สิ่งที่ "ตกผลึก" หลังการฝึก KM Workshop ของ สคส.


ประเด็นใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ว่าเรา “เข้าใจ” คำสามคำนี้ดีแค่ไหน หากแต่อยู่ที่ว่าเราได้ฝึกฝนการใช้คำสามคำนี้ในชีวิตเราแล้วหรือยัง?

         Workshop "KM เปิดคน เปิดใจ" จะให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดอยู่ “ภายในคนแต่ละคน” กิจกรรมการเรียนรู้อันหลากหลายที่ สคส. ใช้ หากนำมา Grouping ก็จะแยกได้เป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้:

เรื่องแรก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการฝึกฟัง เป็นการฝึกให้ฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ เป็นการฟังระดับที่สามารถสะท้อนกลับได้เฉกเช่นกับการสะท้อนกลับของกระจก นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกให้ฟังได้อย่างลุ่มลึก (Deep Listening) ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำสานเสวนา (Dialogue) ในโอกาสต่อไป

เรื่องที่สอง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการฝึกการแชร์ความรู้ - Tacit Knowledge ผ่านการเล่าเรื่อง (Storytelling) ทั้งเรื่องที่เป็นความสำเร็จ - Success Case และ Lesson Learned (บทเรียน) เป็นการฝึกทั้งฝั่งผู้ให้ (ผู้เล่า) และผู้รับ (ผู้ฟัง) ให้ผู้เล่าสามารถเล่าเรื่องได้โดยที่ไม่ทิ้งบริบท (Context) ให้ผู้ฟังๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องมีความคิดแทรกซ้อน ไม่คิดวิเคราะห์เปรียบเทียบ ไม่ตัดสินถูกผิด ให้สามารถใช้ชีวิตผ่านการทำงานของสมองสองฝั่งได้อย่างสมดุลและลงตัว

เรื่องที่สาม เป็นการย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการคิดที่เสริมพลัง เป็นการคิดที่สร้าง Possibility ไม่ใช่มีแต่คำว่า “ยาก เป็นไปไม่ได้” อยู่ในหัวตลอดเวลา อีกทั้งยังแสดงให้เห็นด้วยว่าจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตานั้นนำมาซึ่งความสุขความสำเร็จได้อย่างไร

         หากจะให้ผมพูดสั้นๆ เป็นการตกผลึกจากกระบวนการเหล่านั้น ก็ทำให้นึกถึงคำ 3 คำคือ

                    Listening – Sharing – Caring  

ไม่ต้องพูดต่อทุกท่านก็คงจะทราบดีว่าคำสามคำนี้มีความสำคัญเพียงใด ประเด็นใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ว่าเรา “เข้าใจ” คำสามคำนี้ดีแค่ไหน หากแต่อยู่ที่ว่าเราได้ฝึกฝนการใช้คำสามคำนี้ในชีวิตเราแล้วหรือยัง? 

คำสำคัญ (Tags): #caring#listening#sharing#workshop
หมายเลขบันทึก: 263682เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดี ครับ อาจารย์

มาอ่านบันทึก ฉบับนี้ เพื่อเก็บไว้เป็นความคิดรวบยอด....ในการทำ KM

ขอบพระคุณ ครับ

  • ขอบคุณคะอาจารย์ที่สรุปรวบยอดทำให้จำ/เข้าใจง่ายและเห็นด้วยคะที่ว่าคงเข้าใจแต่ยังขาดการฝึกฝน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  • วันก่อนฟังวิทยากรพูดจำไม่ได้คะว่าเป็นใคร แต่จับใจที่บอกว่าเรามักไม่ใช้ข้อมูลในการพูดจา ใช้แต่ความรู้สึกมาตัดสิน ทำให้เกิดการโต้เถียงกันไม่รู้จบ

ครีม ว่าการเปิดใจนี่ละคะ ทำยากที่สุดแล้ว 

ขอบคุณอาจารญ์ที่กรุณาสรุปให้ค่ะ

พยายามฝึกใช้อยู่ค่ะ เข้าใจแต่เวลาฝึกใช้ก็ไม่ง่ายนะคะ

ขอบคุณอาจารย์ที่คิดคำดีๆมาให้จำง่ายๆค่ะ

สวัสดีพี่ธุวนันท์ คุณแสงแห่งความดี คุณครีม อาจารย์หมออัจฉรา และผู้อ่านทุกท่าน

ผมว่าเรื่องการ "ฝึกฝน" นี่แหละครับที่ท้าทายสุดๆ เมื่อทำอย่างสม่ำเสมอในที่สุดก็จะก้าวข้ามคำว่า "ยาก" ไปได้เอง  

จริงๆ แล้วผมว่าไม่มีคำว่า "ยากหรือง่าย" หรอกครับ เรามักจะถูก "ความคิด" เราหลอกอยู่เรื่อยๆ

มาเก็บข้อมูล เป็นประโยชน์มากครับ อย่างเวลาฝึกศิลปป้องกันตัวต่างๆก็เช่นกันครับ จะเอาแต่คิดไม่ได้ เพราะภัยมาถึงตัวแล้ว ต้องฝึกฝนจนตอบโต้ไปอย่างอัตโนมัติ เรียกว่าทำโดยไร้ใจครับ คือฝึกฝนจนกล้ามเนื้อจำได้ แล้วมันจะสะท้อนออกไปเอง โดยใจไม่ต้องไปคิด

เหอะๆ เท่าที่นำไปใช้ที่ผ่านมา (ตัวเองผ่าน อาจไม่มาก)แต่พบว่า กัดไม่ปล่อยสำคัญ แต่อุปสรรคบางอย่าง คนชอบลักจำเอาคำ ไปใช้ แต่ไม่เข้าใจ ไม่เข้าไปในใจ และสรุปความว่า..เป็นอย่านั้นอย่าง ทำหมดแล้ว ...KM ไม่เท่ากับ MK คะ อิอิ...

ขออนุญาต นำไปใช้บ้างนะครับ

ดีจังค่ะ

นึกถึงเวลาเข้าประชุม คนไหนที่บอกว่า เป็นไปไม่ได้ ก็ จะทำอะไรสำเร็จ ก็ยากไปหมด

คนไหนพูดว่า น่าจะทำได้ ก้ ทำได้ จริงๆ

มายกมือ หนับหนุน อาจารย์ว่า จริงๆ ค่ะ และควรเอาไปใช้ต่อ เริ่มด้วย ปรับความคิดเราก่อน

คิด - พูด - ทำ จะเห็นได้ว่า "ความคิดเป็นต้นทางของคำพูดและการกระทำ" แต่ในทางกลับกัน "การกระทำและคำพูดก็เป็นการตอกย้ำ (Programming) สิ่งที่ำจะเป็นความคิดของเราต่อไป" 

ขอบคุณ คุณหมอรวิวรรณ อาจารย์หมอ JJ คุณฮูโต๋ และคุณยอดดอย กับการ Comment ต่อยอดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท