คำถามเกี่ยวกับ Mammography 7


ทำไมการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม จึงต้องกดเต้านม ?

แรงกดเต้านมที่เหมาะสมมีค่าเท่าไร ?

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 28092เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2006 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

          การกดเต้านมขณะถ่ายภาพเอกซเรย์ มีประโยชน์ คือ

  1. ช่วยให้เต้านมอยู่นิ่ง ป้องกันการเกิด movement unsharpness (ภาพเบลอเนื่องจากส่วนที่ถ่ายไม่นิ่ง)
  2. ทำให้องค์ประกอบต่างๆ ภายในเนื้อเยื่อเต้านม อยู่ชิดฟิล์มมากขึ้น เป็นการลด geometrical unsharpness (ภาพเบลอเนื่องจากส่วนที่ถ่ายอยู่ห่างฟิล์ม)
  3. ช่วยให้เต้านมทั้งส่วนที่อยู่ติดกับผนังทรวงอก และตรงปลายหัวนมมีความหนาเท่ากันตลอด การปรับตั้งปริมาณรังสีที่เหมาะสมในการถ่ายภาพทำได้ง่าย ทำให้ภาพที่ได้มีความดำสม่ำเสมอดี
  4. ช่วยให้คอนทราสของภาพดีขึ้น เพราะเต้านมบางลง เกิดรังสีกระเจิงรบกวนภาพน้อยลง
  5. ช่วยแผ่เนื้อเยื่อเต้านมส่วนที่หนาและทึบรังสี เช่น ต่อมน้ำนม และรอยโรคที่ซ้อนกันอยู่ ให้แยกออกจากกัน ทำให้การวินิจฉัยรอยโรคจากภาพเอกซเรย์ง่ายขึ้น
  6. ช่วยลดปริมาณรังสีดูดกลืนในตัวผู้ป่วย เนื่องจากเต้านมบางลง ปริมาณรังสีที่ต้องใช้ก็ลดตามลงไปด้วย

 

  • เครื่องเอกซเรย์เต้านมโดยเฉพาะ  ออกแบบให้สามารถปรับแรงกดเต้านมด้วยแผ่นกด ทั้งวิธี manual และ auto
  • แรงกดที่เหมาะสมสำหรับเต้านมในการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 25 - 40 ปอนด์ (ประมาณ 112 - 180 นิวตัน)
  • แรงกดสูงสุดของเครื่องควรมีค่าไม่เกิน 45 ปอนด์ (200 นิวตัน) 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท