บุกรุกป่าต้องชดใช้ค่าเสียหายไร่ละ 150,000


การทำลายป่าไม้ในพื้นที่ 1 ไร่ จะก่อให้เกิดความเสียหายในพื้นที่คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 150,942.70 บาท

ปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดินระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่อนุรักษ์มีมาอย่างยาวนานและมีอยู่ทุกภูมิภาค


ส่วนใหญ่ถ้าชาวบ้านถูกจับก็จะถูกฟ้องคดีอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกพร้อมกับขับไล่ออกจากพื้นที่
แต่ในยุคที่กระแสโลกร้อนขยายวงไปทั่วโลก แนวคิดนี้ได้มีการนำมาใช้กับการบุกรุกพื้นที่ป่าด้วย


วันนี้จะยังไม่พูดถึงความเหมาะสม ความเป็นธรรม สิทธิชุมชน หรือความถูกต้องทางกฎหมายว่าป่าบุกรุกคน หรือคนบุกรุกป่า


แต่จะยกกรณีตัวอย่างที่มีชาวบ้านบุกรุกทำลายพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า นอกจากจะถูกฟ้องคดีอาญาแล้ว ยังถูกฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายอีกรายละหลายล้านบาท

หน่วยงานที่กำหนดวิธีการคำนวณค่าเสียหายเพื่อให้อัยการยื่นฟ้องต่อศาล  คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช


เราลองมาดูกันว่าเขามีหลักเกณฑ์ วิธีการคิดอย่างไร
1. การสูญหายของธาตุอาหาร คิดเป็นมูลค่า 4,064.15 บาท ต่อไร่ ต่อปี
2. ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาท ต่อไร่ ต่อปี
3. ทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่โดยการแผดเผาของรังสีดวงอาทิตย์ 52,800 บาท ต่อไร ต่อปี
4. ทำให้ดินสูญหาย 1,800 บาท ต่อไร่ ต่อปี
5. ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 45,453.45 บาท ต่อไร่ ต่อปี
6. ทำให้ฝนตกน้อยลง 5,400 บาท ต่อไร่ ต่อปี
7. มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่าสามชนิด คือ
7.1 การทำลายป่าดงดิบ ค่าเสียหายจำนวน 61,263.36 บาท ต่อไร่
7.2 การทำลายป่าเบญจพรรณ ค่าเสียหายจำนวน 42,577.75  บาท ต่อไร่
7.3 การทำลายป่าเต็งรัง  ค่าเสียหายจำนวน 18,634.19 บาท ต่อไร่

เมื่อนำมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม (ข้อ 1-6) จำนวน 110,117.60 บาท ต่อไร ต่อปี มารวมกับความเสียหายทางตรงจากป่าทั้งสามชนิด (ข้อ 7.1-7.3) ซึ่งคิดเป็นความเสียหายต่อไร่ ต่อปี จำนวน 40,825.10 บาท จะพบว่าในหนึ่งปีการทำลายป่าไม้ในพื้นที่ 1 ไร่ จะก่อให้เกิดความเสียหายในพื้นที่คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 150,942.70 บาท แต่ในการฟ้องครั้งนี้กรมอุทยานฯคิดค่าเสียหาย 150,000 บาทต่อไร่

คดีแบบนี้หลายคดีศาลได้มีคำพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง ตามที่กรมอุทยานฯฟ้องร้องแล้ว


ก็ต้องบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ของคดีที่เกี่ยวกับโรคร้อนได้เลยล่ะครับ

หมายเลขบันทึก: 270499เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับคุณ เหลา ผมว่ามันยังน้อยไปครับท่าน

  • สงสารครับ
  • หากเป็นคนรวยบุกรุก ก็คงไม่เป็นไร จะปรับเท่าไหร่ เขาเสี่ยงได้ แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ปรับเขาหรอกครับ
  • กลับกันคงนึกภาพออกนะครับกรณีคนยากลำบากบุกรุก

สวัสดีค่ะ

  • มีความเห็นเช่นเดียวกับคุณชายขอบค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

ถ้าเป็นนายทุนบุกรุกเหมือนที่เป็นข่าวบ่อยๆแล้วถูกดำเนินคดีแบบนี้ ก็คงเป็นอย่างที่ บังวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- ว่าล่ะครับ ชดใช้ค่าเสียหายแค่นี้ยังน้อยไป  แต่ก็ยังไม่เคยมีผู้ต้องหารายใหญ่ถูกดำเนินคดีแพ่งแบบนี้

แต่กรณีการบุกรุกอุทยานแห่งชาติเขาปู่–เขาย่า ซึ่งอยู่ในแถบเทือกเขาบรรทัด ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล และนครศรีธรรมราช ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นชาวบ้านซึ่งอ้างว่ามีการประกาศเขตอุทยานฯทับที่ดินทำกินชาวบ้าน ที่ทำกินกันมาหลายชั่วอายุคน ในขณะที่เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก็ระบุว่าเป็นผู้บุกรุกทำลายป่า จนกระทั่งมีการจับกุมดำเนินคดี ปักป้ายตรวจยึด และโค่นทำลายสวนยาง สวนผลไม้ไปแล้วหลายราย

ภาพมันก็เลยเป็นเหมือนเหรียญสองด้าน ดังความเห็นของอาจารย์ชายขอบ กับ ครูคิม ครับ

กระผมอยากข้อคำปรึกษาหน่อยครับ

คือ ที่นาปลูกข้าวแล้วตอนนี้ต้นข้าวก็โตแล้ว

* แต่วันนี้ถูกบุคคลหนึ่งนำรถมาไถทิ้งเสียหายไป 18 ไร่ และไม่สามารถจะปลูกข้าวไหม่ทดแทนเพราะอยู่ระหว่างคดี

* แล้วพอแจ้งตำรวจครั้งแรกตำรวจไม่รับแจ้ง

* ต้องไปรอบสองจึงรับแจ้ง จนข้าวเสียหายไปหลายไร่อย่างที่กล่าวมา

* พอไปแจ้งรอบสองจึงรับเรื่อง ก็มีการประเมินค่าเสียหาย

* โดยเขาคิดให้ 18 ไร่ เป็นเงิน 1แสน 8 พันบาท โดยบอกว่าไร่หนึ่ง ประเมินว่า จะได้ข้าว 10 กระสอบ

*อยากทราบว่าขันตอนการคิดค่าเสียหายเขาคิดกันเพียงเท่านี้เองหรือครับ

แล้ว *ค่าแรง ค่าเงิน ค่าจ้าง ค่าเสียเวลา ที่เราลงทุนไป เขาไม่คิดหรอครับ

* แล้วเราจะสามารพแก้ไข ค่าเสียหายที่ตำรวจคิดไว้แล้วได้ไหมครับ

กรุณาช่วยหน่อยน่ะครับ

(เรื่องเพิ่งเกิดวันนี้เองครับ)

ตำรวจปฏิบัติหน้าที่เหมาะสมหรือไม่กับการไม่รับแจ้งความครั้งแรก........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท