จะเริ่มต้นทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร


ความตั้งใจปฏิบัติจริงจังจะสมหวัง

จะเริ่มต้นทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร

คำถามนี้คงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับคุณครูจำนวนมาก  โดยเฉพาะคุณครูที่อยากเพิ่มวิทยฐานะ  และคุณครูที่เรียนปริญญาโท  ความยากที่จะหาคำตอบให้ตัวเองก็คงขึ้นอยู่กับทุนเดิมที่ตัวเองสั่งสมไว้  สำหรับครูดีจะพบคำตอบได้เร็ว   ผู้เขียนจึงอยากเสนอความคิดให้คุณครูลองพิจารณา  และอยากสั่งเป็นการบ้านให้ลูกศิษย์ปริญญาโท (ปริญญาเอกไม่เกี่ยว)ที่กำลังหาเรื่อง(หัวข้อ)เพื่อทำวิทยานิพนธ์  โปรดทำตามคำแนะนำและส่งมาคุย (เขียนเล่าเรื่องราว)ว่ามีความคิดเกิดหลังจากที่ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างไร (ส่งที่ <[email protected])

1. ค้นหาการสอนที่ตนประสบความสำเร็จ

ถาม ทำไมต้องเป็นเรื่องที่ตนประสบความสำเร็จในการสอนด้วยหรือ ? 

ตอบ เพราะว่า วิจัย มีความหมายถึงการค้นหาเพื่อพัฒนา ถ้าเริ่มค้นหาสิ่งที่ตนมีความสามารถระดับหนึ่ง การได้ความรู้เพิ่มจะต่อยอดความสามารถเดิม ให้ไปสู่ระดับที่เป็นมืออาชีพได้เร็ว

ถามอีก ทำไมต้องเร็ว? 

ตอบ เพราะความต้องการ (อยากได้) ที่อยากจบเร็ว จะได้ปรับวุฒิเร็ว   หรือทำวิทยานิพนธ์ให้จบปริญญาโทภายในเวลาที่กำหนด  ก่อนถูกสั่งพ้นสภาพตามเงื่อนไขของสถาบัน  ถ้าข้อความนี้ ไม่ใช่เหตุผลของท่าน ก็ต้องมีเหตุผลชี้แจงกับตัวเอง ก็แล้วกัน

ถาม ถ้าค้นไม่พบว่าตนเองมีความสามารถ  จะมีทางทำวิจัยในชั้นเรียนหรือไม่

ตอบ ก็มี  แต่ต้องมีใจอยากทำ  มีความเข้าใจว่าวิจัยในชั้นเรียนคือการพัฒนาการสอนของตนเอง เพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน  และตั้งใจการปฏิบัติจริงจังให้ได้ผลแม้จะต้องใช้เวลาและทำงานหนักกว่าเดิม

2. เขียนข้อมูลที่สอน (เล่างานที่ทำสำเร็จ)

ชื่อวิชา...............   เรื่อง......................... ชั้น...........

จำนวนคาบที่สอน............ จำนวนนักเรียน ........................

3. เขียนวัตถุประสงค์ของเรื่องที่สอน เป็นข้อๆ

เขียนพฤติกรรมที่คาดหวังในวัตถุประสงค์ของเรื่องที่สอนแต่ละข้อ 

ตัวอย่าง ของคุณครูพัฒนรินทร์ สอนอนุบาลสอง

วัตถุประสงค์

พฤติกรรมที่คาดหวัง

1. พัฒนาทักษะทางสังคม ด้านมารยาทการรับประทานอาหาร   การเล่น  การพูด  และการทำความเคารพ

มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงมารยาท  4  ด้าน

การรับประทานอาหารที่ดี ไม่มูมมาม  ไม่คั้ยวเสียงดัง ...

การเล่น ไม่เล่นรุนแรงจนเกิดการกระทบให้บาดเจ็บ ...

การพูด  กล่าวคำขอบคุณ  ขอโทษเหมาะสมกับกาลและเทศะ  ไม่พูดคำหยาบ ...

2. พัฒนาความรับผิดชอบ

มีพฤติกรรมแสดงถึงความรับผิดชอบในโอกาสต่างๆ

การปฏิบัติตามข้อตกลง 

การเก็บของใช้ส่วนตัว

การใช้และเก็บของส่วนรวม

5. เขียนกิจกรรมการสอน และการประเมินพฤติกรรมตามวัคถุประสงค์แต่ละข้อ 

กิจกรรมการสอน มีขั้นตอยการสอนดังนี้ .........................(เขียนเป็นขั้น ให้เห็นบทบาทของครู และ การเรียนรู้ของนักเรียน

การประเมินพฤติกรรม เขียนให้เห็นวิธีและสิ่งที่เก็บเป็นข้อมูลหรือคะแนนที่นำมาสรุป เช่น

สังเกต  สังเกตอะไร  สังเกตอย่างไร กี่ครั้ง ผลการสังเกตบันทึกอย่างไร ผลที่บันทึกนำมาสรุปผลอย่างไร  ตัดสินนักเรียนรายบุคคลว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

สอบ  -ข้อสอบเป็นประเภทเขียนตอบ หรือถามตอบด้วยวาจา ให้คะแนนอย่างไร ตัดสินนักเรียนรายบุคคลว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างไร

กำหนดงานให้ปฏิบัติ   คำสั่งงานที่ให้ปฏิบัติมีสาระอะไร  ผลงานที่นักเรียนทำให้เป็นคะแนนหรือระดับคุณภาพอย่างไร มีเกณฑ์การให้คะแนน (rubric scoring)  และตัดสินนักเรียนรายบุคคลว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างไร

6. เขียนรายงานผลการประเมินพฤติกรรมตามวัคถุประสงค์รายบุคคล

7. เขียนบรรยาย การพิจารณาการสอนของตนเอง  ตัวอย่าง เช่น

มีความต้องการจะปรับปรุงกิจกรรมการสอนตรงไหน  เหตุผล

มีความต้องการจะปรับปรุงเครื่องมือหรือวิธประเมินหรือไม่อย่างไร

มีความต้องการจะสร้างกรรมการสอนที่ช่วยกลุ่มนักเรียนเรียนอ่อนหรือไม่อย่างไร

มีความต้องการจะสร้างกิจกรรมส่งเสริมคนเรียนเก่งหรือไม่ อย่างไร

8.  ถ้าในข้อ 7 มีสิ่งที่ต้องการ จะทำอย่างไร  ตัวอย่างคำแนะนำ

ปรึกษา หรือ ขอความเห็นจากเพื่อนครู หรือ หัวหน้า หรือ วิทยากรที่คุ้นเคย

ค้นคว้า อ่านหนังสือ  ตำรา  วารสาร  จากห้องสมุด หรือ จาก website ต่างๆ

ฟังผู้รู้คุยกัน หรือ ฟังการนำเสนอในที่ต่างๆ เช่น

 วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2552 ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ จัดโดยครุสภา (ฟรี)

วันที่ 10-11 กันยายน 2552 ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ จัดโดยสภาการศึกษาแห่งชาติ (ฟรี)

วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2552 ที่โรงแรมรามาการ์เด็น ถนนวิภาวดี กทม. จัดโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชำระค่าลงทะเบียน ติดตามดูที่ webside www.ku.ac.th

9. น่าจะเกิดความคิดที่จะทำวิจัยในชั้นเรียน

ถ้าต้องการเพื่อน หรือครูช่วยคิดต่อ ก็ส่งเรื่องมาเล่าดังที่อยู่ข้างต้น <[email protected]>

แล้วพบกัน

โชคดี

ครูภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์

หมายเลขบันทึก: 269708เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • มาเรียนรู้..เริ่มต้นการทำวิจัยในชั้นเรียน กับอาจารย์ด้วยคนครับ
  • ขอบคุณความรู้ดีๆครับ

เรียนอาจารย์ภาวิณี

จะส่งเรื่องดังกล่าวให้ท่านอาจารย์

สามแหล่งน่าสนใจหมดเลยค่ะ

 วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2552 ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ จัดโดยครุสภา (ฟรี)

วันที่ 10-11 กันยายน 2552 ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ จัดโดยสภาการศึกษาแห่งชาติ (ฟรี)

วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2552 ที่โรงแรมรามาการ์เด็น ถนนวิภาวดี กทม. จัดโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชำระค่าลงทะเบียน ติดตามดูที่ webside www.ku.ac.th

เรียนถามว่าไปทั้งสามที่ได้ไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

เรียนอาจารย์ภาวิณี

มาเรียนรู้และสมัครเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ด้วยคนนะคะ

จะส่งเรื่องมาปรึกษาอาจารย์เร็วๆนี้ค่ะ

มารับข้อมูลความรู้ไปฝากคุณครูครับ ขอบพระคุณมากครับ

ธรรมนูญ สะเทือนไพร

ได้อ่านหนังสือวิจัยในชั้นเรียนที่ท่านอาจารย์เขียนแล้ว อยากแนะนำให้สมาชิกทุกท่านได้อ่านบ้างครับ

ท่านอาจารย์เขียนให้เข้าใจง่าย ๆ ทั้งแง่เชิงวิชาการและแนวปฏิบัติจากตัวอย่างที่เป็นผลงานของครู ในหนังสือของท่านอาจารย์ มีมุมที่อาจจะต่อยอดความคิด ของสมาชิกได้ อย่าลืมนะครับ "ครูดีมีหัวใจอยู่ที่เด็ก เรื่องเล็ก ๆ (วิจัยชั้นเรียน)ของครูดีนี่เอง"

อ่านแล้วครับ ได้ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนผ่านมา

ตอกย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน

อาจารย์เขียนได้น่าอ่านนะครับ

อ่านแล้วรู้สึกอบอุ่น

อ่านแล้วค่ะ ชัดเจนดีค่ะ เดี๋ยวหนูจะไปแนะนำคุณครูของหนูให้ทำตามนี้นะค่ะ

รู้สึกเป็นความโชคดี ที่ได้รับฟังการบรรยายจากอจ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ ก่อนหน้านี้ ไม่ค่อยอยากที่จะทำวิจัยในชั้นเรียนเลยค่ะ เพราะเป็นครูที่จบทางวิทยาศาสตร์ และสอนในระดับมหาวิทยาลัย แต่เมื่อได้รับฟังการบรรยายและข้อเสนอแนะจากอจ ก็มีความรู้สึกว่ามันเป็นไปได้ ที่จะทำในเนื้อหาวิชาที่ตัวเองสอน จะพยายามทำให้ได้ค่ะ

นายณัฐพล ตันเจริญทรัพย์

เรียน อ.ภาวิณี ที่เคารพ

ผมคิดว่าบทความเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคุณครูจำนวนมากที่อยากเพิ่มวิทยฐานะของตนเอง และคุณครูที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับบัณฑิต ที่อยากทำวิจัยในชั้นเรียนแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร

เรื่องนี้จะทำให้ครูทั้งหลายได้แนวคิดและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นว่าการทำวิจัยในชั้นเรียนไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเป็นครูดี ครูที่มีความรับผิดชอบ รู้จักหน้าที่ของตนเอง ใช้เวลาและความอดทนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียนก็ยิ่งทำให้ ค้นพบว่า เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวของเรา และถ้าคิดจะทำงานวิจัยในชั้นเรียนเมื่อไรก็เป็นเรื่องไม่ยากที่จะประสบความสำเร็จ

สิ่งที่อาจารย์นำเสนอนั้นเป็นเรื่องที่ครูดีทุกคนส่วนใหญ่ได้ผ่านการปฏิบัติเป็นปกติอยู่แล้วเพียงแค่นำมาเขียนให้เห็นเพื่อให้ตนเองได้คิด พิจารณา ทำความเข้าใจ โดยมีผู้รู้ชี้แนวทางให้มองเห็นประเด็นในการทำวิจัยจากงานการสอนของตนเอง ชี้ให้เห็นจุดเริ่มต้นของการทำวิจัยต้องเริ่มจากตัวครูเองก่อน หยุดคิดเพื่อค้นหาตนเอง และมองไปที่เป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการและไปให้ถึงด้วยความตั้งใจจริง ซึ่งอาจารย์นำเสนออย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายมองเห็นแนวทางในการปฏิบัติ

ผมคิดว่าโรงเรียนจะก้าวหน้าได้ ครูถือเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้โรงเรียนก้าวหน้า ครูจำเป็นต้องทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คิดอยู่เสมอว่าจะสอนอย่างไรให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีคุณธรรม เป็นคนดีของสังคม ครูต้องพัฒนาโรงเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ซึ่งการทำวิจัยของครูจะเป็นตัวกระตุ้นให้ครูเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการบริหารจัดการของตนเองมากขึ้น โดยจะส่งผลดีต่อนักเรียน

แต่ทั้งนี้การวิจัยของครูก็ขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถของครูในการแสวงหาข้อมูล ภายใต้บทบาทและงานประจำของตน งานวิจัยที่ทำต้องนำผลการวิจัยไปสู่ภาคปฏิบัติของตน สู่ห้องเรียน สู่การเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อไป

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ไม่ทราบอาจารย์จำลูกศิษย์ที่บางกอกพาเลสได้หรือไม่ อาจารย์บอกให้อ่านมาก ๆ ก็เริ่มต้นอ่านหาความรู้จากBlog ของอาจารย์เป็นอันดับแรก ถ้าอาจารย์ต้องการเติมเต็มความรู้อีก ที่มากมายจนให้ไม่หมดในวับอบรมด้วยเงื่อนไขของเวลา ก็ขอความกรุณาอาจาย์ให้ความรู้ต่อนะคะ ลูกศิษย์จะตามอ่านค่ะ ลูกศิษย์จะได้สว่างขึ้นเรื่อย ๆ

อากาศเย็นลงมาก อาจารย์รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ขอขอบพระคุณในทุกสิ่งที่อาจารย์ตั้งใจให้ความรู้ ขอบคุณค่ะ

ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์

ในgotoknow 24 Nov 2009

อาจารย์นิยม

คิดถึงทุกคน แต่จำหน้าไม่ได้ครบ 300 คน รอรับความคิดที่จะส่งมาอวดว่าแผนการสอน หรือแผนพัฒนาต่างๆ มีอะไรบ้าง อยากเห็น ที่อวดให้เห็นความเชี่ยวชาญ อยากอ่าน ถ้าทำให้อุทานได้ว่า "คิดได้ไงเนี่ย!" คงมีความสุขมาก

ครูภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์

ท่องเน็ตมาเรื่อยๆ แต่เมื่อได้อ่านข้อเขียนเกี่ยวกับการเริ่มทำวิจัยชั้นเรียนของอาจารย์ รู้สึกว่า เข้าใจง่าย อบอุ่นในการใช้คำที่สื่อถึงความต้องการความรู้ของคนอยากรู้ โดยเฉพาะครูทั้งหลายที่ต้องการพัฒนาตนเองและศิษย์ให้งอกงามยิ่งขึ้น ขอบคุณคุณครูภาวิณีค่ะ

“งานวิจัยจะว่าง่ายก็ไม่ง่าย จะว่ายากก็ไม่ยาก” จากบทความของ รศ.ดร. ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ เรื่อง “จะเริ่มต้นทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างไร”ซึ่งทำให้เห็นภาพของการทำงานวิจัยได้อย่างเป็นระบบมาก และที่สำคัญเป็นการต่อยอดงานสอนที่ทำอยู่แล้วมาผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองทบทวนอย่างถูกหลักวิชาการ ผู้เขียนเห็นว่า เป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนระดับปริญญาโทได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้เขียนเอง แม้ว่าจะเคยผ่านการทำวิจัยมาบ้าง แต่คราวนี้ เมื่อได้มาเรียน สาขาการศึกษาพิเศษ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือว่า เป็นการเรียนรู้ในสิ่งที่มีมีใจอยากจะเรียนเพราะต้องการนำความรู้ไปช่วยเหลือเด็กๆและครอบครัว บทความของ รศ.ดร. ภาวิณี จึงนับได้ว่า สร้างแรงผลักให้ผู้เขียน เปรียบดั่งเทียนส่องสว่างกลางสายฝนเลยทีเดียว ผู้เขียนเอง ณ ตอนนี้ เพิ่งเริ่มดูแลเด็กพิเศษ ซึ่งมีอยู่ความดูแลในฐานะครูประจำชั้นอยู่ 5 คน เป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อยู่ 4 คน และมีความบกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 1 คน ผู้เขียนจึงเริ่มจากการทบทวนตัวเองเกี่ยวกับการสอนที่ประสบความสำเร็จ จึงได้ค้นพบว่า ยังไม่มีการสอนอย่างเป็นทางการที่ประสบความสำเร็จ เพราะเพิ่งดูแลเด็กพิเศษได้ยังไม่ถึงเดือน แต่สิ่งที่พบว่า ประสบความสำเร็จคือ การอธิบาย การให้เหตุผลสามารถช่วยให้เด็กสามารถเกิดความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว พูดออกมาโดยที่ไม่รู้ตัว เข้ามาบอกว่า ครูครับ ถ้าผมหลุดคำพูดอะไรออกไป ครูช่วยเตือนผมด้วยนะครับ เด็กที่เคยถูก Bully ลดความหวาดกลัวการเข้าสังคมลง หลังจากที่หยุดเรียนไป 1 ปี เนื่องจากถูกเพื่อนล้อ แกล้ง ทั้งวาจาและการใช้ความรุนแรง เป็นต้น ทำให้ผู้เขียนเริ่มเห็นแนวทางที่จะนำไปต่อยอดเป็นงานวิจัยในอนาคตได้ ตามลำดับคือ 1. ค้นหาการสอนที่ตนประสบความสำเร็จ 2. เขียนข้อมูลที่สอน (เล่างานที่ทำสำเร็จ)
3. เขียนวัตถุประสงค์ของเรื่องที่สอนเป็นข้อๆ
4. เขียนพฤติกรรมที่คาดหวังในวัตถุประสงค์ของเรื่องที่สอนแต่ละข้อ 5. เขียนกิจกรรมการสอน และการประเมินพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ 6. เขียนรายงานผลการประเมินพฤติกรรมตามวัคถุประสงค์รายบุคคล7. เขียนบรรยาย การพิจารณาการสอนของตนเอง8. ถ้าในข้อ 7 มีสิ่งที่ต้องการ จะทำอย่างไร9. น่าจะเกิดความคิดที่จะทำวิจัยในชั้นเรียนซึ่งทั้ง 9 ข้อ ผู้เขียนจะนำไปปรับเป็นกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไป ผู้เขียนมั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้การทำวิจัยของผู้เขียนเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้อย่างแน่นอน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่า จะต้องทำเพิ่มเติมคือ การศึกษาค้นคว้า การอ่านบทความ งานวิจัย บทความวิชาการต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ และจะนำไปสู่งานวิจัยชิ้นต่อๆไป ได้อย่างแน่นอน ….กล่าวโดยสรุปแล้ว หากท่านต้องการทำงานวิจัยให้สำเร็จ…ควรเริ่มจากการสำรวจต้นทุนของตัวท่านเองเสียก่อนว่า ท่านมีความพร้อมหรือมีต้นทุนอะไรอยู่บ้าง มีความรู้ ประสบการณ์ในเรื่องใด ประสบความสำเร็จในเรื่องใดมาบ้าง จากนั้นจึงเรียบเรียงงานที่ท่านได้ทำมาแล้วอย่างเป็นระบบว่า ท่านได้ทำอะไรไปบ้าง สิ่งที่ท่านได้ทำนั้นทำไปเพื่ออะไร ต้องการแก้ไขปัญหาใด ท่านได้ผลจากการกระทำเป็นอย่างไร เมื่อท่านได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว ผู้เขียนมีความคิดว่า ท่านควรเพิ่มเติมหลักการ แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้งานของท่านมีความเป็นวิชาการมากยิ่งขึ้นและนำไปต่อยอดเป็นงานวิจัยในระดับปริญญาโทได้ ซึ่งผู้เขียนก้จะทำเช่นกัน เพื่อเป้นการพิสูจน์กระบวนการดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติว่า จะทำได้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ควรเพิ่มเติมวิธีการทำงานใดลงไปนั่นเอง สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านในการทำวิจัยและอยากเชิญชวนให้นำแนวคิดของ รศ.ดร. ภาวิณี และของผู้เขียนไปลองใช้ดูนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

การทำวิจัยไม่ใช่จักว่าจะทำให้เสร็จผ่านๆ ไปอย่างเดียว ครูควรมีความรู้ในการทำวิจัยและสนใจที่จะแก้ปัญหานั้นจริง ๆ แม้จะต้องใช้เวลานาน แต่เพื่อให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน ก็คุ้มค่าของความเป็นครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท