ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งที่ครูวิทยาศาสตร์มักประสบปัญหา ความวุ่นวาย ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว แต่ความเป็นปัญหาดังกล่าวลดลงได้ แบบค่อยเป็นค่อยไป ได้อย่างไร ดังจะนำเสนอให้เห็นถึงภาพกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
ก่อนถึงวันที่นำวัสดุอุปกรณ์ เสียงบ่นจากผู้ปกครองที่เริ่มเข้าใจการเตรียมวัสดุอุปกรณ์บางอย่างเริ่มลดเสียงสะท้อน นักเรียนชั้นประถมสามารถเตรียมวัสดุอุปกรณ์ได้ด้วยตนเอง
ในช่วงก่อนถึงชั่วโมงวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะวุ่นกับวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมมา ความตื่นเต้นที่จะได้ทดลองใหม่ ๆ รวมทั้งวัสดุของตนที่เตรียมมา น่าจะมีคุณภาพมากกว่าเพื่อน นี่คือความคาดหวังในเบื้องตน
ในช่วงที่ครูตรวจเช็คความพร้อมใช้เวลา 3-4 นาที่ กับนักเรียน 40 - 51 คน ต่อห้อง ลองนึกถึงความวุ่นวายที่จะเกิดดูว่า จะขนาดไหน ดังตัวอย่างการศึกษาวิทยาศาสตร์ในหน่วยการดำรงชีวิตสัตว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยครูให้นักเรียนเตรียมไข่ไก่ หรือไข่เป็ดที่มาจากรังฟักไข่
ในช่วงขั้นนำ ครูหวังว่าไข่ที่นักเรียนนำมาจะทำความตื่นเต้นให้เพื่อน ๆ และครูได้อน่างน่าอัศจรรย์
"นักเรียนทราบหรือไม่ว่า สัตว์แต่ละชนิดล้วนเกิดออกจากไข่"
" ไข่ที่นักเรียนนำมา จะมีตัวอ่อนของไข่จริงหรือไม่"
"ทุกคนพร้อมที่จะพิสูจน์แล้วหรือยังว่า...ไข่ของตนมีตัวอ่อนจริง...
ก่อนทำการพิสูจน์ครูให้แต่ละกลุ่มได้อธิบายและสมมุติฐานเพื่อประกันว่าไข่ที่ตนนำมาน่าจะมีไข่มีตัวอ่อนจริง
กลุ่มที่หนึ่งผิดหวัง
กลุ่มที่สองเริ่มมีจุดดำที่ไข่
กลุ่มที่สาม ไข่ไม่ต่างจากกลุ่มที่ 5 -8
ครูขอเวลานิหนึ่ง เราน่าจะมีวิธีที่ตรวจสอบว่าไข่ที่จะพบตัวอ่อนก่อนต่อยไข่ ควรจะตรวจสอบอย่างไร
ตอนนี้แหละที่ความวยงงบังเกิด เพราะกลัวว่าไข่ใบที่ 2 ใบที่ 3 จะไม่เป็นผล คิดไม่ออกแน่นอน ครูรอประมาณ สองนาที่ อดไจไม่ได้ เวลาจะหมดก่อน
"ครูมีไฟฉายวิเศษ สามารส่องได้" "ไม่แน่นะ อาจจจะรู้ว่าเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย"
ตอนนี้เริ่มแย่งไฟฉายกันเพื่อพิสูจน์ก่อนต่อยไข่
สุดท้ายก็ได้เฮ ที่ได้พบตัวอ่อนของไข่จริง ๆ
เสียงนักเรียอุทานมาว่า "ครูช่างใจร้ายจริง ๆ ดูซิค่ะ มันยังเล็ก ๆ อยู่ มันจะตายไหม"
คำถามที่ครูตอบ... ว่าเดี๋ยวครูจะอธิบายให้ฟัง
กว่าจะได้ผลครูก็เหนื่อยแทบแย่ และกว่าจะได้อธิบายกลไกลของสิ่งมีชีวิต บางห้องนำไข่เน่ามา ระเบิดเห็นทั้งห้องโดยที่ทั้งชั่วโมงเกือบไม่ได้เรียนรู้เลย
แต่สิ่งที่มีค่ามากที่สุด คือ ประสบการณ์
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ยูยินดี ใน ครูวิทยาศาสตร์กับนายยินดี
คำสำคัญ (Tags)#วิทยาศาสตร์#ครูเพื่อศิษย์#elc#easy lab control
หมายเลขบันทึก: 296115, เขียน: 10 Sep 2009 @ 10:30 (), แก้ไข: 21 Jun 2012 @ 11:51 (), สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน, ความเห็น: 11, อ่าน: คลิก
น่ารักจริงๆ กับเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่คุณครูได้นำมาพัฒนาเด็กๆ เยี่ยมค่ะ