เพลโต


เพลโต

 

             นักปรัชญา เพลโต แต่งหนังเสือไว้มากมาย วิธีเขียนหนังสือของเขาจะเน้นการสนทนาโต้ตอบกัน ซึ่งอาจารย์ของเขาเคยปฏิบัติมา เขามีความเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติและรัฐดังนี้

            1) มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดยโดดเดี่ยว เพียงลำพังได้    นอกจากจะต้องพึ่งพากันและกัน มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ดังที่มนุษย์คนแรกก็ถูกสร้างมาคู่กันระหว่างชายและหญิง สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน อาศัยกันอย่างหลีกเลี่ยงมิได้

            2)  รัฐเกิดขึ้นจากความจำเป็นของคน   มนุษย์แต่ละคนนั้น มีความจำเป็นมากมายหลายอย่างและเขาไม่สามารถที่จะสนองความต้องการทุกอย่างของเขาด้วยตัวของเขาเองได้แต่จะต้องร่วมมือกันทำแล้วแต่หน้าที่ หรือความถนัดของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ

            3) ในด้านจริยธรรม  เพลโตมีทัศนะว่า  คนโดยปกติแล้วมักจะแสวงหาแต่สิ่งที่ดี  แต่คุณความดีไม่ใช่สิ่งเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ  คนต้องมีความรู้โดยการศึกษาเพียงที่จะแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี  สิ่งใดชั่ว  และเลือกประพฤติแต่สิ่งที่ดีจึงจะพบกับคุณธรรม ดังนั้นจิตใจของคนสำคัญกว่าร่างกายเพราะจิตใจเป็นสิ่งบงการให้ปฏิบัติในทุกๆอย่างเปรียบดังกัปตันเรือ

            จากที่กล่าวมาในข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า มนุษย์โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีพฤติกรรมหรือการดํารงชีวิตอยู่ในแต่ละวันแบบนี้ อาจจะมีบางส่วนที่ผิดแปลกหรือแหวกแนวไปจากนี้ แต่ส่วนน้อยไม่กี่เปอร์เซ็นต์

หมายเลขบันทึก: 284429เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2009 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท