เที่ยวเขาชะเมากับครอบครัว (1)


 


ล่าสุด!

คุณจ๋อ - กฤษกร ได้ช่วยต่อยอดความรู้ให้กับพวกเราในเรื่องเกี่ยวกับแมลงและต้นไม้

ตามไปอ่านได้ในตัวอักษรสีฟ้าเลยครับ!

ขอบคุณคุณจ๋อมากครับ

 


 

ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2552

ผมไปเที่ยวระยองกับครอบครัว

วันที่ 5 พฤษภาคม ไปอุทยานแห่งชาติเขาชะเมาครับ

 

ออกเดินทางแต่เช้าจากที่พัก - ระยองรีสอร์ท

ตรงบริเวณทางเดิน เด็กๆ เจอแมลง 2-3 ตัว เลยเก็บภาพไว้หน่อย

เดี๋ยวค่อยไปค้นว่าตัวอะไร

 

หนูมนชอบตัวนี้


ข้อมูลจากคุณจ๋อ - กฤษกร


ตัวแรกเป็นผีเสื้อกลางคืน รูปร่างอยู่ในกลุ่มผีเสื้อจรวด สังเกตที่ปีกลู่

ไม่มีรู้มีคนตั้งชื่อภาษาไทยหรือยังครับ

การแยกผีเสื้อกลางวัน ออกจากผีเสื้อกลางคืน ไม่ใช่ดูที่เวลาออกมาให้เห็น(ผี่เสื้อกลางคืนบางชนิดออกมาหากินตอนเช้า-สาย เช่น ผีเสื้อทองเฉียงพร้า (ชื่อน่าจะประมาณนี้นะ) เจ้าตัวเหลืองปีกดำ ในบันทึกตอนสองของอาจารย์นั่นล่ะครับ ) แต่ให้ดูที่หนวด ผีเสื้อกลางคืนหนวดเป็นหวี หรือเป็นปม เป็นเส้นสั้น ผีเสื้อกลางวันทั้งหมด หนวดเป็นเส้นเรียว

สีของผีเสื้อกลางคืน มีความพิสดารเพราะเป็นสีที่ไม่ได้ถูกคิดมาสำหรับแสงกลางวัน พอมาดูในแสงกลางวัน มันจึงงามอย่างไม่อาจอธิบายได้ว่า มันเป็นสีอะไรแน่


 

ส่วนผมชอบตัวนี้ครับ หนวดยาวดี

 


ข้อมูลจากคุณจ๋อ - กฤษกร

อีกตัวเป็นด้วง (น่าจะในวงศ์Cerambycidae) มันเลียนแบบแมงมุมใยมอง หรือแมงมุมเลียนแบบมันกันแน่ (?)


 

ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ไปทางแกลง

พอถึงที่เขาชะเมา

หนูนิก็ตาดีไปเห็นหนอนอยู่ใต้ใบไม้ เรียกผมไปดู

 

 ถึงทางเข้าแล้ว หนูมนเดินนำ หนูนิเดินจูงแม่เข้าไป...

 

แวะอ่านกติกา-มารยาทในการเดินป่าซะหน่อย

ทำผิด...เดี๋ยวโดนลิงจับตัวไปยุ่งเลย..

 

อ่านโฆษณาซะหน่อย

 

 

ดูแผนที่แล้ว....รำพึงในใจว่าจะไปได้ถึงไหนหนอ...หลายชั้นเหลือเกิน

 

 

โอ้! ต้นนี่สูงจริง...

 

เข้าไปดูป้ายใกล้ๆ หน่อย

 

 

ต้นไทรต้นนี้ใหญ่ดีจริง

เก็บภาพคู่กับเด็กๆ ซะหน่อย ไว้วันหลังกลับมาใหม่จะได้จำได้

 

 

เด็กๆ ไปกันโน่นแล้ว

แต่ผมสนใจต้นนี้ ดูเหมือนจะมีอะไรสะกิดใจตะหงิดๆ

 

อ้า...ได้รู้จัก "พูพอน" แล้ว

แต่...มาจากภาษาอะไรเอ่ย?


ข้อมูลจากคุณจ๋อ - กฤษกร

พูพอน buttress root ช่วยให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง30-40 เมตรในป่าดิบชื้นยืนอยู่ได้ แม้ดินจะอ่อน หน้าดินตื้น พื้นที่ลาดเอียง ด้วยการสร้างระบบรากที่เหมือนเป็นสันค้ำ แผ่ออกไป โดยรอบ บางต้น กินพื้นที่รากและพูพอน หลายสิบตร.ม. พบในป่าดิบชื้น ต้นสมพง พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ บางต้นพูพอนเป็นถ้ำเบ้อเร่มเข้าไปหลบฝนได้เลย

ต้นที่คลาสสิกมากที่ผมชอบไปเยี่ยม เป็นต้นพระเจ้าห้าพระองค์ในเทรล 6 ในป่าเขาใหญ่ ( แนบรูปไม่เป็นไม่งั้นจะแนบให้ดูครับ)

ที่น่าสนใจคือระบบรากแบบนี้ เป็นการแผ่รากตื้น ซึ่งนอกจากยึดโยงแล้ว ยังดูดธาตุอาหารจากหน้าดินได้ดีเพราะดินในป่าดิบชื้น ธาตุอาหาร จากการย่อยสลายของซากจะสะสมอยู่ที่หน้าดิน และอัตราการไหลของน้ำที่พัดพามาก็จะสูงมาก รากช่วยชะลอน้ำ และกักธาตอาหาร ดูดอาหารได้มาก ทำให้ต้นไม้มั่นคง ที่สำคัญทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าเกิดขึ้น

หากคิดย้อนกลับ บางทีไม่ใช่เพราะดินอุดมทำให้มีต้นไม้ แต่ต้นไม้ทำให้ดินในป่าดิบ สมบูรณ์ขึ้นตะหาก


 

ข้ามสะพานไปกันต่อ....ดูเหมือนจะอีกยาวไกล คงจะมีอะไรแปลกๆ ให้ดูแน่ๆ

 

นั่นไง! หนูนิไปเจอะไรน่าสนใจเข้าแล้ว

แมลงกิ่งไม้!

อยู่นิ่งเชียว (ตอนขากลับก็ยังอยู่)

 


ข้อมูลจากคุณจ๋อ - กฤษกร 

ตั๊กแตนกิ่งไม้ครับ http://www.malaeng.com/blog/?cat=56 อยู่ในกลุ่มแมลงที่ยาวที่สุดในโลก เคยมีบันทึกขนาดยาวเกือบ2 ฟุต

รูปแบบนี้ เป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดด้วยการพรางตัว

บางชนิดพรางเป็นใบไม้เหมือนเดี๊ยะ แต่นกมองออก

บางชนิดพรางเป็นกิ่งไม้

แต่ไม่รู้พิสูจน์ได้แค่ไหนว่า แบบใดประสบความสำเร็จกว่ากัน

แต่ถ้าสนใจพวกแมลงจะพบว่า แมลงมีความสามารถในการแปลงกายเยอะ และน่าทึ่งมาก


 

จบตอนหนึ่ง

คราวหน้า : ตะลุยแดนน้ำตก

 


 

 

คำสำคัญ (Tags): #เขาชะเมา
หมายเลขบันทึก: 262767เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2009 01:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

สวัสดีครับพี่ชิว

ยินดีต้อนรับกลับมานะครับ อิอิ หายไปนาน

แฟมิลี่แมนจริงจริงเล้ยหัวหน้าแก็งค์เรา 555 ครอบครัวสุขสันต์เพราะมีหัวหน้าพาสุข ช่นชมนะครับพี่ชิว อิอิ

แมลงกิ่งไม้เพิ่งเคยเห็นครับพี่ โอ้...น่าหักมาจิ้มฟัน เอิ๊กๆ

ดูบันทึกธรรมชาติแล้วมีความสุขค่ะ ชอบต้นไม้สูงยาว และเจ้าแมลงกิ่งไม้ ทึ่งมากค่ะ

เห็นครอบครัวนี้แล้ว...โอย อยากหมุนวันเวลากลับไปจัง พี่กำลังเดินเข้าสู่อีกเวอร์ชั่นหนึ่งแล้ว เรียกว่าอะไรดีนะคะ เหมือนมีการแบ่งเซลล์ของครอบครัว การเริ่มสร้างโลกใบเล็กๆ ของสมาชิก เหมือนที่เราเองก็แยกออกมาเป็นอีกหนึ่งโลก(ครอบครัวใหม่)

ผมมีสวนทุเรียนอยู่ไม่ไกลจากอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา
สมัยที่ไปทำสวน(งานอดิเรก)อยู่ใหม่ๆ ผมมักจะแวะขึ้นไปชมน้ำตกเขาชะเมา
เมื่อขึ้นไปถึงจุดหนึ่งสามารถแลเห็นทะเลระยองได้ชัดเจน ข้างบนมีปลาชะเมาเป็นฝูง
อากาศดี ธรรมชาติจริงๆครับ

ระยะหลังมีการเปิดตัวของน้ำตกคลองปลาก้าง
อยู่ห่างน้ำตกเขาชะเมาไม่ไกลนัก คนละสายน้ำกัน
ก็ไปเที่ยวปีนป่ายน้ำตกกัน

อยู่ที่สวนทุเรียนสามารถมองเห็นขุนเขาชะเมาได้ชัดเจน
เวลาฝนตกจะแลเห็นสายน้ำตกเขาชะเมาไหลเป็นสายตกจากหน้าผาได้จากมุงมองสวนได้ชัดมาก
บรรยากาศเหมือนกับยืนอยู่ที่ มช.โดยมีขุนเขาเป็นฉากอยู่ข้างหลังอย่างไรอย่างนั้นครับ

สวัสดีครับ เดย์

       จับแมลงกิ่งไม้มาจิ้มฟัน ไม่กลัว 'เสียวฟัน' หรือครับ 555

       เดี๋ยวอีกสักพักเล็กๆ จะนำตอน 2 มาให้ชมครับ

สวัสดีครับ พี่ดาว

        ครอบครัวผมก็กำลังตามครอบครัวพี่ดาวไปห่างๆ ราวๆ 7 ปีครับ ;-)

        ไว้รอชมต้นไม้ใหญ่ & แมลงที่เขาชะเมาเพิ่มเติมครับ

สวัสดีครับ คุณสุวัฒน์

        ดีจังครับมีสวนทุเรียนใกล้ๆ เขาชะเมาด้วย ทุเรียน & ผลไม้ระยองนี่ขึ้นชื่ออยู่แล้ว

        ไว้ถ้ามีโอกาสจะขอชมภาพสวนทุเรียนบ้างครับ

สวัสดีค่ะตามมาเที่ยวเขาชะเมาค่ะ

ภาพสวยๆธรรมชาติงามๆ สัตว์ต่างที่อยู่อย่างกลมกลืนธรรมชาติ

ขอบคุณมากค่ะ  (เคยได้ยินกลุ่มรักษ์เขาชะเมา) นะคะน่าสนใจดี 

^_^

 

 

สวัสดีครับ

        ถ้ามีโอกาสไปที่เขาชะเมา ก็แวะมาบอกบ้างนะครับ

สวัสดีP อ.บัญชา ธนบุญสมบัติ  

  •  อ่านบันทึกของอาจารย์เหมือนได้ไปเที่ยวเอง..เป็นคนชอบเที่ยวป่าเขาลำเนาไพรเหมือนกัน...เมืองไทยเรายังมีที่เที่ยวบริสุทธิ์อีกเยอะนะคะ...เด็กๆคงมีความสุขน่าดู  ขนาดหนอนยังน่ารักเลยค่ะ...

ต้นไม้สูงๆกับแมลงกิ่งไม้ แปลกดีจังค่ะ

สวัสดีครับ

       คุณ nussa-udon : จริงด้วยครับ ขนาดหนอนตัวนี้ยังน่ารักเลย เด็กๆ มักจะเจออะไรแปลกๆ สนุกๆ เสมอ

       คุณ Sasinand : แมลงกิ่งไม้ตัวนี้นิ่งมากๆ แต่ก็เคยอ่านเจอว่ามันจะเคลื่อนไหวตอนกลางคืน ส่วนกลางวันก็ทำตัวนิ่งๆ อย่างนี้ครับ

สวัสดีค่ะอ.บัญชา

มาขอบคุณที่กรุณาไปให้ข้อคิดเห็นที่มีคุณค่า และเปิดมุมมองใหม่ ๆ ของคนไม่มีราก บางมุมซึ่งอาจละเลยไปค่ะ

ความจริงแอบมาอ่านบันทึกอาจารย์บ่อย ๆ ค่ะ แต่ไม่ค่อยได้คอมเม้นท์ เพราะมีความสมบูรณ์แล้วในแต่ละบันทึก...มาดู ๆ อ่าน ๆ เก็บ ๆ ความรุ้สาระต่าง ๆ แล้วก็ไป...ค่ะ

ชอบบันทึกนี้ค่ะ เห็นต้นไม้ ใบไม้ แมลงแปลกดาดีค่ะ เคยไปอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา เมื่อ 3 ปีมาแล้วค่ะ...อยากไปอีก...

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

นำภาพฟ้าและภูเขาจาก เขาคิชฏกูฏ จ.จันทบุรีมาฝากค่ะ

พาครอบครัวไปเที่ยวสัมผัสธรรมชาติด้วยกันอย่างนี้อบอุ่น น่ารักจังค่ะ และเป็นการปลูกฝังความเป็นคนช่างสังเกต ซึมซับความสุนทรีย์จากป่าเขา พืช สัตว์น้อยใหญ่ ดียิ่งกว่าการรณรงค์ให้รักสิ่งแวดล้อมแบบใดๆทั้งหมด

ภาพสวยทุกภาพค่ะ

เมื่อปลายหน้าหนาวที่ผ่านมาพี่ไปน้ำตกป่าละอู ก็เห็นมีปลาพลวงเยอะมาก สงสัยว่าทำไมลำน้ำในป่าจึงมีปลาพลวงเหมือนๆกันนะคะ

เดี๋ยวค่อยนำภาพเมฆไปส่งที่อีกบล็อกนะคะ พอดีภาพอยู่ในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค

ตามมารังควาน

ตัวแรกเป็นผีเสื้อกลางคืน รูปร่างอยู่ในกลุ่มผีเสื้อจรวด สังเกตที่ปีกลู่

ไม่มีรู้มีคนตั้งชื่อภาษาไทยหรือยังครับ

การแยกผีเสื้อกลางวัน ออกจากผีเสื้อกลางคืน ไม่ใช่ดูที่เวลาออกมาให้เห็น(ผี่เสื้อกลางคืนบางชนิดออกมาหากินตอนเช้า-สาย เช่น ผีเสื้อทองเฉียงพร้า (ชื่อน่าจะประมาณนี้นะ) เจ้าตัวเหลืองปีกดำ ในบันทึกตอนสองของอาจารย์นั่นล่ะครับ ) แต่ให้ดูที่หนวด ผีเสื้อกลางคืนหนวดเป็นหวี หรือเป็นปม เป็นเส้นสั้น ผีเสื้อกลางวันทั้งหมด หนวดเป็นเส้นเรียว

สีของผีเสื้อกลางคืน มีความพิสดารเพราะเป็นสีที่ไม่ได้ถูกคิดมาสำหรับแสงกลางวัน พอมาดูในแสงกลางวัน มันจึงงามอย่างไม่อาจอธิบายได้ว่า มันเป็นสีอะไรแน่

อีกตัวเป็นด้วง (น่าจะในวงศ์Cerambycidae) มันเลียนแบบแมงมุมใยมอง หรือแมงมุมเลียนแบบมันกันแน่ (?)

ตั๊กแตนกิ่งไม้ครับ http://www.malaeng.com/blog/?cat=56 อยู่ในกลุ่มแมลงที่ยาวที่สุดในโลก เคยมีบันทึกขนาดยาวเกือบ2 ฟุต

รูปแบบนี้ เป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดด้วยการพรางตัว

บางชนิดพรางเป็นใบไม้เหมือนเดี๊ยะ แต่นกมองออก

บางชนิดพรางเป็นกิ่งไม้

แต่ไม่รู้พิสูจน์ได้แค่ไหนว่า แบบใดประสบความสำเร็จกว่ากัน

แต่ถ้าสนใจพวกแมลงจะพบว่า แมลงมีความสามารถในการแปลงกายเยอะ และน่าทึ่งมาก

พูพอน buttress root ช่วยให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง30-40 เมตรในป่าดิบชื้นยืนอยู่ได้ แม้ดินจะอ่อน หน้าดินตื้น พื้นที่ลาดเอียง ด้วยการสร้างระบบรากที่เหมือนเป็นสันค้ำ แผ่ออกไป โดยรอบ บางต้น กินพื้นที่รากและพูพอน หลายสิบตร.ม. พบในป่าดิบชื้น ต้นสมพง พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ บางต้นพูพอนเป็นถ้ำเบ้อเร่มเข้าไปหลบฝนได้เลย

ต้นที่คลาสสิกมากที่ผมชอบไปเยี่ยม เป็นต้นพระเจ้าห้าพระองค์ในเทรล 6 ในป่าเขาใหญ่ ( แนบรูปไม่เป็นไม่งั้นจะแนบให้ดูครับ)

ที่น่าสนใจคือระบบรากแบบนี้ เป็นการแผ่รากตื้น ซึ่งนอกจากยึดโยงแล้ว ยังดูดธาตุอาหารจากหน้าดินได้ดีเพราะดินในป่าดิบชื้น ธาตุอาหาร จากการย่อยสลายของซากจะสะสมอยู่ที่หน้าดิน และอัตราการไหลของน้ำที่พัดพามาก็จะสูงมาก รากช่วยชะลอน้ำ และกักธาตอาหาร ดูดอาหารได้มาก ทำให้ต้นไม้มั่นคง ที่สำคัญทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าเกิดขึ้น

หากคิดย้อนกลับ บางทีไม่ใช่เพราะดินอุดมทำให้มีต้นไม้ แต่ต้นไม้ทำให้ดินในป่าดิบ สมบูรณ์ขึ้นตะหาก

เอาเท่าที่นึกได้เลาๆ เล่ากันเล่นๆครับ จารย์

ต้องไม่ลืมด้วยนะครับว่า ที่ความสูงมากๆ เหนือป่าดิบ ลมจะแรง ต้นโตๆ ยังโยนไปโยนมา ถ้าเดินในป่า เงียบๆ จะได้บยินเสียงไม้ใหญ่โยน อัศจรรย์มาก

ถ้าระบบราก ไม่มั่นคงดีจริง มีสิทธิโค่นได้ง่ายๆ แต่กระนั้น ก็ยังโค่นบ่อยๆ เป็นการเปิดพื้นทื่ว่างให้ไม้เล็กโตข้นไปอุด

จ๋อ

สวัสดีครับ คุณ คนไม่มีราก

        ขอบคุณสำหรับภาพป่า & เมฆแสนสวยจาก เขาคิชฏกูฏ จ.จันทบุรี ครับ ผมเคยไปเพียงครั้งเดียว ตั้งแต่ตอนอยู่มัธยมปลายโน่นนนนน... (ไม่กล้าระบุปี..อิอิ)

สวัสดีครับ พี่นุช คุณนายดอกเตอร์

        จริงด้วยครับ พาเด็กๆ (และต้วเอง) สัมผัสธรรมชาตินี่ ดีกว่ารณรงค์รัก(ษ์)สิ่งแวดล้อมด้วยวิธีอื่นทั้งหมด

        เจ้าลูกสองคนนี่ถ้าจะติดใจซะแล้ว บอกผมแทบทุกวันเลยว่าอยากไปเขาชะเมาอีก กะว่าสักไม่เกินเดือนหนึ่งข้างหน้า จะลองพาไปอุทยานแห่งชาติในเขตกาญจนบุรีครับ

        ภาพเมฆสีรุ้งนำขึ้นบล็อกใหม่แล้ว + โฆษณา portal web ของชมรมคนรักมวลเมฆ ด้วยครับ

สวัสดีครับ คุณจ๋อ

         ข้อมูลแจ๋วจริงๆ ครับ! เดี๋ยวผมจะทยอยนำไปแปะไว้ใกล้ๆ ภาพ เพื่อให้ติดตามได้ง่ายขึ้นนะครับ

         ขอบคุณมากครับ

.... ว่าแล้วท่านอ.หมอเมฆสวย ต้องไปเที่ยวกับครอบครัวอีกแน่เลย

ตามติดมาชมภาพงามๆ ค่ะ ... เห็นน้องหนอน น่ารักดีจังค่ะ ตัวอ้วบอวบ

เห็นภาพแมลงกิ่งไม้ ที่อ.ส่งให้ชม ปูเพ่งอยู่นานเลยค่ะ  .. ชอบภาพแมงมุมโตยค่ะ

....  ขอบพระคุณภาพงามๆ นะคะ ช่วงนี้ฟ้าเริ่มเปิดแล้วค่ะ จะรอชมภาพท้องฟ้า นายเมฆ เช่นเคยนะคะ

สวัสดีครับ poo

         พี่นุช (คุณนายดอกเตอร์) นำภาพเมฆสีรุ้งแสนสวยมาฝากพวกเราอีกแล้วครับ ตามไปดูกันเลย

มาต่อให้อีกหน่อยครับ

ที่บอกว่าหนวดmoth ( ผีเสื้อกลางคืน)เป็น "หวี" เป็นอย่างไร ดูที่รูปแมลงตัวขาวๆ ตัวโปรดของหนูมน ในตอนสามของเรื่องนี้ นั่นล่ะครับ เป็นผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง

น่าจะหลบนอนอยู่หลังใบไม้

หนอนตัวเขียว ข้างบนนี้ เป็นหนอนผีเสื้อ น่าเป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน(มั้ง)

ด้วยเหตุผลที่ว่า ผีเสื้อกลางคืน ขอเรียกว่า มอธ สั้นหน่อย(ทั้งโลกประมาณแสนห้าหมื่นชนิด) มีความหลากหลายมากกว่าผีเสื้อกลางวันมาก ( ทั้งโลกราว 2 หมื่นชนิด)

ที่น่าสนใจ นอกเหนือไปจากการจำแนกชนิด ก็คือ หนอนผีเสื้อ และผีเสื้อ เป็นตัวบ่งบอกเรื่องราวในธรรมชาติเมื่อวานนี้ เหตุผลก็คือ หนอนผีเสื้อ มักกินใบไม้ของพืชชนิดเดียว ด้วยเหตุนี้ การปรากฎของพวกมันในแต่ละฤดูจึงขึ้นอยู่กับการงอกงามของต้นที่มันกินใบเป็นสำคัญ ถ้ารู้ว่าเป็นต้นอะไร ตอบสนองดินฟ้าอากาศ สภาพแวดล้อมอย่างไร การพบเห็นผีเสื้อมากๆ ในแต่ละฤดูก็จะย้อนกลับไปบอกเรื่องราวในธรรมชาติได้ชัดแจ้งแจ่มแจ๋ว

ที่แย่ก็คือ เรารู้จักหนอนผีเสื้อจริงๆ จังๆ น้อยมากๆ เพราะยาก และซับซ้อนเกินกว่าจะตามไปดู

และพฤติกรรมการกินใบไม้มโหฬาร เป็นการสร้างข้อต่อห่วงโซ่อาหารที่สำคัญมาก จากแสง และคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นใบไม้ให้หนอนซึ่งเป็นเหยื่อของนก และสัตว์ชนิดอื่นๆ กิน การถ่ายทอดพลังงานในระดับนี้ สำคัญมากจริงๆ ต่อสังคมชีวิตทั้งระบบ เพราะชัดเจน และมโหฬารกว่าในระดับของสัตว์กินพืชกินเสียอีกในความคิดของผม

จ๋อ

สวัสดีครับ คุณจ๋อ - kriskorn

        ลูกสาวคนโตของผม (มน) เขาชอบผีเสื้อกลางคืนเอามากๆ ครับ ผมถามว่าทำไม เขาก็บอกว่าไม่รู้ แต่มันสวยกว่าพวกผีเสื้อกลางวัน

        ดูไปดูมานี่ก็ชักจะชอหนวดผีเสื้อกลางคืนมั่งแล้ว เท่ดี คล้านเสาอากาศเลย

ภาพจากบันทึก : เที่ยวเขาชะเมากับครอบครัว (จบ)

สวัสดีค่ะ พี่ชิว

ขอตามมาดูแบบแว่บๆก่อน

เดี๋ยวกลับไปบ้านจะไปเปิดให้น้องนีโอดู

ช่วงนี้ที่โรงเรียนคุณครูกำลังสอนเรื่องแมง+แมลงรอบตัว

นีโอรู้จักแต่ยุง ฮ่าๆๆ

ยังไงเอจะขอยืมรูปจากพี่ชิว print ให้นีโอนำไปโรงเรียนด้วยได้มั้ยคะ

จะได้ไปให้เพื่อนๆดูด้วย

เอชอบตั๊กแตนกิ่งไม้..ทำให้เห็นเรื่องของการปรับตัวค่ะ :-)

สวัสดีครับ เอ - แม่นีโอ

        เรื่องภาพที่จะนำไปใช้ คิดภาพละ 10 บาทครับ (ห้ามต่อ....555)

        เอาไปให้เด็กๆ ดูเถอะครับ หลายคนอาจจะสนใจทีเดียว ^__^

เป็นการเดินทางเรียนรู้ธรรมชาติ ที่น่าทึ่งมาก แล้วจะเรียนรู้วีธีส่งมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันในวันที่พอจะมีเวลาเรียนรู้ค่ะ ช่วยบอกเทคนิควิธี อัพ โหลดภาพ ไฟล์ ที่ถูกต้องด้วยก็ดีนะคะ ไหนๆ ก็ฝากตัวเป็นศิษย์แล้ว พอดีสาวน้อยผู้เชี่ยวชาญงาน IT อยู่โรงเรียนประจำค่ะ ม. 2 ที่ รร.จุฬาภรณ์ มุกดาหารค่ะ สนใจเรื่องญี่ปุ่นเป็นพิเศษชื่อน้องภักด์ คนน้องอยู่ ป.5ชื่อน้องแพลน สนใจในวิทยาศาสตร์ ก็มีแต่คุณแม่เนี่ยละค่ะที่จะต้องเรียนรู้มากเป็นพิเศษ จึงจะสามารถส่งเสริมสนับสนุนเขาได้ ขอถือโอกาสยึดถืออาจารย์เป็นผู้ชี้แนะด้วยนะคะ

สวัสดีครับ คุณนก

          ผมตอบซะช้าเชียว เพิ่งหายเหนื่อยจากงานใหญ่ๆ ที่ผ่านมาครับ ลืมบันทึกนี้ไปเลย (เขกหัวตัวเองป๊อกๆ :-P)

          ลองส่งเว็บบล็อกนี้ให้น้องแพลนดูสิครับ เผื่ออาจจะสนใจอะไรบางอย่างเข้าก็ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท