beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สังเวชนียสถาน (ไทย) ๒ : พระประธานในพุทธมณฑล


บริเวณใจกลางของพุทธมณฑล มีพระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ ประทับยืนสง่าอยู่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

   ที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล  สร้างอยู่รอบองค์พระประธาน (พระศรีศากยะทศพลฯ) ของพุทธมณฑล กำหนดตามทิศในพุทธประวัติ โดยถือเอาองค์พระประธานฯ เป็นหลัก 
    ในสังเวชนียสถาน แต่ละตำบล ได้แก่ ตำบลประสูติ ตำบลตรัสรู้ ตำบลปฐมเทศนา และตำบลปรินิพาน จะใช้หินแกรนิต ซึ่งเป็นหินที่แข็งและคงทนมาก นำมาจากแหล่งหินในป่า ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เมื่อได้หินแกรนิตที่มีขนาดและสีตามต้องการแล้ว ก็นำมาแกะสลักเป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ในตำบล

   ก่อนจะถึงเรื่องสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ขอเล่าประวัติของพุทธมณฑลและพระประธานฯก่อนนะครับ

     
   
   
 

พระประธาน:พระศรีศากยะทศพลฯ

 
     

    พุทธมณฑล เป็นพุทธอุทยาน ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ
    พุทธมณฑล สร้างขึ้นตามแนวคิดของ ฯพณฯ นายยกรัฐมนตรี จอมพล ป พิบูลสงคราม มีเนื้อที่ทั้งหมด  2500 ไร่ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 และทำพิธีเปิดในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ. 2500 (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500) หลังจากหยุดการก่อสร้างเป็นเวลานาน อุทยานแห่งนี้ก็สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2519  

    บริเวณใจกลางของพุทธมณฑล มีพระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ประทับยืนสง่าอยู่ เป็นพระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุดในโลก พระพุทธรูปองค์นี้ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (พ.ศ. 2501)  ปั้นหล่อด้วยโลหะสำริด โดยกรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง (พ.ศ.2524)  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์

  พระศรีศากยะทศพลฯ นั้น องค์พระสูง 2,500 กระเบียด (15.875 เมตร) เป็นพระพุทธรูป ที่มีพระเกตุมาลา เป็นเปลวสูง เหนือพระเศียร ทรงห่อจีวรเฉวียงบ่า พาดสังฆาฏิ อยู่ในท่าย่างพระบาท และมีบัวรองพระบาท ส่วนการจัดวางที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปนั้น เนื่องจากองค์พระพุทธรูป เป็นปางลีลา จึงจัดพื้นที่ให้มีความยาวไปข้างหน้าพอสมควร ให้เสมือนว่าจะทรงพระดำเนินไปข้างหน้า

   ในการขยายแบบพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล จากต้นแบบของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งมีความสูง 2.14 เมตร ให้ได้ 2500 กระเบียดนั้น ต้องขยายถึง 7.5 เท่า เมื่อขยายแบบเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ต้องแบ่งองค์พระ ออกเป็นส่วนต่างๆ 6 ส่วนดังนี้คือ

  1. พระเศียร 
  2. พระอุระ และพระพาหาข้างซ้าย
  3. พระนาภีและพระพาหาข้างขวา
  4. พระเพลา
  5. พระบาทและฐานบัวรองพระบาท
  6. พระกรซ้ายและขวา

   โลหะที่ใช้หล่อองค์พระนั้น ได้กำหนดให้ได้มาตราฐานเดียวกัน รวมทั้งหมด 137 ชิ้น มีส่วนผสม หรือสูตรที่แน่นอน เรียกว่า "โลหะสำริด" การปฏิบัติงานเริ่มแรก ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2523 จนแล้วเสร็จในปี 2525 

   

ภาพพระประธานฯ ในพุทธมณฑล ถ่ายภาพโดย
beeman  คลิกดูภาพใหญ่

ภาพถ่ายอีกมุมหนึ่ง
คลิกดูภาพใหญ่
   
ภาพคุณบอยกับต้นพระศรีมหาโพธิ์
ด้านข้างองค์พระประธาน ดูภาพใหญ่
ภาพ beeman กับต้นพระศรีมหาโพธิ์
คลิกดูภาพใหญ่



   เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทรงเททองหล่อ พระเกตุมาลา
   เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2525 สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธาน ได้การประกอบพระเศียร กับพระพุทธรูป
   เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ประกอบพิธีสมโภช

     
สังเวชนียสถาน ๑  สังเวชนียสถาน ๒  สังเวชนียสถาน ๓
     

ที่มา : http://thaispecial.com/budhamonthon/budhamonthon3.htm

 

หมายเลขบันทึก: 28340เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2006 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท