัว หรือท้ายลม ไม่ต้องกังวลค่ะ นึกขึ้นได้ก็ตามจิตกลับมา จุดนี้เองที่บางคนบอกว่าท้อ ไม่อยากฝึก เพราะฝึกตั้งนานก็ยังฟุ้งอยู่ไม่เห็นก้าวหน้าเลย ให้สังเกตุค่ะ ว่าระยะเวลาที่ฟุ้งไปสั้นลงหรือไม่ อยู่กับลมหายใจได้นานขึ้นหรือไม่ ถ้าใช่ ก็แสดงว่าก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆค่ะ

เมื่อก้าวหน้าขึ้น ก็จะเข้าสู่ขั้นที่ 2

ขั้นที่2 ทำความรู้จักลมหายใจสั้น

เมื่อสติกำกับลมหายใจได้ดีขึ้น ลมหายใจจะสั้น และเบาขึ้นเรื่อยๆ พอถึงขั้นนี้จะรู้สึกว่าตัวเบาขึ้นค่ะ ท่านให้สังเกตุว่าลมหายใจสั้นสัมพันธ์กับจิต กับกายอย่างไร

เทคนิคปฏิบัติในขั้นนี้ เรียกขั้น "เฝ้าดู" ลมหายใจค่ะ คือเมื่อเริ่มควบคุมลมหายใจให้วิ่งเป็นทางตลอดเวลาได้แล้ว ก็ให้เปลี่ยนเป็นเฝ้าดูที่จุดที่ลมผ่าน คือปลายจมูกบริเวณริมฝีปากบน ลมผ่านเข้าออกที่จุดนี้ ให้เฝ้าดูที่จุดนี้ ไม่ต้องวิ่งตาม ขั้นนี้จะยากกว่าขั้นแรก แต่ถ้าทำตามขั้นแรกได้ดี มาถึงขั้นนี้ก็จะดีไปด้วย เนื่องจากงานที่ทำละเอียดขึ้น ลมหายใจก็จะละเอียดขึ้นตามไปด้วย

ขั้นที่ 3 ทำความรู้จักกายทั้งปวง

คำว่า "กาย" คือกลุ่มหรือหมู่ เช่นร่างกายของเราก็ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มของธาตุ ของขันธ์ทั้ง 5 ลมหายใจก็เป็นกลุ่มของลมที่เราสุดเข้าไป (เราคงกำหนดไม่ได้ว่าเราหายใจเอาลมเข้าไปกี่ตัว หรือน้ำหนักลมเท่าไร)

สมเด็จพระสังฆราชกล่าวว่ากายทั้งปวงในที่นี้คือรูปกายและนามกาย รูปกายก็คือรูปขันต์ ท่านให้เน้นที่กายเนื้อ และกายลม ส่วนนามกายนั้นได้แก่ เวทนา สัญญา วิตก เป็นต้น (สมาธิในพุทธศาสนา พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์คอมม่า)

นั่นคือเมื่อจิตเราเริ่มไม่ว่อกแว่ก ลมหายใจก็สั้นขึ้น เบาหรือละเอียดขึ้น แต่อย่างไรก็ดี บางทีมีความคิดฟุ้งแว่บเข้ามา ลมหายใจก็จะเปลี่ยนแปลงไป เช่น เปลี่ยนเป็นสั้นหยาบ (มักเกิดกับอารมณ์โกรธ) ยาวละเอียด ยาวหยาบ เป็นต้น เมื่อรู้ทัน แล้วตั้งสติกำกับลมหายใจตามเดิม ลมหายใจก็จะค่อยๆกลับสู่สภาพสั้นละเอียดเหมือนเดิม

ลมหายใจจึงเปลี่ยนไปมาตามจิต และร่างกาย ให้ทำการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจมันค่ะ

ขั้นที่ 4 ทำกายสังขารให้สงบรำงับ

คำว่ากายสังขารแปลตามศัพท์ คือลมหายใจ เพราะกายหมายถึงหมู่ สังขารหมายถึงการปรุงแต่ง กายสังขารจึงเป็นลมหายใจ เพราะเป็นลมที่ปรุงแต่งกายให้ดำรงอยู่ได้

หากความหมายที่ลึกลงไปคือ เจตสิก (อาการที่จิตคิด) นั่นคือทำจิตให้สงบนั่นเอง ซึ่งก็สัมพันธ์กับลมหายใจที่สงบด้วย

เมื่อมาถึงขั้นที่ลมหายใจสั้นเข้า รู้จักกายทั้งปวงแล้ว จะบังคับลมให้ละเอียดขึ้น ท่านพุทธทาสว่าให้สร้างนิมิต คือกำหนดลงที่เนื้อที่ปลายจมูก เพ่งที่จุดนั้น นิมิตที่ได้ไม่เหมือนกัน บางคนเป็นหยดน้ำ บางคนเป็นใยแมงมุม บางคนเป็นดวงแก้วใส แล้วแต่วาสนาที่เคยทำมา ในช่วงแรกนิมิตจะไม่แน่นอน ไม่คงทน ไม่ชัดเจน ต่อเมื่อฝึกไประยะหนึ่ง (มัก 7 เดือน) นิมิตจะชัดเจนขึ้น นิมิตในช่วงนี้เรียกอุคหนิมิต เพราะความที่ยังบังคับไม่ได้นั่นเอง

บางท่านได้นิมิตเป็นดวงเล็กๆขนาดเท่าลูกตาดำค่ะ แล้วค่อยๆทวีความสว่างใสมากขึ้น และปรากฏนานขึ้น

ช่วงนี้ลมหายใจจะยิ่งละเอียดมากขึ้น

ต่อมาเมื่อนิมิตอยู่ตัวขึ้นแล้ว จึงฝึกบังคับนิมิต ให้ขยายใหญ่ ให้ลอยไปมา ให้เปลี่ยนสีเป็นต่างๆ ขั้นนี้ค่ะ จึงเรียกอุปภาคนิมิต

ก่อนจะมาถึงขั้นนี้ บางทีเรารู้สึกเหมือนไม่หายใจ ไม่ต้องตกใจ หรือกลัวค่ะ เรายังหายใจอยุ่ แต่ลมละเอียดมากจนแทบไม่รู้สึกเท่านั้น

เมื่อบังคับจิตได้ขนาดนี้ จะเกิดความปิติขึ้น ก็จบการฝึกฐานกาย นำปิติที่ได้ ไปฝึกในฐานเวทนาต่อไป

เฮ้อ เหนื่อยเลยค่ะ เห็นเยอะแยะอย่าท้อนะคะ ทำๆไป เดี๋ยวก็ได้เอง

อ้อ ลืมค่ะ เมื่อเกิดปิติ ให้หน่วงองค์ฌานขึ้นมาจนครบ นั่นคือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคคตา ก็บรรลุปฐมฌานค่ะ

...เดินทีละก้าว..กินข้าวทีละคำ...(จาก gotoknow)...จิตว่าง...(ท่านพุทธทาส)...จิตที่ควรแก่งาน...ลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร..(ท่าน คาเวสโก)....

 จิต + สติ รวมกันเป็นหนึ่งเมื่อใด..เมื่อนั้น ย่อมกระจ่างแจ้ง เกิดปัญญาญาณนะคะ

มาอีกครั้งค่ะ

มาขออภัย

พอเปิดอ่านอีกที เอ๊ะ เอาคำ อุปภาคนิมิตมาจากไหน

สงสัยจะเขียนไปนึกถึงคำอุคหนิมิตไป เลยนำมาสนธิกันเสียได้แล้วกระมัง

เป็นปฏิภาคนิมิตอย่างที่คุณ giant bird ว่า ถูกแล้วค่ะ

ขออภัยจริงๆ พิมพ์จนเมาแน่ๆเลย

_/|\_

P ขอบพระคุณยิ่งแล้วค่ะ  จะพิจารณาตามที่ชี้แนะนะคะ  ขอความกรุณาช่วยเสริม  ช่วยเติม ด้วยนะคะ

Pกราบขอบพระคุณในความกรุณาค่ะคุณยายธีขา  จะค่อยๆกินข้าวทีละคำค่ะ และตนเองกินช้าด้วย  จะทำตามที่ชี้แนะค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ

Pสวัสดีค่ะพี่ใหญ่  ขอบพระคุณที่ชี้แนะค่ะ  ยังอีกไกล  ต้องปฏิบัติต่อให้มาก  แต่จะพยายามค่ะ   ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาเชิญไปชมกุหลาบอังกฤษ และการสร้างปัญญาแบบเร่งรัดค่ะ

Pสวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

ไปรับแนวทางมาแล้วค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงสุดเลยค่ะ

เป็นบันทึกงดงาม  ที่มีธรรมอันงามยิ่งแล้ว

ควรแก่การน้อมนำมาปฏิบัติอย่างยิ่ง

สวัสดีค่ะ

มาเชิญไปชมความหมายของอานาปนสติค่ะ

สวัสดีค่ะ

บันทึกเรื่องอานาปนสติ อยากเชิญไปชมค่ะ

  • แวะมาหาคุณหมออีกรอบครับ
  • นอกจากมาแวะทักทายแล้ว
  • ยังมา..บอกหมอ..(เพื่อเอาหน้า)ว่า...คุณดาวแอบไปนินทา หาว่า

ที่คำเขื่อนแก้วก็มีพี่นกยักษ์ค่ะ (Giant bird) ดาวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะจัดเข้าวงศ์ไหนดี รู้แต่ว่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ 555

  • ว่าหมอคนเดียวไม่ไม่พอ..ยังไปกล่าวหาผมอีกว่า เป็นพวกชอบส่องดูชีวิตผู้อื่น..
  • คุณดาวนี่..ช่างใจร้าย ใจดำ.. จริงๆน้อ

เจ้จ๋า....

หนูไม่ได้นินทาเจ้นะ...ก็เจ้น่ะเป็นพยาบาลสาวแสนสวย ใจดี ตั้งใจทำงาน คนดีๆก็ต้องควรค่าแก่การอนุรักษ์จริงไหมล่ะคะ

คุณสามสักหนูก็ไม่ได้ว่าท่านนะ...ท่านตีความของท่านไปเองตะหาก หนูแค่เปรียบเทียบการส่องนกกะปาปารัสซี่เฉยๆ (ไปตีความว่าตัวเองทำไมก็ไม่รู้)

ดูซิ หนูออกจะมีความคิดสร้างสรรค์แล้วก็ช่างเปรียบเปรย ยังมาว่าหนูแอบไปนินทาอีกแน่ะ

สวัสดีค่ะ

ตั้งใจมาเยี่ยม แต่พอเห็นความเห็นที่ 40 กับ 41 เลยกลายเป็นมาได้เสียงหัวเราะแทน

สุขใจกับมิตรภาพจังนะคะ

สวัสดีค่ะ ท่านสามสักP  น้องดาว P และคุณณัฐรดาP

ไม่มีความสุขใดๆ มีคุณค่ายิ่งใหญ่เท่าความสุขใจในมิตรภาพอัน

งดงาม  เป็นบุญนำพาให้ได้พบ  ได้รู้จัก และร่วมเรียนรู้ ในกัน

และกัน  ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านด้วยใจจริงค่ะ

   แจ้งข่าวว่าวันนี้น้องดาวกำลังเดินดื่มด่ำความงดงาม

ของเมืองมรดกโลกหลวงพระบางอยู่นะคะ  กลับมาวันเสาร์

คงมีเรื่องเล่าดีๆและภาพงามๆมาฝากพวกเรา 

แอบนินทาซะหน่อย  น้องดาวจริงๆแล้วเป็นหมอ

แต่คอยชมนะคะ  ฝีมือการถ่ายภาพขั้นเทพ 

คอยชมแล้วช่วยแจ้งด้วยว่าท่านสามสักกับคุณรัฐรดามีความเห็น

เช่นไรนะค้า

 

 

 

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาขอบคุณที่ตอบไปให้กำลังใจค่ะ ได้อ่านลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ ได้รับรู้และลึกซึ้งมากขึ้นจริง ๆ ก็พยายามทำสมาธิอยู่ แต่รู้สึกตัวว่ายังไม่พัฒนาเท่าไหร่ (รู้สึกว่าจิตยังไม่ว่าง)
  • เพิ่งกลับมาจากไปฝึกปฏิบัติโยคะ ณ.สวนโยคะธรรม ที่จังหวัดประจวบฯ มาเหมือนกัน ได้เรียนรู้อะไรมากมายเช่นกัน
  • มีความสุขในชีวิตมาก ๆ นะคะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ ค่ะ 

สวัสดีค่ะคุณบุษรา  P  ยินดีต้อนรับกัลยาณมิตรผู้มีจิตงามๆนะคะ

การปฏิบัติในเรื่องการกำหนดสมาธิ  มีผู้รู้หลายท่านแนะนำไว้ว่าให้กำหนดและ

ตามรู้ดูลมหายใจอยู่ตลอดเวลา  ทำได้ยากกว่าการนั่งสมาธิค่ะ  

พี่นกเองก็ยังเป็นเพียงผู้พยายามที่จะเรียนรู้  ตามดูจิตตนและเดินตามรอยหลายท่านที่

ปฏิบัติมาก่อนค่ะ

การฝึกโยคะก็ใช้หลักการหายใจและทำสมาธิเหมือนกันเลย  มาถูกทาง ทำถูกวิธีแล้ว

ทำต่อนะคะอย่าหยุด  

ขอให้มีความสุขในการเป็นคนจิตใจดีนะคะ

และการฝึกสมาธิจะทำให้เราทำดีได้โดยไม่เหนื่อย

ค่ะ  ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

มาขอบคุณที่ไปเยี่ยมกัน

และมาถามไถ่

หลวงพระบางเป็นอย่างไรบ้างค่ะ

สวัสดีคะ พี่นก.... มาชวนไปลอยกระทง ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดาP

ส่งหมอดาวไปหลวงพระบางกับทัวร์ค่ะ

นกไม่ได้ไป  เราต้องตามไปเที่ยวในบล็อกของ Blue_starกันค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีค่ะน้องพอลล่าP

พี่นกชักอยากจะรู้แล้วซิคะว่าน้องพอลล่าไปลอยกระทงกับใครเอ่ย

ขอให้มีความสุขนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท