ดวงใจ.....พ่อ- แม่ จะดูแลและพัฒนาอย่างไร


จะดูแลและพัฒนาลูกอย่างไร

ดวงใจ...พ่อ-แม่ จะดูแลและพัฒนาอย่างไร

ลูกไม่ใช่ของเล่นที่พอเบื่อ แล้วก็โยนทิ้ง ไม่สนใจ ไม่ดูแล.. ลูกเป็นคนที่มีชีวิตจิตใจต้องการการเอาใจใส่จากผู้ที่เป็นพ่อ- แม่ การเป็นพ่อแม่ นั้นเป็นไม่ยาก แต่การเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นยาก ดังนั้นเมื่อคิดจะมีลูก พ่อกับแม่ต้องเตรียมใจให้พร้อมและมั่นใจว่า

© จะอดทนกับความยากลำบากที่พึงเกิดขึ้น

© จะให้ความรัก ความเอาใจใส่ลูกอย่างเพียงพอ

© จะไม่อารมณ์ร้ายกับลูก

© ไม่บังคับลูกให้เป็นอย่างที่พ่อ แม่ต้องการ

© ยอมรับในสิ่งที่ลูกมี สิ่งที่ลูกเป็น และสิ่งที่ลูกทำได้

©ไม่ใช้ลูกไปซื้อเหล้า ซื้อบุหรี่ หรือใช้ลูกให้จุดบุหรี่

             การที่พ่อแม่จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงดูลูกจำเป็นต้องรู้พัฒนาการของเด็ก เพื่อจะได้เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติของลูกในแต่ละช่วงวัย เพื่อจะได้ให้การเลี้ยงดูอบรมได้ถูกต้อง เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ดังนี้

วัยแรกเกิด – 2 ปี

© ต้องพึ่งพาผู้อื่นมาก

© มีการเจริญเติบโตของร่างกาย การใช้มือ แขน ขา การใช้สายตา ให้ประสานสัมพันธ์กัน

 © เริ่มพัฒนาความรู้ผูกพัน รักใคร่

© รับรู้ได้และสื่อสารได้

การเลี้ยงดูลูกวัยนี้พ่อ แม่ต้องดูแลเอาใจใส่ทั้งอาหารกาย  อาหารใจ และที่สำคัญคือการสร้างสายสัมพันธ์ พ่อ-แม่ - ลูก ซึ่งต้อดูแล ดังนี้

© สัมผัสลูกที่ผิวกาย ด้วยการจับมือ  อุ้ม  กอด  หอมแก้ม ฯลฯ

© กอดลูกด้วยความนุ่มนวล อ่อนโยน

© พูดคุย หยอกล้อ เย้าแหย่ลูก

©คอยดูแลให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ ลูกจะได้มีพัฒนาการต่างๆด้วยความมั่นใจ                       

วัย 3 – 5 ปี

© ลูกจะเดิน วิ่ง ปีนป่าย กระโดดได้คล่องแคล่ว และพอช่วยเหลือตนเองได้บ้างแล้ว

© สนใจสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว

© รู้จักแสดงอารมณ์ของตนเอง เช่น รักพ่อ รักแม่  และอิจฉาน้อง

© รู้จักสังเกต รู้จักคิด รู้จักเปรียบเทียบ และรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเอง

© อยากเป็นอิสระ อยากคิดเอง ทำเอง

© รู้จักเลียนแบบ โดยลูกผู้ชายจะเลียนแบบพ่อ และลูกผู้หญิงจะเลียนแบบแม่

© ช่างชัก ช่างถาม ช่างพูด

© ชอบเล่นกับเพื่อน

            การเลี้ยงดูลูกวัยนี้พ่อ แม่จะต้องเลี้ยงดูลูกให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่จะต้องไม่ลืมที่จะดูแลด้านจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกโดยพ่อ แม่ต้องเอาใจใส่ ดังนี้

© พ่อ แม่ต้องพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ

© ให้ลูกเล่าเรื่องให้ฟัง และฟังเรื่องที่ลูกเล่าอย่างสนอกสนใจ และอดทนเสมอ แม้ลูกจะพูดไม่ชัด  เล่าไม่เป็นเรื่อง

© พ่อ แม่จะไม่แสดงความรำคาญเลย ที่จะตอบคำถามและอธิบายเมื่อลูกถามว่าทำไม...”

©เมื่อลูกทำข้าวของเสียหาย แตกหัก จะไม่โกรธ ไม่ดุว่าลูก แต่จะสอน บอกกล่าว และชี้แนะ

© ไม่เปรียบเทียบลูก กับ พี่ น้อง และเด็กคนอื่นๆ

© อนุญาตให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกทำได้ และไม่เป็นอันตรายต่อลูก

© สิ่งใดที่ลูกทำสำเร็จ พ่อ - แม่ จะพูดชมเสมอ

© หากลูกทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่จะพูดตักเตือนด้วยเหตุและผล

© เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นกับเพื่อนๆ

© เมื่อลูกต้องการทำอะไรด้วยตนเอง พ่อแม่จะคอยดูอยู่ห่างๆ

วัย 6 – 12 ปี

©พึ่งตนเองและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น

©รู้จักให้เหตุผล

©เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น

 ©แสวงหาเพื่อนร่วมวัย และชอบแล่นกับกลุ่มเพื่อนเพศเดียวกัน

 ©อยากรู้ อยากเห็น เรื่องราวทางกายของเพศตรงข้าม

            การเลี้ยงดูลูกวัยนี้ พ่อแม่ควรให้เวลากับลูกให้มาก เพราะลูกไปโรงเรียน ลูกได้พบกับสิ่งต่างๆ มากมาย ลูกต้องการคำอธิบาย ต้องการเหตุผลและความมั่นใจ พ่อแม่ควรดูแล ดังนี้

 © พ่อแม่ไม่ตั้งความคาดหวังเรื่องการเรียนของลูกสูงเกินไป

  © พ่อแม่ไม่กลับคำพูดไปมา ไม่แน่นอน

  © พ่อแม่จะอยู่ใกล้ๆลูก คอยดูแลช่วยเหลือเมื่อลูกต้องการ

  © พ่อแม่จะไม่บงการลูกทุกเรื่อง แต่จะเปิดโอกาสให้ลูกแสดงความคิดเห็น แสดงความสามารถ  และทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง

  © เมื่อลูกทำสิ่งใดมาอวด พ่อแม่จะรับฟัง และยกย่องชมเชย

  © ฟังเรื่องที่ลูกเล่าอย่างสนอกสนใจ

  © เปิดโอกาสให้ลูกพาเพื่อนมาเที่ยวบ้าน

วัย 13-19 ปี

 © เจริญเติบโตด้านความสูง น้ำหนัก ทรวดทรงของร่างกายอย่างรวดเร็ว กระดูกแขน ขา มือ เท้า เติบโตไม่สัมพันธ์กันจนดูเก้งก้างไม่ได้สัดส่วน

  © อารมณ์อ่อนไหวง่าย รุนแรง ไม่คงที่ และแสดงออกโดยไม่กลั่นกรอง

  © ต้องการอิสระเป็นตัวของตัวเอง

  © ต้องการการยอมรับและยกย่อง

 © อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากมีประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆ

 © ต้องการเพื่อน ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ

 © สร้างเอกลักษณ์ที่มั่นคง และความเป็นตัวของตัวเอง

 © เลียนแบบผู้ที่ตนนิยมชมชอบ

         พ่อแม่ตระหนักดีว่า เมื่อลูกอายุ13 ปี กำลังย่างเข้าสู่วัยรุ่น วัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม การดูแลลูกวัยรุ่นต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจ และสายสัมพันธ์ที่พ่อแม่ถักทอมาตั้งแต่เยาว์วัย พ่อแม่ควรดูแลลูกวัยรุ่น ดังนี้

 © พ่อแม่รู้ เข้าใจ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงของลูก

© พ่อแม่จะกำหนดกฎเกณฑ์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเป็นกฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่ลูกทำได้

© มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันพ่อ-แม่-ลูกอยู่เสมอ

 © มีเวลาพบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูก

© ให้ลูกกำหนดแผนชีวิตของตนเองได้บ้าง

© พ่อแม่จะทำตัวร่วมสมัยกับลูกบ้าง คอยติดตามข่าวสารที่จะเป็นประโยชน์กับลูกวัยรุ่น และร่วมกิจกรรมที่ลูกสนใจ

© ไม่แอบฟังลูกพูดคุยโทรศัพท์ แอบอ่านจดหมายลูก หรือสำรวจลิ้นชักโต๊ะของลูก แต่จะใช้วิธีพูดคุยกับลูก

© รู้จักเพื่อนลูก และให้ลูกพาเพื่อนมาเที่ยวที่บ้าน

© พ่อแม่ชอบอะไร ลูกไม่จำเป็นต้องทำตามพ่อแม่ไปเสียทุกอย่าง

© ไม่โกรธเลย ถ้าลูกจะแต่งตัวตามสมัย คบเพื่อนสนุกสนานตามวัยลูก

© เมื่อลูกทำสิ่งใดสำเร็จ พ่อแม่จะชมเชยด้วยความจริงใจ

© ให้อภัยเสมอเมื่อลูกทำผิดพลาด ให้กำลังใจ และเปิดโอกาสให้แก้ตัวใหม่

© เมื่อลูกมีปัญหา หรือมีความทุกข์ พ่อแม่จะปลอบใจ คอยให้ความช่วยเหลือ จะไม่ปล่อยให้ลูกเผชิญปัญหา หรือแก้ปัญหาเพียงลำพัง

 

หมายเลขบันทึก: 271482เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 18:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

บทความดีจัง ทำให้รู้พัฒนาการของลูกในวัยต่าง ๆ

หวัดดีคับ..

โห..ข้อมูลมีประโยชน์มากเลยคับ

กู๊ดดี้จะขออนุญาตนำเอาไปให้คุณพ่อคุณแม่อ่านด้วยนะคับ..

ขอบคุณคับ

ดีจังค่ะ เข้าใจเด็กดีค่ะ

เป็นประโยชน์กับคนที่เกี่ยวข้องกะเด็ก

มากๆ

คุณครูแอบนำไปใช้บ้างนะคะ

:D

ดีครับพี่เอ มีประโยชน์มากเลยครับ

ผมยังไม่มีลูกแต่อยากอ่านและศึกษาไว้เป็นบทความทีดีมากเลย.............การศึกษาเรียนรุ้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม การเข้าใจธรรมชาติขอลูกจะทำให้เด็กมีคุณภาพอย่างแน่นอน.............เหมาะสำหรับคุณแม่จริงเราต้องหาแม่ไห้ได้ก่อน.ไปละพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท