19 ชีวิต ..ภาระกิจชีวิตอิสระ


เราพกพาชีวิตเหล่าเพื่อนพ้อง ที่สลัดคราบผู้ให้ และผู้รับบริการออก มาเป็น “เพื่อนร่วมทาง” เป้าหมายภารกิจครั้งนี้คือ เพื่อนพิการของเราจะดำเนินชีวิตอิสระอย่างไรเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่าง

เราพกพาชีวิตเหล่าเพื่อนพ้อง ที่สลัดคราบผู้ให้ และผู้รับบริการออก มาเป็น “เพื่อนร่วมทาง” เป้าหมายภารกิจครั้งนี้คือ เพื่อนพิการของเราจะดำเนินชีวิตอิสระอย่างไรเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่าง 

“คนพิการไม่ต้องการความสงสาร”นี่เป็นประโยคคุ้นเคยที่คนทั่วไปได้ยินกันมาแล้วนับหนไม่ถ้วน จนหลายคนอาจท่องจำเหมือนเป็นคาถาในการอยู่ร่วมกันกับผู้พิการ

“คนพิการไม่ได้ต้องการสิทธิพิเศษ” นี่ก็เหมือนกันที่คนทั่วไปรับรู้มานาน จนทำให้คิดว่าสามารถเข้าใจผู้พิการอย่างดีเยี่ยม แต่...คุณเข้าใจผู้พิการจริงๆหรือเปล่า? คุณอาจรู้ว่าผู้พิการไม่ต้องการความสงสาร แต่รู้มั้ยว่า...แล้วอะไรบ้างล่ะคือสิ่งที่เขาต้องการ?

รู้มั้ยว่า คุณจะใช้ชีวิตอยู่กับผู้พิการได้ยังไงบ้าง?จะทำตัวยังไงดีนะ?จะช่วยเขาดีมั้ย?จะสื่อสารกับเขาด้วยวิธีไหน?จะทำตัวอย่างไรให้เป็นเพื่อนที่ดีของผู้พิการด้วยทัศนคติที่ไม่ใช่ความสงสารแต่คือความเข้าใจอย่างจริงใจ...จริงๆ?

การดำรงชีวิอิสระ Independent living of presons whit disabilities คือ การเรียกร้องของคนพิการให้ได้มาซึ่งการตัดสินใจด้วยตนเอง โอกาสแห่งเสมอภาคและการนับถือในตนเอง...ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าคนพิการจะต้องการทำอะไรทุกอย่างด้วยตนเองหรือไม่ต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่นหรือต้องการอยู่อย่างโดดเดี่ยว...คนพิการต้องการเรียกร้องให้ได้สิ่งที่เป็นตัวเลือกและตัวควบคุมการใช้ชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับพี่น้องที่ไม่พิการของเขาหรือเพื่อนบ้านเพื่อนฝูงของพวกเขา ต้องการทำงานในอาชีพที่เขาสำเร็จการศึกษาและมีความสามารถตรงตามความสนใจ มีครอบครัวของตนเอง...ตลอดจนรับผิดชอบชีวิตตนเอง คิด และพูดเพื่อตนเอง  เหล่าเพื่อนพ้องที่ร่วมทางของเราก็เช่นกัน การทำให้เขาเหล่านั้นมีความสุขแม้เพียงเวลา 3 วัน 2 คืน ริมทะเล และบนเกาะ และช่วงเวลาอันยาวนานบนรถก็ทำให้เราได้เห็นรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะเมื่ออยู่ร่วมกันได้

 นายไผ่  เพื่อนพิการชายหนุ่มบนรถเข็นของเรา สามารถท่องเที่ยวไปเกาะ ขึ้นเขาลงเรือได้เหมือนคนอื่นๆ เพียงแค่มีมือจากหลายมือและหลายเชื้อชาติเอื้อมมาช่วยบ้างเท่านั้น บนรถ เขาเป็นเพื่อนแก้เหงาและแก้หลับให้คนขับรถ แถมมินิคอนเสิร์ตให้เราทุกคนด้วย

             น้องแยม  เด็กน้อยพิการการเคลื่อนไหว ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่น้องแยมได้เห็นทะเล แม่ขวัญบอกว่าน้องแยมนั่งกางปฏิทินเพื่อรอวันที่จะได้ออกเดินทางไปทะเล  การเดินทางครั้งนี้คงทำให้น้องแยมมีเรื่องเล่ามากมายไปให้เพื่อนฟัง

             น้องบีม พระเอกของทริป  เด็กน้อยที่ผ่านมรสุมความเจ็บป่วยและความพิการมามากกว่าผู้ใหญ่บางคน กับคำถามว่า  “บีม..ทะเลคืออะไรครับ?”  บีมตอบด้วยความมั่นใจด้วยคำพูดที่แสนเชื่องช้าแต่น่าประทับใจ “ ทททะเลคือออ สถานนนนที่ท่องงงเที่ยวววว” นั่นน่ะสิ ทำไมเราไม่รู้นะว่าทะเลคือสถานที่ท่องเที่ยว 

ขอขอบคุณ

ผอ.ภักดี ที่อำนวยการเดินทางครั้งนี้

เพื่อนร่วมทางป้าตุ่น พี่เป็ด เสนาหอย น้องเปตอง น้องน้ำว้า น้องนาง พี่ขวัญ แม่ต้อม พ่อบีมที่เป็นเพื่อนตลอดการเดินทางและทำให้อิ่มท้องอิ่มใจต้นน้อย ลุงต๋อง ทั้งขับ ทั้งครัว ไกด์นำทางที่ยอมรอทุกที่ ที่เราแวะพี่ๆน้องๆชาวกายภาพบำบัดทุกคนพบภาพทะเลบำบัดได้จากที่นี่

หมายเหตุ  : เงือนไขของกิจกรรม
- มีบุคลากรในหน่วยงานอย่างน้อย 3 หน่วยงาน
- จำนวนเดินทางต่อกลุ่ม ไม่เกิน 2 รถตู้
- เลือกสมาชิก กำหนดสถานที่ ศึกษาเส้นทางการเดินทาง ติดต่อประสานงานเอง และเขียน
  โครงการ วัตถุประสงค์ของการเดินทางไปไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
- สนับสนุนค่าใช้จ่ายเฉพาะเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล คนละ 2,000 บาท

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 273683เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาอ่านโครงการดีๆๆๆและคนดีๆๆค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่...ทีมงานด่านซ้าย

แวะมาเยี่ยม...ดีจังเลยนะคะ เห็นทีจะต้องต่อยอดให้กับผู้พิการที่ รพ.แก่งคอยบ้างแล้วค่ะ เหมือน Hosxp ที่ได้มาเรียนรู้ที่ด่านซ้ายมาแล้ว

อยากบอกว่าทุกครั้งที่กุหลาบที่บ้านออกดอกชูช่อทีไร ต้องนึกถึงด่านซ้ายทุกที ที่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้เรื่องโปรแกรม Hosxp เพราะว่าหลังอบรมเราตัองหาที่กิน ที่เที่ยว ก่อนกลับได้กุหลาบมา 10 ต้น ถึงแม้มันจะดอกไม่ใหญ่เหมือนที่ภูเรือ แต่มันก็ทำให้นึกถึง รพร.ด่านช้ายได้ทุกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท