3 หลัก ในการวางแผนการทำงานในองค์กร


3การวางแผนการทำงานในองค์กร

3  หลัก ในการวางแผนการทำงานในองค์กร

                                             

           1. การวางแผนแบบใช้กลยุทธ์ (Strategic Planning)
              การวางแผนแบบใช้กลยุทธ์ จะเกี่ยวข้องกับรายละเอียดการทำงานทั้งหมดขององค์กร ซึ่งจะเริ่มต้น จากแนวความคิดของผู้บริหารระดับสูง หลังจากนั้น แผนกต่างๆ ในทุกระดับขององค์กร จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงานร่วมกัน วัตถุประสงค์ของการวางแผนแบบใช้กลยุทธ์ คือ
            1.  กำหนดทิศทางการทำงาน และวางแผนในระยะยาว เพื่อให้ทุกแผนก
                 ขององค์กรทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน

            2.  เพื่อให้พนักงานในทุกระดับ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ
                 วางแผน

            3.  เพื่อให้แต่ละแผนก พัฒนาแผนการทำงาน แล้วจึงนำมาใช้แบบ
                 ผสมผสาน


2. การวางแผนโดยใช้กลวิธีเฉพาะ (Tactical Planning)
               การวางแผนโดยใช้กลวิธีเฉพาะ คือ การวางแผนสำหรับกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โครงการหรือโปรเจคต์ ที่จัดขึ้นมาใหม่ และจะต้องใช้กลวิธี ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่องานนี้โดยเฉพาะ ซึ่งกลวิธี เหล่านี้ มักจะเกี่ยวข้องกับแผนกงานในระดับล่าง (ระดับปฏิบัติการ) ซึ่งพวกเขา จะต้องหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะต้องนำมาใช้ และแบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบ  กลวิธีเฉพาะ จึงเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้การวางแผนแบบใช้กลยุทธ์ในข้อแรกประสบความสำเร็จ ขั้นตอนการวางแผนแบบนี้ จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ณ ปัจจุบัน ในขณะที่โครงการ หรือโปรเจคต์กำลังดำเนินอยู่  (อ่านบทความ ทางด้าน HR และเรื่องสาระในการทำงาน ที่ www.ThaiHrCenter.com, w.YesTestMe.com)
3. การวางแผนเชิงปฏิบัติการ (Operational Planning)
                   การวางแผนเชิงปฏิบัติการ คือสิ่งที่ ผู้บริหาร หรือผู้ที่ทำงานในระดับหัวหน้า ใช้ เพราะเป็นส่วนหนึ่ง ในหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง และจะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ การวางแผนเชิงปฏิบัติการ แบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ

                 1.  แผนแบบใช้ครั้งเดียว เช่น การจัดกิจกรรมพิเศษ หรืองบประมาณ
                      สำหรับจัดกิจกรรมพิเศษ

                 2.  แผนแบบที่จะต้องใช้ต่อไป เช่น นโยบายขององค์กร และระเบีบย
                       การในการทำงาน


ขั้นตอนในการวางแผนเชิงปฏิบัติการ คือ
1.  กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน  
      ทั้งในช่วงเวลาปัจจุบัน ไปจนถึงอนาคต

2. วิเคราะห์ และประเมิณสภาพแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน  
     และทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้งานได้

3. กำหนดทางเลือก กำหนดและตั้งเป้า แผนการทำงาน ซึ่งมีความเป็นเป็นไปได้
4. ประเมินทางเลือกที่มี แยกรายละเอียดแผนการทำงาน พิจารณาถึงข้อดี และ

     ข้อเสีย ที่จะเกิดขึ้น
5.  คัดเลือกแผนการทำงานที่ดีที่สุด เลือกแผนการทำงาน ที่นำมาใช้ แล้วจะเกิด

      ประโยชน์สูงสุด หรือไม่ก็ต้องให้มีข้อเสียน้อยที่สุด
6. จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับแผนการที่ได้วางไว้ เช่น กำหนดว่า ใครจะต้องมี
     หน้าที่รับผิดชอบ

7.   ควบคุมแผนงาน และประเมินผลลัพธ์ ตรวจสอบว่า การทำงาน ได้ดำเนิน
      ไปตามที่ได้คาดหวังไว้หรือไม่ และใช้การตัดสินใจ เมื่อเกิดปัญหาที่จะต้อง 
       แก้ไขงานอะไรบ้าง ทรัพยากรในการทำงานแบบไหน ที่พวกเขาจะต้องใช้

 

                                                                         

 

 

ที่มา :www.bangkokbiznews.com

หมายเลขบันทึก: 282791เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2009 23:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ได้อ่านบทความของคุณ ได้ข้อคิดอะไรหลายๆ อย่าง

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ครับ

หวัดดีตอนสิบโมงเช้าน้องเต๊าะจ๊ะ

แวะมาทักทาย ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

เก่งจังเลย ขอบคุณนะคะ

วางแผนชาญฉลาด

เมื่อปฏิบัติต้องสำเร็จแน่นอนค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่น่าสนใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท