ทักษะในการพัฒนาชีวิต


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทักษะในการพัฒนาชีวิต

          โลกปัจจุบันไม่หยุดนิ่ง ทุกคนต้องเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนั่นคือต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับอนาคต เครื่องมือที่ใช้ในการเผชิญกับอนาคตที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือความคิด ความฉลาดหรือทักษะในการดำเนินชีวิตนักวิชาการด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ศาสตราจารย์ Howard Gardner แสดงแนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดไว้ว่า “ ความฉลาดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการวัดจากไอคิวซึ่งเน้นแค่การคำนวณตรรกะและภาษาเพียงเท่านั้นแต่ความฉลาดนั้นมีด้วยกันหลายด้านและมนุษย์แต่ละคนมีความฉลาดเฉพาะทางที่แตกต่างกันออกไป”

          ศาสตราจารย์ Gardner ได้ชี้ให้เห็นและเน้นไปที่ความฉลาดหรือทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต 5 ประการซึ่งความฉลาดนี้ Gardner ใช้แทนด้วยคำว่า “จิต (Mind)” ซึ่งจิตทั้ง 5 ประกอบด้วย

          1. จิตแห่งวิทยาการ(Disciplined  Mind)หมายถึง การเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ในสาระวิชา ปรัชญา หลักการและองค์ความรู้ต่างๆของสิ่งที่ได้เรียนรู้มาและสามารถนำแก่นเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองนั้นเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ช่วยให้เราคิดเป็น ทำเป็น มองปัญหาอย่างเป็นองค์รวมและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

          2. จิตแห่งการสังเคราะห์(Synyhesizing  Mind) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะใจความหรือจับประเด็นสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ  จากข้อมูลหรือองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้ และสะสมไว้ประยุกต์หรือบูรณาการรวมกันเกิดเป็นแนวความคิดใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้นมา

          3.จิตแห่งการสร้างสรรค์(Creaying Mind) หมายถึง การมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบที่แต่ต่างจากคนอื่นซึ่งความคิดสร้างสรรค์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างฉับพลันและเชื่อว่าสามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้

          4. จิตแห่งความเคารพ(Respectful  Mind) หมายถึง การอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติและเคารพในความคิดของผู้อื่น เคารพและเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม รวมทั้งเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างไปจากความคิดเห็นของตนเอง อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

          5. จิตแห่งคุณธรรม(Ethical  Mind) หมายถึง ความคิดที่ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ซึ่งความคิดลักษณะนี้ สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นความรู้คู่คุณธรรม

          ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จิตทั้ง 5 นี้มีความจำเป็นอย่างมากเพื่อเสริมสร้างคุณภาพและศักยภาพในทุกๆด้านของคนให้เป็นที่มนุษย์สมบูรณ์ บุคคลใดที่มีจิตสาธารณะทั้ง 5 ประกอบรวมอยู่ในตัวตนบุคคลนั้นจะสามารถเอาตัวรอดและประสบความสำเร็จทั้งในด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต

          เพื่อให้สังคมสงบสุขการพัฒนามนุษย์ในปัจจุบันไม่ควรเน้นที่จะพัฒนาเฉพาะความรู้เท่านั้นควรที่จะพัฒนาและขัดเกลาจิตใจให้เป็นคนที่มีคุณธรรมเพื่อหล่อหลอมให้เป็นคนที่มีคุณภาพ มีทั้งความเก่งและความดีควบคู่กันไป

ที่มา: วารสาร สารพินิจ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนธันวาคม2551-มกราคม 2552

หมายเลขบันทึก: 284437เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 03:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มาเยี่ยมชมผลงานครับ

บอกที่มาขององค์ความรู้ด้วยนะครับ

เป็นการบริหารจิตที่ดี ซึ่งในทุกหน่วยงานควรนำหลักทั้ง 5 จิตนี้มาบริหารพร้อมๆกันค่ะ

ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

มาปรับใช้ในชีวิต

ให้เกิดคุณค่าอย่างสูงสุด

-เป็นบทความที่ดีมากครับ-

นำมาประยุกต์ให้เหมาะกับหนทางชีวิตของเรา

มาเก็บเอาความรู้ที่หนูเอเอนำมาให้อ่าน

ขอบคุณนะคะก็ขอนำไปใช้เลยก็แล้วกันคะ

อ่านแล้ว ชีวิตคงได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น

จะนำไปใช้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท