319 หนังสือการ์ตูน ในฐานะสื่อที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้


สื่อที่มีประสิทธิภาพสูง

 

 

หนังสือการ์ตูน ในฐานะสื่อที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้

ผมเคยเขียนเรื่องพิพิธภัณฑ์การ์ตูนเบลเยียม http://gotoknow.org/blog/poldejw/262765/ เล่าถึงความน่าสนใจของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ข้อความตอนหนึ่งว่า

 “…………. มนุษย์ได้พัฒนาจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม วิถึชีวิตคนเปลี่ยนไป ชึวิตมีความกดดันมากขึ้น ความต้องการอ่านภาพการ์ตูนเพื่อผ่อนคลายจึงเกิดความสำคัญขึ้นมา กล่าวได้ว่าภาพการ์ตูนพัฒนามาพร้อมกับการพัฒนาสังคมของมนุษย์เลยทีเดียว ภาพการ์ตูนเป็นเพื่อนที่ดีของผู้อ่าน คอยปลอบใจ คอยให้กำลังใจ ทดแทนความผิดหวังและความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ในขณะเดียวกันก็สร้างความฝันและจินตนาการให้กับผู้อ่านทุกคนและทุกชนชั้นตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ตั้งแต่กรรมกรจนถึงเศรษฐีโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ.........................”

ในข้อความข้างต้นนี้ ยังมีนัยที่สำคัญคือการ์ตูนนั้นเป็นสื่อหนึ่งที่ได้ทำหน้าที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาตั้งแต่โบราณกาล ในขณะที่ยังไม่มีสื่ออื่น(ที่ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีเช่นสมัยนี้) ทำได้เท่าเทียมกันเลย

ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี คศ.1896 ร้อยกว่าปีมาแล้ว ด้วยการที่มีคนเชื้อชาติต่างๆ จากหลายถิ่นอพยพ เข้าไปตั้งรกรากในสหรัฐเป็นจำนวนมาก คนเหล่านี้ไม่รู้ภาษาอังกฤษ การ์ตูนในหนังสือพิมพ์รายวันจึงกลายมาเนสื่อกลางที่ทำให้คนเหล่านั้นได้เรียนภาษาอังกฤษและสื่อสารกันผ่านเรื่องราวของการ์ตูนที่สนุกสนานและสร้างฝันให้เป็นฝันเดียวกัน

ผมได้เขียนในบทความดังกล่าวว่า

“เมื่อปี 1996 ที่ผ่านมาเป็นปีที่มีความสำคัญต่อวงการการ์ตูนระหว่างประเทศเพราะเป็นปีครบรอบ 100 ปีของกำเนิดหนังสือการ์ตูนโลก ซึ่งรัฐบาลเบลเยี่ยมให้ความสำคัญมากจัดให้มีการเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวทั่วประเทศ มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นมาภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์อัลเบิร์ต ที่ 2 มีการจัดแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของภาพการ์ตูน ณ พิพิธภัณฑ์ ที่ตั้งขึ้นมาสำหรับรวบรวมประวัติความเป็นมาของการ์ตูนโดยเฉพาะ รวมทั้งการสร้างอนุเสาวรีย์รำลึกให้ตัวการ์ตูนและผู้วาดอีกด้วย”

เมื่อได้ไปอยู่ที่เดลี อินเดีย ผมก็ได้พบว่าอินเดียเองก็ได้ใช้สื่อการ์ตูนในการสร้างคนและสร้างสังคมของการเรียนรู้เช่นกัน แม้ว่าวงการการ์ตูนอินเดียจะเริ่มมา 60 กว่าปีมาแล้ว แต่ก็เริ่มต้นโดยรับเอาอิทธิพลการ์ตูนจากอเมริกาและยุโรปมามากทีเดียว

อินเดียให้ความสำคัญกับการใช้สื่อหนังสือในการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้จริงๆ จังๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือการที่มีนโยบายส่งเสริมให้หนังสือทุกประเภทมีราคาถูก เพื่อที่คนทั่วไปในทุกระดับสามารถเข้าถึงได้ง่าย

ผมพบด้วยว่า การ์ตูนในอินเดียนั้น นอกจากจะกระตุ้นให้คนทั่วประเทศได้อ่านหนังสือแล้วยังเป็นสื่อที่ทำให้คนทุกชั้นวรรณะยึดมั่นอยู่ในศาสนาฮินดูและความเชื่อในเทพเจ้าต่างๆ ด้วย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมาก

เพราะหนังสือการ์ตูนสามารถเข้าไปถึงทุกชนชั้น ทุกวรรณะ ทุกเพศทุกวัย ทุกโอกาส ทุกสถานที่ ไม่เกี่ยวกับความเจริญ ไม่ว่าจะมีไฟฟ้าหรือแสงสว่าง ไม่ว่าจะมีวิทยุหรือโทรทัศน์หรือไม่ ทุกคนก็สามารถอ่านหนังสือการ์ตูนได้

ขอนำเรื่องนี้มาเสนอกันสั้นๆ ก่อนเพื่อเปิดประเด็นให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน และจะได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป เพราะยังมีรายละเอียดอีกมากที่น่าสนใจ

ที่อยากจะบอกตรงนี้สั้นๆ ว่า อย่ามองข้ามสื่อการ์ตูน เพราะเป็นสื่อที่มีศักยภาพมาก ไม่แพ้สื่อทันสมัยในปัจจุบันเลย คนไทยมักจะมองว่าหนังสือการ์ตูนสำหรับเด็กเท่านั้นซึ่งผิดมาก และเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย

ทั้งหมดนี้จึงอยู่ที่การมองให้เห็น มองให้ลึก และนำมาใช้ให้เหมาะสม ................................................

หมายเลขบันทึก: 262765เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2009 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยค่ะ ส่วนตัวและทุกคนในครอบครัว อ่านหนังสือการ์ตูนกันมาเยอะค่ะ

คุณพี่ Sasinand ครับ

ศาสตร์ว่าด้วยการ์ตูนช่อง Comic strip นั้นเป็นวิชาการครับ ที่บ้านเรายังไม่ได้สนใจนำมาสอน

ในยุโรป นักวาดการ์ตูนถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติไม่ด้อยไปกว่าอาชีพอื่นเลยครับ

ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ

 

สวัสดีค่ะ คุณพลเดช

มาเก็บความรู้ค่ะ บางเรื่องบางมุมมองใกล้ตัว สัมผัสทุกวัน อ่านทุกวันทั้งแต่เด็กจน

บัดนี้แก่แล้ว แต่ไม่มีความรู้เรื่อง หรือประวัติของการ์ตูนค่ะ ขอบคุณสำหรับบทความ

ดีๆค่ะ

คุณ ThaisDutch ครับ

หนังสือการ์ตูนคือรูปแบบการเล่าเรื่องชนิดหนึ่ง

หากจำสมัยเด็กๆ ได้ ไทยเราก็มีหนังสือการ์ตูนดีๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เช่นอัศวินสายฟ้า เงาะป่า พระอภัยมณี

เป็นรูปแบบการนำนิทานมาเล่าด้วยภาพที่คิดจัดสรรเป็นระบบแล้วครับ

ภาพฝาผนังในอุโบสถก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการเล่าเรื่องด้วยภาพ

ภาพรามเกียรติ์ที่กำแพงศาลารายในวัดพระแก้วก็เป็นรูปแบบเล่าเรื่องด้วยภาพที่น่าทึ่งมาก

มีวิธีการดูภาพจากล่างไปบนและวนขวา ประกอบคำบรรยายข้าง

ล่างภาพ...เหล่านี้คือเทคนิคหนังสือการ์ตุนในยุคต้นๆ เลยครับ 

ในเว็บ www.polpage.com มีหลายเรื่องที่เกี่ยวกับหนังสือการ์ตูนครับ โดยเฉพาะการสะสมหนังสือการ์ตูน ลองอ่านดูนะครับ

เผื่อไปตามตลาดของเนเนเธอร์แลนด์ อาจพบหนังสือเก่าสมัยสยามก็ได้ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท