เราๆ ท่านๆ อาจจะสงสัยว่า นอนคืนละเท่าไหร่จึงจะพอ วันนี้ผู้เขียนมีข่าวดีจากจดหมายข่าวโรงพยาบาลเซนต์แอกเนสมาเล่าสู่กันฟังครับ
สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Institute of Health / NIH) ให้ข้อมูลว่า การนอนช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เสริมความจำ และฝัน
คนเราไม่ได้หลับลึกเท่ากันทั้งคืน ทว่า...มีระยะของการหลับตื้นไปการหลับลึก จากหลับลึกไปสู่การฝันสลับกันไปจนครบรอบหนึ่ง (cycle) แล้วจึงเริ่มรอบใหม่อีกหลายครั้ง รอบหนึ่งกินเวลาประมาณ 90-110 นาที วันละ 4-5 รอบ
การหลับแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ๆ ได้แก่ การหลับแบบไม่ฝัน 4 ระยะ (stages) ระยะของการหลับแบบไม่ฝันนานประมาณ 1 ชั่วโมง และการหลับแบบฝัน 1 ระยะ รวมเป็นรอบละ 5 ระยะได้แก่
การหลับแบบฝันมีประโยชน์ต่อกระบวนการจดจำ และการเรียนรู้ ระยะการหลับแบบฝันกินเวลาประมาณ 10 นาที และจะเข้าสู่ระยะที่ 1 ซ้ำอีกหลายรอบจนกระทั่งตื่นนอน
การหลับเกิดเป็นวงรอบ (cycles) หลายๆ รอบ รอบละประมาณ 90-110 นาที การหลับในรอบหลังๆ จะมีช่วงการหลับลึก(หลับแบบไม่ฝันระยะ 3-4)สั้นลง การหลับแบบฝัน(ระยะ 5)ยาวขึ้น
ช่วงเช้าจะเป็นช่วงที่การหลับส่วนใหญ่อยู่ในระยะหลับตื้น (ระยะ 1-2) และระยะหลับฝัน (ระยะ 5) เป็นส่วนใหญ่ จึงปลุกให้ตื่นได้ง่ายกว่าช่วงแรกของการหลับ
คนเราจะมีช่วงการหลับแบบฝันลดลงตามอายุ
เด็กทารกมีระยะหลับแบบฝัน(ระยะ 5)วันละ 8 ชั่วโมง
ผู้ใหญ่อายุน้อยมีระยะหลับแบบฝันวันละ 2 ชั่วโมง คนสูงอายุ(70
ปี)มีระยะหลับแบบฝันวันละ 45 นาที
คนเราจะต้องการนอนหลับคืนละไม่เท่ากัน บางคนนอนมาก บางคนนอนน้อย
ทว่า... คนเกือบทั้งหมดต้องการนอนอย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง หรือดีที่สุดประมาณวันละ 8 ชั่วโมง การนอนไม่พออาจทำให้คนเราหลงๆ ลืมๆ สับสน และทนต่อความกดดันรอบด้านได้น้อยลง
สถิติของหน่วยงานบริหารความปลอดภัยบนถนน (National Highway Traffic Safety Administration) สหรัฐฯ กล่าวว่า
การนอนไม่พอมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุปีละ 100,000 ครั้ง และเป็นสาเหตุการตายปีละ 1,500 คน
นักวิทยาศาสตร์(ใจร้าย)นำหนูมาทดลอง กลุ่มหนึ่งให้นอนตามธรรมชาติ กลุ่มนี้มีอายุขัยประมาณ 3 ปี อีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้นอน กลุ่มนี้จะมีอายุขัยเหลือ 3 สัปดาห์ อายุยืนต่างกันถึง 17.33 เท่า
ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า การนอนมีความสำคัญต่อระบบประสาท ทำให้เซลล์ประสาทมีช่วงเวลาได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ
นอกจากนั้นการหลับยังช่วยในการหลั่งฮอร์โมนเติบโตในเด็กและผู้ใหญ่อายุน้อย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ตามปกติ
คำแนะนำเพื่อสุขภาพการนอนที่ดีมีอย่างนี้ครับ...
ภาพพม่า:
>>>
ภาพประกอบหัวเรื่องด้านบน -> ภาพแม่ค้างีบที่พุกาม 2548
พุกามเป็นเมืองหลวงเก่าก่อนถูกเจงกิสข่านบุกทำลาย
อยู่ในภาคกลางของพม่า ใกล้กลุ่มเมืองหลวงเก่าตอนบน(อมราปุระ มัณฑเลย์
สกายน์)
พื้นที่ส่วนนี้ของพม่าจะมีฝนตกค่อนข้างน้อย
เนื่องจากมีแนวภูเขาพาดในแนวเหนือ-ใต้บังลมมรสุมหลายแนว
ทำให้ฝนตกน้อยกว่าส่วนอื่นๆ ของประเทศ
ผู้เขียนสังเกตว่า คนพุกามเป็นคนใจเย็น ไม่มักโกรธ ดูจะมากด้วยเมตตา
พูดจาไพเราะ คนมัณฑเลย์ว่าใจเย็นแล้ว... คนพุกามยังใจเย็นกว่าเยอะ
ปัญหาใหญ่ของพุกามในปัจจุบันคือ
เป็นเมืองกึ่งทะเลทราย ปริมาณน้ำฝนที่ตกทั้งปีต่ำมาก
อาศัยน้ำจากแม่น้ำอะเยยาวดี (Ayeyawadee) หรือที่ไทยเรียกว่า
"อิระวดี"
เย็นๆ จะเห็นชาวบ้านไปตักน้ำจากแม่น้ำมาใช้
เวลาคนพม่าพูดถึงแม่น้ำอะเยยาวดี (อิรวดี / irrewaddy)...
ดูเขาจะพูดด้วยความนอบน้อมต่อแม่น้ำสายวัฒนธรรมแห่งนี้
ถ้าช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากขึ้นอาจจะชะลอภาวะกึ่งทะเลทรายให้กลายเป็นทะเลทรายช้าลงได้
1). เชิญชมภาพใหญ่ แก้ไขภาพที่ไหว (motion blur)
ด้วยการแต่งภาพ ภาพเดิมรีบถ่ายมาก ไม่ได้ใช้แฟลช รีบถ่าย
ทำให้เกิดภาพสั่น (motion blur) คนพม่าถือว่า การถ่ายภาพต้องขออนุญาต
จึงลักลอบถ่ายภาพ ไม่ได้ขออนุญาต ขอถือโอกาสนี้...
ขออภัยท่านแม่ค้าในรูปผ่านบล็อกอย่างเป็นทางการ...
>>>>> คลิกที่นี่ [ Click ]
<<<<<
2). เชิญชมภาพใหญ่
แต่งภาพทำให้ดูคล้ายภาพสีน้ำ
>>>>> คลิกที่นี่ [ Click
] <<<<<
ขอแนะนำ...
แหล่งที่มา:
เรียนคุณหมอวัลลภ
เขาว่ากันว่า (เชิญ Discuss ตามอัธยาศัยครับ)
พูดถึงศีลข้อปาณาที่อาจารย์กล่าวถึง ขอความรู้และวิธีปฏิบัติเผื่อแม่บ้านท่านอื่นด้วย
ในฐานะที่เป็นแม่บ้าน เรื่องมดและแมลงสาบ ทั้งที่ป้องกันโดยรักษาความสะอาด และแผ่เมตตาว่าอย่ารบกวนกัน แต่นานๆครั้งก็มีเล็ดลอดมารบกวนเราจะทำอย่างไร
ส่วนการนอนไม่หลับไม่มีปัญหา เพราะภาวนาก็หลับง่ายค่ะ
แถมเรื่องยุงครับ หนังสือที่เคยอ่านมาบอกว่า
ส่วนแมลงสาบนั้นคุณแม่ผมใช้วิธีจับใส่ถุงแล้วไปปล่อยนอกบ้านตามป่าหญ้าครับ
แป้งกันมดที่ขายกัน ได้ยินว่ามีสารพิษอยู่ใช่ไหมครับ ดังนั้นน่าจะเอาแป้งฝุ่นทาตัวน่าจะดีกว่า
Water vapor (H2O) causes about 60% of Earth's naturally-occurring greenhouse effect. Other gases influencing the effect include carbon dioxide (CO2) (about 26%), methane (CH4), nitrous oxide (N2O) and ozone (O3) (about 8%) [7]. Collectively, these gases are known as greenhouse gases.
ขอท่านผู้อ่านทุกท่านพึงมีความุสุข ความเจริญ ได้อยู่ในที่ที่มีอุตุสัปปายะ (ร้อนพอดี หนาวพอดี เป็นเหตุให้เกิดความสบาย อันสมควรแก่การบำเพ็ญบุญกุศล)เทอญ...