เกิดอะไรขึ้นกับนักศึกษารุ่นใหม่ในคำว่า "ไม่ตั้งใจเรียน"


การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ณ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

ทุกครั้งที่ผมได้ทำหน้าที่สอน

ทุกบททุกตอนของเรื่องราว

ทุกแสงแวววาวของความมุ่งมั่น

ทุกวันสุขใจที่ได้ทำให้เรื่องราวเหล่านั้นได้คงดำเนินไปในสิ่งดีๆ


 

     วันนี้มีโอกาสได้เก็บเกี่ยวภาพ(จากกล้องโทรศัพท์) ความประทับใจที่ไม่รู้ว่าใครจะได้พบเห็นมันบ้างไหม๊แต่สำหรับผม อัลฮัมดุลิลละฮฺครับที่ได้เห็นและรับรู้ความเป็นไปแบบนี้เกือบทุกครั้งก็ว่าได้ที่ได้สอน

ภาพนักศึกษากำลังครุ่นคิดในการอ่านเรื่อง...

ฉันจะเป็นคนดีของพระเจ้าได้อย่างไร...

   เท่าที่ผมสัมผัสสำหรับการเรียนการสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาในคาบเรียนที่ได้รับมอบหมายจะสังเกตเห็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลาที่แตกต่างจากนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยนั่นก็คือ ความตั้งใจมุ่งมั่นและขยันเรียนผิดปกติในการเรียน (อัลฮัมดุลิลละฮฺ)เพราะผมมองว่าเมื่อมองแล้วน้อยคนนักจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักศึกษาที่ควรเป็น(ปัญญาชน) อิอิ

    การที่จะทำให้เยาวชนนักศึกษารุ่นใหม่ตั้งใจเรียนสิ่งสำคัญมากที่สุด คือ การเข้าใจบริบทของเขาและทันยุคทันสมัยในการนำเสนอให้มากที่สุด สิ่งสำคัญคือ การให้เขาได้รู้จัก "แบ่งปัน" กัน มากกว่า "แข่งขัน" กันทางด้านการเรียนและเปิดพื้นที่ให้เขาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่หลังจากได้เกิดองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ในสิ่งที่ได้รับรู้แล้วนำบทเรียนเรื่องราวเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อก่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆขึ้นมาอีก บางมุมมองบางแง่มุมขององค์ความรู้ใหม่ๆเคยคิดไหม๊ว่าเราอาจจะได้จากเขาถ้าเราเปิดใจยอมรับมันว่า "ไม่มีมนุษย์คนใดสมบูรณ์เสียทุกอย่าง และความรู้ที่เรามีอยู่ ณ ปัจจุบันนั้นมันน้อยนิด"

     นายแน่มาก...นักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา"๕๒

อย่างน้อยพวกเราก็เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีหน้าที่คุ้มค่ากับเวลาที่มีอยู่ ณ วันนี้...วัลลอฮฺอะลัม



 

 

 

หมายเลขบันทึก: 276449เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ

นักศึกษาที่เห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าของการศึกษา มักจะใฝ่เรียนรู้มากกว่านักศึกษาที่มุ่งปริญญาแบบกระดาษเบิกทาง ครับ

สวัสดีค่ะน้องชาย

มาแอบดูความภาคภูมิใจของน้อง นี่คือหัวใจของคนเป็นครูแน่เลย แอบมองเห็นความดีของศิษย์ก่อนสิ่งอื่นใด

ขอให้น้องมีความสุขและสนุกกับสิ่งที่ทำจ๊ะ

แม้ไม่ค่อยได้ทักทายแต่ก็เป็นกำลังใจเสมอนะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P 1. ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

นักศึกษาของมหาวิทยาลัยอิสลามคงจะเป็นอย่างแรกอย่างที่อาจารย์ให้นิยามไว้ครับ (อิอิ)

ขอบคุณมากครับพี่

P 2. สี่ซี่

  • ครูที่ดีต้องมองเห็นด้่่่านดีของศิษย์และช่วยเพิ่มเติมพัฒนาศักยภาพตามความถนัดของเขาครับ
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มีให้เรื่อยมาครับ
  • เป็นกำลังใจในการทำงานให้ทีมงานเช่นกันครับ

แวะมาเยี่ยม

ช่วงนี้ไม่ได้เจอกันเลยนะ แวะมาชิมชาที่บ้านบ้างก็ได้

สงสัยเข้ากับสโลแกนที่ว่า "เด็กขยันชาติเจริญ" ครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P 5. จารุวัจน์ شافعى

  • อินชาอัลลอฮฺครับ...เจ้าบ้านเขาเชิญขนาดนี้แล้วคงไม่ไปไม่ได้แล้วครับ
  • ครับ...เด็กมุสลิมขยันเมื่อไหร่ ประเทศจะเจริญครับ เพราะอธิการเคยบอกว่าที่ประเทศไทยมีปัญหาเพราะเราไม่พัฒนาครับ

 

ถ้าต้องใช้ชีวิตด้วยเงื่อนไขของการแข่งขัน
ผมก็อยากให้เรารู้สึกว่า  เรากำลังแข่งขันกับตัวเอง
หรือ เมื่อต้องกระโจนเข้าสู่เวทีแข่งขันจริงๆ
ก็อยากให้รู้สึกว่า
การแข่งขันนั้น คือ กระบวนการหนึ่งของการพัฒนาชีวิต
หาใช่การแข่งขันเพื่อเป็นผู้ชนะเหนือคนอื่นๆ ในเวทีนั้นๆ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์สำหรับความคิดดีๆ

P 8. แผ่นดิน

สลามครับ ชื่นใจกับเรื่องนี้มากครับ

ขอบคุณมากครับบัง

P
อัลฮัมดุลิลละฮฺผมก็ชื่นใจกับลูกศิษย์ทุกครั้งที่ได้สอนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท