5 เหตุผลที่เราเผลออยากลาออก!


เหตุผลที่คนเราคิดจะลาออกจากงาน
5 เหตุผลที่เราเผลออยากลาออก!

                กลางปีทุกอย่างนิ่งได้ใจจริงๆ โดยเฉพาะเรื่องงาน  ความสุข  และความท้าทายหาได้น้อยลง  มองไปทางไหนก็เหมือนมีแต่ปัญหาเข้ามาอย่างนี้ทางเลือกเดียวคงต้องลาออก

จะด้วยอารมณ์ชั่ววูบหรือคิดอยู่นานแล้ว  จนถึงจุดที่ว่าฉันคงทนไม่ไหวแล้วล่ะ  ลองพิจารณาเหตุผลและปัจจัย           รอบตัวอีกทีดีไหม  ก่อนที่คิดจะลาออก  เพราะความคิดแวบเดียวนั้นอาจทำให้คุณพลาดงานที่มีโอกาสก้าวหน้าก็ได้

                เราอยากบอกว่าคุณได้ความสะใจแน่  แต่อาจกลายเป็นเรื่องผิดพลาดที่คุณกลับมาแก้ไขไม่ได้  ใจเย็นๆ หยุด

คิดถามตัวเองวันละหลายรอบก่อนว่าดีแล้วหรือ?  ถ้ายังไม่ชัวร์ เรามาช่วยกันหาคำตอบ!                                          

ผู้เขียนได้อ่านบทความเรื่อง “5 เหตุผลที่เราเผลออยากลาออก” นั้นมาจากคอลัมภ์ CLEO instant  career  advice ซึ่งอ่านแล้วมันก็จริงดังว่าจึงต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ HR เผื่อจะโดนใจใครบ้างในขณะที่มีอารมณ์อยาก         ลาออก   ซึ่งอาจช่วยท่านแก้ไขปัญหาได้ทัน  ก่อนที่ท่านจะตกงาน  ลองติดตามดู

1.      แบบว่าไม่รู้อะไรเข้าสิง เลยเผลอพูดไปว่า “หนูขอลาออกค่ะ”

นี่ไม่ใช่เรื่องของศาสตร์มืดนะ แต่เชื่อเถอะว่า ในบางอารมณ์ที่คุณกำลังสับสน  อาจจะทั้งเจอแรงกดดันจาก

งานบางอย่าง  ไม่พอใจเพื่อนร่วมออฟฟิศบางคน  เกิดน้อยอกน้อยใจในเจ้านายขึ้นมา หรืออาจจะหลายๆ สถานการณ์ข้างต้น  มันดันเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กัน พร้อมอารมณ์ที่พุ่งปี๊ดเป็นปรอทวัดไข้  จนทำให้คุณคิดว่า “โอ๊ย ไม่ไหวแล้ววุ้ย  ถ้าเรื่องมันหนักหนาสาหัสขนาดนี้ ก็ไม่ไหวจะตามแก้  ลาออกมันซะเลยแล้วกัน จะได้จบๆ”  ว่าแล้วคุณก็เดินไปพร้อมอารมณ์เดือดปุดๆ มุ่งหน้าไปเคาะประตูห้องเจ้านาย  พร้อมกับคิดว่าทำอย่างนี้ล่ะดีแล้ว  เป็นไงเป็นกัน  แล้วเพิ่งมาได้สติรู้ตัวเองอีกที ในเช้าวันที่ตื่นมาแล้วไม่มีงานทำว่า “ฉันลาออกทำไมเนี่ย”                                                                                                                                                       ก่อนจะเผลอ  ลองทำตามนี้ : เมื่อไรที่เกิดสถานการณ์อารมณ์ปี๊ดขึ้นมา หลับตานับ 1 ถึง 100 ใช่ลืมตาขึ้นมา ปัญหาทุกอย่างก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่แทนที่นาทีนั้น คุณจะเดินไปถึงหน้าห้องเจ้านายแล้ว คุณจะใจเย็นขึ้น แนะนำว่า ยังไม่ต้องคิดแก้ไขอะไรตอนนี้ ลองออกไปเดินเล่นสักพัก  กลับมาอีกทีจะรู้สึกได้ว่า เรื่องมันก็ไม่ได้หนักขนาดนั้นสักหน่อย

          2.   ไม่ไหวแล้วกับเพื่อนร่วมงาน                                           

         อย่าคิดว่าการลาออกเพราะเพื่อนร่วมงานเป็นเรื่องไร้สาระ  มีคนเคยบอกว่า งานที่ดี คือ การได้ทำสิ่งที่ชอบ เจ้านายดีและเพื่อนร่วมงานที่โอเคอยู่แล้วมีความสุข เพราะฉะนั้นการรับไม่ได้กับเพื่อนร่วมงาน จึงไม่แปลกเลยที่จะทำให้ไม่มี            ความสุข   ใน 8ชั่วโมง ที่คุณต้องอยู่ในออฟฟิศ แล้วคุณอดทนทำงานท่ามกลางบรรยากาศแบบนี้ได้เหรอ               

                แต่ก่อนจะตัดสินใจลาออก : ลองชั่งน้ำหนักดูว่า เวลาทำงานคุณมีความสุขมากกว่าไม่มีความสุขรึเปล่า  ถ้าจะหลีกเลี่ยงคนที่ทำให้คุณต้องเสียอารมณ์เสียความน่าเชื่อถือ เสียเวลาอันมีค่าในการทำงานไปกับการต้องคอยรับมือกับเขา คุณจะทำแบบนั้นดีไหม

3.             แย่จัง ตังค์น้อย

แน่นอนใครทำงานก็ต้องอยากได้เงินทั้งนั้นคงไม่ได้ทำเพราะอยากมีเพื่อนไว้เม้าท์กันในออฟฟิศแน่ๆ ถ้าเรา

ไม่ได้เกิดมาเงินถุงเงินถังมีมรดกเป็นพันล้านมาจากเจ้าคุณปู่  แต่เงินน้อยในที่นี้คือเราทำไปสักพักแล้วคิดว่าเงินที่ได้ไม่คุ้มกับความเหนื่อยสักเท่าไร

                ทบทวนอีกที : สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ คุณรู้หรือยังว่าอัตราเงินเดือนโดยเฉลี่ยแล้วในวงการของคุณเขาได้กันประมาณไหน ต้องทำใจและเข้าใจด้วยว่าบางงานอัตราเงินเดือนก็ไม่สูงมากนัก ต่อมาคือแล้วงานของเราที่ผ่านมาผลงานดีจริงหรือเปล่า?  ถ้าดีจริงเราเจ๋งแน่  อันนี้ลองคุยกับหัวหน้างานดูก่อนว่าพอจะเพิ่มให้ได้หรือไม่?  แทนที่จะฮึดฮัดขัดใจแล้วลาออกไปหางานใหม่

        4.     บ้านไกล๊….ไกล   

              เราเข้าใจดีว่าถ้าบ้านคุณอยู่รามอินทราแล้วต้องมาทำงานถึงพระรามสี่  ทำให้ต้องใช้เวลาไปกลับร่วมสี่ชั่วโมงบน ท้องถนนมันทรมานขนาดไหน  แต่มันก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าที่คุณต้องพยายามหางานเป็นครีเอทีฟโฆษณา  ทำในละแวกใกล้บ้าน  เพราะเอเจนซี่ไหนๆ ก็อยู่ใจกลางเมืองกันหมด  นี่แค่ยกตัวอย่างคร่าวๆ นะ

ปรับตัวก่อนไหม : ถ้าคุณเพิ่งเข้าทำงานนี้ได้ไม่กี่เดือน  สิ่งที่ควรลองก่อนคือปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคุณเอง       ทำอย่างไรให้การเดินทางบนท้องถนนเป็นช่วงเวลาที่ไม่ทรมาน ปรับรูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเองอย่างไรให้เข้ากับงานได้  เราขอยกตัวอย่าง บี สาวออฟฟิศ 28 ปี เธอเล่าให้เราฟังว่า “พอตีห้าครึ่งนาฬิกาปลุกเราก็ยังงัวเงีย  อยากนอนต่อแต่พอนึกสภาพตัวเองต้องไปติดแหงกอยู่บนถนนอีก 2 ชั่วโมง  บีก็เด้งตัวขึ้นจากเตียงได้ทันที  แล้วตอนนี้บีก็ปรับไลฟ์สไตล์ด้วยการแวะเข้าฟิตเนสใกล้ออฟฟิศก่อนตอนเช้า  เข้างานเก้าโมงทันพอดี”

5.     อยู่ดีๆ งานก็เยอะขึ้นมาซะงั้น !

งานโหลดมากจนรู้สึกว่าไม่ไหวจะเคลียร์ อ่อนเพลียจะแก้ไข  งั้นลาออกเลยแล้วกัน  ที่เหลือก็ช่างมันให้คนอื่นแก้กันไป  หรือถ้าพอมีความรับผิดชอบอยู่บ้างก็คิดว่าเคลียร์งานนี้เสร็จฉันขอชิงลาออก  ไม่ไหวงานหนักเกินไปแล้ว เกินจะแบก

สู้อีกสักตั้งเถอะ : ถ้าคุณผ่านงานนี้ไปได้ก็เตรียมพะยี่ห้อ “นักสู้ตัวจริง” ลงไปได้เลยบางทีเราก็ต้องมองเหตุผลรอบตัวด้วยว่าเราคนเดียวหรือเปล่าที่หนัก? ถ้าบังเอิญช่วงนี้เป็นช่วงงานเข้าของบริษัทนี้ก็เป็นไปได้ว่าทุกคนก็คงต้องโหลดด้วยกันทั้งนั้น  ถ้าคุณประเมินศักยภาพของคุณเต็มที่แล้วไม่ทันแน่ๆ ก็รีบคุยกับทีมงานจะได้ช่วยกัน หรือเดินเข้าไปบอกหัวหน้างานก็ได้ เพราะนี่คือความสำเร็จขององค์กร  แต่ยุคนี้พึงสังวรณ์ไว้เถอะว่า “งานเข้า ดีกว่าไม่มีงานนะจ๊ะ”

หมายเลขบันทึก: 284432เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ถ้าเรามีความสามารถ เก่งจริงใครๆ ก้ต้องการ จริงไหม

สู้ตายครับ

ทำงานตายไม่เห็นน่าอายเลย

ครูแจ๋นขา........อ่านแล้วมีสติตั้งเยอะ ดังนั้น ฟันธง ยังไม่ลาออก

ขอบคุณบทความ แง่คิดดี ๆ เรื่องงานนะคะ อ่านแล้วมองเห็นทางออกขึ้นเยอะเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท