๕๗. สัมมนายุติธรรมทางเลือก (๒) เรื่อง : ความผิดที่ควรไกล่เกลี่ย


โครงการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและมาตรการทางกฏหมายมาใช้

เมื่อระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๓  มิถุนายน ๒๕๕๒ สำนักงานอัยการเขต ๓ ร่วม กับ สำนักงานวิชาการ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "โครงการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและมาตรการทางกฏหมายมาใช้ "  ผู้เข้าสัมมนาประกอบด้วย อธิบดีอัยการเขต อธิบดีอัยการฝ่าย รองอธิบดี อัยการพิเศษฝ่าย อัยการจังหวัด อัยการจังหวัด สคช. และพนักงานอัยการ จำนวน ๒๐๓ คน ณ ห้องสุรนารี เอ โรงแรมดุสิตปริ้สเซส โคราช

ในการจัดสัมมนาดังกล่าว คณะผู้จัดการสัมมนาได้จัดกิจกรรมกลุ่มย่อยออกเป็น ๔ กลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้แลกเปลี่ยน เรียน รู้ ประสบการณ์ และเสนอปัญหา เพื่อนำผลสรุปดังกล่าวไปพัฒนาปรับปรุงการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ตามภารกิจขององค์กรต่อไป

กลุ่มที่ ๑ สมาชิกภายในกลุ่มได้เลือก นายอิทธิพร แสงประดับ รองอธิบดีอัยการเขต ๓ เป็นประธาน และผลการสัมมนากลุ่มย่อยของกลุ่มที่ ๑ โดยสรุปได้ ดังนี้

      ประชุมกลุ่ม 1 ได้พิจารณาและอภิปรายในการแบ่งกลุ่มปฏิบัติการในภาคปฏิบัติเพื่อนำสู่การออกระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความในโครงการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและมาตรการทางกฎหมายมาใช้  

 

1. หัวข้อ ประเภทคดีความผิดอันยอมความได้ที่เข้าเกณฑ์ได้รับการไกล่เกลี่ย

 

ความอาญา

- คดีอาญาอันยอมความได้  สามารถไกล่เกลี่ยได้ทุกคดี

- คดีอาญาแผ่นดิน ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในแต่ละคดี ทั้งนี้ คำนึงถึง การได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ในแต่ละคดี หรืออาจจะกำหนดประเภทคดีไว้ในระเบียบ เช่นคดีประมาท สามารถตกลงระงับข้อผิดพลาดในทางแพ่ง  โดยมีการทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งโดยมีการมอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่เสียหายจนพอใจ ให้เสร็จสิ้นไปในชั้นอัยการ หรือลหุโทษ โดยที่พนักงานอัยการมีดุลพินิจในการสั่งคดีอยู่แล้วแต่ต้องจัดระเบียบในการใช้ดุลพินิจประเภทนี้ให้ดี หรืออาจส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการเปรียบเทียบปรับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ความแพ่ง

- ความแพ่งได้ทุกคดี โดยเฉพาะคดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ ระหว่างคู่กรณี ที่เป็นเอกชนกับเอกชนด้วยกัน  ส่วนคดีระหว่างรัฐกับเอกชน ให้ดูจำนวนทุนทรัพย์ที่จะข้อความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

มติ เป็นไปตามความเห็นดังกล่าวข้างต้น

 

ความปกครอง

- กรณีได้ทุกคดีเว้นแต่มีข้อกำจัดตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ

- กรณีค่าเสียหาย สามารถไกล่เกลี่ยได้แต่ต้องแล้วแต่กรณี

มติ  เป็นไปตามความเห็นดังกล่าวข้างต้น

2. ควรให้ใครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา

- ควรให้พนักงานอัยการ สคช.เป็นผู้ไกล่เกลี่ยเนื่องจาก สคช. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจตรงนี้อยู่แล้ว หากให้เจ้าของสำนวนไกล่เกลี่ยอาจจะไม่มีเวลาเพียงพอ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิคนภายนอกที่จะเข้าร่วมไกล่เกลี่ยด้วย

มติ เป็นไปตามความเห็นดังกล่าวข้างต้น

 

3 ควรให้ใครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง

มติ ที่ประชุมเห็นว่าควรให้พนักงานอัยการ สคช.และควรเพิ่มอัตรากำลัง สคช. หรือให้พนักงานอัยการอาวุโสซึ่งรับผิดชอบงาน สคช. เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

 

4 ควรให้ใครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง

มติ ถ้ายังไม่เป็นคดีปกครองให้ส่ง สคช. ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท ส่วนฟ้องคดีแล้วให้อัยการคดีเป็นผู้ไกล่เกลี่ย

 

5. ความอาญาที่พนักงานอัยการควรดำเนินการไกล่เกลี่ย

- คดีอาญาอันยอมความได้  สามารถไกล่เกลี่ยได้ทุกคดี รวมทั้งคดีความผิดอาญาต่อแผ่นดิน

มติ ที่ประชุมเห็นว่าควรจะมีการไกล่เกลี่ยได้ทุกประเภท

 

6. คดีอาญาที่อยู่ระหว่างการฝากขังผู้ต้องหา

มติ ที่ประชุมเห็นว่าควรดำเนินการไกล่เกลี่ย โดยมีความเห็นว่าในคดีครบขัง หรือครบผัดฟ้องให้สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อไปได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงการผัดฟ้องหรือฝากขัง

 

7. คดีอาญาที่จะดำเนินการไกล่เกลี่ยต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าการกระทำหรือพฤติการณ์ของผู้ต้องหาไม่เป็นการประกอบอาชญากรรมเป็นอาชีพหรือเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย

- เห็นด้วย แต่นิยามคำว่าผู้กระทำผิดติดนิสัยมีกรอบหรือคำนิยามอย่างไรให้ชัดเจน

มติ เห็นด้วย แต่ควรกำหนดคำจำกัดความให้ชัดเจนถึงคำนิยามว่า ผู้กระทำผิดติดนิสัยมีกรอบหรือคำนิยามอย่างไรให้ชัดเจน

 

8. เมื่อพนักงานอัยการดำเนินการไกล่เกลี่ยเสร็จแล้วควรส่งข้อพิพาทนั้นไปให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยฯ ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 61/2 ทำการไกล่เกลี่ยอีกหรือไม่

- ควรส่ง   เพราะเมื่อคู่กรณีได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามที่คณะบุคคลดังกล่าวทำการไกล่เกลี่ยแล้ว  หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ตกลงกัน  อีกฝ่ายสามารถร้องขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคำตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้โดยที่คู่กรณีฝ่ายนั้นไม่ต้องยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเอง

 

 

9. การจัดทำเอกสารหลักฐานการไกล่เกลี่ยควรประกอบด้วยเอกสารใดบ้าง

-  ตามระเบียบมีเอกสารควรมีแบบแจ้งสิทธิเพิ่มเติม

 

 

 

10.การจัดทำเอกสารหลักฐานการไกล่เกลี่ยมีความเหมาะสมเพียงใด

-  ตามระเบียบมีเอกสารควรมีแบบแจ้งสิทธิเพิ่มเติม

11. การไกล่เกลี่ยความแพ่งควรมีกำหนดระยะเวลาอย่างไร

ที่ประชุมเห็นว่า หากเป็นคดีทั่วไปควรดำเนินการเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่วันรับสำนวน หากดำเนินการไม่เสร็จให้ขยายได้อีกไม่เกิน 3 ครั้ง รวมกันแล้วไม่เกิน 120 วัน แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอายุความ หากคดีใกล้ขาดอายุความระยะเวลาไม่ถึง  30  วัน ให้ใช้ดุลยพินิจ ฟ้องคดีไป

 

12. การไกล่เกลี่ยความปกครองควรมีกำหนดระยะเวลาอย่างไร

-  ควรกำหนดเช่นเดียวกับข้อ 11

 

13.การไกล่เกลี่ยความอาญาควรมีกำหนดระยะเวลาอย่างไร

-  ที่ประชุมเห็นว่ากำหนดระยะเวลาทางคดีความผิดอาญาอันยอมความได้และคดีความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ควรดำเนินการไกล่เกลี่ยโดยเร็ว แต่อยู่ภายในกำหนดระยะเวลา ผัดฟ้องฝากขังและประกันตัว

 

14. ข้อเสนอแนะอื่นๆ

- สถานที่หากต้องไกล่เกลี่ยของอัยการไม่มีความพร้อมขอให้ใช้ห้องไกล่เกลี่ยของหน่วยงานอื่นก่อน

- ในคดีที่จะสั่งไม่ฟ้องหรือสั่งยุติคดีอยู่แล้วควรให้อยู่ในดุลยพินิจ

 

 

 

         กลุ่มย่อยที่ ๑ เรื่อง : ความผิดอันยอมความได้ที่เข้าหลักเกณฑ์ไกล่เกลี่ย

 

 

 

                                 

 

 

หมายเลขบันทึก: 273689เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรื่องหลายเรื่องสมควรไกล่เกลี่ยจริงๆๆด้วยครับ มาให้กำลังใจในการทำงานครับผม

  • สวัสดีอาจารย์ขจิต
  • ขอบคุณที่ให้เกียรติแวะมาให้กำลังใจ
  • ขอให้มีความสุขครับ
  • สวัสดีอาจารย์ขจิต
  • ขอบคุณที่ให้เกียรติแวะมาให้กำลังใจ
  • ขอให้มีความสุขครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท